Geek Talk EP94 : ข้อมูล-ความลับ-อนาคต เมื่อ Xpeng ใช้พนักงานภายในปล้นความลับ Apple-Tesla

การจารกรรมทางเศรษฐกิจจากจีนเป็นภัยคุกคามที่ซับซ้อนและต่อเนื่องต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติสหรัฐอเมริกา กรณีศึกษาของ Apple, Tesla ที่ถูกขโมยโดย Xpeng แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของเป้าหมายและวิธีการที่ใช้ในการขโมยความลับทางการค้า

กลยุทธ์ Thousand Grains of Sand ของจีนสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างเป็นระบบในการรวบรวมข้อมูลและเทคโนโลยีจากทั่วโลก โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือการสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและทางทหาร

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/2ynbza2h

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/49artns7

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/5x7d776y

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/NMtjnrr9Nk0

Geek Daily EP299 : บทเรียนของการทำสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด 130 วันแห่งความล้มเหลว สู่จุดจบของจักรพรรดิ Musk

พอดแคสต์ EP นี้จะมาชวนคุยถึงเรื่องราวดราม่ายิ่งซีรีส์เอาเสียอีก เรื่องของคนที่เคยเป็นฮีโร่กลายเป็นตัวร้าย หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ คือเรื่องราวของ Elon Musk และการผจญภัยล้มเหลวของเขาในรัฐบาล Trump ที่กลายเป็น “rapid unscheduled disassembly” ตามคำศัพท์ที่ SpaceX ใช้เรียกการระเบิดของจรวด

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/62v77nr8

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/4m7thwc2

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/4wwb92fw

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/5akdY3UuoEw

Geek Talk EP93 : ทำไม Ford กำลังพังทั้งที่ขายดีที่สุดในอเมริกา บทเรียนสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค EV ที่ล้มเหลว

Ford ดูเหมือนจะอยู่ในสถานการณ์ที่ขัดแย้งในตัวเอง ในด้านหนึ่งเจริญรุ่งเรืองด้วยยอดขายที่เพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งกลับกำลังล้มเหลวในการควบคุมต้นทุนและคุณภาพสินค้า รายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีความหมายมากนักหากไม่สามารถแปลงเป็นกำไรได้

ปัญหาเหล่านี้ทำให้ Ford สูญเสียทั้งเงินหลายพันล้านและความไว้วางใจจากนักลงทุน แต่พวกเขาก็ไม่สามารถถอนตัวจากตลาด EV ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะได้ลงทุนไปมหาศาลในโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ยังไม่สามารถทำกำไรได้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/2tmcj5ey

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/yja58bx9

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/mvrhhw2x

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Iq2xoVvmg9g

เมื่อ Builder.AI ใช้คนอินเดียแทน AI จริงๆ ทำไม Microsoft ถึงหลงเชื่อบริษัทปลอม 30,000 ล้าน

ย้อนกลับไปปี 2016 มี startup หนึ่งชื่อ Builder AI ที่มีแนวคิดโครตเทพ พวกเขาคุยโวว่าจะทำให้การสร้างแอปง่ายเหมือนสั่งพิซซ่า

Sachin Dev Duggal ผู้ก่อตั้งบริษัทนี้ที่ลอนดอน มีความฝันที่ล้ำมาก ๆ เขาอยากทำ “democratize app development” หรือทำให้ใครๆ ก็สร้างแอปได้

ลองจินตนาการว่า ถ้าเราอยากได้แอปขายของออนไลน์ แค่บอก AI ชื่อ Natasha ว่าต้องการอะไร มันก็จะ brainstorm features ให้ วางแผนให้ เขียนโค้ดให้ ทำทุกอย่างให้หมด

ในช่วงโควิด-19 ที่ทุกคนหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น Builder AI พุ่งทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุด พวกเขาโหมทำการตลาด โดยให้ YouTubers หลายคนโปรโมทให้

เงินลงทุนไหลเข้ามาทั้งจาก Microsoft, Qatar Investment Authority, SoftBank ทุกคนอยากมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์มแห่งนี้

บริษัทได้รับเงินลงทุนรวม 450 ล้านดอลลาร์ มูลค่าบริษัทพุ่งกระฉูดไป 1.3 พันล้านดอลลาร์ กลายเป็น unicorn ที่โด่งดังไปทั่วโลก

แต่ความฝันที่สวยงามนี้ กำลังจะกลายเป็นฝันร้ายที่ไม่มีใครคาดคิด…

ปัญหาเริ่มต้นในปี 2019 เมื่อ Wall Street Journal เริ่มขุดคุ้ยความจริง สิ่งที่พวกเขาพบทำให้ทุกคนอ้าปากค้าง Builder AI อ้างว่าใช้ AI ทำงาน แต่ความจริงแล้วมีโปรแกรมเมอร์มนุษย์ในอินเดียและยูเครนซ่อนอยู่เบื้องหลัง พวกเขาแสดงละครมาตลอด

นี่คือ “AI washing” ที่ชาวเทคเรียกกัน เหมือนร้านอาหารอ้างว่าใช้หุ่นยนต์ทำกับข้าว แต่จริงๆ มีเชฟซ่อนอยู่ในครัว

หลายคนคิดว่าเป็นแค่ข่าวลือ แต่ความจริงที่โหดกว่านั้นกำลังจะเปิดออกมา ปลายปี 2024 ถึงต้นปี 2025 เป็นช่วงเวลาที่ Builder AI เริ่มล้ำเส้นอย่างชัดเจน

พวกเขาประกาศรายได้ปี 2024 ที่ 220 ล้านดอลลาร์ แต่รายได้จริงมีแค่ 55 ล้านดอลลาร์ เป็นการโกหกที่ปั้นตัวเลขเกินจริงไปถึง 300%

ลองนึกภาพดู ถ้าเพื่อนบอกว่าเขาได้เงินเดือนเดือนละ 200,000 บาท แต่จริงๆ แล้วได้แค่ 50,000 บาท คุณรู้สึกยังไง ซึ่งเหล่านักลงทุนรู้สึกแบบนั้นแหละ แต่ที่น่าเศร้ากว่านั้นคือ Microsoft และ Qatar ยังแทบไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ

Viola Credit เจ้าหนี้หลักเริ่มสงสัยในตัวเลขที่ดูเว่อร์เกินจริง เดือนตุลาคม 2024 Builder AI กู้เงิน 50 ล้านดอลลาร์จากพวกเขา

แต่เมื่อความจริงเปิดออกมา Viola Credit โกรธจัด พวกเขายึดเงินจากบัญชี Builder AI ทันที 37 ล้านดอลลาร์ หายไปในพริบตา บริษัทเหลือเงินเพียง 5 ล้านดอลลาร์ที่ติดอยู่ในอินเดีย

CEO คนใหม่ Manpreet Ratia ที่เข้ามาแทน Sachin Dev Duggal เล่าภายหลังว่าเขาต้องบริหารบริษัทด้วยเงิน “ศูนย์ดอลลาร์”

สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายเมื่อพบว่า Builder AI มีหนี้มากมาย Amazon Web Services 85 ล้านดอลลาร์ Microsoft อีก 30 ล้านดอลลาร์

ไม่พอเท่านั้น อัยการสหรัฐยังเรียกให้ส่งเอกสารทางการเงินมาตรวจสอบ เป็นสัญญาณว่าปัญหาใหญ่กำลังมา พนักงานกว่า 1,000 คนเริ่มหนาว ๆ ร้อน ๆ บรรยากาศในออฟฟิศเริ่มแปรเปลี่ยนเป็นความกังวล

วันที่ 20 พฤษภาคม 2025 เป็นวันที่ชีวิตของพนักงาน Builder AI เปลี่ยนไปตลอดกาล Manpreet Ratia เรียกประชุมทั้งบริษัท เขาต้องแจ้งข่าวที่ไม่มีใครอยากได้ยิน Builder AI กำลังจะล้มละลาย

พนักงานคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ด้วยความระทมทุกข์ “ยากที่จะเชื่อว่าบริษัทที่มีคนงานกว่า 1,000 คน จะกลายเป็นศูนย์ในคืนเดียว” “เมื่อวานเริ่มเป็นวันธรรมดา แต่พอจบวัน ชีวิตเราเปลี่ยนไปหมด ทุกอย่างหายไปในพริบตา”

เว็บไซต์ปิดลง ระบบทั้งหมดดับสนิท พนักงานต้องเก็บของส่วนตัวกลับบ้าน หลายคนไม่ได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้าย ความฝันในการทำงานที่ดูเจ๋งกลายเป็นฝันร้ายแทบจะทันที

เรื่องราวของ Builde AI ไม่ใช่แค่ข่าวธุรกิจธรรมดา มันเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ เพราะนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ AI Bubble ที่กำลังจะแตก เหมือน dot-com bubble ปี 2000 ที่ทำลายบริษัทเทคโนโลยีหลายร้อยแห่ง

AI washing คือการเอา AI มาประดับประดาเพื่อหลอกนักลงทุน มันเป็นเทรนด์ใหม่ที่น่าสะพรึงกลัว เหมือนยุค dot-com ที่ทุกบริษัทเพิ่ม “.com” ท้ายชื่อ ตอนนี้ทุกคนเอา “AI” มาติดป้าย

บริษัทไหนอ้างว่าใช้ AI แต่ไม่อธิบายว่าทำงานยังไง อาจจะกลายเป็น AI washing นักลงทุน venture capital ได้อัดฉีดเงินประมาณ 200 พันล้านดอลลาร์ในสตาร์ทอัป AI ในช่วงสองปีที่ผ่านมา

ในปัจจุบันด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เงินทุน VC ลดฮวบ 15% ในไตรมาสแรกปี 2025 สตาร์ทอัปที่ไม่มีโมเดลธุรกิจแท้จริงยากที่จะอยู่รอดต่อไปได้

Builder.AI เริ่มต้นด้วยความฝันสวยงาม แต่จบด้วยฝันร้ายที่สั่นคลอนวงการ จากยูนิคอร์นมูลค่าหมื่นล้าน กลายเป็นบทเรียนแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ AI

ความล้มเหลวของสตาร์ทอัปเพิ่มขึ้น 60% โดยมี 254 บริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจาก venture capital ล้มละลายในไตรมาสแรกของปี 2024 เพียงอย่างเดียว

มีบริษัทขนาดใหญ่อื่นๆ ที่ล้มเหลวไปแล้ว เช่น Character AI ที่ระดมทุนได้ 150 ล้าน, Adept ที่ได้ 415 ล้าน, และ Inflection ที่ได้ 1.525 พันล้านดอลลาร์ แต่สุดท้ายก็ต้องขายตัวเองให้บริษัทใหญ่ด้วยราคาที่ไม่คุ้มกับเงินลงทุน

ถึงแม้จะมี AI bubble แต่มันไม่ได้หมายความว่า AI ไม่มีอนาคต เหมือนกับ dot-com bubble ที่ทำลายบริษัทอินเทอร์เน็ตหลายร้อยแห่ง แต่ก็เปิดทางให้กับ Google, Amazon และ Facebook เติบโตขึ้นมา

บริษัทที่มีผลิตภัณฑ์จริง รายได้จริง และเทคโนโลยีจริงจะอยู่รอด ส่วนที่เหลือจะไปลงเอยเหมือน Builder AI กลายเป็นเรื่องเล่าเตือนใจ ที่จดจำได้แค่ว่าพวกเขาเคยคุยโวอะไรไว้ และล้มเหลวอย่างไร

เรื่องราวของ Builder AI เป็นการเตือนใจที่ดีว่าในโลกของเทคโนโลยี ไม่ใช่ทุกสิ่งที่เป็นทองคำ และไม่ใช่ทุกคำคุยโวที่มันจะเป็นจริงนั่นเองครับผม

References: [bloomberg, techstartups, theregister, tech.eu, sifted]

Geek Story EP383 : ทำไม Google และ Microsoft ถึงตามหลัง AWS? จากไอเดียในห้องประชุมสู่ธุรกิจล้านล้านดอลลาร์ที่เปลี่ยนโลก

ทำไมคู่แข่งถึงตาม AWS ไม่ทัน เพราะ Amazon เอาชนะผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลและฐานข้อมูลที่มีอยู่ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าในราคาที่ต่ำกว่า และเอาชนะ Microsoft และ Google ด้วยการเป็นคนแรกในตลาด

Microsoft ล้าหลังในตลาดการประมวลผลคลาวด์เพราะบริษัทอยู่ในความวุ่นวายในยุคของ Steve Ballmer ลำดับความสำคัญของพวกเขาผิดทิศทาง และทีม Windows มีอำนาจมากเกินไปภายในบริษัท ทำให้แนวคิดที่อาจกระทบรายได้ของ Windows ถูกลดความสำคัญหรือตัดทิ้งไป Ballmer ยังให้ความสำคัญกับการแข่งขันกับ iPhone มากเกินไป ต่อมา Satya Nadella เห็นศักยภาพของคลาวด์คอมพิวติ้งทันที แต่เมื่อ Microsoft ให้ความสำคัญกับ Azure อย่างจริงจัง พวกเขาก็ล้าหลัง AWS ไปมากแล้ว

ส่วน Google มีทฤษฎีว่าพวกเขาขาดการผสมผสานของทักษะและแรงจูงใจที่เหมาะสมภายในองค์กรที่จะมองเห็นโอกาสเหมือนที่ Amazon ทำ Google เติบโตเป็นธุรกิจที่ใหญ่และทำกำไรมหาศาลผ่านผลิตภัณฑ์หลักเพียงอย่างเดียวคือการค้นหา ผู้นำของพวกเขาไม่เคยต้องเรียนรู้การขายให้กับผู้บริโภคหรือองค์กร หรือวิธีเติบโตภายใต้อัตรากำไรที่แคบ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify :
https://tinyurl.com/m5yuvkt4

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/mr5p2tbh

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/bdfmsuew

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/kpDHIemOy_M