One Billion Per Minute ตำนาน pitching ขอทุน 45 นาที 45 พันล้านโดย Masayoshi Son

นิซาร์ อัล บาสซาม พยายามที่จะทำธุรกิจกับ โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มาโดยตลอด และในปี 2016 ที่โตเกียวเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นเขากำลังจะได้รับโอกาสที่สำคัญที่สุดในชีวิต

นิซาร์ ทำงานที่ Deutsche Bank จนถึงปลายปี 2015 เขาเป็นคนเชี่ยวชาญในการเข้าถึงคนที่มีอำนาจผ่านเสน่ห์ส่วนตัวของเขา ตัวนิซาร์เองเกิดที่เมือง Dhahran บิดาของเขาเป็นผู้บริหารระดับสูงของ Aramco กระทั่งได้เสียชีวิตไปในปี 2007

นิซาร์เติบโตในย่านที่อยู่อาศัยที่มีรั้วรอบขอบชิดของ Aramco ซึ่งจำลองมาจากย่านชานเมืองของสหรัฐอเมริกาที่มีสนามหญ้าด้านหน้า เขาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เข้าโรงเรียนที่นั่นตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จากนั้นมาเรียนต่อที่โรงเรียนประจำมิดเดิลเซกซ์ในแมสซาชูเซตส์และวิทยาลัยโคลบีในรัฐเมน เขาได้กลายเป็นคนอเมริกันทีมีวัฒนธรรมเช่นเดียวกับซาอุฯ

นิซาร์ อัล บาสซาม จาก Deutsche Bank ผู้ที่ถวิลหาการเข้าถึงแหล่งเงินของโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน (CR:The Talks Today)

โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานมกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียกำลังมีแนวคิดสำคัญที่จะเปลี่ยนเงินทุนที่ได้จากการทำ IPO ของ Aramco ให้กลายมาเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ

นอกเหนือจากโอกาสทางด้านการเงินแล้ว โมฮัมเหม็ดเองก็กำลังเปิดประเทศสู่การท่องเที่ยวครั้งใหญ่ สำหรับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของประเทศนี้ ไม่ได้สนใจเรื่องการท่องเที่ยวมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดให้สำหรับผู้เดินทางไปแสวงบุญที่เมกกะเป็นส่วนใหญ่

แต่โมฮัมเหม็ดคิดต่างออกไป เขาเห็นศักยภาพที่ซาอุดิอาระเบียจะกลายเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลกได้

อาณาจักรซาอุดิอาระเบียมีชายฝั่งทะเลยาว 1,200 ไมล์ รวมถึงแนวปะการังที่มีชื่อเสียง ซึ่งดูเหมือนว่าจะถูกอนุรักษ์ไว้ แทบจะไม่มีใครเข้ามารุกรานแนวปะการังที่สวยงามเหล่านี้ รวมถึงสถานที่ทางประวัติศาสตร์ เช่น Madain Saleh อายุสองพันปีที่มีสุสานอันวิจิตรที่แกะสลักเป็นหินทรายขนาดใหญ่โดยชาว Nabateans

เจ้าชายโมฮัมเหม็ดได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ รวมถึงรีสอร์ทริมชายหาดจำนวนมากที่เรียกว่าโครงการทะเลแดง นอกจากนี้เขายังเริ่มสร้างห้องแสดงคอนเสิร์ตขนาดยักษ์ใกล้ ๆ กับซากปรักหักพังของ Nabatean รวมถึง เมืองแห่งความบันเทิง ที่ใหญ่พอ ๆ กับลาสเวกัสนอกริยาด ที่เรียกว่า Qiddiya

เจ้าชายโมฮัมเหม็ดได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ รวมถึงรีสอร์ทริมชายหาดจำนวนมากที่เรียกว่าโครงการทะเลแดง นอกจากนี้เขายังเริ่มสร้างห้องแสดงคอนเสิร์ตขนาดยักษ์ใกล้ ๆ กับซากปรักหักพังของ Nabatean รวมถึง เมืองแห่งความบันเทิง ที่ใหญ่พอ ๆ กับลาสเวกัสนอกริยาด ที่เรียกว่า Qiddiya

ต้องบอกว่าโมฮัมเหม็ดได้กลายเป็นเจ้าชายหนุ่มที่มีอำนาจควบคุมประเทศของเขาอย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมด้วยเงินจำนวนมหาศาลไว้เพื่อการลงทุนปฏิรูปประเทศซาอุดิอาระเบียเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่

ในตอนแรก นิซาร์ ต้องการให้ Deutsche Bank เป็นตัวเลือกแรกสำหรับเงินกองทุนของโมฮัมเหม็ด แต่ในช่วงปลายปี 2015 เขาได้ออกจากงาน และตั้งบริษัทที่ปรึกษาร่วมกับพันธมิตรที่เป็นอดีตนายธนาคารจาก Goldman Sachs Group

ซึ่งหนึ่งในแนวคิดของบริษัทใหม่ของ นิซาร์ ก็คือการพยายามเข้าถึงแหล่งเงินมหาศาลของตะวันออกกลาง โดยในการหาคู่ค้า นิซาร์ และเพื่อร่วมงานของเขาได้เริ่มพูดคุยกับ ราจีฟ มิสรา ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินเชิงกลยุทธ์ของ Softbank Corp จากญี่ปุ่น

วิศวกรการเงินผู้เย่อหยิ่งที่มีรสนิยมชอบหนี้สินและความเสี่ยง ราจีฟ เคยเป็นนายธนาคารอาวุโสของ Deutsche Bank ในช่วงวิกฤติการเงิน โดยเขาดูแลทีมที่ทำกำไรจากการเดิมพันในตลาดที่อยู่อาศัย หลังจากนั้นเขาได้มาร่วมงานกับ UBS ต่อด้วย Fortress Investment Group ก่อนจะมาลงเอยที่ SoftBank

ราจีฟ มิสรา ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินเชิงกลยุทธ์ของ Softbank Corp (CR:Inshorts)
ราจีฟ มิสรา ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินเชิงกลยุทธ์ของ Softbank Corp (CR:Inshorts)

ราจีฟ ได้มาเจอกับ Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งที่หลงใหลในเทคโนโลยีของ SoftBank ในงานแต่งงานแห่งหนึ่งที่ประเทศอิตาลี และต่อมาได้เข้ามารับงานช่วย Masayoshi พัฒนาโครงสร้างหนี้ที่ซับซ้อนเพื่อรองรับความทะเยอทะยานครั้งใหม่ของ Masayoshi

Masayoshi ชายชาวญี่ปุ่นเชื้อสายเกาหลี กลายเป็นชายที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในช่วงสั้น ๆ ที่จุดสูงสุดของฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000 การลงทุนใน Alibaba ของ Jack Ma มูลค่า 20 ล้านดอลลาร์ ได้สร้างมูลค่าเพิ่มเป็น 74,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อ Alibaba ทำ IPO สู่สาธารณะชนในปี 2014

Masayoshi กำลังต้องการเดิมพันครั้งใหญ่ ด้วยความเชื่อของเขาที่ว่าโลกเรากำลังเร่งไปสู่ “Singularity” ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี AI ที่การเติบโตทางด้านเทคโนโลยีจะก้าวกระโดด จนเปลี่ยนโลกไปในแบบที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน

SoftBank ของ Masayoshi ได้ก่อตั้งบริษัทลูก FAB Partners และ นิซาร์ ก็ได้เข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างแนวคิดที่เรียกว่า Project Crystal Ball สำหรับกองทุนมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะลงทุนในกิจการ Startup ด้านเทคโนโลยี

โดยพวกเขาตัดสินใจที่จะเสนอแนวความคิดดังกล่าวให้กับกาตาร์ก่อน ซึ่ง นิซาร์ มีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นอยู่แล้วกับกาตาร์ แต่เมื่อ Masayoshi มาถึงในเวลาตี 4 ของวันที่ 28 สิงหาคม 2016 ด้วยเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว

นิซาร์ก็ต้องตกตะลึง เพราะในระหว่างการเดินทาง Masayoshi และผู้ช่วยของเขาได้ทำการปรับแต่งบางอย่าง มีการปรับแต่งตัวเลขเม็ดเงินลงทุนให้สูงถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะกลายเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

แม้ชาวกาตาร์จะประทับใจกับความเชื่อมั่นของ Masayoshi แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นหลังจากการหารืออย่างเป็นทางการ ทีมยังต้องการเงินจำนวนมากเพื่อบรรลุเป้าหมาย 100,000 ล้านดอลลาร์

นิซาร์ เชื่อว่า ทางออกที่ดีที่สุด ควรมุ่งไปหาซาอุดิอาระเบีย โดยเฉพาะ โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และเป็นเรื่องโชคดีมาก ๆ ที่ โมฮัมเหม็ดมีแผนการที่จะเดินทางมาโตเกียวภายในไม่กี่วันหลังจากที่พวกเขาได้คุยกับกลุ่มจากกาตาร์

ต้องบอกว่าเป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่โมฮัมเหม็ด และทีมงานด้านการลงทุนแสดงความเต็มใจที่จะพบกับ Masayoshi แต่ดูเหมือนยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น นิซาร์จึงเป็นสะพานเชื่อมเพื่อให้อย่างน้อย Masayoshi ได้มีโอกาสได้ไปพบเจอกับทีมงานของโมฮัมเหม็ด

ในวันที่โมฮัมเหม็ดมาถึงโตเกียว นิซาร์ พบว่าโทรศัพท์สั่นอยู่ที่หน้าอก เขาหลับไปพร้อมกับมัน เป็นสายของ ยาซีร์ หัวหน้าการลงทุนของโมฮัมเหม็ด ซึ่งในที่สุดนีซาร์ก็ได้ติดต่อให้ ยาซีร์มาพบกับ Masayoshi ได้สำเร็จ และ ยาซีร์เองก็สนใจ เขากล่าวว่า “สิ่งนี้น่าสนใจ ผมต้องหารือกับเจ้าชายโมฮัมเหม็ด” ยาซีร์บอกกับพวกเขาในตอนท้าย

ในที่สุด โมฮัมเหม็ด ก็ตกลงมาพบกับ Masayoshi ที่เกสต์เฮาส์ของรัฐชื่อ Geihinkan ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเดินทางไปญีปุ่น และเป็นการเดิมพันที่สูงมาก ๆ ของ Masayoshi หากไม่ได้เงินทุนจากโมฮัมเหม็ด ก็ไม่สามารถที่จะทำตามควาทะเยอทะยานที่ Masayoshi ต้องการได้

การประชุมเป็นไปอย่างเรียบง่าย มีเพียงโมฮัมเหม็ดและที่ปรึกษาคนสำคัญของเขาร่วมกับทีมของ SoftBank ขนาดเล็กที่นำโดย Masayoshi ส่วน นิซาร์นั้นรออยู่ข้างนอก

หลังจากที่ Masayoshi ได้นำเสนอผ่าน iPad โดยโมฮัมเหม็ดกล่าวว่า เขาได้พูดคุยเกี่ยวกับแนวคิดนี้กับทีมงานของเขาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และต้องการเป็นนักลงทุนหลักที่สำคัญของกองทุนใหม่นี้

เขาต้องการให้ซาอุดิอาระเบียเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีระดับโลก และเป็นวิธีการที่จะดึงดูด บริษัทที่มีนวัตกรรมมาสู่ประเทศของเขา ในขณะเดียวกันก็ยังได้รับผลตอบแทนจากการเปลี่ยนจากธุรกิจน้ำได้มันอีกด้วย และแน่นอนมันสอดคล้องกับ Vision 2030 ของเขาอย่างสมบูรณ์แบบ

นิซาร์ต้องตกตะลึง เมื่อ Masayoshi ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการปิด Deal ดังกล่าว โดยได้รับเงินทุนก้อนแรกจากโมฮัมเหม็ด 45,000 ล้านดอลลาร์ เขาคิดว่าต้องใช้เวลาหลายในเดือนในการทำข้อตกลงมูลค่ามหาศาลแบบนี้ ก่อนการประชุมสิ้นสุดลง โมฮัมเหม็ดกล่าวว่า เขาต้องการให้ Masayoshi ใช้เวลา 2-3 วันเพื่อเดินทางมายังซาอุดิอาระเบีย

จบ Deal นี้ Masayoshi ก็แถลงตามสไตล์ของเขา การปิด Deal ข้อตกลงมูลค่า 45,000 ล้านดอลลาร์ในเวลา 45 นาที ด้วยวาทะของเขาสามารถที่จะดึงดูดเงินจากโมฮัมเหม็ดได้ 1 พันล้านดอลลาร์ต่อนาที

Project Crystal Ball ซึ่งเป็นงานนำเสนอ PowerPoint กำลังจะกลายเป็น Vision Fund ซึ่งเป็นกองทุนหุ้นเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มุ้งเน้นไปที่เทคโนโลยีในประวัติศาสตร์การเงินของโลก

Vision Fund ได้กลายเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต ทั้งทางด้าน AI , Robot และ Internet of Things และเข้าไปลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่กำลังมาแรงจำนวนมากมาย เช่น OYO , Paytm , WeWork , Didi , Uber , Ola , Flipkart และบริษัทอื่น ๆ อีกกว่า 83 บริษัท

Vision Fund ได้กลายเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต (CR:Blognone)
Vision Fund ได้กลายเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต (CR:Blognone)

อีกหนึ่งปีถัดมา Masayoshi ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จอันน่าทึ่งดังกล่าวนี้ว่าเขาทำได้อย่างไรกับ David Rubenstein จาก Bloomberg
“ผมได้บอกกับ โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานว่า ผมจะให้ของขวัญแก่คุณ ของขวัญจาก Masayoshi มูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ คุณลงทุน 1 แสนล้านดอลลาร์ ผมจะทำให้มันกลายเป็น 1 ล้านล้านดอลลาร์”

References :
หนังสือ Blood and Oil – Mohammed Bin Salman’s Ruthless Quest for Global Power โดย Bradley Hope และ Justin Scheck
https://www.indiatimes.com/worth/investment/how-masayoshi-son-raised-forty-five-billion-dollar-in-forty-five-minutes-560554.html
https://thepangean.com/Lost-Vision
https://www.economist.com/business/2019/03/23/masayoshi-son-prepares-to-unleash-his-second-100bn-tech-fund

ไฮเออร์ ประเทศไทย เปิดตัวบริการซ่อมตู้แช่แบบทันใจ ส่งช่างถึงหน้าบ้านภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมให้ยืมเครื่องฟรีระหว่างรอซ่อม!

ไฮเออร์ (ประเทศไทย) ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับโลกและแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับ 1 ของโลกติดต่อกัน 14 ปีซ้อน ยกระดับมาตรฐานการบริการหลังการขายให้รวดเร็ว ทันใจ และไว้วางใจได้ เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของลูกค้า

ซึ่งไฮเออร์มีความเข้าใจเป็นอย่างดีเมื่อเกิดเหตุการณ์ผลิตภัณฑ์ตู้แช่ชำรุดเสียหาย ศูนย์บริการหลังการขายจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือทันทีภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับแจ้งปัญหา ในกรณีนี้ลูกค้าสามารถยืมตู้แช่จากทางไฮเออร์ เพื่อนำไปใช้ระหว่างรอการซ่อมแซมได้ฟรี โดยทุกท่านสามารถแจ้งซ่อมได้ง่าย ๆ ผ่านทาง LINE OA: @haierthailand หรือ Call Center 1789

โดยบริการหลังการขายดังกล่าวไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าที่ยังอยู่ในระยะเวลาการรับประกัน และพร้อมเริ่มนำร่องใช้กับผลิตภัณฑ์ตู้แช่ก่อน ซึ่งสำหรับตู้แช่ ศูนย์บริการทั่วประเทศพร้อมที่จะให้บริการภายใน 24 ชั่วโมง

โดยศูนย์บริการจะทำการติดต่อกลับหาลูกค้าภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับแจ้งเพื่อขอทำนัดเข้าไปตรวจสอบเครื่องก่อนโดยที่ไม่จำเป็นต้องรออะไหล่ และหากตรวจสอบแล้วจำเป็นต้องใช้อะไหล่

ทางศูนย์บริการจะดำเนินการสั่งอะไหล่เพื่อเข้าซ่อมอีกครั้ง และหากลูกค้ามีความต้องการยืมเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้งานระหว่างรอซ่อม สามารถแจ้งกับทางศูนย์บริการ โดยทางศูนย์บริการจะทำการจัดส่งสินค้าให้ยืมแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

หมายเหตุ : การบริการภายใน 24 ชั่วโมงเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ห่างจากศูนย์บริการในรัศมี 20 กิโลเมตร สามารถแจ้งซ่อมผ่านทาง Line OA : @haierthailand หรือ Call Center 1789

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร โปรโมชัน และกิจกรรมต่าง ๆ จากไฮเออร์ได้ที่ Facebook: Haier Thailand, Instagram: @haierthailand_official, X (Twitter): @ThailandHaier และ TikTok: @haier_thailand หรือดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.haier.com/th

มาสด้าสานต่อโครงการ “มาสด้า ปันสุข” เพื่อสร้างสรรค์โลก เพื่อผู้คน และสังคมที่ยั่งยืน

มาสด้าประกาศเดินหน้าสานต่อกิจกรรมด้าน CSR ตามแผนการดำเนินธุรกิจระยะกลาง Sustainable Zoom-Zoom 2030 อันเป็นวิสัยทัศน์ที่ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น รวมถึงมาสด้าทั่วโลกและมาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ให้ความสำคัญมาโดยตลอด

ทั้งยังเป็นการเดินหน้าตามแนวทาง Sustainable Development Goals- SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย และสะท้อนถึง 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน อันได้แก่ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงกับพันธกิจของมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น นั่นคือ เพื่อสร้างสรรค์โลกของเราให้ยังคงความสวยงาม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และสร้างสังคมที่ยั่งยืนตลอดไป 

มร. ทาดาชิ มิอุระ ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่มาสด้าเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน อันเป็นพันธกิจหลักเช่นเดียวกับ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และมาสด้าทั่วโลก

เราจึงมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน ผ่านการให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้คน พร้อมกับให้ความสำคัญในการช่วยรักษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จากการผลิต

ตามหลักการ Well-to-Wheel ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำของแหล่งกำเนิดพลังงาน ตั้งแต่การขุดเจาะ การผลิต การขนส่งเชื้อเพลิง ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อโลกของเรา เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี และเพื่อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สำหรับ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ได้ริเริ่มจัดกิจกรรมด้าน CSR นี้มาตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยจัดกิจกรรมขึ้นภายใต้โครงการ “มาสด้า ปันสุข” โดยความร่วมมือกับผู้จำหน่ายมาสด้าในท้องถิ่น ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ขาดแคลน

ซึ่งจัดขึ้นมาแล้วทั้งหมด 9 จังหวัด รวมถึงมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ผ่านสภากาชาดไทย มอบรถปิกอัพ มาสด้า บีที-50 ให้กับโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์และศูนย์ฉีดวัคซีน เพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคดังกล่าว

ทั้งนี้มาสด้าพร้อมเดินหน้าส่งมอบสิ่งดีๆ คืนกลับสู่สังคมไทย เพื่อส่งต่อความยั่งยืนของทั้งผู้คนในสังคม พัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โครงการ “มาสด้า ปันสุข” ถือกำเนิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทยและมีความปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน

เพื่อเป็นการตอบแทนประเทศและประชาชนคนไทยที่ให้การสนับสนุนและเชื่อมั่นในแบรนด์รถยนต์มาสด้ามาอย่างยาวนานกว่า 73 ปี ซึ่งมาสด้าเชื่อว่ากิจกรรมภายใต้โครงการฯ นี้ จะสามารถให้การช่วยเหลือผู้คน และส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการแบ่งปันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2563 มาสด้าได้เดินหน้าให้การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ชื่อโครงการ “มาสด้า ปันสุข” ซึ่งเป็นโครงการที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการแบ่งปันอย่างยั่งยืน

โดยเราได้เดินหน้าส่งมอบความสุขไปยังประชาชนคนไทยทั่วประเทศ เพื่อให้กำลังใจและให้ทุกคนลุกขึ้นสู้ได้อีกครั้งภายหลังจากที่เกิดการระบาดของโควิด-19 โดยมาสด้าได้เดินหน้าเต็มรูปแบบจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้คนหลากหลายกลุ่มอาชีพ อาทิ บุคลากรทางการแพทย์ ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพในแต่ละชุมชน และเด็กนักเรียนที่ขาดแคลน โดยร่วมมือกับผู้จำหน่ายและสื่อมวลชนในการส่งต่อการแบ่งปัน ซึ่งได้จัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน

สำหรับโครงการฯ ในปี 2566 มาสด้าต้องการที่จะขยายการแบ่งปันไปยังผู้คนหลากหลายกลุ่มและหลากหลายพื้นที่มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้คนในแต่ละชุมชน โดยเฉพาะลูกค้ามาสด้า ได้มีส่วนร่วมมากขึ้นเพื่อส่งต่อการแบ่งปันไปด้วยกัน จึงเดินหน้าสานต่อโครงการ “มาสด้า ปันสุข” ปีที่ 4 ขึ้น

โดยประสานความร่วมมือกับผู้จำหน่ายมาสด้า ลูกค้าผู้ใช้รถยนต์มาสด้าทุกรุ่น รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมออกเดินทางไปเรียนรู้วิถีการผลิตวิชาชีพแบบชุมชน ส่งมอบอุปกรณ์การเรียนการสอน รวมถึงเลี้ยงอาหารกลางวันกับเด็กนักเรียน พร้อมร่วมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน

“มาสด้าขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนสังคมไทยผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุข และเต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม ควบคู่กับการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาโลกให้ยังคงสวยงามสำหรับผู้คนในเจเนอเรชั่นถัดไป ตามพันธกิจ เพื่อโลก เพื่อผู้คน และเพื่อสังคมที่ยั่งยืนตลอดไป” นายธีร์ กล่าวเสริม