Geek Monday EP268 : การกลับมาเกิดใหม่ของ Microsoft จากบริษัทที่ถูกเกลียดที่สุด สู่บริษัทที่น่าทำงานด้วยที่สุดในโลก

ต้องบอกว่า Microsoft ที่เราเห็นในปัจจุบันคือยักษ์ใหญ่ที่กำลังเติบโตและขยายอาณาจักรไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง

แต่รู้ไหมว่าเมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว ภาพลักษณ์ของ Microsoft กลับตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง พวกเขาถูกมองว่าเป็นบริษัทที่ไร้ซึ่งนวัตกรรม เต็มไปด้วยระบบราชการ และกำลังถดถอย เรื่องราวการปฏิวัติตัวเองของไมโครซอฟท์เป็นบทเรียนที่น่าสนใจมาก ๆ ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันที่การมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/mr3e3cu4

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/bdh7snx6

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/fjx7bamn

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/47NoGZD6dMs

จาก ‘ฟิล์ม’ สู่ ‘ฟาร์มา’ ทำไม Fujifilm รอด แต่ Kodak ร่วง บทเรียนที่ทุกธุรกิจควรรู้

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ Eastman Kodak และ Fujifilm เป็นพี่ใหญ่ในอุตสาหกรรมฟิล์มถ่ายภาพ ทั้งสองบริษัทต่อสู้เพื่อช่วงชิงความเป็นเจ้าตลาดทั้งในประเทศและทั่วโลก แต่แล้วทุกอย่างมันก็พลิกผันอย่างกะทันหัน

ทุกคนคิดว่าเทคโนโลยีการถ่ายภาพดิจิทัลยังคงเป็นเรื่องอีกยาวไกล อาจต้องรออีก 30 ปี แต่แล้วมันก็มาถึงอย่างรวดเร็ว ถล่มอุตสาหกรรมฟิล์มแบบเก่าแบบสิ้นซาก

Fujifilm เห็นพายุลูกนี้กำลังก่อตัวและแม้จะโดนกระหน่ำอย่างหนัก พวกเขาก็ยังฝ่าฟันและปรับตัวได้ กลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง

ส่วน Kodak? พวกเขาไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวการก่อร่างสร้างตัวและการล่มสลายของสองยักษ์ใหญ่แห่งวงการถ่ายภาพ

กำเนิดของ Fujifilm: ความโชกโชนจากการเริ่มต้นที่ยากลำบาก

Fujifilm ถือกำเนิดขึ้นในปี 1934 เป็นบริษัทลูกของ Dainippon Celluloid Company ผู้ผลิตฟิล์มภาพยนตร์รายแรกของญี่ปุ่น Dainippon เคยติดต่อ Kodak ที่เป็นผู้นำตลาดโลกและผู้ก่อตั้งอย่าง George Eastman เพื่อขอสร้างโรงงานฟิล์มในญี่ปุ่น

แต่วิศวกรของ Kodak มองว่าญี่ปุ่นชื้นเกินไปที่จะผลิตฟิล์มคุณภาพดีได้ Eastman จึงปฏิเสธไปแบบไม่ใยดี ด้วยเหตุนี้ Dainippon จึงลุกขึ้นมาตั้ง Fuji Photo Film โดยได้เงินอัดฉีดจากรัฐบาลญี่ปุ่น

พวกเขาสร้างโรงงานแรกที่เชิงเขาฟูจิ ในเมืองมินามิอาชิการะ จังหวัดคานากาวะ เพราะต้องการน้ำและอากาศคุณภาพดีเยี่ยม

ต่างจากคู่แข่ง Fujifilm ตัดสินใจผลิตฟิล์มเองในประเทศแทนที่จะนำเข้า โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมันมาช่วย การมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองทั้งที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก กลายเป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมและกลยุทธ์บริษัท Fujifilm ลงทุนกับงานวิจัยและพัฒนามากกว่าคู่แข่งเสมอ

การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและการแข่งขันที่เข้มข้น

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทวิจัยวิธีผลิตฟิล์มสี ซึ่งในการถ่ายภาพสี เราต้องผสมสีหลักสามสี คือ สีฟ้า (cyan) สีม่วงแดง (magenta) และสีเหลือง (yellow) หากสัดส่วนผิดพลาดแม้เพียงนิดเดียว เสื้อสีขาวอาจกลายเป็นสีฟ้าหรือแดงในภาพถ่าย

ฟิล์มสีประกอบด้วยชั้นอนุภาคที่มีหน้าที่เฉพาะราว 20 ชั้นที่เคลือบทับกันอย่างละเอียด หนาเพียง 20 ไมโครเมตร การผลิตต้องควบคุมคุณภาพเข้มงวดใกล้เคียงกับการผลิตชิปเลยทีเดียว

แต่สงครามทำให้งานต้องหยุดชะงักเมื่อรัฐบาลทหารญี่ปุ่นยึดโรงงานไปใช้ในการสงคราม Fujifilm ประสบความสำเร็จในการผลิตฟิล์มสีในปี 1948 และตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ฮิตอย่างฟิล์มม้วนสำหรับมือสมัครเล่นในปี 1952 และฟิล์มม้วนขาวดำในปี 1958 ทำให้แตกต่างจากคู่แข่งญี่ปุ่นอีกเกือบ 30 ราย

หลังสงคราม ญี่ปุ่นเปิดตลาดให้คู่แข่งต่างชาติอีกครั้ง รวมถึง Kodak การต่อสู้ระหว่าง Kodak และ Fujifilm ได้กลายเป็นตำนานที่เล่าขานกันมาจนถึงทุกวันนี้

ปี 1963 Fujifilm มีรายได้แค่ 75 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ Kodak มีถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์ Kodak เป็นแบรนด์ระดับโลกและทรัพยากรมหาศาล พวกเขามีเหมืองเงินและฟาร์มปศุสัตว์เป็นของตัวเองเพื่อผลิตเงินและเจลาตินที่จำเป็นสำหรับฟิล์ม

กลยุทธ์ที่ชาญฉลาดของ Fujifilm

Fujifilm ได้รับการปฏิบัติแบบพิเศษในตลาดญี่ปุ่น มีโควตาการนำเข้าจนถึงปี 1968 และมีการเก็บภาษีนำเข้าหลังจากนั้น แต่นั่นไม่ได้รับประกันความสำเร็จ ผู้บริโภคญี่ปุ่นยังมอง Kodak เป็นแบรนด์ระดับโลกและมอง Fujifilm ว่ามีคุณภาพต่ำกว่า

แต่เมื่อเวลาผ่านไป Fujifilm ก็พัฒนาความสามารถทางเทคนิคและปรับภาพลักษณ์ จนในปี 1970 ฟิล์มของพวกเขาเหนือกว่า Kodak ในบางด้าน เช่น ฟิล์มสีที่ต้องการแสงน้อยกว่าในการเก็บภาพ

Fujifilm ใช้ความเชี่ยวชาญนี้ยึดตลาดการถ่ายภาพระดับสูงในญี่ปุ่น จุดเด่นของกลยุทธ์คือการสร้าง mini lab ที่ช่วยให้ร้านค้าสามารถล้างฟิล์มได้ภายในหนึ่งชั่วโมง สร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง คู่แข่งทำตาม แต่ Fujifilm ได้เปรียบในฐานะผู้บุกเบิก ปี 1994 มี mini lab 13,400 แห่งในญี่ปุ่น

ในขณะเดียวกัน Kodak ก็พลาดในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น ด้วยการจ้างบริษัทจัดจำหน่ายภายนอกที่ทำตลาดเพียงแค่ลดราคาสินค้า ทำให้ Kodak กลายเป็นแบรนด์ราคาถูกในญี่ปุ่น

การบุกตลาดอเมริกาและสงครามการค้า

ปี 1972 Fujifilm เริ่มขายในสหรัฐฯ ด้วยแบรนด์ของตัวเอง พวกเขาไม่สามารถเจาะตลาดร้านขายยาซึ่งจงรักภักดีต่อ Kodak แต่หาทางเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตได้สำเร็จ จากนั้นเจาะตลาดเฉพาะอย่างวงการภาพยนตร์และช่างภาพมืออาชีพ เน้นไปที่คุณภาพทางเทคนิค

พวกเขาสนับสนุนลีกกีฬาใหญ่อย่าง NBA และโอลิมปิก เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของโอลิมปิกปี 1984 ที่ลอสแองเจลิส ปี 1982 ได้รับรางวัลออสการ์ด้านเทคนิคสำหรับฟิล์มภาพยนตร์ A250 ซึ่งเป็นฟิล์มเนกาทีฟสีที่เร็วที่สุดในโลก ทั้งหมดนี้ทำให้ Fuji เป็นที่เชิดหน้าชูตาในฐานะฟิล์มที่มีคุณภาพเหนือกว่าได้สำเร็จ

ความสำเร็จที่พุ่งทะยาน (ส่วนแบ่งตลาด 13% ในสหรัฐฯ ปี 1995) นำไปสู่ปัญหาการเมือง เริ่มจากคดีปี 1993 ที่ Kodak ฟ้อง Fujifilm ข้อหาทุ่มตลาด ซึ่ง Kodak แพ้ Fujifilm จึงตั้งห้องแล็บกระดาษฟิล์มสีในเซาท์แคโรไลนาเพื่อลดแรงกดดัน

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 1995 Kodak ยื่นคำร้องกล่าวหาว่า Fujifilm สมรู้ร่วมคิดกับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อกีดกันสินค้า Kodak ออกจากตลาดญี่ปุ่น ขณะที่ Fujifilm ครองส่วนแบ่งตลาด 70% แต่ Kodak มีแค่น้อยกว่า 10% ผิดปกติสำหรับบริษัทที่มักมีส่วนแบ่งมากกว่า 40% ในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว

Fujifilm ต่อสู้คดีนี้แบบสุดตัวจนองค์การการค้าโลก (WTO) ยกฟ้องในปี 1998 การต่อสู้ระหว่างสองบริษัทนี้เป็นสงครามที่โครตมัน แต่ในช่วงที่ WTO ตัดสิน ทั้งสองก็ไม่ได้สนใจกันแล้ว เพราะมีศัตรูตัวฉกาจกว่ากำลังคืบคลานเข้ามา

จุดเปลี่ยนแห่งยุคดิจิทัล: การล่มสลายของฟิล์มถ่ายภาพ

หนึ่งในปริศนาลึกลับซับซ้อนเกี่ยวกับความล้มเหลวของ Kodak ในยุคดิจิทัลคือ พวกเขารู้มานานแค่ไหนว่าอนาคตกำลังจะเปลี่ยน ทั้ง Kodak และ Fujifilm ตระหนักมานานแล้วว่าอนาคตอยู่ที่ดิจิทัล โดยพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลหลายอย่างเอง

ปี 1975 พนักงาน Kodak ชื่อ Steve Sasson ประดิษฐ์กล้องดิจิทัลตัวแรกโดยรวมชิป CCD จาก Fairchild ตัวแปลงสัญญาณจาก Motorola และเลนส์ Kodak มันหนัก 8 ปอนด์ ขนาดเท่าเครื่องปิ้งขนมปัง และให้ภาพคุณภาพไม่เข้าท่า แต่พนักงาน Kodak รู้ว่านี่คืออนาคต คาดการณ์ว่าภายในปี 2000 ผลิตภัณฑ์ฟิล์มจะหายไป

นักวิทยาศาสตร์ Kodak ผลิตเซ็นเซอร์ภาพคุณภาพเจ๋งหลายตัว รวมถึงเซ็นเซอร์ CCD 1.4 ล้านพิกเซลในปี 1986 แต่ราคาสูงและขาดอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เหมาะสม ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในตลาด การสำรวจเทคโนโลยีดิจิทัลของบริษัทมักจบลงแค่สิทธิบัตร ไม่ใช่ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

ตำแหน่งของ Kodak ในอุตสาหกรรมฟิล์มแบบดั้งเดิมเป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจที่เทพที่สุดในประวัติศาสตร์ พวกเขาลังเลที่จะทำอะไรที่ไม่เข้ากับแบบแผนเดิม เช่น ปี 1976 Kodak มีเครื่องพิมพ์ Ektaprint ที่มีไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งเรียบง่ายและเชื่อถือได้มากกว่า Xerox แต่ไม่ได้ไล่ตามตลาดนี้อย่างจริงจัง เพราะไม่คุ้นเคยกับโมเดลธุรกิจการให้เช่าอุปกรณ์แนวนี้

Fujifilm เห็นอนาคตและเตรียมปรับตัว

ธุรกิจที่หลากหลายของ Fujifilm ทำให้พวกเขาเห็นสัญญาณเตือนว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น ปี 1981 พวกเขาเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์ แทนที่ฟิล์มเอกซเรย์ด้วยแผ่นไวแสง กลายเป็น Fuji Computed Radiography ซึ่งเปิดตัวปี 1983 และยังใช้อยู่ถึงทุกวันนี้

จากนั้นก็มาถึงการทำแม่พิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับสิ่งพิมพ์ ทำให้คอมพิวเตอร์พร้อมซอฟต์แวร์กราฟิกส่งงานทั้งหมดออกมาบนฟิล์มแผ่นเดียวได้ Shigetaka Komori ผู้จัดการฝ่ายขายเห็นสิ่งนี้และเริ่มกังวลเกี่ยวกับอนาคตที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มอีกต่อไป

Fujifilm เคยชินกับการทำงานหนักและการแข่งขันอันโหดเหี้ยม แต่พวกเขารู้ว่าถ้าผลิตสินค้าดีและขายในราคาที่เหมาะสม พวกเขาจะยังคงมีธุรกิจเสมอ แต่ด้วยการทำภาพแบบดิจิทัล ความพยายามในการสร้างผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป

กลยุทธ์สามด้านของ Fujifilm

ตระหนักถึงความท้าทายนี้ Fujifilm แต่งตั้ง Minoru Ohnishi เป็นประธานใหม่ในปี 1980 เขาแนะนำกลยุทธ์สามด้าน:

  1. ผลิตเทคโนโลยีการถ่ายภาพดิจิทัลต้นฉบับและเป็นผู้บุกเบิก คล้ายกับที่ Kodak ทำตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ปี 1988 พวกเขามีกล้องดิจิทัลรุ่นแรก Fujifilm DS-1P
  2. พยายามรีดเงินจากธุรกิจอนาล็อกให้มากที่สุด โดยขยายช่องว่างด้านคุณภาพกับระบบดิจิทัล เพื่อยืดอายุธุรกิจ
  3. สร้างสายธุรกิจใหม่นอกเหนือจากการถ่ายภาพ

ช่วงกลางทศวรรษ 1980 Fujifilm เริ่มลงทุนในการกระจายธุรกิจ บางส่วนเกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพและการสร้างภาพ เช่น เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทและแผ่นดิสก์ออปติคัล ส่วนอื่นพัฒนาจากเทคโนโลยีหลักในการผลิตฟิล์ม เช่น ยารักษามะเร็งร่วมกับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล

แต่ปัญหาคือธุรกิจปัจจุบันยังทำผลงานได้ดีมากในทศวรรษ 1980 พวกเขาแซงหน้า Kodak ด้านเทคโนโลยี และเปิดตัว Fujifilm QuickSnap ปี 1986 กล้องใช้แล้วทิ้งรุ่นแรกๆ ที่ขายดีและทำกำไรมหาศาล เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็รุ่งเรือง ยอดขายฟิล์มพุ่งทะยาน ปี 1986 Fujifilm มีกำไรจากการดำเนินงานมากกว่า 600 ล้านดอลลาร์

ความสำเร็จของธุรกิจหลักขัดขวางความพยายามในการกระจายธุรกิจ เกิดข้ออ้างมากมายเช่น “ดิจิทัลจะไม่มีวันดีเท่าอนาล็อก” “ดิจิทัลจะไม่แทนที่ทุกอย่าง” “การเปลี่ยนผ่านจะใช้เวลาอย่างน้อย 30 ปี”

เมื่อพายุดิจิทัลมาถึง

ปี 1995 Casio เปิดตัวกล้องดิจิทัลสำหรับผู้บริโภค QV-10 ราคา 833 ดอลลาร์ ซึ่งแพงโครตในตอนนั้น คุณภาพภาพยังห่างไกลจากฟิล์ม แบตเตอรี่แย่มาก แต่มีหน้าจอ LCD สี 1.8 นิ้ว เป็นครั้งแรกที่คนดูภาพที่ถ่ายได้โดยไม่ต้องล้างฟิล์ม

บริษัทอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น Sony ก็ตามมา แต่กล้องดิจิทัลที่ใช้ CCD แต่ขายไม่ออก คุณภาพภาพยังไม่ดี แบตเตอรี่ใช้งานได้ไม่นาน และราคาแพงเกินเหตุ ยอดขายฟิล์มยังทนทานต่อสิ่งเหล่านี้ได้ และแม้กระทั่งถึงจุดพีคในปี 2000

แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา ความต้องการฟิล์มสีทั่วโลกก็ลดฮวบอย่างรวดเร็วในอัตรา 20-30% ต่อปี สาเหตุคือการแพร่หลายของเซ็นเซอร์ภาพ CMOS

CCD เป็นชิปเฉพาะทางที่ต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงราคาแพงและกินไฟ ในขณะที่เซ็นเซอร์ CMOS ให้ภาพที่แย่กว่าในตอนแรก แต่เป็นเพราะเซมิคอนดักเตอร์ซิลิคอนทั่วไปที่ผลิตได้ง่ายและราคาถูก ช่วงกลางทศวรรษ 1990 เทคโนโลยีการผลิตก้าวหน้าพอที่จะผลิตเซ็นเซอร์ CMOS คุณภาพสูงขึ้น

ปี 1999 โทรศัพท์มือถือเริ่มใช้เซ็นเซอร์เหล่านี้ และนั่นคือจุดเปลี่ยนที่แท้จริง และอย่างที่มีการพูดกันว่า “กล้องที่ดีที่สุดคือกล้องที่คุณพกติดตัวอยู่เสมอ” เซ็นเซอร์ภาพ CMOS กลายเป็นผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบสำหรับกล้องฟิล์ม

Vision 75: แผนปฏิวัติตัวเองของ Fujifilm

ปี 2004 เมื่อธุรกิจหลักกำลังร่วงหล่น Shigetaka Komori ซึ่งเป็น CEO ของ Fujifilm ประกาศแผน “Vision 75” ตั้งชื่อตามวาระครบรอบ 75 ปีของบริษัทในปี 2010 เพื่อนำบริษัทสู่ความสำเร็จครั้งใหม่ แผนมีสามขั้นตอน:

  1. ปฏิรูปเชิงกลยุทธ์: Fujifilm มีพนักงาน 15,000 คนในโรงงานฟิล์มขนาดใหญ่ทั่วยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ โครงสร้างพื้นฐานราคาแพงเหล่านี้ทำให้ธุรกิจที่หดตัวแบกรับไม่ไหวอีกต่อไป เริ่มตั้งแต่ปี 2006 Fujifilm ใช้เงิน 1.8 พันล้านดอลลาร์ลดพนักงาน ปิดโรงงาน และยกเลิกความร่วมมือกับผู้จัดจำหน่าย

คู่แข่งในประเทศอย่าง Konica ถอนตัวจากธุรกิจถ่ายภาพไปเลย แต่ Komori ไม่เคยคิดที่จะเลิกทำธุรกิจนี้ เขาเคยกล่าวไว้ว่า “ภารกิจของ Fujifilm ผมเชื่อทั้งในตอนนั้นและวันนี้ คือการรักษาและสืบสานวัฒนธรรมการถ่ายภาพ ไม่ใช่เรื่องกำไรหรือขาดทุน ตลาดฟิล์มจะหดตัวลงอย่างแน่นอน แต่นั่นคือเหตุผลที่ Fujifilm ต้องสนับสนุนปาฏิหาริย์แห่งการถ่ายภาพต่อไป” Fujifilm ยังคงผลิตฟิล์มอยู่จนถึงทุกวันนี้

  1. การหาธุรกิจเติบโตใหม่ที่ทำกำไร: Fujifilm ก็เหมือนกับ Kodak พวกเขามีตำแหน่งที่ดีในตลาดกล้องดิจิทัล แต่การขายกล้องเป็นธุรกิจที่แย่สุดๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เงินอยู่ที่การผลิตและขายฟิล์ม ไม่ใช่กล้อง ใครๆ ก็ประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันเพื่อทำกล้องที่ถูกกว่าได้

ฟิล์มถ่ายภาพเคยสร้างรายได้ 60% ของยอดขายของ Fuji และสองในสามของกำไร กล้องดิจิทัลไม่สามารถทดแทนสิ่งนี้ได้ ทำให้ Fujifilm ต้องสยายปีกสู่ตลาดที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

ตลาดใหม่หลายแห่งเติบโตมาจากเทคโนโลยีเบื้องหลังธุรกิจฟิล์ม ตัวอย่างเช่น Fujitac ฟิล์มสีมีชั้นไวแสงหลายชั้นทับซ้อนกันบนฐานรอง ในทศวรรษ 1950 Fujifilm ผลิต TAC หรือ triacetate cellulose เพื่อใช้เป็นฐานรอง TAC มีความโปร่งใสสูงและพื้นผิวเรียบ ทำให้ Fujifilm ขายมันให้กับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่ฉนวนไฟฟ้าไปจนถึงอนิเมะ

แต่ผลิตภัณฑ์นี้ดังกระฉูดในอุตสาหกรรม LCD จอ LCD ใช้แผ่นโพลาไรซ์เพื่อช่วยให้แสงผ่านผลึกเหลวใน LCD ในทศวรรษ 1980 ผู้ผลิต LCD เริ่มใช้ Fujitac เป็นวัสดุป้องกันสำหรับชั้นโพลาไรซ์ มันถูกใช้อย่างแพร่หลายในทุกที่ที่มี LCD ตั้งแต่เครื่องคิดเลขไปจนถึงโทรทัศน์ ภายในทศวรรษ 2000 มันกลายเป็นธุรกิจพันล้านดอลลาร์

Fujitac เป็นแรงบันดาลใจสำหรับก้าวต่อไปของ Fujifilm บริษัททบทวนเทคโนโลยีทั้งหมดในห้องปฏิบัติการ และหลังจากนั้นหนึ่งปีก็โฟกัสไปที่ธุรกิจสำคัญหกด้าน:

  • การถ่ายภาพดิจิทัล: ผลิตกล้องดิจิทัลระดับไฮเอนด์
  • อุปกรณ์ออปติคัล: ธุรกิจชื่อ Fujinon ผลิตเลนส์สำหรับโทรทัศน์ กล้องวงจรปิด
  • เคมีภัณฑ์หรือวัสดุพิเศษ: คล้ายกับธุรกิจ Fujitac สำหรับอุตสาหกรรมแผงโซลาร์ หน้าจอสัมผัส หรือเซมิคอนดักเตอร์
  • กราฟิก: สำหรับการพิมพ์ดิจิทัล รวมถึงเทคโนโลยีอิงค์เจ็ท
  • เอกสาร: เครื่องพิมพ์และเครื่องถ่ายเอกสารสำหรับธุรกิจ ในปี 2021 แผนกนี้เป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท คิดเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด
  • ธุรกิจด้านสุขภาพ: การกระจายธุรกิจไปสู่ด้านนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการอยู่รอดอย่างสูงสุด

การต่อยอดสู่ธุรกิจการแพทย์: จุดเปลี่ยนของ Fujifilm

Fujifilm ขายอุปกรณ์การแพทย์หลายอย่าง แต่เริ่มตั้งแต่ปี 1996 พวกเขายื่นจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยาเป็นจำนวนมาก มีการชะลอตัวลงช่วงปลายศตวรรษ และจากนั้นก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว การยื่นจดสิทธิบัตรอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็เติบโตในเวลาใกล้เคียงกัน

Fujifilm เริ่มผลิตเครื่องสำอางบำรุงผิว ยา และอาหารเสริม ฟังดูมั่วซั่วแต่จริงๆ แล้วเชื่อมโยงกับการผลิตฟิล์มมาก ในการผลิตฟิล์ม Fujifilm เรียนรู้เรื่องอิมัลชัน , ออกซิเดชัน (ทำให้ภาพถ่ายเก่าลง) และคอลลาเจน (ส่วนประกอบหลักของเจลาติน)

พวกเขากลับไปดูความเชี่ยวชาญเหล่านี้และมองหาการประยุกต์ใช้ในตลาดใหม่ เสริมด้วยการซื้อกิจการอย่างชาญฉลาด ซื้อบริษัทด้านการถ่ายภาพทางการแพทย์หลายแห่งในปี 2006 และซื้อ Toyama Chemical มูลค่าเกือบ 1.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2008

ผลลัพธ์ที่แตกต่าง: ผู้แพ้และผู้ชนะ

ปี 2008 Fujifilm มียอดขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ 2.8 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 100% จาก 1.4 ล้านล้านเยนในปี 2001 กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจาก 149 พันล้านเยน เป็น 207 พันล้านเยน

Fujifilm ในปี 2008 เป็นบริษัทที่หลากหลายมากขึ้น ผลิตภัณฑ์การถ่ายภาพลดลงจาก 54% ของรายได้เหลือเพียง 19% ปี 2008 เรียกได้ว่ากลายเป็นจุดสูงสุดของพวกเขา แต่หลังจากนั้นธุรกิจก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกและการแข็งค่าของเงินเยน และฟื้นตัวกลับมาในปี 2015 ที่สามารถทำรายได้ประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ต่อปี

แต่นั่นยังดีกว่าชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับ Kodak มาก จากปี 2005 ถึง 2010 ยอดขายของ Kodak ลดลงจาก 11 พันล้านดอลลาร์เหลือ 5.9 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ยอดขาย Fujifilm เพิ่มขึ้นเกือบ 50%

บทเรียนจากความล้มเหลวของ Kodak

โรงเรียนธุรกิจศึกษาสถานการณ์ของ Kodak มานาน ในตอนแรก Kodak ก็เดินตามเส้นทางที่คล้ายกับ Fujifilm พวกเขาลดขนาดธุรกิจการผลิตฟิล์มในปี 1999 ตัดค่าใช้จ่าย 1.2 พันล้านดอลลาร์และลดพนักงาน 20,000 คน แต่พวกเขาไม่สามารถก้าวข้ามแนวคิดเรื่องการขายฟิล์มและให้บริการถ่ายภาพได้

CEO คนก่อนอย่าง Colby Chandler พยายามกระจายธุรกิจ ลงทุนในแผ่นดิสก์ แบตเตอรี่ และยา แต่ผู้สืบทอดตำแหน่ง Kay Whitmore และ George Fisher กลับถอยหลังเข้าคลองโดยล้มเลิกการกระจายธุรกิจและทุ่มเทให้กับการถ่ายภาพมากขึ้น

ที่น่าสนใจคือในปี 1993 Kodak แยกธุรกิจเคมีภัณฑ์พิเศษของตนซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1920 โดยในปัจจุบัน Eastman Chemical ได้กลายเป็นบริษัทมูลค่า 10 พันล้านดอลลาร์และเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่ติดอันดับ Top Fortune 500

พวกเขายังขายหน่วยธุรกิจยา Sterling Winthrop ซึ่งสร้างรายได้มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์ต่อปี Kodak ยังเริ่มทำวิจัยและยื่นสิทธิบัตรยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในเวลาใกล้เคียงกับ Fujifilm แต่ในปี 1996 พวกเขาถอนตัวจากธุรกิจเหล่านี้และหันมาทุ่มเทให้กับการถ่ายภาพ เรียกตัวเองว่าเป็น “บริษัทด้านการถ่ายภาพ”

Kodak พยายามพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า ในปี 2001 พวกเขาเปิดตัวกล้องดิจิทัล EasyShare ซึ่งขายได้ดี ผลิตกล้องดิจิทัลคุณภาพสูง และในช่วงปี 2004-2005 ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นผู้นำในตลาดกล้องดิจิทัลของสหรัฐฯ

แต่พวกเขาก็เริ่มรับรู้สิ่งเดียวกับที่ Fujifilm เผชิญว่ากล้องดิจิทัลเป็นธุรกิจที่แย่ บริษัทอื่นๆ เข้ามาในตลาด แย่งส่วนแบ่งไปเรื่อย ๆ ส่วนแบ่งของพวกเขาหดเหลือ 7% ในปี 2010 บริษัททำเงินได้มากกว่าจากการอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรเทคโนโลยีดิจิทัล

ปี 2005 Kodak เข้าสู่ธุรกิจเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แข่งขันกับยักษ์ใหญ่อย่าง HP การลงทุนนี้มาจาก CEO ใหม่ Antonio Perez ซึ่งมาจาก HP เป็นความคิดที่หายนะ พวกเขาขาดทุนสุทธิ 1.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2005 และ 691 ล้านดอลลาร์ในปี 2006

ปี 2007 บริษัทขายสินทรัพย์ล้ำค่าชิ้นสุดท้าย คือแผนกด้านสุขภาพ Kodak ดิ้นรนต่อไปอีกห้าปีภายใต้ภาระหนี้สินและภาระบำนาญที่สูง ก่อนยื่นล้มละลายในที่สุด

บทสรุป: สองเส้นทางที่แตกต่าง

แก่นสำคัญของความแตกต่างระหว่างสองบริษัทนี้คือ: Kodak เป็นแบรนด์สำหรับผู้บริโภคที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง ในทางกลับกัน Fujifilm เริ่มต้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่บังเอิญพบว่าตัวเองกำลังขายให้กับผู้บริโภค

เมื่อธุรกิจผู้บริโภคของพวกเขาหายไป Fujifilm จึงพบว่าเป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะกลับไปสู่รากฐานและก้าวต่อไป Kodak ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ พวกเขาเหมือนถูกมนต์สะกดให้ยึดติดกับอดีต

Kodak และ Fujifilm มาถึงจุดนี้ได้เพราะพวกเขาเก่งมากในด้านเคมีและการผลิตสารเคมีที่มีความแม่นยำสูง พวกเขาไม่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์ Fujifilm เห็นสิ่งนี้และตัดสินใจที่จะก้าวต่อไป โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเคมีเพื่อกระจายธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ

น่าสนใจที่บริษัทยังคงใช้คำว่า “film” ในชื่อ เป็นการบ่งบอกถึงที่มาของความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีของพวกเขา Kodak ตัดสินใจว่าพวกเขาไม่สามารถหรือไม่ควรทำเช่นเดียวกัน ติดอยู่บนเรือที่กำลังจม พวกเขาโยนแพชูชีพที่เป็นไปได้ทั้งหมดทิ้งไปและจมไปกับเรือลำนั้น

ฟ้าลิขิตให้ทั้งสองบริษัทเผชิญความท้าทายเดียวกัน แต่เลือกเส้นทางที่แตกต่างกัน และผลลัพธ์ก็ชัดเจน บทเรียนสำคัญสำหรับทุกธุรกิจคือ: อย่ารอให้ถึงวิกฤติก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนแปลง ใช้ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่สร้างโอกาสใหม่ และกล้าที่จะปล่อยวางสิ่งที่เคยทำให้คุณประสบความสำเร็จ เมื่อโลกเปลี่ยนไป

Geek Story EP320 : รถยนต์จีนกับการเปลี่ยนโฉมหน้าถนนไทย สมรภูมิใหม่ของสงครามรถยนต์เอเชีย

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่สำคัญของโลก เรื่องราวความสำเร็จนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อราว 60 ปีก่อน เมื่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นอย่าง Toyota, Nissan และ Honda ได้ตัดสินใจขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ

การที่ประเทศไทยได้รับโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานการผลิตรถยนต์ระดับโลกตั้งแต่ยุคแรกเริ่มนั้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก แซงหน้าประเทศที่มีประวัติศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์อันยาวนานอย่างฝรั่งเศสและอังกฤษ ความสำเร็จนี้ไม่เพียงแต่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะฐานการผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพ แต่ยังช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาทักษะแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมนี้อีกด้วย

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/h7uw78we

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/53px78wx

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/cby4a8c6

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/MgDGzIuUZs0

อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ากำลังจะพัง? ราคาพุ่ง ภาษีแพง เครดิตหาย ฝันร้ายของชาวอเมริกัน

โลกของยานยนต์ไฟฟ้ากำลังพบกับจุดเปลี่ยนสำคัญที่อาจเขียนขีดชะตาอุตสาหกรรมนี้ในทศวรรษหน้า ตัวเลขการเติบโตทั่วโลกนั้นต้อบบอกว่ายอดขายพุ่งกระฉูดขึ้น 18% ในปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่านี่ไม่ใช่แค่กระแสชั่วครู่

ทั่วโลกกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคไฟฟ้าอย่างเต็มตัว ทั้งยุโรปและจีนทุ่มสุดตัวกับนโยบายสนับสนุน แต่ในสหรัฐอเมริกา สถานการณ์กลับลึกลับซับซ้อนกว่าที่คิด

Jim Farley ซีอีโอของ Ford ออกมาส่งสัญญาณเตือนว่าภาษีนำเข้าใหม่อาจทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีปัญหา ขณะที่กลุ่มวุฒิสมาชิกที่ได้รับการอัดฉีดเงินจากธุรกิจน้ำมันกำลังผลักดันให้ยกเลิกเครดิตภาษี 7,500 ดอลลาร์

ไม่แค่นั้น พวกเขายังจะเพิ่มค่าธรรมเนียมพิเศษอีก 1,000 ดอลลาร์สำหรับเจ้าของรถไฟฟ้า ราวกับต้องการที่จะถีบส่งให้ธุรกิจนี้ดิ่งลงเหว

คำถามใหญ่คือ สหรัฐอเมริกาจะรักษาตำแหน่งเป็นที่เชิดหน้าชูตาในวงการยานยนต์ไฟฟ้าได้หรือไม่ หรือจะยอมแพ้ให้คู่แข่งอย่างจีนและยุโรปที่กำลังทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่คิดชีวิต

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเดินหน้าพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มสูบ จีนได้ก้าวขึ้นเป็นพี่ใหญ่ในวงการนี้อย่างชัดเจน จัดเต็มทั้งการลงทุนในเทคโนโลยีแบตเตอรี่ โรงงานผลิต และสถานีชาร์จทั่วประเทศ

ส่วนในสหรัฐฯ ภาษีนำเข้าที่อาจเกิดขึ้นจะทำให้ต้นทุนพุ่งทะยาน ซึ่งแน่นอนว่าผู้บริโภคจะเป็นคนแบกรับภาระ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้อาจบั่นทอนแรงผลักดันที่อุตสาหกรรมพยายามสร้างมาหลายปี

นอกจากนั้น อุปสรรคทางการค้าเหล่านี้อาจขัดขวางการไหลเวียนของนวัตกรรม ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งบริษัทใหญ่อย่าง Ford, GM และ Tesla ได้ทุ่มทรัพยากรมหาศาลไปกับยานยนต์ไฟฟ้า

แต่ถ้าต้องเจอกับความผันผวนของราคาวัตถุดิบหรือข้อจำกัดทางการค้าแบบไม่ทันตั้งตัว การวางแผนธุรกิจของพวกเขาก็จะมีปัญหาทันที

ที่น่าตะหงิดใจคือกลุ่มวุฒิสมาชิกที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมน้ำมันกำลังผลักดันให้ยกเลิกเครดิตภาษี 7,500 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ราคายานยนต์ไฟฟ้าจับต้องได้สำหรับคนทั่วไป

พวกเขาอ้างว่าผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าไม่ได้จ่ายภาษีน้ำมัน และสิ่งจูงใจมากเกินไปทำให้ตลาดมันบูมแบบผิดธรรมชาติ แต่อีกฝั่งโต้กลับว่าการยกเลิกเครดิตและเพิ่มค่าธรรมเนียมจะทำลายความพยายามในการลดมลพิษ

หากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นจริง คนที่กำลังคิดจะซื้อรถไฟฟ้าก็อาจถอยห่างเมื่อรู้ว่าสิ่งจูงใจทางการเงินหายไปและจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ความไม่แน่นอนนี้สร้างความซับซ้อนให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค หากราคายานยนต์ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ความสนใจกำลังเติบโต ก็เหมือนเป็นการซ้ำเติมตลาดให้แย่ลง

เมื่อนโยบายเหล่านี้ชัดเจน ความเป็นผู้นำในตลาดอาจย้ายขั้วไปยังจีนหรือยุโรปอย่างถาวร ทำให้สหรัฐฯ อยู่ในตำแหน่งที่เสียเปรียบในการแข่งขันระยะยาว

ผลกระทบของการถกเถียงเหล่านี้กำลังส่งสัญญาณเตือนอย่างชัดเจน คำถามใหญ่สำหรับผู้บริโภคคือ รถไฟฟ้าที่อยากซื้อจะยังมีราคาจับต้องได้ไหม หากภาษีนำเข้าเพิ่มและเครดิตหายไป

นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงค่าธรรมเนียมการใช้ถนนแบบใหม่เพื่อชดเชยรายได้จากภาษีน้ำมันที่หายไป แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะนำมาใช้อย่างไรโดยไม่ทำให้ความต้องการรถไฟฟ้าลดลง

ประเด็นสำคัญอีกอย่างคือ อุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ พร้อมแค่ไหนสำหรับการแข่งขันสุดโหดในเวทีโลก ประเทศอื่นปรับนโยบายให้เรียบง่ายเพื่อสนับสนุนรถไฟฟ้า

ในหลายเมืองยุโรป มีการห้ามใช้รถที่ปล่อยมลพิษในเขตเมือง หรือเก็บค่าธรรมเนียมการจราจรที่ยกเว้นให้รถไฟฟ้า หากสหรัฐฯ สร้างภาระเพิ่มด้วยภาษีนำเข้าและยกเลิกสิ่งจูงใจ อุตสาหกรรมอาจต้องฝ่าฝันต่อสู้เพื่อความอยู่รอด

รัฐบาลระดับรัฐ เช่น แคลิฟอร์เนีย มีมาตรการสนับสนุนของตัวเองที่อาจชดเชยการถอยหลังของรัฐบาลกลางได้บางส่วน ผู้ผลิตหลายรายลงทุนพันล้านดอลลาร์ไปแล้ว

การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ยังคงเดินหน้าอย่าง มีการค้นพบวัสดุและเทคนิคใหม่ๆ ที่อาจลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในเร็ววัน

คำถามสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสัญญาณของจุดจบสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ หรือไม่ แม้จะเป็นความท้าทาย แต่อนาคตก็คงยังไม่ถึงทางตัน

เทคโนโลยียังก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนแบตเตอรี่ลดลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ และความสนใจของผู้บริโภคยังเพิ่มขึ้น แต่อุปสรรคทางนโยบายอาจทำให้การยอมรับช้าลงจนติดหล่ม

ถ้าสหรัฐฯ สูญเสียตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ จะกระทบไม่เฉพาะธุรกิจรถยนต์ แต่รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงบริการด้านพลังงาน

โลกของยานยนต์ไฟฟ้ากำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่ความท้าทายด้านนโยบายสร้างความไม่แน่นอนให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

ในขณะที่โลกกำลังขับเคลื่อนสู่การคมนาคมด้วยไฟฟ้าอย่างเต็มสปีด นโยบายของสหรัฐฯ กลับเจอแรงต้านจากกลุ่มผลประโยชน์น้ำมัน ซึ่งอาจทำให้สหรัฐฯ ตามหลังในการแข่งขันระดับโลก

ในท้ายที่สุด การตัดสินใจว่าจะรักษาหรือยกเลิกนโยบายสนับสนุนรถไฟฟ้าไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคหรือการเงิน แต่เป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ที่จะกำหนดว่าประเทศสหรัฐฯจะรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้หรือไม่ และเป็นบททดสอบความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนผ่านการลดมลพิษจากการขนส่งของพวกเขาอย่างแท้จริง

Hi5 ตายแล้วหรือยัง? จากราชาโซเชียลสู่ความเงียบงัน เส้นทางการล่มสลายที่ไม่มีใครเชื่อ

ต้องบอกว่าหากย้อนกลับไปในช่วงปี 2007 Hi5 นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก วางตัวเองเป็นเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์หลักรองจาก MySpace เท่านั้น แต่โชคชะตากลับเล่นตลกกับพวกเขา

Hi5 เป็นเว็บเครือข่ายสังคมที่ให้สมาชิกสร้างโปรไฟล์และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ก่อตั้งในปี 2003 โดย Ramu Yalamanchi และ Akash Garg

ในยุคเริ่มต้นของโซเชียลมีเดีย Hi5 ได้รับความนิยมพุ่งกระฉูด เพราะใช้ประโยชน์จากความสำเร็จของ Friendster ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ที่บุกเบิกอุตสาหกรรมนี้ในปี 2002

การสร้างบัญชี Hi5 ง่ายแสนง่าย แค่ใส่อีเมลและรหัสผ่าน หรือเชื่อมต่อบัญชีผ่านโซเชียลอื่นๆ เช่น Facebook หรือ Google (ในยุคหลัง)

ผู้ใช้สามารถปรับแต่งโปรไฟล์ด้วยข้อมูลมากมาย ทั้งเพศ วันเกิด การศึกษา และความสนใจ รวมถึงรูปภาพโปรไฟล์ จุดเด่นที่ทำให้ Hi5 โดดเด่นคือองค์ประกอบด้านการหาคู่ ผู้ใช้สามารถ Flirt (จีบ) และส่งของขวัญเสมือนจริง

ภายในปี 2007 เว็บไซต์มีสมาชิกลงทะเบียนกว่า 70 ล้านคน และเป็นหนึ่งใน 40 เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดทั่วโลก

ฐานผู้ใช้จำนวนมหาศาลในละตินอเมริกาถือเป็นจุดพีคของแพลตฟอร์มนี้ นับเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่ง ฟีเจอร์ที่ทำให้ Hi5 โดดเด่นที่สุด คือโปรไฟล์ที่ปรับแต่งได้แบบจัดเต็ม

แม้จะประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่ Hi5 ก็ประสบปัญหาในการก้าวทันกับความเร็วแบบโครตโหดของสภาพแวดล้อมของเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

วิกฤตการเงินปี 2008 ยิ่งทำให้ความท้าทายรุนแรงขึ้น นำให้ Hi5 ปรับเปลี่ยนจากเว็บเครือข่ายสังคมแบบดั้งเดิมไปสู่สินค้าเสมือนและ Social Games เป็นหลัก

ในปี 2010 Hi5 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยรวมคุณสมบัติ Social Games และสกุลเงินเสมือนเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ การแข่งขันกับแพลตฟอร์มยอดนิยมเป็นเรื่องยากมาก ทำให้ผู้ใช้ละทิ้ง Hi5 ไปอย่างรวดเร็ว

ในเดือนธันวาคม 2010 Hi5 ถูกซื้อโดย Tagged ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น If(we) และถูกขายต่อให้ MeetMe ในปี 2017

แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของเหล่านี้ แต่ Hi5 ยังคงดำเนินงานต่อไป โดยมุ่งเน้นที่คุณสมบัติด้านการหาคู่และ Social Games เป็นหลัก

Hi5 ล้มเหลวเพราะไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีเงินทุนมากกว่าอย่าง Facebook ซึ่งในเวลาที่ Facebook เข้าตลาดหุ้นในเดือนพฤษภาคม 2012 บริษัทได้ระดมทุนเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ลงทุนในแพลตฟอร์มอย่างหนัก

ความได้เปรียบทางการเงินนี้ทำให้ Facebook สามารถทดลองฟีเจอร์ต่างๆ เช่น News Feed ซึ่งกลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของแพลตฟอร์ม

ในทางตรงกันข้าม Hi5 ล้าหลังในด้านนวัตกรรมและประสบปัญหาในการก้าวทันแนวโน้มของอุตสาหกรรม ในขณะที่ Facebook ใช้ประโยชน์จาก Social Games และสร้างรายได้มหาศาล Hi5 เพิ่งปรับเปลี่ยนไปสู่ Social Games เมื่อสายเกินไปแล้ว

เมื่อเพื่อนและครอบครัวของผู้ใช้ส่วนใหญ่อยู่บน Facebook แพลตฟอร์มนี้ก็กลายเป็นเครือข่ายสังคมเริ่มต้น ทำให้ Hi5 ยากที่จะต่อกร

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “network effect” หรือผลกระทบเครือข่าย ซึ่งทำให้แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากกว่ายิ่งมีความได้เปรียบมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Twitter ในช่วงปลายทศวรรษ 2000 Hi5 ตัดสินใจปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่

ในปี 2009 บริษัทเริ่มเปลี่ยนจากเครือข่ายสังคมแบบดั้งเดิมไปสู่แพลตฟอร์ม Social Games หวังว่าจะพบช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้และรักษาฐานผู้ใช้

การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นภายใต้การนำของ Alex St. John ซึ่งเข้าร่วมกับ Hi5 ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีในเดือนกุมภาพันธ์ 2009

St. John เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้สร้าง DirectX ของ Microsoft และมีประสบการณ์โชกโชนในวงการเกม ภายใต้การนำของเขา Hi5 เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม Social Games ที่เรียกว่า “SocioPath” ที่ให้นักพัฒนาสร้างเกมโดยใช้ข้อมูลโซเชียล

ในปี 2010 Hi5 เปิดตัว “Hi5 Games” อย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยเกมต่างๆ และระบบสกุลเงินเสมือนที่เรียกว่า “Hi5 Coins”

กลยุทธ์นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของเกมโซเชียลบน Facebook เช่น FarmVille ของ Zynga ซึ่งกำลังทำเงินได้มหาศาล

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำทราฟฟิกมาสู่เว็บไซต์ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะฟื้นส่วนแบ่งตลาดโดยรวม Hi5 พบว่าตัวเองล้าหลังในการแข่งขันด้าน Social Games

ในปี 2010 ท่ามกลางความพยายามปรับเปลี่ยนนี้ Hi5 ลดจำนวนพนักงานลงถึง 50% ซึ่งเป็นสัญญาณชัดเจนว่าบริษัทกำลังประสบปัญหาทางการเงิน

แม้จะพยายามฟื้นฟูธุรกิจ แต่ในเดือนธันวาคม 2011 Hi5 ก็ถูกขายให้กับ Tagged ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมคู่แข่ง หลังจากถูกซื้อโดย Tagged ในปี 2011 Hi5 เข้าสู่บทใหม่ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง

Tagged ในเวลานั้นเป็นเครือข่ายที่เน้นการพบปะผู้คนใหม่ๆ มากกว่าการเชื่อมต่อกับเพื่อนที่มีอยู่แล้ว เป้าหมายของ Tagged ในการซื้อ Hi5 คือการขยายฐานผู้ใช้และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในพื้นที่เครือข่ายสังคมที่กำลังหดตัว

หลังการซื้อกิจการ Tagged เริ่มรวม Hi5 เข้ากับแพลตฟอร์มของตนเอง แม้ว่า Hi5 จะยังคงดำเนินงานภายใต้แบรนด์ของตัวเอง การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการเน้นคุณสมบัติการหาคู่และการพบปะผู้คนใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับจุดแข็งของ Tagged

ในปี 2014 Tagged เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “If(we)” ซึ่งเป็นความพยายามในการปรับภาพลักษณ์และสะท้อนวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น ภายใต้แบรนด์ใหม่นี้ บริษัทยังคงดำเนินการทั้ง Tagged และ Hi5 แต่เริ่มทดลองกับแอปโซเชียลและการหาคู่ใหม่ๆ

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งต่อไปเกิดขึ้นในปี 2016 เมื่อ MeetMe ซึ่งเป็นแอปพบปะผู้คนบนมือถือ ประกาศแผนการซื้อ If(we) ข้อตกลงมูลค่าประมาณ 60 ล้านดอลลาร์เสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2017 นำทั้ง Tagged และ Hi5 มาอยู่ภายใต้ร่มเงาของ MeetMe

การเข้าซื้อกิจการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การรวมแพลตฟอร์มการพบปะผู้คนหลายแห่งเข้าด้วยกันของ MeetMe

หลังจากการซื้อกิจการ MeetMe เปลี่ยนชื่อเป็น The Meet Group และดำเนินการแบรนด์ย่อยหลายแบรนด์ รวมถึง MeetMe, Tagged, Hi5, LOVOO และ Skout

ภายใต้ The Meet Group Hi5 ยังมีอยู่แต่มีบทบาทลดลงอย่างมาก แพลตฟอร์มถูกปรับให้เป็นส่วนหนึ่งของแอปหาคู่ของบริษัทแม่

คุณสมบัติการเครือข่ายสังคมดั้งเดิมหลายอย่างของ Hi5 ถูกลดความสำคัญลงหรือถูกลบออกไป กลายเป็นเพียงเงาของตัวเอง

แม้ว่า Hi5 จะไม่เป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในโลกโซเชียลมีเดียอีกต่อไป แต่มรดกของมันในประวัติศาสตร์ของเว็บก็ปฏิเสธไม่ได้

Hi5 เป็นผู้บุกเบิกคุณสมบัติหลายอย่างที่ต่อมากลายเป็นมาตรฐานในโซเชียลมีเดีย เช่น การปรับแต่งโปรไฟล์ การจัดอันดับเพื่อน โดยเฉพาะระบบเพื่อนของ Hi5 ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ “ให้ไฮไฟว์” ซึ่งกันและกัน เป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อปุ่ม “Like” และระบบรีแอคชั่นทุกวันนี้

นอกจากนี้ การโฟกัสของ Hi5 ในตลาดระหว่างประเทศก็มีความสำคัญ ในขณะที่ MySpace และ Facebook เน้นที่ตลาดสหรัฐอเมริกาในช่วงเริ่มต้น และ Hi5 ก็มีแนวทางที่เป็นสากลตั้งแต่เริ่มต้น ส่งผลให้มีการเติบโตอย่างมากในละตินอเมริกา เอเชีย และยุโรป

ความล้มเหลวของ Hi5 ก็ให้บทเรียนที่มีค่า มันแสดงให้เห็นว่าแม้แต่แพลตฟอร์มยอดนิยมก็สูญเสียตำแหน่งได้อย่างรวดเร็ว

บริษัทเช่น Meta (เดิมคือ Facebook) และ Twitter (ปัจจุบันคือ X) เรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้บุกเบิกและลงทุนอย่างหนักในการสร้างนวัตกรรม

อีกมรดกหนึ่งของ Hi5 คือบทบาทในการแปลงเงินเสมือนให้เป็นของจริงในโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างรายได้ให้แพลตฟอร์ม แนวทางนี้นำไปสู่สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบัน เช่น ระบบไอเทมและเงินในเกมต่างๆ

เรื่องราวของ Hi5 เป็นภาพสะท้อนที่น่าสนใจของธรรมชาติโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แพลตฟอร์มนี้เริ่มต้นอย่างโครตเทพ กลายเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด

แต่ไม่สามารถรักษาโมเมนตัมเมื่อเผชิญกับการแข่งขันจาก Facebook และการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค

การพยายามปรับตัวและนำเสนอตัวเองใหม่ – จากเครือข่ายสังคมไปเป็นแพลตฟอร์ม Social Games และสุดท้ายเป็นแอปหาคู่ – แสดงถึงความจำเป็นในการวิวัฒนาการตัวเอง

บทเรียนสำคัญคือการปรับตัวต้องมาพร้อมกับเวลาที่เหมาะสมและทรัพยากรที่เพียงพอ Hi5 ไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งที่มีทรัพยากรมากกว่าได้

การถูกซื้อโดย Tagged และต่อมาคือ MeetMe ช่วยให้แบรนด์ Hi5 รอดพ้นจากการหายสาบสูญ แต่มาพร้อมกับการสูญเสียอัตลักษณ์ ในปัจจุบัน Hi5 อยู่ในเงามืดของอดีตที่รุ่งโรจน์ เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในจักรวาลแอปหาคู่ที่กว้างใหญ่ไพศาล

สำหรับผู้ใช้ที่เติบโตมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ตในช่วงต้นถึงกลางทศวรรษ 2000 Hi5 อาจเป็นตัวแทนของความถวิลหาถึงยุคที่โซเชียลมีเดียยังใหม่และน่าตื่นเต้น

เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังทดลองกับตัวตนออนไลน์ผ่านโปรไฟล์ที่มีสีสันและการปรับแต่งอย่างจัดหนัก เป็นยุคทองของการประดับประดาโปรไฟล์

สำหรับธุรกิจเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน เรื่องราวของ Hi5 เป็นเครื่องเตือนใจถึงความไม่แน่นอนของความสำเร็จในโลกดิจิทัล

TikTok และ Snapchat เป็นตัวอย่างชัดเจนของการที่ผู้เล่นใหม่สามารถฉีกกฎเกมและดึงดูดผู้ใช้รุ่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ยักษ์ใหญ่สั่นคลอน

บทเรียนจาก Hi5 ยังสอนเราเรื่องความสำคัญของการปรับตัวทันเวลา ไม่ใช่แค่ปรับตัวเมื่อถูกบีบบังคับเท่านั้น ต้องปรับก่อนที่จะสายเกินไป

การมองการณ์ไกลและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ Hi5 พลาดจังหวะในการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด

เงินทุนก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ Facebook มีเงินทุนมากพอที่จะซื้อคู่แข่งอย่าง Instagram และ WhatsApp เมื่อเห็นว่าเป็นภัยคุกคาม

ในทางตรงกันข้าม Hi5 ไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะแข่งขันหรือซื้อกิจการคู่แข่งที่น่าสนใจ จึงถูกกลืนกินเองในท้ายที่สุด

Hi5 อาจไม่ได้เป็นชื่อที่ได้รับความนิยมอีกต่อไป แต่บทบาทในการวางรากฐานสำหรับวิธีที่เราใช้โซเชียลมีเดียในปัจจุบันไม่ควรถูกมองข้าม

ในฐานะหนึ่งในเครือข่ายสังคมยุคแรกที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก มันมีส่วนสำคัญในการสร้างภูมิทัศน์ทางด้านดิจิทัลที่เราใช้กันในทุกวันนี้

ความสำเร็จในโลกเทคโนโลยีไม่ได้หมายถึงความยั่งยืน การอยู่รอดต้องอาศัยการปรับตัว นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และบางครั้งต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิง

Hi5 อาจไม่ได้เป็นผู้ชนะในสงครามโซเชียลมีเดีย แต่จากความรุ่งเรืองและล่มสลายของมัน เราได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญเกี่ยวกับการแข่งขันในยุคดิจิทัล

และใครจะรู้? อาจมีวันที่เราจะพูดถึง Facebook ในแบบเดียวกันกับที่เราพูดถึง Hi5 ในตอนนี้ เพราะในโลกเทคโนโลยี ไม่มีอะไรที่มันจะอยู่ค้ำฟ้านั่นเองครับผม