American Factory กับเหตุผลที่จีนกลายเป็นโรงงานโลก

เนื่องด้วยโอกาสที่ผมได้ดู Documentary ใหม่ของ Netflix ที่มีชื่อว่า American Factory ทำให้การมองประเทศจีนของผมเริ่มเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในเรื่องของการเป็นโรงงานโลกอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

ในปัจจุบันนั้น เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้งจากอเมริกา ยุโรป ญีปุ่น หรือ เกาหลีเองนั้น ได้เข้าไปลงทุนมากมายในประเทศจีน เพื่อให้ช่วยผลิตสินค้าจำนวนมาก  ๆ ในราคาต้นทุนที่ถูกมาก ๆ เช่นกัน 

แม้กระทั่งยักษ์ใหญ่อย่าง Apple เอง สินค้าที่มีคุณภาพหลากหลายจาก Apple นั้นก็ถูกผลิตโดยโรงงานจากจีนแทบจะทั้งสิ้น

ซึ่งในสารคดีชุดนี้นั้น เราได้เห็นมุมมองที่แตกต่างออกไป ในการที่บริษัทจากจีนได้เข้าไปลงทุนเพื่อสร้างโรงการในการผลิตในประเทศอเมริกาแทน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

American Factory เป็นภาพยนตร์สารคดีที่กำกับโดย Steven Bognar และ Julia Reichert ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องราวของโรงงานของ บริษัท Fuyao ในเมืองเดย์ตัน โอไฮโอซึ่งได้นำพื้นที่ในอดีตอันยิ่งใหญ่ของโรงงานเจเนอรัลมอเตอร์ที่ได้ปิดทำการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น มาสร้างเป็นโรงงานใหม่ของ Fuyao บริษัทผลิตกระจกรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก 

ซึ่งต้องบอกได้ว่าการที่จีนเข้ามาสร้างโรงงานในสหรัฐ และ จ้างแรงงานในสหรัฐอเมริกามาผลิตกระจกรถยนต์นั้น ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะอย่างที่เราทราบ ๆ กัน ว่าจีนแทบจะกลายเป็นโรงงานของโลกไปแล้วในขณะนี้ สามารถผลิตได้ตั้งแต่สากเบือยันเรือรบ

ซึ่งแนวคิดที่ได้จากสารคดีชุดนี้นั้น ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ในเรื่องของความพ่ายแพ้ของคนอเมริกา ที่ไม่สามารถที่จะไปผลิตสู้โรงงานจากจีนได้เลย เพราะในสารคดีชุดนี้มันได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างหลาย ๆ อย่างระหว่างแรงงานชาวอเมริกาและจีน

อย่างแรกคงเป็นเรื่องของค่าแรงที่ อเมริกาสูงกว่าจีนมาก ๆ และทำงานน้อยกว่ามาก ๆ เพราะอเมริกา ในรอบ 24 ชม.นั้น ต้องทำถึง 3 กะ กะละประมาณ 8 ชม. แต่ที่จีนสามารถทำได้กะละ 12 ชม.เพียง 2 กะ เท่านั้น

แถมค่าแรงยังถูกกว่ามาก ๆ และไม่ใช่เพียงเรื่องของค่าแรงเท่านั้น การผลิตที่ประสิทธิภาพกว่าอย่างเห็นได้ชัด กำลังการผลิตถ้าเทียบต่อจำนวนแรงงานนั้น โรงงานจากฝั่งจีนก็กินขาด เพราะมีการเปรียบเทียบให้แรงงานของโรงงานในอเมริกาไปเยี่ยมชม ศูนย์การผลิตใหญ่ที่ประเทศจีน

มันเป็นความแตกต่างทุก ๆ อย่าง ทั้งประสิทธิภาพ ความคล่องตัว ระเบียบวินัย แทบจะทุก ๆเรื่องนั้น ความสามารถของแรงงานจีนนั้นกินขาดอย่างเห็นได้ชัด แถมยังไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องสหภาพแรงงาน ที่ทางฝั่งอเมริกานั้นพยายามเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

แรงงานคุณภาพสูงในราคาที่ต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา
แรงงานคุณภาพสูงในราคาที่ต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา

ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยคิดว่า จีนนั้น มีความได้เปรียบที่ค่าแรงที่ถูกเพียงเท่านั้น เพราะพื้นที่ห่างไกลชนบทของจีนนั้น ถือว่ายังเป็นส่วนที่ยังไม่พัฒนา และ แรงงานก็มีราคาถูกเป็นอย่างมาก แต่ อย่าลืมว่าอย่างในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค่าแรงก็ไม่ได้สูงมากนัก แต่ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ต้องเลือกจีนเป็นหลัก

มันคือเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานเสียมากกว่า ที่เห็นได้ชัดเจนว่า จีนนั้นสามารถสร้างแรงงานที่มีประสิทธิภาพ และ มีระเบียบวินัยสูง แถมยังมีความอดทนได้อีกต่างหาก ซึ่งเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ  ทั่วโลกนั้น จุดนี้ทำให้จีนมีความได้เปรียบอย่างมากในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปขายยังทั่วโลกได้

ส่วนของแรงงานนั้นก็กินขาด แล้วแรงงานระดับสูงล่ะ?  แน่นอนว่า เหล่าอัจฉริยะ Genius ทั้งหลาย แม้จะอาศัยอยู่ในอเมริกา ทำงานในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก ก็มีจำนวนมากที่เป็นคนจีน ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคตนั้น ความสามารถเหล่านี้ไม่ใช่แค่เพียงแค่เรื่องแรงงานราคาถูก แต่แรงงานคุณภาพอย่างพวกอัจฉริยะทางคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย จีนก็ไม่น้อยหน้าใครในโลกนี้ ซึ่งผมมองว่าท้ายที่สุดไม่ไกลเกินรอ จีนนั้นจะกลายเป็นชาติมหาอำนาจยักษ์ใหญ่แทนสหรัฐอเมริกาได้อย่างแน่นอนครับผม

References : Netflix.com


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube