Affiliate Program กับการพุ่งทะยานที่ไร้ขอบเขตจากนวัตกรรมที่สรรสร้างโดย Jeff Bezos

ในวันที่ 16 กรกฏาคม 1995 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของ amazon ที่ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ มันเป็นช่วงเวลาที่ดีมาก ๆ ของ เจฟฟ์ เบโซส์ เพราะในขณะนั้น internet เริ่มแพร่กระจายไปสู่คนหมู่มากในอเมริกาแล้ว และที่สำคัญมันเป็นการออกตัวก่อนคู่แข่งที่ตอนนั้นหลาย ๆ บริษัทเริ่มตื่นตัวกับ internet แล้ว และกำลังสร้างบริการคล้าย ๆ กันอยู่

amazon เป็นเว็บไซต์ค้าปลีกแรกๆ ที่ขายเพียงแค่หนังสือในช่วงเริ่มต้น ที่ดูจะมีความสมบูรณ์ที่สุด การปรุงแต่งด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดรวมถึงการ design ที่ดูสะอาดตา และมีความเรียบง่าย ทำให้สามารถเป็นที่ต้องตาของเหล่าหนอนหนังสือตัวยงได้อย่างรวดเร็ว

หลังจากเปิดตัว คำสั่งซื้อเริ่มหลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้โปรแกรมเมอร์หลักในทีม ต้องสร้างระบบ เพื่อแจ้งเตือน เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา โดยให้มีเสียงกระดิ่งเตือนเมื่อมีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา แต่มันก็ใช้งานได้ไม่นาน เพราะคำสั่งซื้อมันเข้ามาอย่างรวดเร็วและเริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ  จนเสียงกระดิ่งไปรรบกวนการทำงานทุกคนในทีม

หน้าเว็บ Amazon ยุคแรก ๆ ที่เน้นไปที่ความเรียบง่าย (CR:Britannica)
หน้าเว็บ Amazon ยุคแรก ๆ ที่เน้นไปที่ความเรียบง่าย (CR:Britannica)

ในช่วงแรกของการเปิดตัวเว็บไซต์ต้องบอกว่า เจฟฟ์ นั้นจัดโปรโมชั่นหนักมากหวังดึงลูกค้ามาใช้อย่างเต็มที่ โดยลดราคาของหนังสือจนแทบจะไม่มีกำไรเลยด้วยซ้ำ หนังสือชื่อดังถูกนำมาลดราคาบ้างครั้งสูงถึง 40% เรียกได้ว่าในช่วงแรกนั้นยิ่งขายได้มากก็ยิ่งติดลบมาก

และปัจจัยอย่างนึงที่ทำให้ amazon นั้นดังอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจาก เจอร์รี่ หยาง CEO ของ YAHOO ในขณะนั้น ได้เห็นเว็บไซต์ amazon ในไม่กี่วันแรก หลังจากที่เว็บออนไลน์

ตอนนั้นหน้าหลักของ YAHOO มี Section ที่เรียกว่า What’s Cool Page ซึ่งเป็นส่วนแนะนำเว็บไซต์ใหม่ ๆ ที่เจ๋ง ๆ และน่าสนใจสำหรับชาว internet ซึ่งต้องบอกว่าในยุคนั้น YAHOO ถึอเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการผู้คนมักมาที่ YAHOO ก่อนเป็นดับแรกเพื่อหาเว็บไซต์ที่น่าสนใจที่ทาง YAHOO ได้ทำเป็นระบบไดเร็คทอรี่ไว้

และการขึ้นไปอยู่ในส่วนของ What’s Cool Page ของ YAHOO นั้นทำให้ amazon โด่งดังภายในพริบตาเดียวเลยก็ว่าได้ เพียงสัปดาห์แรกหลังจากถูกแนะนำใน YAHOO มีคำสั่งซื้อมูลค่ารวมกว่า 12,000 เหรียญ  หลังหลังจากนั้นอีกสัปดาห์ถัดไปก็พุ่งขึ้นไปถึง 15,000 เหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนคำสั่งซื้อที่น่าเซอไพรซ์มากสำหรับเว็บไซต์เปิดใหม่อย่าง amazon

What’s Cool Page ของ YAHOO ที่ทำให้ Amazon เริ่มมีคนรู้จัก (CR:Business Insider)
What’s Cool Page ของ YAHOO ที่ทำให้ Amazon เริ่มมีคนรู้จัก (CR:Business Insider)

ตอนที่เว็บไซต์ amazon ออนไลน์อย่างเป็นทางการนั้น ทีมงานโปรแกรมเมอร์ รวมถึง เจฟฟ์ ก็ทำการตรวจสอบในระดับหนึ่งแล้วว่า สามารถทำงานได้  แต่ พอใช้งานจริง ๆ ก็พบเจอกับหลากหลายปัญหามากเพราะจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เจฟฟ์ และทีมจึงทยอยปรับแก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ และเจฟฟ์นั้นต้องการให้ amazon ยึดหัวหาดในตลาดหนังสือออนไลน์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ปัญหาอีกประการก็คือ ตอนนั้น เจฟฟ์ นั้นไม่ได้นึกถึงทีมงานที่จะต้องมานั่งแพ็คสินค้า หรือ จัดการด้านคลังสินค้าเลยด้วยซ้ำ แรกเริ่มเขาจึงต้องใช้ทีมงานเท่าที่มีอยู่มาช่วยกันแพ็คหนังสือลงกล่องเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า ซึ่งต้องใช้เวลาในช่วงกลางคืนหลังจากแต่ละคนเคลียร์งานของตัวเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้บางคืนต้องทำงานกันจนถึงเกือบเช้าเพื่อจัดการคำสั่งซื้อที่เข้ามาทั้งหมด

มันเป็นการเริ่มต้นอย่างทุลักทุเลเลยก็ว่าได้ เพราะการเติบโตอย่างรวดเร็วของ amazon ทำให้ตอนนั้น เจฟฟ์ก็ยังไม่ได้วางแผนว่ามันจะเติบโตได้เร็วถึงเพียงนี้  พนักงานช่วงยุคแรกเริ่มนั้นทำงานกันหลายตำแหน่งมาก ๆ บางคนเป็นทั้งโปรแกรมเมอร์ และต้องมาตอบคำถามลูกค้าในหน้าเว็บ หรือ พนักงานบัญชีที่ต้องมานั่งช่วยแพ็คสินค้า รวมถึงจ่าหน้าสินค้า แม้กระทั่งเรื่องการ print เอกสารต่าง ๆ  พนักงานยังต้องไป print ที่ร้านข้างนอก การประชุมก็อาศัยร้านกาแฟ ที่อยู่ใกล้ ๆ ออฟฟิส เป็นที่ประชุมงาน

ถึงแม้บริษัทจะไม่มีงบโฆษณาใด  ๆเลยด้วยซ้ำในช่วงเริ่มก็ตั้ง แต่ amazon มันกลายเป็นกระแสบอกปากต่อปาก โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ มีแต่ผู้คนกล่าวถึง เว็บไซต์หน้าใหม่ไฟแรงอย่าง amazon และด้วยการที่มันขึ้นด้วยตัว A ทำให้เวลามีการเรียงลำดับเว็บไซต์ มันก็ทำให้ amazon ขึ้นไปอยู่อันดับต้น ๆ เสมอ

ซึ่งร้านหนังสือยักษ์ใหญ่อย่างบาร์นแอนด์โนเบิล นั้นก็เริ่มเห็นกระแสของ amazon ที่เริ่มเป็นที่น่าสนใจในวงกว้างมากยิ่งขึ้น จึงได้ทำการริเริ่มสร้างเว็บไซต์มาแข่ง แต่ เจฟฟ์ และทีมงาน amazon เตรียมการเรื่องนี้ไว้อย่างดีแล้ว 

ทีมงานเร่งปรับตัวเว็บไซต์ เพิ่ม features ต่าง ๆ มากมาย ที่ไม่เคยมีเว็บไซต์ไหนทำมาก่อน ตัวอย่างเช่นการ review หรือแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ นั้น amazon ก็เป็นเจ้าแรก ๆ ที่ได้คิดฟังก์ชั่นนี้ขึ้นมา และสร้างเป็นเครือข่ายสังคมขนาดย่อมของคนรักหนังสือขึ้นมา ต้องบอกว่า amazon ตอนนี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงเว็บไซต์ขายหนังสือเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นเครือข่ายสังคมรุ่นแรก ๆ สำหรับแฟนหนังสืออีกด้วย

ถือกำเนิด Affiliate Program

แนวคิดเรื่องการแบ่งรายได้ การจ่ายค่าคอมมิชชั่นสำหรับธุรกิจโดยการอ้างอิงนั้น เรียกได้ว่าเกิดมาก่อนยุค internet เสียด้วยซ้ำ

แนวคิดของ Affiliate Program บน internet เกิดขึ้นและถูกจดสิทธิบัตรโดย William J.Tobin ผู้ก่อตั้ง PC Flowers & Gifts ซึ่งในปี 1995 พวกเขาได้เปิดตัวเว็บไซต์เชิงพาณิชย์ และมีพันธมิตรทางการตลาดผ่าน Affiliate Program สูงถึง 2,600 ราย

แต่คนที่ผลักดันให้แนวคิดนี้นำมาใช้งานกันจนฉุดไม่อยู่อย่างที่เราได้เห็นใจปัจจุบัน นั่นก็คือ เจฟฟ์ เบโซส์ แห่ง amazon

เจฟฟ์ นั้นมีไอเดียใหม่ ๆ เสมอสำหรับเว็บไซต์ amazon ของเขา ในเดือน กรกฏาคม ปี 1996 มีหญิงคนหนึ่งชอบเขียนแนะนำหนังสือลงเว็บไซต์ของตนเอง และทำลิงก์มายังเว็บไซต์ของ amazon เพื่อให้สะดวกกับคนที่สนใจจะซื้อหนังสือ

เจฟฟ์เห็นไอเดียว่า การมีทราฟฟิกจากภายนอกลิงก์มายัง amazon นั้นจะช่วยสนับสนุนการขายได้อย่าดี เขาจึงตั้งโปรแกรมที่เรียกว่า โครงการพันธมิตรการขาย (Associates Program) ขึ้นมา โดยบุคคุลภายนอกที่สร้างลิงก์มายังเว็บไซต์ amazon จะได้รับค่านายหน้าจากการขายหากมีคนคลิกผ่านเว็บไซต์ของตัวเองมาสั่งซื้อหนังสือในเว็บไซต์ amazon

เจฟฟ์ได้คิดค้น amazon Associates Program ขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการค้าออนไลน์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีเว๊บไซต์
เจฟฟ์ได้คิดค้น amazon Associates Program ขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการค้าออนไลน์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีเว๊บไซต์

และมันยังทำให้ เครือข่ายของ amazon กระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สรรค์สร้างโดย เจฟฟ์ เบซอส เลยก็ว่าได้ ซึ่งแม้กระทั่งในปัจจุบันประมาณร้อยละ 2.3 ของเว็บไซต์ที่มีอยู่ทั้งหมดก็ยังใช้งาน Associates Program ของ amazon อยู่เนื่องจากผู้คนต่างไว้วางใจในการซื้อสินค้าจาก amazon

ก็ต้องบอกว่าแนวคิดเล็ก ๆ อย่างเครือข่าย Associates Program ที่นำมา implement ใช้จริงโดยเจฟฟ์ นั้นมันก็สร้าง Impact ครั้งยิ่งใหญ่ให้กับ amazon มันเป็นความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างเจฟฟ์กับผู้บริหารหัวโบราณที่ไม่เข้าใจและลังเลที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโลกออนไลน์ในยุคนั้นนั่นเองครับผม

References :
https://en.wikipedia.org/wiki/Affiliate_marketing#:~:text=The%20concept%20of%20affiliate%20marketing,on%20the%20service%20until%201996.
https://en.wikipedia.org/wiki/Amazon_(company)
https://easyaffiliate.com/blog/history-affiliate-marketing/
https://www.flickr.com/photos/163370954@N08/32878819397


“โซดาสิงห์” เปิดตัว Singha Soda Collection 2023 ผนึก Rubber Killer แบรนด์ไทยรักษ์โลกชื่อดัง คอนเซ็ปต์ “ซ่าได้ไม่ทำร้ายโลก Less Waste, Recycle more”

“โซดาสิงห์” เปิดตัว Singha Soda Collection 2023 โดยในปีนี้ได้คอลแลปกับ “Rubber Killer”   แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นและแอ็กเซสซอรีชื่อดังของไทย ที่โดดเด่นในด้าน upcycling ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ในคอนเซ็ปต์ “ซ่าได้ไม่ทำร้ายโลก Less Waste, Recycle more” การนำมาใช้ใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด

คุณธิติพร ธรรมาภิมุขกุล Chief Marketing Officer บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า Singha Soda Collection 2023 ของโซดาสิงห์ในปีนี้ เป็นการร่วมงานกับ “Rubber Killer” แบรนด์แฟชั่นของไทยที่มีจุดเด่นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ซ่าได้ไม่ทำร้ายโลก Less Waste, Recycle more”

สอดคล้องกับแนวทางของแบรนด์โซดาสิงห์ ที่ตระหนักในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า กระบวนการผลิตต่างๆ มีการนำของเหลือใช้มาหมุนเวียน ใช้ซ้ำตามแนวทาง Circular Economy เช่น บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วมาใช้ซ้ำ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สะท้อนถึง Brand Personality ของโซดาสิงห์ ซึ่งเป็นแบรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

สำหรับ คอลเล็กชั่น Singha Soda Collection 2023 ร่วมกับ Rubber Killer เป็นการนำจุดแข็งของโซดาสิงห์ เรื่อง “ความซ่า” ซึ่งมีจุดยืนในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้บริโภคทุกกลุ่มเป้าหมายกับการทำตลาดที่ไม่เคยหยุดนิ่ง พร้อมเชื่อในพลังความคิดสร้างสรรค์ ครีเอทสิ่งใหม่ๆ ให้กับตลาดและผู้บริโภคอยู่เสมอ ผนึกกับ Rubber Killer แบรนด์แฟชั่นแอ็กเซสซอรีที่มีจุดยืนเรื่องสิ่งแวดล้อมร่วมกันต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ดีไซน์เป็นแฟชั่นไอเท็มเอาใจคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

สินค้าภายใต้คอกเล็กชั่นพิเศษนี้ มีหลายรายการครอบคลุม เสื้อผ้าลำลอง และสินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น เสื้อแจ๊คเกต เสื้อยืด กระเป๋าผ้า กระเป๋าผ้าไนล่อน (Sacoche Bag) กระเป๋าไวนิล หมวก และพวงกุญแจ เป็นต้น วางจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ www.singhasodacollection.com ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เชื่อว่าจากความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเพิ่มพลังของการรับรู้ และดึงให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับแบรนด์โซดาสิงห์มากยิ่งขึ้น 

กลยุทธ์ Collaboration ของโซดาสิงห์ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ผู้บริโภครอคอยในแต่ละปีว่าจะร่วมมือกับใคร หรือแบรนด์ใดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่โดดเด่นและมีพลัง ซึ่งที่ผ่านมามีพันธมิตรหลากหลายสไตล์ เช่น ALEX FACE ศิลปินผู้สร้างผลงานศิลปะบนกำแพง, Mister Cartoon ช่างสักระดับโลก, S.V.S.S. และ Dry Clean Only แบรนด์แฟชั่นสตรีทอาร์ตสัญชาติไทย ฯลฯ ซึ่งล้วนสร้างผลตอบรับและความสำเร็จได้เป็นอย่างดี 

สำหรับ Rubber Killer เป็นแบรนด์ไทยที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยการนำวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยางในของรถบรรทุก-รถจักรยาน มาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Eco-Friendly Product ที่สามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ทำให้แบรนด์สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี