เหตุผลที่แท้จริงที่ Apple ไม่ต้องการเพิ่มพอร์ต USB-C ให้กับ iPhone

Apple ได้ปรับปรุงแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของบริษัทใหม่ตั้งแต่การเปิดตัว iPhone 12 ที่เลิกแถมที่ชาร์จกับหูฟัง เพื่อลดปริมาณขยะ ทำให้กล่องบางลง ขนส่งต่อหน่วยได้มากขึ้น ลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง

มันเป็นคำพูดที่สวยหรูเสมอที่ออกมาจากบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องรักษ์โลกเพียงเท่านั้น เพราะ Apple ยังประหยัดทั้งทางตรงและทางอ้อมได้หลายพันล้านดอลลาร์

แล้วถ้าเรื่องรักษ์โลกมีความสำคัญกับ Apple มากมายขนาดนี้ ทำไม Apple ถึงเพิ่งจะมายกเลิกพอร์ต Lightning ในปี 2023 พร้อมกับการเปิดตัว iPhone 15

เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ Apple ต้องสูญเสียรายได้มากกว่า 6.5 พันล้านดอลลาร์ มันเป็นเรื่องง่ายที่จะช่วยโลกเมื่อสิ่ง ๆ นั้นมันเป็นประโยชน์ต่อผลกำไรของบริษัท แต่การรักษ์โลกที่แท้จริงต้องกล้าที่จะทำแม้จะรู้ว่าจะทำให้รายได้ของบริษัทลดลง

Apple สร้างรายได้จากสาย Lightning เท่าไร?

Apple ขาย iPhone ได้มากกว่า 2.2 พันล้านเครื่องและ iPad มากกว่า 360 ล้านเครื่องก่อนที่จะหยุดเปิดเผยตัวเลขสู่สาธารณะชน

แน่นอนว่าด้วยยอดขายขนาดนี้ เหล่าสาวก Apple เองก็ต้องการสายเคเบิลเพิ่มเติม :

  • ที่ทำงาน
  • ที่บ้าน
  • สำหรับรถยนต์

และบางคนทำสาย Lightning อันเปราะบางในกล่องหัก ก็ต้องซื้อเปลี่ยนใหม่

สมมติว่าทุก ๆ นาทีที่ขาย iPhone หรือ iPad ผู้ใช้ซื้อสาย Apple Lightning เพิ่มเพียงเส้นเดียวในราคา 19 เหรียญสหรัฐฯ

นั่นคือมันสร้างรายได้ให้กับ Apple 43.5 พันล้านดอลลาร์จากการขายสาย Lightning เพียงอย่างเดียว

ไม่น่าแปลกใจเลยที่ Apple ไม่ต้องการทำสายเคเบิลที่มีความทนทานมากขึ้น และยังไม่รวมถึงเงินอีกหลายร้อยล้านดอลลาร์ที่ Apple ได้จากบริษัทผลิตสาย Lightning ภายนอกซึ่งต้องเสียค่าค่าโปรแกรมลิขสิทธิ์ MFi ที่ต้องจ่ายให้ Apple ในทุก ๆ ชิ้นที่พวกเขาผลิต

Apple เองก็ยอมรับว่าสาย USB-C ดีกว่า

เมื่อ Apple เปิดตัว iPad Pro พร้อมชิป M1 ในปี 2021 ก็มาพร้อมกับพอร์ต USB-C และถึงขั้นกับโฆษณาอย่างสวยหรูว่า “พอร์ตที่เร็วที่สุดและอเนกประสงค์ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบน iPad หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ในประเภทเดียวกัน”

iPad Pro พร้อมชิป M1 ในปี 2021 ที่มาพร้อมกับพอร์ต USB-C (CR:Techcrunch)
iPad Pro พร้อมชิป M1 ในปี 2021 ที่มาพร้อมกับพอร์ต USB-C (CR:Techcrunch)

ก่อนหน้านี้ iPad ใช้พอร์ต Lightning เดียวกันกับที่ใช้ใน iPhone แต่งงไหมว่าเมื่อบอกว่าพอร์ต USB-C นั้นเร็วกว่าและหลากหลายกว่าพอร์ตใด ๆ ที่ Apple เคยใช้ แต่ทำไม iPhone ยังดื้อด้านที่จะใช้ Lightning ซึ่งแม้แต่รุ่นที่เร็วที่สุดยังคงจำกัดความเร็วไว้ที่เพียงแค่ USB 3.0 และบางพอร์ตก็อาจยังเป็น 2.0 เท่านั้น

และนั่นคือคำถามใหญ่ที่สหภาพยุโรปถามไปยัง Apple

แทนที่จะพูดถึงรายรับเป็นกอบเป็นกำกว่า 43.5 พันล้านดอลลาร์ Apple กลับอธิบายว่า การสั่งห้ามใช้สาย Lighting ในยุโรปมันเป็นการขัดขวางนวัตกรรมและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในยุโรปและทั่วโลก

จุดยืนที่แข็งกร้าวของ Apple เกี่ยวกับพอร์ต Lightning ขัดแย้งกับแนวคิดรักษ์โลกของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายที่จะใช้วัสดุรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด และลดขนาดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการจัดส่ง

หาก Apple ใส่ใจต่อประสบการณ์ของลูกค้าและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงใจ บริษัทก็ไม่ควรที่จะต่อสู้เรื่องนี้กับสหภาพยุโรป แต่ควรที่จะยอมรับคำสั่งให้ใช้ USB-C แต่โดยดี

อิทธิพลที่ Apple มีนั้นสามารถนำไปใช้กำหนดมาตรฐาน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าพอร์ตแบบมีสายจะยังคงมีความสำคัญต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า

Apple ต้องการควบคุมทุกสิ่งให้ได้มากที่สุด

แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Apple ประสบความสำเร็จมาจวบจนถึงทุกวันนี้ ก็คือการควบคุมประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ และยังช่วยควบคุมลูกค้าของ Apple ไม่ให้หนีไปไหนได้ง่าย ๆ

แนวทางที่ดูเหมือนจะดื้อรั้นขวางโลกนี้มีข้อได้เปรียบเชิงธุรกิจที่ชัดเจน การเปลี่ยนไปใช้ USB-C มันเกี่ยวข้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งการต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงห่วงโซ่อุปทานในการผลิตที่ Apple ต้องปรับเปลี่ยนอีกยกใหญ่

มันเหมือน DNA ของ Apple ที่สืบทอดมาตั้งแต่ยุคของ Steve Jobs นอกเหนือจากเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ Apple ต้องการควบคุมคุณภาพที่ผู้ใช้ใช้สายชาร์จ การเพิ่มพอร์ต USB-C หมายความว่าผู้คนอาจเสียบ USB-C เกรดต่ำเข้ากับ iPhone ที่ทาง Apple แสนรักแสนหวง

สหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงโดยกล่าวว่าในฤดูใบไม้ร่วงปี 2024 :

“โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต กล้องดิจิทัล หูฟังและชุดหูฟัง วีดีโอเกมคอนโซล เกมมือถือ และลำโพงพกพาที่ชาร์จได้ผ่านสายเคเบิล จะต้องติดตั้งพอร์ต USB-C ในอุปกรณ์ใหม่ทุกชิ้น”

และเนื่องจากสหภาพยุโรปเป็นตลาดใหญ่อันดับสองของ Apple นั่นเองที่ทำให้ iPhone 15 กลายเป็นภาระจำยอมที่ Apple ต้องเปลียนแปลงพอร์ตมาเป็น USB-C ที่จะมีการบังคับใช้ในปีหน้า

แม้ Apple กำลังทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการชาร์จแบบไร้สาย แต่มันก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเชื่อมต่อแบบใช้สาย ซึ่งมันยังพอมีเวลาที่สุดท้าย Apple จะเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นรูปแบบไร้สายทั้งหมด

ไม่นานหลังจากการตัดสินใจของสหภาพยุโรป บราซิลก็ได้ออกข้อกำหนดคล้าย ๆ กันเพื่อให้ USB-C เป็นมาตรฐานเดียวสำหรับการชาร์จสมาร์ทโฟนที่จำหน่ายในประเทศ

ในขณะที่ฝั่งอเมริกาบ้านเกิดของ Apple แม้จะพยายามล็อบบี้อย่างหนักมาหลายปี แต่ Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ กำลังผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่คล้ายกันในสหรัฐอเมริกา

Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ กำลังผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่คล้ายกันในสหรัฐอเมริกา (CR:Shacknews)
Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ กำลังผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่คล้ายกันในสหรัฐอเมริกา (CR:Shacknews)

สุดท้าย มันไม่ใช่เรื่องของการรักษ์โลกตามที่ Apple ได้พรรณนาไว้แต่อย่างใด เพราะหาก Apple จริงใจก็ควรจะเลิกใช้สาย Lightning ไปตั้งนานแล้ว แต่ยังกั๊กไว้จนถูกบีบบังคับจากหน่วยงานรัฐ จนต้องยอมทิ้ง Lightning ใน iPhone 15 อย่างที่เราได้เห็นกันในวันเปิดตัวนั่นเองครับผม

References :
https://www.androidauthority.com/apple-lightning-vs-usb-c-3043836/
https://slate.com/technology/2023/09/apple-event-iphone-15-usbc-charging-port-lightning-eu.html#:~:text=This%20so%2Dcalled%20common%2Dcharger,what%20device%20you’re%20using.
https://medium.com/swlh/the-real-reason-apple-doesnt-want-to-add-a-usb-c-port-to-the-iphone-91da3c9d4045
https://unsplash.com/photos/1M0omkZlGM4

มาสด้ามอบรางวัลเกียรติยศแห่งปี เชิดชูดีลเลอร์ที่มีผลงานเป็นเลิศ สร้างแบรนด์จนมัดใจลูกค้า

มาสด้าจัดงานมอบรางวัลผู้จำหน่ายยอดเยี่ยมประจำปี หรือ Mazda Dealer of Excellence Award ซึ่งเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศสูงสุด เพื่อยกย่อง เชิดชู และสร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้จำหน่ายที่มีผลการดำเนินธุรกิจที่ยอดเยี่ยมตลอดปี 2565 โดยเฉพาะการส่งมอบประสบการณ์ด้านการบริการที่เป็นเลิศให้กับลูกค้า การดูแลเอาใจใส่ลูกค้าตั้งแต่การขาย การบริการหลังการขาย การรักษาส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละพื้นที่

รวมทั้งยึดมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้การบริหารคุณค่าแบรนด์มาสด้า Mazda Brand Value Management เพื่อมุ่งมั่นสร้างแบรนด์ให้เกิดความแข็งแกร่งและยั่งยืนในประเทศไทย และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าจนเกิดเป็นความจงรักภักดีต่อแบรนด์และกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง ตามกลยุทธ์ Retention Business Model โดยมีผู้จำหน่าย 15 แห่ง จากทั่วประเทศที่มีคะแนนสูงสุดและคว้ารางวัลอันทรงเกียรติในปีนี้ สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของเครือข่ายผู้จำหน่ายมาสด้า ที่พร้อมร่วมกันสร้างโมเดลธุรกิจใหม่สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูลูกค้าให้ดีที่สุด

สำหรับเกณฑ์ในการนำมาพิจารณาตัดสินรางวัลในปีนี้ นับเป็นปีแรกที่มาสด้าได้ทำการปรับรูปแบบการคัดเลือกผู้จำหน่ายยอดเยี่ยมประจำปี โดยให้ความสำคัญกับการรักษาความพึงพอใจของลูกค้า การเอาใจใส่ดูแลลูกค้า ควบคู่ไปกับการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เพื่อให้เกิดความผูกผันกับลูกค้าในพื้นที่ ผลักดันให้ผู้จำหน่ายในแต่ละพื้นที่เกิดการแข่งขันด้านการบริการ และยกระดับมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นในการดูแลลูกค้า ซึ่งจะส่งผลทำให้มาสด้าก้าวสู่การเป็นแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง จนสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้ในระยะยาว ตามแนวทาง Mazda Brand Value Management เพื่อมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

พร้อมกันนี้ ภายในงานฯ มาสด้ายังได้มอบรางวัล Mazda Guild 2022 หรือ รางวัลยอดเยี่ยมด้านการขายและการบริการหลังการขาย ให้กับทีมงานของผู้จำหน่ายที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมในปี 2565 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทีมงาน และยกย่องถึงความสำเร็จในการทำงานเป็นทีมของผู้จำหน่าย ภายใต้ Thai Mazda Way ในการส่งมอบประสบการณ์ความสุขให้กับลูกค้ามาสด้า อันเป็นพันธกิจสำคัญที่มาสด้าทั่วโลกให้ความสำคัญ

มร. ทาดาชิ มิอุระ ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด รางวัลผู้จำหน่ายยอดเยี่ยมประจำปี หรือ Mazda Dealer of Excellence Award เป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่มาสด้าจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเชิดชูผู้จำหน่ายที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดในช่วงระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งครอบคลุมถึงความพร้อมของโชว์รูมและศูนย์บริการ การเอาใจใส่ดูแลลูกค้า ทั้งด้านการบริการและการขาย รวมถึงการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้า

ซึ่งมาสด้าเน้นย้ำมาโดยตลอดเพื่อยกระดับและผลักดันนโยบายนี้ เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจที่ส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าให้มากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างธุรกิจใหม่ Retention Business Model และ Mazda Brand Value Management หรือ การบริหารคุณค่าแบรนด์มาสด้า เพื่อถ่ายทอดคุณค่าของแบรนด์และยกระดับกระบวนการทำงานให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด จนเกิดเป็นความเชื่อมั่น และกลับมาเลือกซื้อรถยนต์มาสด้าอีกครั้งหนึ่ง 

“มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และมาสด้า เซลส์ ประเทศไทย ขอแสดงความยินดีกับผู้จำหน่ายทุกท่านที่ดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นเลิศครอบคลุมทุกด้าน และคว้ารางวัลจำหน่ายยอดเยี่ยมประจำปี 2565 หรือ Mazda Dealer of Excellence Award 2022 มาครองได้สำเร็จ ผมขอให้ทุกท่านเชื่อมั่นว่า ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของทุกท่าน จะสนับสนุนให้มาสด้าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง กลายเป็นแบรนด์ที่ลูกค้ามองหา ตลอดจนกลับมาซื้อซ้ำ และส่งมอบประสบการณ์ความสนุกสนานในการขับขี่ให้กับลูกค้าในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน” มร. ทาดาชิ มิอุระ กล่าวเพิ่มเติม

นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตามที่มาสด้าได้ประกาศแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้วย Retention Business Model โดยให้ความสำคัญสูงสุด คือ การสร้างแบรนด์และสร้างความผูกพันกับลูกค้าในทุกประสบการณ์ ทั้งด้านการขายและการบริการ เพื่อให้การดูแลลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น โดยความร่วมมือกับผู้จำหน่ายทั่วประเทศในการส่งมอบประสบการณ์เหล่านี้ไปยังลูกค้า 

และวันนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน มาสด้าขอบคุณและแสดงความยินดีในความสำเร็จของผู้จำหน่ายที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินธุรกิจของมาสด้าในประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นลำดับ กลายเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าชื่นชอบและให้การยอมรับในประเทศไทย หลังจากนี้ มาสด้าจะเดินหน้าอย่างเต็มกำลัง เพื่อดูแลและสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าที่ใช้รถมาสด้าได้อย่างทั่วถึง ภายใต้วิถีการทำงานโดยยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งมอบคุณค่าแบรนด์ไปยังลูกค้า และยกระดับในทุกประสบการณ์และในทุกช่วงชีวิตของลูกค้าให้มีความสุขตลอดระยะเวลาที่ครอบครองรถยนต์มาสด้า

ทั้งนี้ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย และผู้จำหน่ายมาสด้าทั่วประเทศ จะยังคงมุ่งมั่นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อเดินหน้าส่งมอบประสบการณ์บริการที่เป็นเลิศ ทั้งด้านการขายและการบริการให้กับลูกค้าในประเทศไทย ตลอดจนถึงเดินหน้าผลักดันการสร้างแบรนด์ เพื่อยกระดับประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจากการใช้รถยนต์มาสด้าในทุกช่วงจังหวะของชีวิต เพื่อส่งมอบความสุขและสร้างความรัก ความผูกพันกับลูกค้า แทนการตอบแทนลูกค้าที่ตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์มาสด้าให้เป็นรถยนต์คู่ใจไปตลอดการใช้งาน

รายชื่อผู้จำหน่ายยอดเยี่ยมประจำปี 2565

รางวัลผู้จำหน่าย
ระดับ Goldบริษัท ชูเกียรติยนต์ จำกัด
บริษัท บิซ มอเตอร์ส จำกัด
บริษัท มาสด้า ประจวบฯ จำกัด
กลุ่มบริษัท พระราม 7 กรุ๊ป จำกัด
บริษัท เจริญศรีนครพนม (2012) จำกัด
ระดับ Silverบริษัท วิจารณ์ศิริ จำกัด
บริษัท กฤษฎา ออโต้ จำกัด
กลุ่มบริษัท อารีมิตร มาสด้า จำกัด
กลุ่มบริษัท ช.เอราวัณออโตเซลล์ จำกัด
กลุ่มบริษัท อนุภาษธุรกิจและการค้าภูเก็ต จำกัด
ระดับ Bronzeกลุ่มบริษัท ศรีสะเกษทีที ออโตโมบิล จำกัด
บริษัท มาสด้า สุรินทร์ (2002) จำกัด
กลุ่มบริษัท มิตรแท้ ออโตโมบิล จำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญสินมอเตอร์
บริษัท สิทธิชัยออโต้เซลส์ จำกัด