เป็นอีกหนึ่งสารคดี Cybercrime ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งนะครับสำหรับ Can I Tell You A Secret? จาก Netflix ที่เริ่มต้นด้วยข้อความออนไลน์ “Can I Tell You A Secret? (ผมบอกความลับกับคุณได้ไหม?)” ที่กะพริบไปยังบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ของผู้หญิง ก่อนที่ผู้ส่งจะดำเนินการที่แปลกประหลาดเกี่ยวกับชีวิตของเธอ: ทั้งคำเตือนหลอกๆ ว่าเธอถูกนอกใจ หรือรุกล้ำไปยังครอบครัวและเพื่อน ๆ ของเธอ
ผู้กระทำความผิดคือ Matthew Hardy ชายว่างงานจาก Northwich ใน Cheshire ซึ่งเป็นผู้สะกดรอยตามทางไซเบอร์ที่มีผลงานมากที่สุดในสหราชอาณาจักร กว่าทศวรรษที่เขาข่มขู่เหยื่อด้วยการสร้างบัญชีปลอมหลายร้อยบัญชี และใช้มันเพื่อทำลายความสัมพันธ์และชื่อเสียงของหญิงสาวเหล่านี้
ความรุ่งเรืองของยุค Generative AI ที่เกิดขึ้น ก็ต้องบอกว่ากลุ่มคนที่เกิดความเสียหายกับพวกเขามากที่สุดคงหลีกหนีไม่พ้นกลุ่มศิลปิน ที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์ที่เรียกได้ว่าผลงานที่แลกมาด้วยหยาดเหงื่อแรงกายของพวกเขานั้นโดนขโมยไปสร้างผลงานโดย AI
มันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจกับความสามารถของ AI ในการสร้างสรรค์งานศิลปะในแขนงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโมเดล AI ที่ใช้ในการสร้างภาพอย่าง DALL-E,Midjourney และ Stable Diffusion หรือเคสล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์วีดีโออย่าง Sora ของ OpenAI นั้น จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาแล้วมันดูคุ้น ๆ ว่าไปเอาความสามารถเหล่านี้มาจากไหนหากพวกมันสามารถคิดเองเออเองได้ทั้งหมดด้วยตัวมันเอง
บริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี AI เช่น OpenAI , Meta , Google และ Stability AI กำลังเผชิญกับการฟ้องร้องจำนวนมากจากศิลปินที่อ้างว่าเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์แบบถูกต้องตามกฎหมายและข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาถูกขโมยไปอย่างหน้าด้าน ๆ โดย AI
แต่เหมือนสวรรค์ทรงโปรดให้กับเหล่าศิลปินที่ต้องการล้างแค้นเจ้า AI หน้าด้านเหล่านี้ เมื่อเครื่องมือใหม่ที่มีชื่อว่า Nightshade ได้ถือกำเนิดขึ้นและถูกออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับเหล่าบริษัท AI ทั้งหลาย
ซึ่งรูปแบบการทำงานของมันก็คือการสร้างข้อมูลที่เปรียบเสมือนยาพิษหลอกเจ้า AI ทั้งหลาย ให้สาสมที่มันมันกจะขโมยผลงานของคนอื่นไปฝึกอบรบแล้วแอบอ้างโดยไม่ให้เครดิตว่าเป็นผลงานของตนเอง
รูปแบบคล้าย ๆ การวางยาพิษ ทำให้ข้อมูลที่จะถูกนำไป training โดย AI ไม่สามารถที่จะทำซ้ำมันได้ในอนาคต โดยทำให้ผลลัพธ์บางส่วนกลายเป็นสิ่งไร้ค้า เช่น สุนัขกลายเป็นแมว รถยนต์กลายเป็นวัว และอื่น ๆ
Ben Zhao ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งเป็นผู้นำทีมที่สร้าง Nightshade กล่าวว่า ความหวังอันสูงสุดของเขาก็คือมันจะช่วยสร้างเครื่องมือปกป้องที่ทรงพลังต่อการไม่เคารพลิขสิทธิ์และหยาดเหงื่อแรงกายของศิลปิน
ทีมงานของ Zhao ยังได้พัฒนา Glaze ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ศิลปินช่วยปกปิดสไตล์ส่วนตัวของตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัท AI สามารถเลียนแบบมันได้
แม้ทุกคนอาจจะมองว่าเทคโนโลยี AI ในยุคนี้มันฉลาดเกินมนุษย์ไปเสียแล้ว แต่ด้วยความที่มันเป็นเทคโนโลยียังไงมันก็มีจุดอ่อนให้โจมตีเสมอ
Nightshade ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในโมเดล AI ทั่วไปซึ่งเกิดขึ้นจากการที่โมเดลเหล่านี้ได้รับการ training จากข้อมูลจำนวนมหาศาลซึ่งภาพส่วนใหญ่ก็มีการดูดมาจากอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
ศิลปินที่ต้องการอัปโหลดผลงานทางออนไลน์ แต่ไม่ต้องการที่จะให้บริษัท AI ดูดภาพของพวกเขาไปใช้งาน สามารถอัพโหลดไปที่ Glaze และเลือกที่จะเติมยาพิษเข้าไปด้วยสไตล์ศิลปะที่แตกต่างจากต้นฉบับของพวกเขาได้
เมื่อเหล่านักพัฒนาในบริษัทด้าน AI พยายามที่จะดูดภาพมาจากอินเทอร์เน็ตเพื่อปรับแต่งโมเดล AI ที่มีอยู่อยู่หรือสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมา ยาพิษเหล่านั้นก็จะเข้าไปทำลายชุดข้อมูลในโมเดลและทำให้มันทำงานผิดปรกติทันที
ซึ่งแน่นอนว่ามันเหมือนหอกทิ่มแทงเข้าไปใจกลางหัวใจของ AI เมื่อพวกมันได้รับยาพิษ เครื่องมันก็รวนไปหมด เช่น มองเห็นรูปภาพหมวกเป็นเค้ก และรูปภาพกระเป๋าถือเป็นเครื่องปิ้งขนมปัง เป็นต้น
Junfeng Yang ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งศึกษาความปลอดภัยของเทคโนโลยี Deep Learning กล่าวว่า Nightshade อาจมีผลกระทบอย่างมากหากทำให้บริษัทด้าน AI เคารพสิทธิของศิลปินมากขึ้น เช่น การเต็มใจที่จะจ่ายค่าลิขสิทธิ์มากขึ้นไม่ใช่ขโมยไปแบบดื้อ ๆ
บริษัท AI ที่ได้พัฒนาโมเดลการแปลงข้อความเป็นรูปแบบ เช่น Stability AI และ OpenAI ได้เสนอทางเลือกให้ศิลปินเลือกไม่ใช่รูปภาพของตนเองเพื่อฝึกโมเดลเวอร์ชันในอนาคต
แต่ศิลปินมองว่าแค่นั้นมันไม่เพียงพอ Eva Toorenent นักวาดภาพประกอบและหนึ่งในศิลปินที่เคยใช้ Glaze กล่าวว่านโยบายชุ่ย ๆ แบบนี้ มันแทบจะไร้ค่าเพราะสุดท้ายแล้วเราก็ยังปล่อยให้บริษัทเทคโนโลยีมีอำนาจทั้งหมดอยู่ดี
แม้มันจะเป็นเรื่องดีสำหรับเครื่องมือเหล่านี้สำหรับเหล่าศิลปิน แต่การนำยาพิษมารบกวนกระบวนการเรียนรู้ของ AI ทำให้เกิดความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นกับผลลัพธ์ของมันเช่นกัน หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง
ความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนระหว่างศิลปินและโมเดล AI ตั้งแต่การป้องกันการใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตไปจนถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับโมเดล AI ที่ใช้ในการสร้างภาพ
เครื่องมือเหล่านี้ได้นำพามนุษย์เราไปในดินแดนที่ไม่เคยประสบพบเจอมาก่อนในโลกแห่งศิลปะโดย AI ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสุดท้ายทุกอย่างก็ต้องมีความบาลานซ์กันระหว่างศิลปะ เทคโนโลยี และเรื่องจริยธรรม ที่กำลังไหลเวียนมาบรรจบกันอย่างที่เราได้เห็นในทุกวันนี้นั่นเองครับผม
ในขณะนั้น Web Browser ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่คือ NetScape ซึ่งครองส่วนแบ่งได้ถึง 90% แต่เพียงแค่ปีให้หลัง ก็ถูก Microsoft แย่งชิงตลาดไปจนเกือบหมด ด้วยกลยุทธ์ขายพ่วง Windows และแจก Internet Explorer ให้ใช้กันฟรี ๆ