สรุปเนื้อหา บทสัมภาษณ์สุด exclusive จาก Adam Mosseri สุดยอดซีอีโอของ Instagram

เป็นบทสัมภาษณ์จากช่อง Colin and Samir ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของ Instagram จากปากสุดยอดซีอีโออย่าง Adam Mosseri ที่ได้พูดคุยเกี่ยวกับวิวัฒนาการของแพลตฟอร์ม การแข่งขันกับ TikTok ความท้าทายในการแบ่งรายได้ให้กับครีเอเตอร์ ความสำคัญของตัวชี้วัดด้านการมีส่วนร่วม และการโฟกัสในการปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้

Highlights

📸 Instagram ได้พัฒนาจากแพลตฟอร์มที่เน้นรูปภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสไปสู่เนื้อหาที่หลากหลาย โดยวิดีโอกลายเป็นสิ่งที่ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากที่สุดในปัจจุบัน

🤝 Instagram โฟกัสในเรื่องการเชื่อมต่อผู้คนกับเพื่อนๆ ผ่านเนื้อหาวิดีโอแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นความสำคัญของอัตราส่วนของการแชร์ต่อการเข้าถึงเพื่อเป็นข้อมูลให้อัลกอริธึมสำหรับการจัดอันดับเนื้อหา

🤩 แพลตฟอร์มให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่กระตุ้นอารมณ์และกระตุ้นให้ผู้ใช้แชร์กับเพื่อน ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงที่สูงขึ้น

💰 แม้ว่าการแบ่งปันรายได้จะมีความสำคัญ แต่ Instagram กำลังศึกษาแรงจูงใจตามผลงานที่แท้จริงของครีเอเตอร์ โดยโฟกัสไปที่โปรแกรมการแบ่งรายได้ที่มีความยั่งยืน

💡 โมเดลการแบ่งปันรายได้ของ YouTube shorts ถือเป็นก้าวที่ดี แม้ว่าผลกระทบต่อธุรกิจโดยรวมของแพลตฟอร์มยังไม่ชัดเจน

🚀 จุดแข็งของ TikTok คือการเปิดโอกาสให้กับครีเอเตอร์รายเล็ก ๆ และช่วยให้พวกเขาได้รับความนิยม แม้ว่ารูปแบบการแบ่งปันรายได้อาจไม่แข็งแกร่งเท่า YouTube

Key Insights

📹 การโฟกัสเนื้อหาวิดีโอสั้นของ Instagram เช่น Reels ได้เปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มอย่างมีนัยสำคัญ โดยมากกว่าครึ่งของเวลาที่ user ใช้งาน Instagram เป็นการเสพเนื้อหาวิดีโอ การเปลี่ยนแปลงไปสู่วิดีโอนี้ช่วยให้เกิดประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ โดยเน้นการแชร์และการมีส่วนร่วมมากกว่าการโพสต์เพียงแค่รูปภาพเพียงอย่างเดียวแบบดั้งเดิมของแพลตฟอร์ม

🔍 อัลกอริทึมบน Instagram ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่สร้างการมีส่วนร่วมในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการแชร์ ตัวชี้วัดที่เรียกว่า “sends per reach” มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดความสำเร็จของโพสต์ เนื่องจากมันแสดงถึงเนื้อหาที่กระตุ้นให้ผู้ใช้แชร์กับเพื่อนๆ ซึ่งนำไปสู่การมีส่วนร่วมและการสนทนามากยิ่งขึ้น

💡 แนวทางของ Instagram ในการสร้างรายได้ให้กับครีเอเตอร์โฟกัสไปที่ครีเอเตอร์แบบรายบุคคลมากกว่าสื่อหรือสำนักพิมพ์ โดย Instagram มีความตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมต่อระหว่างเพื่อน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มที่มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากสถาบันหรือองค์กรธุรกิจไปสู่บุคคลทั่วไปในอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

💰 แม้ว่าการแบ่งปันรายได้จะเป็นความกังวลที่สำคัญสำหรับครีเอเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครีเอเตอร์ระดับท็อป แต่ Instagram มองในเรื่องความยั่งยืน เนื่องจากธรรมชาติที่ผันผวนของเนื้อหาวิดีโอสั้น แพลตฟอร์มกำลังศึกษาโปรแกรมสร้างแรงจูงใจแบบใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนครีเอเตอร์ แต่ด้วยความซับซ้อนของการให้เครดิตของวีดีโอที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาและเรื่องของ ROI ทำให้เกิดความท้าทายในการสร้างสมดุลระหว่างค่าตอบแทนของครีเอเตอร์และความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ

📊 Mosseri ได้เน้นย้ำมาก ๆ เกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างกระแสรายได้ที่สม่ำเสมอสำหรับเหล่าครีเอเตอร์ แม้ว่าโมเดลการแบ่งปันรายได้สามารถสร้างมูลค่าได้ แต่ธรรมชาติที่ผันผวนของรายได้จากการโฆษณาทำให้เกิดความท้าทายในการรักษารายได้ที่สม่ำเสมอสำหรับครีเอเตอร์ในระยะยาว

🎥 การนำรูปแบบการแบ่งปันรายได้มาใช้สำหรับเนื้อหา shorts ของ YouTube สะท้อนให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์เพื่อแข่งขันในตลาดวิดีโอสั้น ซึ่งอาจมีต้นทุนในการอัดเม็ดเงินให้กับเหล่าครีเตอร์เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด การโฟกัสไปที่การสนับสนุนครีเอเตอร์รายเล็ก ๆ และส่งเสริมการเติบโตในเนื้อหาแบบวีดีโอสั้นแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ YouTube ในการปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงของการผลิตและบริโภคคอนเทนต์

🌐 วิวัฒนาการของโมเดลการสร้างรายได้ของครีเอเตอร์บนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Instagram และ YouTube เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างสมดุลระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ คุณภาพของเนื้อหา และความยั่งยืนทางการเงินของธุรกิจ เมื่อรูปแบบของการสร้างเนื้อหายังคงพัฒนาต่อไป แพลตฟอร์มต่างๆ ก็ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับความซับซ้อนของการแบ่งปันรายได้ เสถียรภาพ และการเติบโตของธุรกิจเพื่อสนับสนุนความหลากหลายของครีเอเตอร์โดยรวม

Opinion

ต้องบอกว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้กับแพลตฟอร์มต่าง ๆ มันชัดเจนแล้วว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางรูปแบบวีดีโอสั้นแบบหนีไม่ได้ ซึ่งผมว่าหลายๆ คนก็ไม่ค่อยชอบสักเท่าไหร่ ส่วนตัวผมเองคนนึงก็ไม่เคยอินเลยกับพวกรูปแบบวีดีโอสั้นเหล่านี้ เพราะดูเหมือนทำให้เราโฟกัสกับสิ่งต่าง ๆ น้อยลงไปทุกที

Instagram เป็นแพลตฟอร์มใหญ่ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ กับยุคใหม่ที่นำโดย Adam Mosseri นั้น ผมมองว่าคือหนึ่งในผู้บริหารระดับท็อปคนหนึ่งที่สามารถพลิกสถานการณ์จากที่เคยจะเพลี่ยงพล้ำให้กับ TikTok แต่สุดท้าย Instagram ก็สามารถกลับมาครองบัลลังก์ความยิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง ดูได้จากเทรนด์ยอดดาวน์โหลดที่กลับมาแซง TikTok เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Mosseri เน้นย้ำหลายครั้งในเรื่องความยั่งยืน ซึ่งผมว่านี่คือคีย์หลักของแพลตฟอร์มของพวกเขา ที่ต้องการให้ครีเอเตอร์อยู่ได้ในระยะยาวและสร้างกระแสเงินสดเลี้ยงตัวเองอยู่ได้ ไม่ใช่ไปรับเงินแบบฉาบฉวยที่ถูกอัดเงินโปรโมทมาซึ่งแน่นอนว่ามันกอบโกยได้เพียงระยะสั้นเพียงเท่านั้น

โลกของสื่อสังคมออนไลน์กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าเราทุกคนล้วนมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตของมัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ทั่วไปหรือครีเอเตอร์ ทุกการแชร์ ทุกการมีส่วนร่วมของเราทุกคน ล้วนแล้วแต่มีผลต่อวิวัฒนาการของแพลตฟอร์มเหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ถ้าเราอยากเห็นแพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นอย่างไร ก็อยู่ที่ตัวพวกเรานี่แหละครับที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงให้กับพวกมัน

แล้วคุณล่ะ คิดว่าอนาคตของ Instagram และสื่อสังคมออนไลน์จะเป็นอย่างไร? อย่าลืมแชร์ความคิดเห็นของคุณกันได้นะครับผม

HPE เปิดตัวเทคโนโลยี Virtualization ใหม่ ส่งเสริมประสิทธิภาพ เร่งระยะคุ้มทุน และลดความเสี่ยงในการทำงานแบบครบวงจร

บริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ [Hewlett Packard Enterprise (NYSE: HPE)] ประกาศขยายการให้บริการไฮบริดคลาวด์ด้วยเทคโนโลยี HPE Virtualization สำหรับ HPE Private Cloud ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเสมือนเคอร์เนล (Kernel-based Virtual Machine (KVM)) แบบโอเพนซอร์ส พร้อมกับซอฟต์แวร์ประสานอัตโนมัติแบบคลัสเตอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของ HPE

เพื่อรองรับประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานขั้นสูงที่จำเป็นสำหรับเวิร์กโหลดขององค์กรที่มีความต้องการในการใช้งานสูง โดยคลัสเตอร์การจำลองเสมือนนี้ได้รับการจัดการผ่านส่วนควบคุมบนคลาวด์ ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรเพื่อการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อระบบภายในองค์กร ทั้งนี้ เทคโนโลยี Virtualization ของ HPE ได้รับการออกแบบให้มีความพร้อมใช้งานสูง แม้ในช่วงที่ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์

นายฮัง ทาน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ HPE Hybrid Cloud กล่าวว่า “เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการทำงานไฮบริดคลาวด์อย่างแท้จริง บริษัทต่างๆ เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในด้านการออกแบบระบบแบบไฮบริด (Hybrid by Design) ที่จะสามารถนำเสนอโมเดลการดำเนินงานคลาวด์บนแพลตฟอร์มแบบองค์รวมได้ และในขณะเดียวกัยสามารถมอบความยืดหยุ่น การควบคุม และอิสระจากข้อจำกัดในการโอนย้ายบริการ

และเพื่อช่วยตอบสนองความต้องการเหล่านี้ เราตื่นเต้นมากที่จะได้ขยายข้อเสนอไฮบริดคลาวด์ของเราด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtualization capability) ของ HPE สำหรับ HPE Private Cloud โดยการรวบรวมความสามารถของไฮบริดคลาวด์ทั้งระบบหน้าบ้านและหลังบ้าน (Full-stack) และระบบนิเวศคลาวด์แบบไฮบริดแบบเปิดของเรา

ทำให้คลาวด์ HPE GreenLake สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตสำหรับองค์กรได้อย่างเพรียบพร้อม นอกจากนี้คลาวด์ HPE GreenLake ยังให้ความสำคัญกับลูกค้ามาเป็นอันดับแรก โดยเรามุ่งมั่นที่จะรองรับมาตรฐานแบบเปิด (Open standards) รวมถึงรองรับผู้ให้บริการแบบ multi-vendor และระบบ multi-cloud

นอกจากนี้ HPE จะยังคงร่วมมือกับผู้นำในอุตสาหกรรมรายอื่นๆ ในด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือน  (Virtualization Technology) และเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ (Container Technology) ต่อไป เพื่อรองรับการทำงานของระบบเพื่อส่งมอบโซลูชั่นที่ดีที่สุดตามความต้องการของลูกค้าของเรา”

HPE Virtualization ได้ผนวกกับ HPE Private Cloud อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อมอบประสบการณ์การจัดการที่ง่ายดาย พร้อมการปกป้องข้อมูล และบริหารวงจรแบบอัตโนมัติ

เทคโนโลยี Virtualization ของ HPE เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบครบวงจร ซึ่งสร้างขึ้นจากเทคโนโลยีด้านการประมวลผล การสร้างเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลระดับชั้นนำของ HPE

โดยลูกค้าที่ใช้ HPE Private Cloud พร้อมเทคโนโลยี Virtualization ของ HPE จะได้รับประโยชน์จากประสบการณ์การจัดการที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ซึ่งรวมถึงการทำงานแบบอัตโนมัติ Day 0, Day 1+, การจัดเตรียม VM ที่รวดเร็วด้วยการคลิกเพียงสองครั้ง พร้อมการปกป้องข้อมูลในตัว และการจัดการวงจรการใช้งานแบบอัตโนมัติ 

นอกจากนี้ ลูกค้าจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากแพลตฟอร์ม HPE Alletra Storage MP ที่ผสานรวมแบบเนทีฟ (Native integration) ของ HPE ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงสำหรับเวิร์กโหลดที่มีข้อมูลจำนวนมากและลดขนาดข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย HPE Alletra Storage MP จะช่วยขยายและเพิ่มขนาดของระบบได้อย่างอิสระเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับความต้องการเวิร์กโหลดเฉพาะแต่ละงาน และตอนนี้ยังสามารถขยายการจำลองข้อมูลไปยังคลาวด์สาธารณะด้วยเทคโนโลยีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (SDS) ได้อีกด้วย

ทั้งนี้ บริการให้คำปรึกษา บริการเฉพาะด้านต่าง ๆ และบริการการจัดการของ HPE ลูกค้าจะสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านการดำเนินงานและด้านเทคโนโลยีได้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับได้รับระยะคุ้มทุนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

HPE Private Cloud ใช้งานได้ทั้งเวิร์กโหลดเสมือนจริง รวมถึงเวิร์กโหลดบนคลาวด์ และเวิร์กโหลด AI พร้อมทั้งรองรับเครื่องเสมือน (Virtual machine) คอนเทนเนอร์ และ Bare Metal

โดยบริษัทที่เลือก HPE Private Cloud จะได้รับการผสานรวมแบบเนทีฟร่วมกับบริการไฮบริดคลาวด์ของ HPE เช่น การปกป้องข้อมูลและความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ (Zerto, บริษัทในเครือฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์) ตลอดจนการจัดการการดำเนินงานด้าน IT ที่ขับเคลื่อนด้วย AI (OpsRamp, บริษัทในเครือฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์) พร้อมด้วยการผสานรวมของบริษัทชั้นนำอื่นๆ  ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกนำเสนอด้วยโมเดลการจัดการคลาวด์บนแพลตฟอร์มแบบครบวงจรผ่านคลาวด์ HPE GreenLake

HPE เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่นำเสนอเทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์แบบเต็มรูปแบบ

การเพิ่มเทคโนโลยี Virtualization ใหม่นี้ ได้ทำให้ HPE กลายเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่นำเสนอชุดเทคโนโลยีและบริการระดับองค์กรเต็มรูปแบบสำหรับเทคโนโลยีคลาวด์ไฮบริด ซึ่งได้แก่

  • โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ส่วนตัวแบบแยกส่วน พร้อมระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI
  • การจำลองเสมือนและการแบ่งส่วนเครือข่าย (HPE Aruba Networking)
  • การเคลื่อนย้ายข้อมูลด้วยประสบการณ์แบบครบวงจรทั้งบนคลาวด์ส่วนตัวและคลาวด์สาธารณะ โดยใช้ SDS (HPE Alletra Storage MP)
  • ชุดการทำงานของระบบที่ครบสมบูรณ์ (เครื่องเสมือน, คอนเทนเนอร์, Bare Metal) และเฟรมเวิร์ก AI
  • บริการคลาวด์แบบมัลติคลาวด์และผู้ให้บริการหลายรายสำหรับการจัดการการดำเนินงานด้าน IT (OpsRamp) การปกป้องข้อมูลและความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ (Zerto) รวมถึงการรายงานความยั่งยืน (Sustainability Insights Center)
  • ส่วนควบคุมคลาวด์แบบครบวงจรบนแพลตฟอร์ม (HPE GreenLake)
  • บริการให้คำปรึกษาและบริการเฉพาะด้านต่าง ๆ บริการการจัดการ และบริการทางการเงิน

การผสานรวมเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบของ HPE ให้เข้ากับการทำงานจากองค์กรภายนอก ทำให้ HPE มีความน่าสนใจเป็นพิเศษเมื่อลูกค้าต้องการให้ผู้ให้บริการแบบรายเดียวลดความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและการดำเนินงานให้อยู่ในระดับต่ำสุด

ช่วยประหยัด TCO ได้ถึง 5 เท่า ด้วยแนวทาง Hybrid by Design ใน 3 ขั้นตอน

องค์กรต่างๆ สามารถประหยัด TCO ได้สูงสุดถึง 5 เท่า1 เมื่อใช้ HPE Private Cloud และเป็นพาร์ทเนอร์กับ HPE เพื่อปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ด้าน IT เสมือนจริงให้ทันสมัย โดย HPE ได้กำหนดแนวทางแบบองค์รวมไว้สามขั้นตอนดังนี้

  1. การปรับให้เหมาะสม (Optimize) – ใช้ประโยชน์จาก HPE Cloud Physics เพื่อปรับขนาดพื้นที่ Virtualization ของลูกค้าให้เหมาะสม และได้รับประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางสถาปัตยกรรมของโซลูชัน HPE Private Cloud เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ TCO
  2. การเพิ่มความทันสมัย (Modernize) – ร่วมกับ HPE Services เพื่อเร่งนำแพลตฟอร์มคลาวด์เนทีฟและ AI มาใช้ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของ HPE เช่น การย้ายข้อมูลของ Zerto, เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์และการจำลองเสมือนของ HPE, โซลูชันจากองค์กรภายนอก และพาร์ทเนอร์ Public Cloud ของ HPE
  3. การลดความซับซ้อน (Simplify) – ขจัดความซับซ้อนในการจัดการสภาพแวดล้อมที่หลากหลายบนคลาวด์ส่วนตัวและสาธารณะ (Private and Public Clouds) โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์การทำงานแบบครบวงจรของแพลตฟอร์มคลาวด์ HPE GreenLake และบริการคลาวด์ไฮบริดผสานรวมแบบเนทีฟของ HPE ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแบบหลายรายและมัลติคลาวด์

ตัวอย่างเทคโนโลยี Virtualization ของ HPE ได้รับการจัดแสดงที่งาน HPE Discover 2024 และวางแผนจะเปิดตัวครั้งแรกโดยเป็นส่วนหนึ่งของ HPE Private Cloud Business Edition ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2024

ที่มา:

1 เทียบกับ TCO ของสภาพแวดล้อมเสมือนจริงเดิมขณะใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก เอกสารหลักฐานของ HPE