ประวัติ Agoda บริษัทจองโรงแรมยักษ์ใหญ่ที่ก่อตั้งในไทย

อโกด้า (Agoda) คือ บริษัทผู้ให้บริการสำรองห้องพักทางออนไลน์ สำหรับโรงแรมในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกเป็นหลัก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์และมีสำนักงานดำเนินการหลักอยู่ที่ กรุงเทพ กัวลาลัมเปอร์ โตเกียว ซิดนีย์ ฮ่องกง และบูดาเปสต์ นอกจากนี้ยังมีสำนักงานย่อยในเมืองใหญ่ทั่วเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรปและอเมริกา

ประวัติจาก Startup เล็ก ๆ สู่ธุรกิจหมื่นล้านเหรียญ 

โดย Agoda นั้นก่อตั้งปี 1998 โดยนายไมเคิล เคนนี่ (Michael Kenny) ภายใต้ชื่อแพลนเน็ต ฮอลิเดย์ ดอตคอม (PlanetHoliday.com) โดยมีแนวคิดเริ่มแรกในการใช้เสิร์ชเอนจิน เพื่อเติมเต็มช่องว่างทางด้านข้อมูลโรงแรมและการท่องเที่ยว และ เพื่อเป็นเว็บไซด์ต้นทางในการค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยว (Search Engine) รวมถึงรับจองโรงแรมออนไลน์อีกด้วย

ธุรกิจของ ไมเคิล โตเร็วมากๆ ถึงแม้เขาจะไม่ได้เป็นเจ้าของโรงแรมสักแห่งเดียวเลยก็ตาม แต่เขาทำเงินได้มากจากการเป็นเอเจนซี่รับจองโรงแรมทั่วโลก 

โดย แพลนเน็ต ฮอลิเดย์นับเป็นหนึ่งในเว็บไซต์จองโรงแรมแห่งแรก ๆ ในวงการสำรองห้องพักออนไลน์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เว๊บไซต์การจองโรงแรมที่กำลังเติบโตอย่างสุดขีดในขณะนั้น
เว๊บไซต์การจองโรงแรมที่กำลังเติบโตอย่างสุดขีดในขณะนั้น

แต่เดิม นายเคนนี่อาศัยอยู่ในลองไอส์แลนด์ นครนิวยอร์ก ก่อนจะย้ายมาประเทศไทยในปี 1994 และก่อตั้งเว็บไซต์พร้อมสำนักงานเล็ก ๆ ขึ้นในเกาะภูเก็ต ซึ่งช่วงปี  2000-2001 เป็นยุคที่ธุรกิจ ดอตคอม ตกต่ำ และเกิดเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน  2001 ในสหรัฐอเมริกา

และในปี 2003 เกิดโรคซาร์สระบาด เหตุการณ์ทั้งหมดได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่เว็บไซต์ที่อยู่ในวงการธุรกิจสำรองห้องพักออนไลน์ทั้งหมด ก็สามารถเอาตัวรอดจากหายนะเหล่านี้มาได้

ปี 2002 สำนักงานของบริษัทได้ย้ายจากภูเก็ตมาที่กรุงเทพ และในปี 2005 บริษัทได้เพิ่ม พรีซิชั่น เรเซอร์เวชั่น ดอตคอม (PrecisionReservation.com) เข้ามา ในฐานะเว็บไซต์หุ้นส่วนเพื่อให้บริการจองโรงแรมผ่านเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตร

และในปีเดียวกันนี้ แพลนเน็ต ฮอลิเดย์ และ พรีซิชั่น รีเซอร์เวชั่น ก็ได้รวมเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อ บริษัท อโกด้า จำกัด ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วไปทั่วเอเชีย

ในเดือนพฤศจิกายน 2007 Priceline.com (NASDAQ: PCLN) ได้ซื้อกิจการของบริษัทอโกด้า นับเป็นบริษัทนานาชาติแห่งที่สามที่ Priceline.com ตัดสินใจซื้อ

โดย Priceline วางแผนที่จะใช้ในการขยายสู่เอเชีย (ยกเว้นจีนและอินเดียที่ซึ่งต้องเผชิญกับคู่ปรับตัวฉกาจ) การเข้าซื้อกิจการ agoda ทำได้ในราคาถูก: โดย ไมเคิล เคนนี่ เจ้าของของอโกด้าได้รับเงินล่วงหน้า 16 ล้านดอลลาร์และอีก 142 ล้านดอลลาร์หากเขาบรรลุเป้าหมายบางอย่างภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการ

เติบโตอย่างรวดเร็วจน priceline ยักษ์ใหญ่ด้าน Hotel Agency ในขณะนั้นเข้ามา Take over
เติบโตอย่างรวดเร็วจน priceline ยักษ์ใหญ่ด้าน Hotel Agency ในขณะนั้นเข้ามา Take over

ซึ่งในขณะนั้นต้องบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ลึกลับมากในการเดินทางท่องเที่ยวไปยังเอเชีย ในขณะที่นักท่องเที่ยวกำลังเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสะดวกสบายในการจองทริปไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่นเวียดนาม หรือ ในไทยเองก็ตาม

ปัจจุบัน อโกด้ามีพนักงานกว่า 2,000 คน และให้บริการสำรองห้องพักออนไลน์จากโรงแรมกว่า 250,000 แห่งทั่วโลกผ่านเว็บไซต์ที่มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กัน 38 ภาษาซึ่งรวมถึงภาษาจีนกลาง จีนกวางตุ้ง ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลี และไทย

ซึ่งต่อมาสุดท้าย Priceline Group ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Booking Holdings และซื้อขายกันในตลาดหุ้น NASDAQ โดยใช้ชื่อย่อว่า BKNG มาจวบจนถึงปัจจุบันนั่นเองครับ

References : 
https://www.forbes.com/forbes/2009/0824/travel-expedia-travel-how-priceline-survives-recession.html#e1d9b3e66618
https://www.wikipedia.org
https://www.agoda.com/th-th/info/about-agoda.html


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube