เบื่อหน่ายกับการศึกษา เมื่อแนวโน้มนักเรียนมัธยมในอเมริกาเลือกที่จะไม่เรียนต่อในมหาลัยเพิ่มสูงขึ้น

“ทำไมผมถึงอยากลงเงินทั้งหมดเพื่อไปซื้อกระดาษสักแผ่นที่ไม่ได้ช่วยอะไรผมเลยจริงๆ” Grayson Hart ซึ่งเพิ่งจบการศึกษาระดับมัธยมปลายในเมืองแจ็กสัน รัฐเทนเนสซี ได้ให้ความเห็นกับอนาคตของชีวิตในมหาวิทยาลัยของเขา

หนึ่งปีหลังจบมัธยมปลาย Hart กำลังกำกับรายการละครเยาวชนในเมืองแจ็กสัน รัฐเทนเนสซี เขาได้รับคัดเลือกในทุกมหาวิทยาลัยที่เขาสมัครไป แต่เขาเลือกที่จะปฏิเสธมัน ค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยสำคัญ และการเรียนรู้ทางไกลหนึ่งปีในช่วงการแพร่ระบาดยังทำให้เขามีเวลาและความมั่นใจในการสร้างเส้นทางของตัวเอง

Hart เป็นหนึ่งในคนหนุ่มสาวหลายแสนคนที่โตขึ้นมาในช่วงที่มีการระบาดครั้งใหญ่และไม่เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย หลายคนหันไปหางานรายชั่วโมงหรืออาชีพที่ไม่ต้องการใบปริญญา ขณะที่อีกหลายคนถูกขวางกั้นด้วยค่าเล่าเรียนที่สูงเว่อร์จนเกินจริง

ในขณะที่สถิติการลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีทั่วประเทศลดลง 8% จากปี 2019 ถึง 2022 ตามข้อมูลจาก National Student Clearinghouse อัตราการเข้าเรียนต่อในวิทยาลัยที่ลดลงนั้น เป็นสถิติที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อ้างอิงจากสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐ

เหล่านักเรียนที่เพิ่งจบมัธยมคิดว่ามันไม่คุ้มเลยที่จะจมอยู่กับกองหนี้สินที่พวกเขาต้องกู้มาเพื่อส่งเสียตัวเองเรียน

ตามรายงาน ของ Associated Press นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการรู้สึกประหลาดใจกับสิ่งที่ในตอนแรกดูเหมือนเป็นแนวโน้มเพียงชั่วคราวของยุคการเรียนออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดเท่านั้น แต่มันกลับดำเนินต่อไปหลังจากการกลับเข้ามาเรียนใน class แบบปรกติแล้วก็ตาม

ในขณะเดียวกันวิกฤตหนี้ของนักเรียนก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศที่เริ่มขยายวงกว้างขึ้น ทำให้แนวคิดในการเริ่มทำเงินทันทีหลังจากจบมัธยมปลายนั้นได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากขึ้นเริ่มเชื่อว่าการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป หรือปริญญาแทบไม่ได้ให้คุณค่าหรือประโยชน์เหมือนอย่างที่เคยเป็นมา

ถึงกระนั้น ผู้ที่ส่งเสียงเตือนเกี่ยวกับความสนใจที่ลดลงในการลงทะเบียนเรียนในวิทยาลัย ซึ่งลดลงถึง 8 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2018 ถึง 2022 ตามข้อมูลจากสำนักงานแรงงานและสถิติของสหรัฐฯ ก็ไม่ผิดที่จะแนะนำว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัยน้อยลงอาจทำให้การขาดแคลนแรงงานเพิ่มมากขึ้น การขาดแคลนในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพและการศึกษา ซึ่งประสบปัญหาอยู่แล้วก่อนยุคโควิด จะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น

“ความคิดนี้ค่อนข้างอันตรายต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจของประเทศเรา” Zack Mabel นักวิจัยจากจอร์จทาวน์ที่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและเศรษฐศาสตร์กล่าว

ผลกระทบที่เลวร้ายที่สุด อาจเป็นการส่งสัญญาณถึงคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีความเชื่อมั่นในคุณค่าของปริญญาบัตร ผู้สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัยที่น้อยลงอาจทำให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่การดูแลสุขภาพไปจนถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำหรับผู้ที่ละทิ้งการเรียนในมหาวิทยาลัย มักหมายถึงรายได้ตลอดชีพที่ลดลง ซึ่งน้อยกว่าผู้ที่จบปริญญาตรีถึง 75% ตามข้อมูลของ Center on Education and the Workforce ของมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ และเมื่อเศรษฐกิจซบเซา ผู้ที่ไม่มีปริญญาก็มีแนวโน้มที่จะตกงานสูงกว่ามาก

สำหรับตัว Hart เขากำลังทำในสิ่งที่เขารักและช่วยเหลือชุมชนศิลปะที่กำลังเติบโตของเมือง ถึงกระนั้นเขาก็ยังคงสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปกับอนาคตของเขา งานของเขาจะมีรายได้เพียงพอในอนาคตหรือไม่ และเขาก็ยังไม่มีแผนที่ชัดเจนสำหรับ 10 ปีข้างหน้า

“ผมกังวลเกี่ยวกับอนาคต” เขากล่าว “แต่ตอนนี้ผมกำลังพยายามเตือนตัวเองว่าผมทำได้ดีในจุดที่ผมอยู่ และผมจะทำมันต่อไปทีละขั้น”

References :
https://futurism.com/americans-skipping-college
https://apnews.com/article/skipping-college-student-loans-trade-jobs-efc1f6d6067ab770f6e512b3f7719cc0
https://www.wuwm.com/2022-10-17/the-wisconsin-coalition-on-student-debt-answers-student-loan-forgiveness-questions


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube