ต้องบอกว่าเป็น startup รุ่นปู่เลยทีเกียวสำหรับ Napster ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า ipod เป็นจุดเริ่มต้นของ digital music แต่ถ้าถามถึงต้นตอจริง ๆ ของการปฏวัติอุตสาหกรรมดนตรี จาก analog ไปสู่ digital นั้น ต้องบอกว่า Napster ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งที่สำคัญต่อการปฏิวัติวงการดนตรีเลยก็ว่าได้
ประวัติ Napster
Napster นั้นถูกสร้างโดย Shawn Fanning , John Fanning และ Sean Parker ผู้โด่งดัง โดยใช้รูปแบบการ share แบบ peer-to-peer file sharing ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากและคนค่อนข้างตื่นตะลึงกับการเกิดขึ้นของระบบ peer-to-peer อย่างสูง
โดย Napster นั้นเปิดให้บริการในช่วงปี 1999 ถึง ปี 2001 โดยรูปแบบการบริการคือให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถ share เพลงในรูปแบบ mp3 ของตัวเองกับคนอื่นได้ผ่าน internet ซึ่งถ้ามองในยุคนี้ต้องบอกว่าเป็นเรื่องปรกติไปเสียแล้ว แต่ในยุคปี 1999 นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มาก
ถึงแม้ว่าในยุคนั้นจะเริ่มรูปแบบการ share file ผ่าน internet เช่น IRC , Hotline หรือ Usenet แล้วนั้น แต่ความพิเศษของ Napster คือ พวกเค้า focus ที่ไฟล์ mp3 และทำให้ user interface ใช้งานง่ายมาก ๆ คนทั่วไปสามารถค้นหา หรือ download file มาใช้งานได้อย่างง่ายดาย ทำให้ Napster ดังเป็นพลุแตกในยุคนั้น โดยในช่วงที่ขึ้นสู่จุดสูงสุดนั้น มีผู้ใช้งานที่เป็น registered user ถึง 80 ล้านคน ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น
ความดังของ Napster ถึงกับทำให้เหล่าบรรดา network ในมหาลัยต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา นั้นกว่า 60% ของ traffic มาจากการ share file mp3 ทำให้หลาย ๆ มหาลัยทำการ block service ของ Napster เพราะกังวลเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้กล่าวได้ว่าศิลปินในขณะนั้นได้เริ่มเลิกการออกอัลบั้มเต็ม เปลี่ยนมาเป็นออก single แทนเลยทีเดียว
Macintosh Version
เริ่มต้นนั้น Napster สร้างโดยใช้งานได้เพียงระบบปฏิบัติการ windows เป็นหลัก อย่างไรก็ดีในปี 2000 ได้มีการสร้างบริการเลียนแบบ ชื่อ Macster บนระบบปฏิบัติการ Macintosh ด้วยความดังทำให้ Napster ตัดสินใจเข้า takeover Macster และรวมเป็นบริการ “Napster for Mac” และในภายหลังได้มีการปล่อย source ของ Macster เพื่อให้บริการที่เป็น 3rd-party นั้นสามารถเรียกใช้ได้จากทุกระบบปฏิบัติการ โดยใช้รูปแบบของการโฆษณาเพื่อหารายได้แทน
ความท้าทายทางด้านกฏหมาย
อย่างที่รู้กันว่าบริการลักษณะนี้เริ่มเกิดขึ้นมากมายในช่วงนั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการ share file ที่ผิดกฏหมายทั้งสิ้น ซึ่งในตอนนั้นวง Metallica ได้ออก demo single ในเพลง “I Disappear” แต่ก็ถูกทำการนำไปปล่อย share อย่างผิดกฏหมาย ก่อนที่จะทำการออก Release อย่างเป็นทางการ
ทำให้หลาย ๆ คลื่นวิทยุ สามารถนำเพลงมาออกอากาศก่อนที่วงจะปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการ ทำให้ในปี 2000 ทางวงเริ่มมีการตั้งทนายเพื่อทำการฟ้องร้อง Napster และหลังจากนั้นไม่นาน rapper ชื่อดังอย่าง Dr.Dre ก็เข้าร่วมในการฟ้องร้องครั้งนี้ด้วย หลังจาก Napster ปฏิเสธที่จะนำงานเพลงของพวกเขาออกจากบริการ Napster
ซึ่งหลายๆ ศิลปินก็โดนผลกระทบในรูปแบบเดียวกัน single “Music” ของ Madonna ก็ถูกปล่อยออกมาผ่านทาง Napster ก่อนวันที่จะ Release อย่างเป็นทางการ ซึ่งส่งผลเสียหายต่อรายได้ ของศิลปินในขณะนั้นอยู่มาก
การต่อสู้บนชั้นศาลก็เริ่มขึ้น โดยในปี 2000 ค่ายเพลงต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเพื่อทำการฟ้องร้อง Napster ในข้อหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่ง Napster ก็ได้ต่อสู้ แม้จะแพ้ในศาลชั้นตั้น ก็ทำการอุทรณ์เพื่อสู้ต่อไปให้ถึงที่สุด
พลังแห่งการโปรโมต
ถึงแม้ว่าพลังของ Napster ที่ให้บริการ free นั้นจะได้ทำลายอุตสาหกรรมดนตรี รวมถึงทำให้ยอดขาย album นั้นตกลงไปเป็นอย่างมาก แต่ก็เกิดปรากฏการณ์บางอย่างในทางตรงกันข้ามขึ้นกับวง Rock Radiohead’s จากอังกฤษ ในปี 2000 พวกเขาได้ออกอัลบั้ม Kid A ซึ่งก็เหมือนเคย อัลบั้มถูกปล่อยออกไปทาง Napster ก่อนที่จะ Release อย่างเป็นทางการถึง 3 เดือน
แต่ผลของ Radiohead’s นั้นแตกต่างจาก Madonna , Dr. Dre หรือ Metallica วง Radiohead นั้นไม่เคยแม้จะติด top 20 ของ chart ในสหรัฐอเมริกา พวกเค้าถูกเผยแพร่ผ่าน Napster รวมถึงคลื่นวิทยุเล็ก ๆ อย่าง radio airplay
ในช่วงที่ออก Release อัลบั้มอย่างเป็นทางการนั้น เพลงของพวกเค้า ได้ถูก download ผ่านบริการ share ไฟล์ ไปกว่า 1 ล้านครั้ง ทั่วโลก ทำให้ในเดือนตุลาคม ปี 2000 นั้น อัลบั้ม Kid A ของพวกเค้าเข้าไปติดใน Billboard200 sales chart ได้เป็นครั้งแรก
ซึ่งมาจาก effect ของการโปรโมตผ่านบริการอย่าง Napster ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายจากวงที่ตอนนั้นไม่ดังมาก และไม่ถูกคาดหวัง แต่สามารถประสบความสำเร็จได้ ผ่านการ promote จากบริการของ Napster นั่นเอง
ซึ่งตั้งแต่ปี 2000 ศิลปินหลาย ๆ คนก็เริ่มที่จะไม่เซ็นสัญญากับค่ายเพลงใหญ่ ๆ และไม่จำเป็นต้องทำการ promote ผ่าน mass media อย่างรายการทีวีหรือวิทยุชื่อดัง แต่หันมาใช้ Napster ในการ promote แทน ด้วยกระแสปากต่อปาก
ทำให้สุดท้ายแล้วนั้นสามารถเพิ่มยอดขายอัลบั้มในระยะยาวได้ ซึ่งหนึ่งในศิลปินที่ช่วยปกป้อง Napster ในยุคนั้นคือ Dj xealot รวมถึง Chuck D และ Public Enemy ก็ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเค้า support Napster
สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ
แต่ด้วยปัญหากับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2001 ต้องให้หยุดให้บริการของพวกเค้าชั่วคราว และต้องจ่ายค่าปรับจากการฟ้องร้องของค่ายเพลงกว่า 26 ล้านเหรียญรวมถึงต้องจ่ายค่า licensing ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกกว่า 10 ล้านเหรียญหากดื้อด้านที่จะเปิดให้บริการต่อไป ทางทีมงานจึงพยายามปรับตัวเองจากบริการใช้ฟรี เป็นแบบ subscription model เพื่อหารายได้ เพื่อมาจ่ายค่า license เหล่านี้
อย่างไรก็ดีหลังจากนั้น traffic ของ Napster ก็ตกลงอย่างมหาศาล ซึ่ง Prototype ของบริการแบบใหม่ subscription model นั้นได้ถูกนำมาทดสอบเริ่มใช้ในปี 2002 ในชื่อ “Napster 3.0 Alpha” ซึ่งจะเปลี่ยน file ไปเป็น .nap ซึ่งเป็นการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์
แต่เมื่อจะเปิดใช้บริการจริง ก็ต้องพบกับปัญหาในเรื่องค่า license สำหรับศิลปินชื่อดังต่าง ๆ ทำให้ในเดือน พฤษภาคมปี 2002 นั้น Napster ได้ประกาศขายกิจการให้กับ Bertelsmann บริษัททางด้าน media จากประเทศเยอรมัน ในมูลค่ากว่า 85 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีเป้าหมายในการปรับรูปแบบของ Napster ให้เป้น online music subscription service
แต่อย่างไรก็ดี สุดท้ายการซื้อขายก็ไม่ได้เกิดขึ้น เมื่อ Napster ถูกศาลล้มละลายกลางสหรัฐ blocked ไม่ให้ขายให้กับ Bertelsmann และทำการบังคับเพื่อยึดทรัพย์สินทั้งหมดของ Napster และเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเป็นอันสิ้นสุดยุคของ Napster อย่างเป็นทางการ
สรุป
สำหรับ Napster นั้นได้ทำการแจ้งเกิดได้ถูกที่ ถูกเวลา ในช่วงที่ internet กำลังพัฒนาเรื่อง speed จนสามารถเกิดบริการในรูปแบบ file sharing ขึ้นมาได้ idea ของ Napster นั้นต้องบอกว่าเจ๋งมากในขณะนั้น
ผู้ใช้งานต่างยกย่องบริการอย่าง Napster เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องการฟังดนตรี ที่สามารถเข้าถึง single หรือ album ดัง ๆ ได้อย่างง่ายดายขึ้น ผู้คนไม่ต้องไปซื้อ CD ตามร้านอีกต่อไป แต่ ปัญหาหลักใหญ่ของ ระบบแบบนี้คือ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
ซึ่งกลุ่มที่เสียหายคือ ค่ายเพลงรายใหญ่จำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นคู่ต่อสู้ที่ไม่น่าไปสู้ด้วยแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าบริการนี้จะถูกใจผู้ใช้งานเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วมันก็เป็นสิ่งกฏหมาย
ซึ่งการที่เราสร้าง startup ที่เสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องในภายหลังนั้น ก็ไม่น่าจะควรทำมาตั้งแต่แรกดังตัวอย่างของ Napster ที่ถึงกับล้มละลาย เพราะไม่มีเงินไปเสียค่าปรับต่างๆ จากการฟ้องร้องแม้จะพยายามที่จะปรับตัว แต่ user นั้นชินกับการบริการแบบฟรีไปแล้วหากมาเปลี่ยนรูปแบบก็ทำให้ user หนีไปยังบริการชนิดอื่นได้อย่างง่ายดายเช่นกันซึ่งสุดท้ายธุรกิจก็ไปไม่รอดอยู่ดี
Reference : en.wikipedia.org,godisageek.com