Geek Story EP176 : Hidden Potential การออกแบบโรงเรียนของ Finland เพื่อดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเด็กออกมา

เป็นเนื้อหาส่วนนึงที่ถือว่าน่าสนใจมาก ๆ จากหนังสือเล่มใหม่ของ Adam Grant อย่าง Hidden Potential: The Science of Achieving Greater Things ซึ่งเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาเด็กและดึงศักยภาพของพวกเขาออกมาให้ได้มากที่สุดของประเทศ Finland

ในช่วงเริ่มต้นของสหัสวรรษใหม่ วัยรุ่นหลายพันคนเป็นตัวแทนของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ แม้ว่ามันจะส่งคลื่นกระแทกไปทั่วโลก แต่มันก็ดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลกได้เพียงเล็กน้อย ไม่มีการประลองบนเวที ไม่มีฝูงชนที่ส่งเสียงเชียร์ ไม่มีแม้กระทั่งเหรียญรางวัล มีเพียงงานแถลงข่าวเล็ก ๆ ในกรุงปารีสเพื่อประกาศผล

นันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้เชี่ยวชาญได้คิดค้นวิธีเปรียบเทียบความถนัดของหนุ่มสาวทั่วโลกโดยตรง เริ่มตั้งแต่ปี 2000 ทุก ๆ สามปี Organisation for EconomicCo-operation and Development (OECD) จะเชิญเด็กอายุ 15 ปีจากหลายสิบประเทศให้เข้าร่วมทดสอบ PISA ซึ่งเป็นแบบทดสอบมาตรฐานสำหรับทักษะทางคณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์

คะแนนของพวกเขาจะเผยให้เห็นว่าประเทศใดมีเด็กที่มีความรู้มากที่สุด และเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดในโลกตัวจริงเสียงจริง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/53u6vp8d

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/2mmkhtyp

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/3des3hfc

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/465efrjy

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/3sIxPLRae5o

เมื่อ Code ส่งฟรี กำลังทำร้ายธุรกิจรายย่อยของคนไทย

แต่เดิมต้องบอกว่าส่วนตัวผมเองไม่ได้เคยสนใจที่จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาปรับผ้านนุ่ม ฯลฯ แบบรายชิ้น ขายปลีก ผ่านแพลตฟอร์ม ecommerce อย่าง shopee หรือ lazada เลยด้วยซ้ำ

เพราะแต่เดิมนั้นมันมีกำแพงที่สำคัญ นั่นก็คือ ค่าส่งนั่นเอง เพราะการที่จะสั่งแล้วคุ้มกว่าไปซื้อตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปหรือร้านโชว์ห่วยรายเล็ก ๆ นั้น มันมีกำแพงค่าส่งอยู่ แต่หากซื้อทีละเยอะ ๆ แบบเหมายกลัง ยกแพ็ค ก็ยังพอที่จะสั่งผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะยังรู้สึกคุ้มค่ากว่า

แต่กลายเป็นว่าในทุกวันนี้ แพลตฟอร์มเหล่านนี้ที่เริ่มทำกำไรได้อย่างชัดเจน เริ่มมีการอัดโค้ดส่งฟรีมาแบบมหาโหด จำนวนเยอะมาก ๆ และยอดสั่งซื้อขั้นต่ำนั้นเหลือเพียงแค่ 49 บาทเท่านั้น

มันได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ผมคิดว่าหลาย ๆ คนน่าจะรู้สึกว่า เออซื้อเป็นรายชิ้น แล้วใช้โค้ดส่งฟรี บางครั้งสามารถหาสินค้าที่มีราคาถูกกว่าไปซื้อตามร้านสะดวกซื้อหรือโชว์ห่วยข้างบ้านเสียอีก

มันได้กลายเป็นว่า กำแพงที่ขวางกั้น ในการซื้อสินค้าพวกนี้แบบรายชิ้น แบบขายปลีก มันได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว มันส่งผลกระทบโดยตรงโดยเฉพาะกับเหล่าธุรกิจรายย่อยพวกโชว์ห่วยต่าง ๆ ที่ไม่มีอะไรจะสู้ได้อีกต่อไปยกเว้นสิ่งที่ต้องการใช้ด่วนจริง ๆ (แต่เดี๋ยวนี้ แพลตฟอร์ม ecommerce ส่งสินค้าได้รวดเร็วมาก ๆ เฉลี่ยแค่วันเดียวก็ถึงกันแล้ว)

แน่นอนว่ายิ่งกลายเป็นสมาชิกระดับสูงของแพลตฟอร์มเหล่านี้ ก็จะมีสิทธิพิเศษมากมาย มีทั้งลดราคา cashback เก็บ coin เยอะแยะไปหมด ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้บริโภค เพราะได้สินค้าที่ถูกลง แม้กระทั่งสินค้าเล็ก ๆ ทั่วไป ซึ่งเดี๋ยวนี้ผมคิดว่าหลาย ๆ คนยังต้องสั่งผ่าน shopee หรือ Lazada

แต่มันกลายเป็นว่า เหล่าธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ ที่แต่เดิมก็ต้องสู้กับกลุ่มค้าปลีกขนาดใหญ่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยังต้องมาสู้กับแพลตฟอร์ม ecommerce ซึ่งมีสรรพกำลังต่างๆ มากมาย ทั้งโปรโมชั่น โค้ดลดราคาต่าง ๆ ที่เรียกได้ว่ากลายเป็นศึกสองด้านเลยทีเดียว

นั่นทำให้ตอนนี้ไม่ใช่เพียงแค่สินค้าจีนที่ไร้มาตรฐานที่กำลังบุกมายังประเทศไทยผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ และทำลายอาชีพโดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าคนกลางให้ตายสิ้นซาก แต่ตอนนี้เหล่าธุรกิจรายย่อยที่ขายปลีกผ่านหน้าร้าน ก็กำลังเจอศึกหนักที่สาหัสสากรรจ์ไม่แพ้กันนั่นเองครับผม

Credit Image : Pixabay

Geek Monday EP203 : Sam Altman ชายผู้นี้คือยอดอัจฉริยะหรือเป็นเพียงแค่นักฉวยโอกาส

เหตุการณ์แบบนี้ใน Silicon Valley มันได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความหวังและความฝันของผู้มีวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนโลยีมักถูกทำลายล้างโดยคนรอบข้าง ในปี 1985 Steve Jobs ถูกไล่ออกจากแอปเปิล บริษัทที่เขาก่อตั้งขึ้น และไม่กลับมาจน 11 ปีผ่านไป ในปี 2000 Elon Musk ถูกขับไล่ออกจากตําแหน่ง CEO ของ X.com บริษัทที่ได้แปลงร่างกลายมาเป็น PayPal แพลตฟอร์มการชําระเงินดิจิทัล ในปี 2008 เพื่อนและทีมงานที่ร่วมกันก่อตั้ง Twitter ทำการปลด Jack Dorsey ออกจากตำแหน่งในฐานะซีอีโอของบริษัท

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน Sam Altman ดูเหมือนจะกลายเป็นผู้ถูกทำลายล้างคนใหม่ของ Silicon Valley โดยถูกคณะกรรมการของ OpenAI บริษัท AI ที่เขาร่วมก่อตั้งในปี 2015 ขับไล่ออก

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 21 พฤศจิกายน หลังจากที่เขา พนักงาน และนักลงทุนของ OpenAI เช่น Microsoft เจรจาอย่างดุเดือดเป็นเวลา 4 วันเพื่อให้เขากลับมาบริหารบริษัทอีกครั้ง เขาก็สามารถกลับมาควบคุม OpenAI ได้อีกครั้ง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/ynskaydc

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/2p8n7hx8

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/3mr74uvm

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/5cn65k8y

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/72QhufxmeGY

Tencent x Wechat ผู้ชนะตัวจริงในศึกบริการเรียกรถระหว่าง Uber และ Didi ในประเทศจีน

ในช่วงปลายปี 2013 Travis Kalanick และทีมผู้บริหารของ Uber ได้เดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อหาลู่ทางในการเข้ามาลุยในตลาดเรียกรถขนาดใหญ่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกแห่งหนึ่งที่พวกเขาต้องการคว้ามันไว้

ในตอนนั้น ในจีนเองก็มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ผู้ชนะดูเหมือนจะเป็น Didi ที่มีแบ็คอัพโดยลูกพี่ใหญ่อย่าง Tencent และมีผู้นำบริษัทคือ Cheng Wei

การเจอกันครั้งแรกของยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley กับ Didi เกิดขึ้นที่สำนักงานของ Didi

การสนทนาดูท้าทายมาก ๆ จาก Cheng เอง เขาเริ่มต้นด้วยการบอกกับ Kalanick ว่า “คุณคือแรงบันดาลใจของผม”

หลังจากนั้นสถานการณ์ดูเหมือนจะเริ่มตึงเครียดขึ้นทันที Emil Michael รองประธานอาวุโสฝ่ายธุรกิจของ Uber ยังจำวันนั้นได้ดี มันคือสงครามจิตวิทยาดี ๆ นี่เอง “พวกเขาเสิร์ฟอาหารให้เราโดยเป็นอาหารมื้อกลางวันที่แย่ที่สุดที่ผมเคยทานมา” Michael กล่าว

มีช่วงหนึ่งระหว่างการประชุม Cheng เดินไปที่กระดานไวท์บอร์ดและขีดเส้นสองเส้น เส้นแรกเป็นเส้นการเติบโตของ Uber ที่เริ่มต้นในปี 2010 และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเคลื่อนไปทางขวา แสดงการซูฮก Uber ว่าพวกเขาสามารถเพิ่มปริมาณการโดยสารได้อย่างรวดเร็ว

แต่สิ่งที่ทุกคนต่างอึ้ง ก็คือ เส้นที่สอง ที่แสดงถึงการเติบโตของ Didi ที่เกิดช้ากว่า Uber สองปี คือในปี 2012 แต่มีเส้นโค้งที่ชันกว่าและตัดกับเส้นของ Uber ซึ่งมันเป็นการท้าทายทีมงานของ Uber ที่นั่งร่วมประชุมอยู่ว่า วันหนึ่ง Didi จะแซงหน้า Uber ได้อย่างแน่นอนเพราะตลาดจีนมีขนาดใหญ่กว่ามาก และในหลายเมืองมีการจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อแก้ปัญหาการจราจรและมลพิษ

แต่ Kalanick กลับแค่ยิ้ม กับสิ่งที่ Cheng วาดฝันไว้

แม้ดูเหมือนเป็นการท้าทายยักษ์ใหญ่อย่าง Uber โดยตรง แต่การพบกันรอบนั้น Kalanick กลับต้องการที่จะเข้าไปถือหุ้น 40% ของ Didi เพราะพวกเขามองว่าในบรรดาผู้ก่อตั้งแอปเรียกรถทั้งหมดที่เขาเคยเจอมานนั้น Cheng Wei เป็นคนที่พิเศษที่สุด เขาเป็นคนที่โดดเด่นเหนือใครในอุตสาหกรรมนี้

ภายในต้นปี 2015 เมื่อ Uber รุกตลาดจีนเต็มตัว ดูเหมือนว่าสิ่งที่ Cheng คิดไว้นั้นมันจะไร้เดียงสาเกินไป เพราะ Uber มีแอปที่ดีกว่า ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีที่เสถียรกว่า นักลงทุนประเมินมูลค่า Uber ไว้ที่ 42 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงเป็นประมาณ 10 เท่ามูลค่า Didi ในขณะนั้น

ในต้นปี 2015  Kalanick นำ Uber รุกตลาดจีนเต็มตัว (CR:SCMP)
ในต้นปี 2015 Kalanick นำ Uber รุกตลาดจีนเต็มตัว (CR:SCMP)

ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน Uber สามารถครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้เกือบหนึ่งในสามของตลาดเรียกรถของจีน

ซึ่ง Cheng ได้ออกมายอมรับว่าเขาคิดผิด “เรารู้สึกเหมือนเป็นกองทัพปลดปล่อยประชาชนที่มีเพียงแค่ปืนไรเฟิลพื้นฐานที่ถูกทิ้งบอมบ์ด้วยระเบิดขีปนาวุธชั้นสูงของ Uber”

Cheng เป็นนักศึกษาประวัติศาสตร์การทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ เช่น การต่อสู้ของ Song Shan ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อกองทหารชาตินิยมของจีนขุดอุโมงค์ใต้ภูเขาเพื่อล้มรอบกองทัพญี่ปุ่นที่รุกราน

Cheng ได้จัดการประชุมในตอนเช้ากับเจ้าหน้าที่ระดับสูง ซึ่งเขาเรียกว่า “Wolf of Totem” ชื่อนี้สร้างจากนวนิยายยอดนิยมในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมเกี่ยวกับนักเรียนในเมืองที่ถูกส่งไปอาศัอยู่ในมองโกเลีย

การประชุม Wolf ot Totem จะมีการศึกษาผลลัพธ์รายวันของ Didi และปรับจำนวนเงินอัดฉีดให้กับเหล่าผู้ขับขี่ ซึ่ง Cheng ได้เตือนในที่ประชุมหลายครั้งว่า “ถ้าเราล้มเหลว พวกเราจะตาย”

ในเดือนพฤษภาคม 2015 Cheng แก้เกมด้วยการรุกกลับ โดยมีการอัดฉีดเงิน 1 พันล้านหยวนให้กับเหล่าผู้ขับขี่ ซึ่ง Uber ก็ไม่ยอมอัดเม็ดเงินเข้ามาสู้ด้วย

Cheng และที่ปรึกษาของเขาค้นหาวิธีที่จะต่อสู้กับบริษัทอเมริกันบนสนามในบ้านของตน พวกเขาให้เหตุผลว่า Uber เป็นเหมือนปลาหมึกยักษ์ หนวดของมันมีอยู่ทุกที่ในโลก แต่หนวดที่ใหญ่ที่สุดของมันอยู่ในสหรัฐฯ

Wang ซึ่งเป็นนักลงทุนรายแรกและอดีตสมาชิกคณะกรรมการเสนอในที่ประชุม Wolf of Totem ให้ “Didi แทงเข้าที่ท้องของ Uber”

Wang ได้ผลักดันให้ Didi ขยายธุรกิจไปยังสหรัฐอเมริกา ในเดือนกันยายน 2015 บริษัทได้เข้าลงทุน 100 ล้านดอลลาร์ใน Lyft คู่แข่งชาวอเมริกันของ Uber ซึ่งถือเป็นการบ่อนทำลาย Uber ในบ้านของพวกเขาเองภายในตัว

เมื่อถึงจุดสูงสุดของการสู้รบ Didi และ Uber ต่างก็เผาผลาญเงินมากกว่าพันล้านดอลลาร์ต่อปี โดยจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งในเชิงธุรกิจแล้วนั้นมันเป็นเงินที่ไร้ค่าอย่างมาก

ทั้งสองบริษัทต่างอัดฉีดเม็ดเงิน และระดมทุนเพื่อมาสู้กันในประเทศจีนที่ต้องการให้แตกหัก เพราะเป็นตลาดขนาดใหญ่มหาศาล ไม่สามารถที่จะแพ้ได้

ในเดือนพฤษภาคม 2016 Apple ได้เข้าลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ใน Didi ในขณะที่อีกหนึ่งเดือนต่อมา Uber ระดมทุนได้ 3.5 พันล้านดอลลาร์จากกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดิอาระเบีย มันส่งสัญญาณชัดเจนว่า ทั้งสองพร้อมสู้กันจนตายกันไปข้างนึง

ในเดือนพฤษภาคม 2016 Apple ได้เข้าลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ใน Didi (CR:9to5mac)
ในเดือนพฤษภาคม 2016 Apple ได้เข้าลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ใน Didi (CR:9to5mac)

จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือเงินของซาอุดิอาระเบีย เพราะดูเหมือนมันจะเป็นเม็ดเงินที่ต่อสู้ได้แบบไม่สิ้นสุดของ Uber มันเป็นการบีบให้ Didi ต้องมาเข้าโต๊ะเจรจา

ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องหยุดนองเลือดและมุ่งเน้นไปที่การสร้างธุรกิจของตน ทั้งสองมองเหมือนกันว่าเงินทุนจำเป็นต้องถูกใช้ในด้านที่มีค่ามากขึ้นกว่านี้ และนี่คือเหตุผลที่ Didi จับมือกับ Uber ได้ในท้ายที่สุด

Kalanick และ Cheng ได้พบกันที่บาร์ในโรงแรมที่ปักกิ่งเพื่อดื่ม baijiu ซึ่งเป็นเหล้าจีนดั้งเดิมที่ทำจากข้าวฟ่าง ระหว่างดื่ม ซีอีโอทั้สองพูดถึงความเคารพซึ่งกันและกันและชื่นชนในความทุ่มเทของทั้งสองฝ่ายที่แข่งขันกัน

“เราเป็นบริษัทที่บ้าคลั่งที่สุดในยุคของเรา” Cheng กล่าว

ในที่สุด บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ ตกลงที่จะถอนตัวออกจากตลาด โดยขายธุรกิจในจีนให้กับ Didi เพื่อแลกกับการถือหุ้นใหญ่ในบริษัทของ Cheng

แม้ว่าดูเหมือน Didi จะเป็นฝ่ายชนะอีกครั้งของบริษัทเทคโนโลยีจีนเหนือซิลิกอน วัลเลย์ แต่มันก็ฝากบทเรียนให้กับบริษัทจีนเช่นเดียวกัน ในเรื่องของการต่อสู้กับยักษ์ใหญ่ที่มันไม่ได้ง่ายเหมือนยุคเก่าอีกต่อไปที่เพียงแค่เข้าใจวัฒนธรรมชาวจีนแล้วจะสามารถเอาชนะบริษัทจากซิลิกอน วัลเลย์ได้แบบง่าย ๆ เหมือนที่ Jack Ma เคยทำสำเร็จกับ Alibaba และ Taobao

แต่เบื้องหลังชัยชนะอันนองเลือดครั้งนี้ดูเหมือนว่า Tencent จะได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งได้รับส่วนแบ่งตลาดแบบพุ่งพรวดสำหรับการชำระเงินมือถือบน Wechat เนื่องจาก Didi นั้นเป็นพาร์ทเนอร์กับ Wechat โดยตรงในระบบการชำระเงิน ซึ่งการวางรากฐานเพื่อให้ผู้ใช้ชาวจีนชำระค่าบริการผ่านแอปบนมือถือจาก Wechat ของ Didi นั้นได้ปูทางไปสู่นวัตกรรมด้านฟินเทคในอนาคตของยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตในประเทศอย่าง Tencent ได้ในท้ายที่สุดนั่นเองครับผม

References :
หนังสือ Influence Empire: Inside the Story of Tencent and China’s Tech Ambition โดย Lulu Chen
https://fortune.com/2016/04/07/didi-kuaidi-valuation-25-billion/

Geek Daily EP206 : จุดจบของ CZ แห่ง Binance และการสิ้นสุดของบริษัท Crypto ไร้พรมแดน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคสมัย Changpeng Zhao จาก Binance ที่ได้ก้าวลงจากตำแหน่งและรับสารภาพผิดต่อการฝ่าฝืนกฎระเบียบว่าด้วยการป้องกันการฟอกเงินของสหรัฐฯ แม้ว่า Binance จะไม่เคยเป็นแพลตฟอร์ม Exchange ในสหรัฐฯ ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ตำนานของบริษัท crypto ที่ “ไร้พรมแดน” จึงสิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ

แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ จับกุมตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศอย่างเป็นทางการ เหตุการณ์แบบเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นกับ FTX มาก่อน แต่ไม่มีบริษัทใดเป็นตัวอย่างของตํานาน “ไร้พรมแดน” ได้ดีเท่ากับ Binance ซึ่งต้องจ่ายค่าปรับ 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อระงับข้อกล่าวหาจากการสอบสวนของกระทรวงยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/33pcsjhy

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/2whk7jfu

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/nrd62fx9

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/4hxu7t7z

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/BTJrZ5MCIfk