20 ปี Facebook ความหวัง ความฝัน ความทรงจำทั้งดีร้ายบนแพลตฟอร์มโซเชียลอันดับหนึ่ง

เผลอแป๊บเดียวก็ผ่านมา 20 ปีแล้วนะครับ สำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งของโลกอย่าง Facebook

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนคงมีทั้งความทรงจำที่ดีและร้ายที่ถูกถ่ายทอดผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแห่งนี้

ผมยังจำได้ดีในช่วงแรกของการเปิดตัว ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถสมัคร facebook ได้แบบทันที แต่ต้องมี invite จากผู้ที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วให้ไปสมัคร ซึ่งมันคงความเป็น exclusive network ได้อยู่ในช่วงระยะเวลานึง

Feeling มันก็คล้าย ๆ กับตอน Clubhouse เปิดตัว ทุกคนอยากเข้าไปเล่นแต่ต้องได้รับการ invite ซึ่ง concept ของ Clubhouse นั้นก็เลียนแบบมาจากโซเชียลมีเดียรุ่นพี่อย่าง facebook นั่นแหละ

ผมคิดว่าหลาย ๆ ท่านคงมีความผูกพันกับแพลตฟอร์มแห่งนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคน Gen Y ขึ้นไป เรียกได้ว่าเติบโตมาพร้อมกับมันเห็นความเปลี่ยนแปลงของมันมานับต่อนับ

ย้อนวันวานจุดเริ่มต้นของ Facebook

มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอนกับการเกิดขึ้นของ facemash จากการที่ Mark Zuckerberg ถูกผู้หญิงทิ้งแล้วต้องการที่จะทำบางอย่างเพื่อลบความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบวกกับฤทธิ์แอลกอฮอล์

ด้วยความอัจฉริยะทางด้านคอมพิวเตอร์ก็เลยคิดไอเดียแปลก  ๆ ขึ้นมา โดย Zuckerberg ได้ทำการสร้างเว็บไซต์ เปรียบเทียบใบหน้าของผู้หญิง แล้วให้โหวตว่าใคร hot สุด โดยจะ random หน้าของสาว ๆ ไปเรื่อย ๆ แล้วทำการคำนวนผ่าน algorithm ที่เขาคิดค้นขึ้น

ปัญหาคือจะเอารูปของนักศึกษาในมหาลัยมาจากไหนแต่ด้วยความเป็น hacker เป็นทุนเดิมอยู่แล้วของ Zuckerberg จึงไม่ใช่เรื่องยากเลย ในการที่จะไปดูดเอารูปมาจากเว็บไซต์ประจำหอพักต่าง ๆ ของมหาลัยซึ่งมีการเก็บข้อมูลแยกกันอยู่และไม่ได้มีการวางระบบ Security ไว้อย่างแน่นหนาพอ

Zuckerberg ใช้เวลาเพียงไม่นานโดยระหว่างเขียน code ก็ดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปด้วยแล้วก็ทำทุกอย่างเสร็จ ซึ่งไอเดีย ตอนแรกที่เขาเขียนไว้ใน blog ส่วนตัวนั้น เขาโมโห ถึงขนาดว่าจะเอารูปหน้าคนไปเปรียบเทียบกับสัตว์เลยด้วยซ้ำ แต่ไม่ได้ทำมันในเว็บจริง ๆ ของ facemash

แต่สุดท้ายเขาก็ไม่ได้อยากให้มันเผยแพร่กระจายไปทั่วมหาลัยเลย เขาเพียงแค่ส่ง link ไปให้เพื่อนไม่กี่คนของเขา เพื่อให้ดูว่ามันเจ๋งแค่ไหนเท่านั้นและเขาก็ปล่อย server วางไว้อย่างงั้นจนข้ามวัน

พลังของ Network

ผ่านพ้นคืนนั้นไป Zuckerberg ก็ได้ไปเข้าเรียนปรกติ แต่สิ่งที่ผิดปรกติคือเริ่มมีคนมองเขาด้วยสายตาแปลก ๆ จนเมื่อกลับมาถึงห้องพักพบว่าคอมพิวเตอร์ที่วางตัวเป็น server นั้นเริ่มค้างทำให้เขาถึงกับเข่าทรุดไปเลยทีเดียว

การส่ง link ไปให้เพื่อนเพียงไม่กี่คนผ่าน email ในตอนแรกนั้น ถูก forward ต่อกระจายไปยังหลาย mailing list ของมหาลัย Harvard ในคืนนั้น โดยมีผู้คนเข้ามาใช้งาน facemash ถึงกว่า 22,000 ครั้ง และกลายเป็นว่าทำให้มีคนไม่พอใจเป็นอย่างมากกับการกระทำของ Zuckerberg ในครั้งนี้

แม้ผู้ชายจะเล่น facemash กันอย่างสนุกสนานทั้งมหาลัย แต่มันไม่ใช่เรื่องสนุกเลยสำหรับสาว ๆ Harvard กลายเป็นว่า มันมีผลต่อการเหยียดเชื้อชาติ สีผิว กับการเปรียบเทียบรูปร่างหน้าตาแบบนี้ทำให้มันกลายเป็นเรื่องใหญ่ในที่สุด

สุดท้าย Zuckerberg ก็โดนทัณฑ์บนโดยมหาวิทยาลัยสั่งห้ามทำเรื่องเสียหายแบบนี้อีกไม่งั้นจะถูกไล่ออก แต่ หนังสือพิมพ์ชื่อดังของ Harvard อย่าง The Harvard Crimson ก็ลงข่าวเรื่องนี้ทำให้ชื่อเสียง Zuckerberg แพร่กระจายไปทั่วมหาลัย แต่ไม่ใช่เรื่องดีอย่างที่ Zuckerberg ต้องการกลับกลายเป็นคนที่ผู้หญิงทั้งมหาลัยยี้ภายในคืนเดียวด้วยความไม่ตั้งใจ

ถามว่าทำไม facemash ถึงเป็นจุดเริ่มต้นก็เพราะมันทำให้ Zuckerberg ได้เห็นถึงพลังของเครือข่าย แม้จะเป็นแค่เครือข่ายที่ทำการส่ง forward mail ยังทำให้คนเข้ามาใช้จน server พังได้

facemash ที่ทำให้ Zuckerberg เห็นถึงศักยภาพของ Network (CR:Social Student)
facemash ที่ทำให้ Zuckerberg เห็นถึงศักยภาพของ Network (CR:Social Student)

ถ้าย้อนกลับไปในช่วงปี 2004 นั้นก็ต้องบอกว่าเว็บไซต์ social network ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วและมีเจ้าตลาดอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น friendster หรือ myspace  หรือในไทยเราก็เริ่มใช้ Hi5 กันแล้วถ้าหลาย ๆ คนยังคงจำได้

แล้ว facebook มันจะแจ้งเกิดได้อย่างไรในวันที่ระบบ social network เต็มไปหมดแล้ว ซึ่งถ้าใครหลายคนยังจำได้ การเข้าใช้งาน facebook ในช่วงแรก ๆ ที่เปิดให้คนทั่วไปใช้งานนั้น ต้องมีการ invite เข้าไปเล่นไม่สามารถสมัครได้โดยตรง

ซึ่งความเป็น Exclusive Network นี่แหละคือไอเดียเริ่มต้นของการสร้าง facebook เลยก็ว่าได้เพราะไม่งั้น Zuckerberg ก็คงเพียงสร้าง social network ธรรมดา ๆ ขึ้นมาที่ไม่ต่างจาก frienster หรือ myspace ทำเท่านั้นและคงไม่ดังกระฉูดมาจนถึงทุกวันนี้

Harvard Connection (Exclusive Social Network)

Harvard นั้นมีชมรมลับอยู่มากมายที่เหล่านักศึกษาทั่วมหาลัยหมายปองที่จะเข้าไปอยู่เพราะไม่ใช่แค่เรื่องเรียนเท่านั้น ที่ Harvard มีจุดเด่น

แต่เรื่อง connection ต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญศิษย์เก่าหลาย ๆ คนเป็นใหญ่เป็นโตเป็นนักธุรกิจร่ำรวยมีหน้ามีตาในสังคมทั้งนั้นไล่ตั้งแต่ประธานาธิดีไปจนถึงนักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิคซึ่งล้วนแล้วแต่ผ่านการเข้าชมรมที่ exclusive เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น

สองพี่น้อง Winklevoss ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยสองคนนี้เป็นฝีพายอันดับต้น ๆ ของประเทศแถมยังเรียนเก่งและมาจากตระกูลเศรษฐีอีกต่างหากต้องบอกว่าเป็นหนุ่ม ๆ ที่สาว ๆ ใน Harvard ถวิลหาเลยก็ว่าได้

ซึ่งทั้งสองนั้นเป็นสมาชิกชมรม Poselion Club ซึ่งนับได้ว่าเป็นชมรมระดับต้น ๆ ของมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งการจะเข้าชมรมดังกล่าวได้ต้องมีดีพร้อมทุกอย่างเท่านั้นโดยชมรมนี้จะเน้นไปในเรื่องของการหา connection ทางด้านธุรกิจ เป็นหลักไม่ได้เน้นเรื่องปาร์ตี้เหมือนชมรมอื่น ๆ ใน Harvard

ซึ่งทั้งฝาแฝดทั้งสองและเพื่อนสนิทอีกคนหนึ่งคือ divya narendra กำลังสร้างธุรกิจบางอย่างอยู่ที่พวกเขาทั้งสามทำมากว่า 2 ปีแล้วแต่มันไม่เสร็จซักที เนื่องจากโปรแกรมเมอร์หลักของทีมที่ชื่อ Victor นั้นกำลังวุ่นอยู่กับการเรียนในปีท้าย ๆ ซึ่งถือว่าหนักอยู่พอสมควรจึงเป็นที่มาของการหาโปรแกรมเมอร์คนใหม่เพื่อมาสานต่อไอเดียธุรกิจที่พวกเขาคิดไว้ให้สำเร็จนั่นเอง

สองพี่น้อง Winklevoss และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ Divya Narendra (CR:Switchere official blog)
สองพี่น้อง Winklevoss และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ Divya Narendra (CR:Switchere official blog)

ชื่อเสียงด้านความอัจฉริยะของ Zuckerberg โดยเฉพาะจากเรื่องของ facemash ได้ไปเข้าหูของสองพี่น้อง Winklevoss และพาร์ทเนอร์ธุรกิจอีกคนอย่าง divya narendra ที่กำลังหาโปรแกรมเมอร์คนใหม่มาสานฝันต่อไอเดียธุรกิจของพวกเขา

และในที่สุดทั้งสี่คนก็ได้พบเจอกันมันเหมือนพรหมลิขิตที่ถูกขีดชะตาไว้เรียบร้อยแล้ว Zuckerberg ที่กำลังชื่อเสียงแย่จาก facemash ต้องการที่จะกู้ชื่อเสียงตัวเองกลับมา รวมถึงไอเดียธุรกิจแสนบรรเจิดของสองพี่น้อง winklevoss และ divya narendra นั้นก็คือ email ตระกูล @harvard.edu ซึ่งเป็น email ที่ exclusive สุด ๆ ที่ใช้กันเฉพาะนักศึกษาหรือ ศิษย์เก่าของ harvard เพียงเท่านั้น

ไอเดียของพวกเขาที่แตกต่างจาก social network อย่าง friendster หรือ myspace คือความเป็น exclusive network เฉพาะภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้นซึ่งมันใกล้ชิดกว่านักศึกษาก็นำข้อมูลส่วนตัวมาลงได้อย่างไม่เคอะเขินเพราะรู้ว่า เป็นการใช้แค่เพียงในมหาวิทยาลัยเท่านั้น

และสิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนชีวิตในมหาวิทยาลัยคือการได้ลุ้นกับการเดทกับสาว ๆ มากหน้าหลายตาโดยทำความรู้จักกันผ่านเครือข่ายสังคมสุด exclusive นี้

ซึ่ง Zuckerberg ก็ได้ตกลงที่จะรับเป็นโปรแกรมเมอร์ให้โปรเจคดังกล่าวทันที เพราะไอเดียนี้มันเข้าท่าอย่างชัดเจนไม่ต้องมีการ hack ระบบใด ๆ ทุกคนสามารถนำข้อมูล รูปภาพ ต่าง ๆ เข้าสู่เว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง และ Zuckerberg ก็หวังว่าโปรเจคนี้แหละจะช่วยกู้ชื่อเสียงที่ย่ำแย่ที่ทำไว้กับ facemash กลับมาได้อีกครั้ง

แต่สิ่งที่สองพี่น้องไม่รู้ถึงความแสบของ Zuckerberg ก็คือ Zuckerberg ได้แอบสร้างโปรเจค social network ขึ้นมาอีกตัวโดยใช้ชื่อว่า thefacebook ซึ่งเป็นชื่อแรกก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็น facebook จนถึงทุกวันนี้

thefacebook ที่ Zuckerberg แอบซุ่มทำโดยทื่สองพี่น้อง Winklevoss ไม่รู้ (CR:Feedough)
thefacebook ที่ Zuckerberg แอบซุ่มทำโดยทื่สองพี่น้อง Winklevoss ไม่รู้ (CR:Feedough)

แม้ไอเดียหลาย ๆ อย่างจะไม่เหมือนกันเลยซะทีเดียวเพราะทาง harvard connection นั้นจะมีส่วนของเว็บที่เป็นการหาคู่เดทแต่ key หลัก ๆ ที่เหมือนกันคือความเป็น exclusive network ซึ่งเป็นฟีเจอร์หลักของทั้ง thefacebook และ harvard connection

แต่หลาย ๆ ฟีเจอร์นั้น Zuckerberg ก็ได้ใส่เพิ่มเข้าไปเองใน thefacebook โดยเน้นให้เป็น social network แบบ exclusive จริง ๆ มีการสร้าง profile มีการ invite friend การ share รูปภาพ และความสนใจต่าง  ๆ  , คลาสเรียนซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันของเหล่านักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น

โดยยัดทั้งหมดมาไว้ในระบบ online ซึ่งความเป็น social นั้น thefacebook ของ Zuckerberg มีมากกว่า harvard connection ของสองพี่น้อง winklevoss อย่างเห็นได้ชัดที่ Zuckerberg มองเป็นแค่เว็บหาคู่เดทออนไลน์เพียงเท่านั้น

Welcome to the facebook

ในระหว่างการตอบโต้ email กับทางฝั่งพี่น้อง winklevoss ทาง Zuckerberg ก็ใช้เวลาแทบจะทั้งหมดสร้าง thefacebook ขึ้นมาโดยไม่สนใจงานของ harvard connection อีกเลย

โดยเขาทำทั้งหมดอยู่คนเดียวต้องเขียนโค้ดกว่าหลายหมื่นบรรทัดซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับตัว Zuckerberg เลย เพราะเป็นงานที่เขาถนัดอยู่แล้วในเรื่องการเขียนโปรแกรม

Zuckerberg ที่ปั่นเว็บไซต์ thefacebook ด้วยตัวคนเดียว (CR:Harvard Crimson)
Zuckerberg ที่ปั่นเว็บไซต์ thefacebook ด้วยตัวคนเดียว (CR:Harvard Crimson)

สุดท้ายในช่วงต้น ปี 2004 Zuckerberg ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ในการเขียนโค้ดทั้งวันทั้งคืนโดดเรียนแทบจะทุกวิชาเพื่อมุ่งพัฒนา thefacebook เพียงอย่างเดียวจนมันเสร็จสมบูรณ์พร้อมออนไลน์

และฟีเจอร์ที่สำคัญสุดท้าย ที่ Zuckerbergได้ใส่ไปใน thefacebook นั่นคือ Relationship Status ฟังก์ชั่นนี้แหละได้กลายเป็นฟีเจอร์สำคัญที่จะทำให้คนแห่กันเข้ามาใช้ เพราะทำให้รู้ว่าใครโสดหรือไม่โสดหรือต้องการหาแฟนเหมือนป้ายห้อยติดคอบอกสถานะว่าเรามีแฟนแล้วหรือยังนั่นเอง

ในที่สุดวันที่รอคอย ก็มาถึง 4 กุมภาพันธ์ 2004 ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นวันแรกของการก่อกำเนิดเว็บไซต์โซเชียลมีเดียที่ยิ่งใหญ่อย่าง thefacebook (ก่อนเปลี่ยนมาเป็น facebook ในภายหลัง) และเรื่องราวถัดจากนั้นก็คือตำนานอย่างที่พวกเราได้รับรู้กัน

ตรุษจีนนี้ ไวล์ดเอดขอคนรุ่นใหม่ชวนครอบครัว #ฉลองไม่ฉลาม หลังงานวิจัยพบหูฉลามที่ขายในไทยกว่า 60% มาจากฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์

องค์กรไวล์ดเอด ขอชวนทุกคนเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน เริ่มต้นปีมังกรทองด้วยการ  #ฉลองไม่ฉลาม ลด ละ เลิกบริโภคเมนูที่ทำจากฉลาม โดยเฉพาะซุปหูฉลาม หลังผลการศึกษาดีเอ็นเอจากผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ขายในไทยพบ ชนิดพันธุ์ฉลามส่วนใหญ่ (62%) มีสถานภาพเสี่ยงสูญพันธุ์  

ผลสำรวจความต้องการบริโภคหูฉลามของคนไทยที่อาศัยในเขตเมืองทั่วประเทศไทยจำนวน 1,007 คน พ.ศ. 2566 โดยองค์กรไวล์ดเอดและบริษัทวิจัยแรพพิด เอเชีย (Rapid Asia) พบว่า คนไทยในเขตเมืองบริโภคหูฉลามบ่อยที่สุดในร้านอาหารกับครอบครัว (60%) ตามด้วยงานแต่งงาน (57%) สังสรรค์กับเพื่อนในร้านอาหาร (46%) และงานรวมญาติในช่วงเทศกาลตรุษจีน (42%) ไวล์ดเอดจึงขอชวนทุกคนชวนสมาชิกในครอบครัวเลิกสั่ง เลิกสังสรรค์ด้วยเมนูจากฉลามทุกชนิดตั้งแต่ตรุษจีนนี้และตลอดไป 

ผลสำรวจล่าสุดพบว่า การบริโภคหูฉลามของคนไทยในเขตเมืองมีแนวโน้มลดลงในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา โดยผู้บริโภคที่ยังกินหูฉลามในรอบ 12 เดือน มีจำนวนลดลง 27.5% เมื่อเทียบกับการสำรวจในพ.ศ. 2560 นอกจากนี้คนไทยที่บริโภคหูฉลามเป็นครั้งคราวตั้งแต่ 2-5 ครั้งต่อปี มีจำนวนลดลง 47% ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า

การรณรงค์มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคฉุกคิดถึงผลกระทบของการบริโภคฉลามมากยิ่งขึ้น ถึงแม้การบริโภคมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ยังมีคนไทยมากกว่าครึ่ง (56%) ที่ต้องการบริโภคหูฉลามในอนาคต บ่งชี้ว่า ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดผู้บริโภคหูฉลามที่สำคัญ 

องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) ร่วมกับทีมนักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กรมประมง และนักวิจัยอิสระ เผยผลการศึกษาที่ระบุ

ชนิดพันธุ์ปลาฉลามจากผลิตภัณฑ์หูฉลามจากแหล่งค้าในหลายจังหวัดครั้งแรกในประเทศไทย และได้รับการ เผยแพร่ใน วารสาร Conservation Genetics พบฉลามอย่างน้อย 15 ชนิดพันธุ์ ซึ่งชนิดพันธุ์ฉลามส่วนใหญ่ (62%) มีสถานภาพเสี่ยงสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงของ IUCN Red List

“ผลวิจัยสะท้อนชัดเจนว่าซุปหูฉลามที่ถูกเสิร์ฟนั้นอาจมาจากฉลามที่กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ แถมอาจจะเป็นฉลามที่ยังไม่สมบูรณ์พันธุ์อีกด้วย ถ้าให้เปรียบก็เหมือนกับเรากำลังกินเสือหรือแม้แต่ลูกเสือที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของป่า การบริโภคของเราทุกคนจึงมีส่วนกำหนดชะตากรรมของฉลามหลายชนิดและย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงความสมดุลของท้องทะเลในที่สุด

เทศกาลตรุษจีนจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ทุกคนจะเชิญชวนครอบครัวมาสังสรรค์กันโดยไม่ต้องมีเมนูฉลามทุกรูปแบบ” ดร. เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ที่ปรึกษาองค์กรไวล์ดเอด และผู้ร่วมเขียนงานวิจัยกล่าว

“การพบชนิดพันธุ์ฉลามที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ไปจนถึงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ขายอยู่ในไทย สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากฉลาม โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่ต้องการการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน และการพบชนิดพันธุ์ที่มีสถานภาพถูกคุกคาม ตาม IUCN Red List ในครีบขนาดเล็ก

ทำให้ต้องมีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากฉลามที่ยังไม่สมบูรณ์พันธุ์ต่อไป เนื่องจากปลาฉลามที่ยังไม่สมบูรณ์พันธุ์จะเป็นกลุ่มประชากรที่สำคัญในการฟื้นตัวของประชากรปลาฉลามในอนาคต” ผศ.ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ ผู้วิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สจล. กล่าว

ปัจจุบัน1 ใน 3 ของชนิดพันธุ์ปลาฉลามและกระเบน ทั่วโลกตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการทำประมงมากเกินขนาด เพราะความต้องการนำทุกชิ้นส่วนไปบริโภค สอดคล้องกับการลดลงของประชากรฉลามในหลายส่วนทั่วโลก

นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังพบว่า ร้อยละ 34 ของชนิดพันธุ์ปลาฉลามที่พบในตัวอย่างครีบไม่เคยปรากฏพบในน่านน้ำไทย บ่งชี้ว่า ตลาดค้าหูฉลามในประเทศไทยต้องพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบจากต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการนำเข้าผลิตภัณฑ์ครีบฉลามมาจากหลายแหล่ง เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในประเทศและเพื่อส่งออกอีกครั้ง 

“ผลของงานวิจัยชิ้นนี้ช่วยยืนยันว่า ประเทศไทยเป็น 1 ในผู้เล่นสำคัญในการนำเข้าและส่งออกหูฉลามในภูมิภาค สอดคล้องกับรายงานฉบับอื่นที่พูดถึงบทบาทการกระจายผลิตภัณฑ์หูฉลามของไทยในท้องตลาดในระดับสากล  ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการจับฉลามมาตัดครีบเป็น ๆ ก่อนทิ้งร่างกายที่เหลือลงทะเลจะลดน้อยลงมากแล้วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยหูฉลามจำนวนมากมาจากฉลามที่ถูกจับจากเครื่องมือประมงทั่วไป แต่ก็ปฏิเสธได้ยากถึงบทบาทของอุตสาหกรรมหูฉลามที่ส่งผลต่อประชากรปลาฉลามหลายชนิดที่ถูกคุกคามจนเสี่ยงต่อการสูญพันธ์และกระทบโครงสร้างประชากรปลาฉลามไปแล้วหลายชนิดในอดีตรอบโลก” นายศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสื่อมวลชน นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และทีมนักวิจัย กล่าว

“กรมประมงเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการฉลามของประเทศไทย (NPOA-Sharks) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรและการอนุรักษ์ฉลาม ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน ซึ่งรวมถึงการเก็บข้อมูลฉลามจากการส่งออกและนำเข้า และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากฉลาม

กรมประมงยืนยันว่าจะให้ความสำคัญกับมาตรการเพื่อควบคุมติดตามและตรวจสอบการค้าฉลามชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีของอนุสัญญาไซเตสเพื่อการใช้ประโยชน์จากฉลามอย่างยั่งยืนต่อไป” นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าว

องค์กรไวล์ดเอดเตรียมดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการบริโภคเมนูฉลามที่มีต่อระบบนิเวศในท้องทะเล โดยอ้างอิงจากผลวิจัยดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ และจะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์และการบริหารจัดการฉลามของประเทศไทย (NPOA-Sharks) สร้างการมีส่วนร่วมและผลักดันการอนุรักษ์ฉลามอย่างยั่งยืนต่อไป

ผลวิจัยที่สำคัญ:

  • ผลการตรวจดีเอ็นเอในหูฉลาม หรือครีบปลาฉลาม 206 ตัวอย่าง ที่เก็บจากแหล่งค้าในหลายจังหวัด สามารถระบุชนิดพันธุ์ปลาฉลามได้สำเร็จ 166 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้พบฉลามอย่างน้อย 15 ชนิดพันธุ์ 
  • ปลาฉลามส่วนใหญ่ (62%) ที่พบในหูฉลามที่ขายอยู่ในไทยมาจากฉลามที่เสี่ยงสูญพันธุ์ โดยมีสถานภาพถูกคุกคามจากการจัดสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List โดยพบฉลามที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) 6 ชนิดพันธุ์ ใกล้สูญพันธุ์ (EN) 4 ชนิดพันธุ์ และใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) 3 ชนิดพันธุ์ 
  • เมื่อพิจารณาเฉพาะชนิดพันธุ์ที่พบการแพร่กระจายในประเทศไทยตามการประเมินชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม Thailand Red Data โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พบว่ากว่า 80% ของปลาฉลามที่พบในผลิตภัณฑ์ครีบฉลาม เป็นชนิดที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN) และชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) 
  • พบฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) ทั้งในระดับโลกและในไทยที่หลายคนรู้จัก เช่น ฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน Scalloped hammerhead (Sphyrna lewini) และ ฉลามหัวค้อนใหญ่ Great hammerhead (Sphyrna mokarran) ซึ่งอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย และเป็นชนิดพันธุ์ควบคุมในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือไซเตสอีกด้วย
  • พบหูฉลามที่มีขนาดเล็ก มาจากปลาฉลามที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) ใกล้สูญพันธุ์ (EN) และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) และมีโอกาสเป็นครีบจากฉลามที่ยังไม่สมบูรณ์พันธุ์