CHIP WAR Morris Chang ชายผู้สร้างอุตสาหกรรมชิป และสร้างชาติใหม่ให้กับไต้หวัน

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความน่าสนใจมากๆ ในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

บริษัทอย่าง TSMC มีส่วนแบ่งการตลาดแทบจะสูงที่สุดในโลก ซึ่งหากมีปัญหาเกิดขึ้นในไต้หวัน ตัวอย่างเช่นเรื่องของแผ่นดินไหวก็จะส่งผลทำให้ห่วงโซ่อุปทานของการผลิตชิปเกิดความชะงักงันไปแทบจะทั่วโลกเลยในแทบจะทันที  

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีแนวทางในการพัฒนาประเทศที่น่าสนใจมาก ๆ ซึ่งถ้าใครเคยไปไต้หวันตรงใจกลางเมืองไทเปซึ่งเป็นเมืองหลวงของไต้หวัน เราจะเห็นบริษัททางด้านอิเล็กทรอนิกส์ตั้งอยู่เยอะมากๆ ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกแทบทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น TSMC , ACER หรืออีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

ปัจจัยสำคัญในการสร้างชาติของไต้หวัน ก็คล้าย ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเกาหลีใต้และญี่ปุ่น นั่นก็คือความรู้ในเรื่องการผลิตชิป

หากย้อนกลับไปในช่วงปี 1985 KT Li รัฐมนตรีของไต้หวันได้เรียก Morris Chang ไปที่สำนักงานของเขาในไทเปโดยมีการโน้มน้าวให้ Texas Instruments ยักษ์ใหญ่ด้านเซมิคอนดักเตอร์จากสหรัฐฯ เข้ามาสร้างโรงงานเซมิคอนดักเตอร์แห่งแรกบนเกาะไต้หวัน

Texas Instruments ได้เปิดโรงงานในไต้หวันในปี 1985 แล้วก็ได้ว่าจ้าง Morris Chang ให้เป็นผู้นำคนแรกในการเปิดตลาดอุตสาหกรรมชิปของไต้หวัน โดย Chang เชื่อว่าเกาะนี้มีบรรยากาศทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยและค่าจ้างจะยังคงต่ำอยู่

ทศวรรษที่ 1990 เป็นปีที่คำว่าโลกาภิวัตน์เป็นคำที่ใช้กันทั่วไปเป็นครั้งแรก แม้ว่าอุตสาหกรรมชิปจะพึ่งพาการผลิตและการประกอบในต่างประเทศเป็นหลัก แต่ไต้หวันก็เริ่มแทรกตัวเข้าไปในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการเรียนรู้เทคโนโลยีขั้นสูงและกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ

ในทศวรรษที่ 1990 ความสำคัญของไต้หวันเริ่มเพิ่มขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ในไต้หวันที่ Chang ได้ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวันอย่างเต็มที่

Chang ที่เกิดในจีนแผ่นดินใหญ่เติบโตในยุคสงครามโลกครั้งที่สองในฮ่องกงและได้ไปศึกษาต่อที่ Harvard , MIT และ Stanford ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในคนสำคัญที่ช่วยสร้างอุตสาหกรรมชิปในยุคแรก ๆ ของอเมริกา

Chang เป็นหนึ่งในคนสำคัญที่ช่วยสร้างอุตสาหกรรมชิปในยุคแรก ๆ ของอเมริกา (CR:sahilbloom.substack.com)
Chang เป็นหนึ่งในคนสำคัญที่ช่วยสร้างอุตสาหกรรมชิปในยุคแรก ๆ ของอเมริกา (CR:sahilbloom.substack.com)

ในช่วงที่ทำงานกับ Texas Instruments ซึ่งตอนนั้นเรียกได้ว่าเป็นความลับสุดยอดของสหรัฐในการการรักษาความปลอดภัยเพื่อพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับกองทัพอเมริกัน

ส่วน KT Li เคยศึกษาฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่ Cambridge และได้เข้ามาบริหารโรงถลุงเหล็กก่อนที่จะมาขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวันตลอดหลายทศวรรษหลังสงคราม

รัฐบาลไต้หวันพยายามบุกเข้าสู่ธุรกิจการผลิตชิปในชื่อบริษัท UMC ในปี 1980 ความสามารถของบริษัทก็ยังคงล้าหลังอยู่มาก แม้จะมีงานมากมายในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ แต่ก็ได้รับส่วนแบ่งกำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมชิปมาจากบริษัทที่ออกแบบและผลิตชิปที่ทันสมัยที่สุด

ในตอนนั้น KT Li ก็ทราบดีว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตต่อไปได้ก็ต่อเมื่อประเทศก้าวหน้าไปไกลกว่าแค่การประกอบชิ้นส่วนที่ออกแบบและประดิษฐ์ขึ้นที่อื่น โดยเฉพาะใน Silicon Valley

Chang ที่เข้ามาช่วย KT Li ในการนำพาไต้หวันในการสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง เขาก็ต้องการเงินจำนวนมากเพราะว่าแผนธุรกิจของเขามีแนวคิดที่ต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิงซึ่งถ้ามันได้ผลมันจะยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เขาและไต้หวันสามารถควบคุมเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดในโลกได้

ความคิดของ Chang คือต้องการที่จะสร้างบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ที่จะผลิตชิปที่ออกแบบโดยลูกค้าซึ่งตอนนั้น Chang ได้ปิ๊งไอเดียนี้ตั้งแต่ตอนทำงานกับ Texas Instruments แล้ว แต่เมื่อเขาได้เข้าไปอธิบายกับเพื่อนร่วมงานที่ Texas Instruments กลับไม่มีใครสนใจในแนวคิดของเขา

แต่ต้องบอกว่าแนวคิดดังกล่าวมันไปโดนใจรัฐมนตรี KT Li ซึ่งสุดท้ายก็ให้ทุนเริ่มต้นโดยถือหุ้น 48% สำหรับการก่อตั้งบริษัท TSMC โดยมีเงื่อนไขแค่เพียงว่า Chang จะต้องหาบริษัทผลิตชิปชั้นนนำจากต่างประเทศเพื่อจัดหาเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงมายังไต้หวัน

KT Li (ขวาสุด) ผู้ผลักดันแนวคิดของ Morris Chang (CR:.thenewslens)
KT Li (ขวาสุด) ผู้ผลักดันแนวคิดของ Morris Chang (CR:.thenewslens)

Chang ได้โน้มน้าวให้บริษัท Philips บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของเนเธอร์แลนด์ซึ่งทุ่มเงิน 58 ล้านดอลลาร์และได้เข้ามาถ่ายทอดวิธีการผลิตและออกใบอนุญาตทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อแลกกับการถือหุ้น 27.5% ใน TSMC

เงินทุนส่วนที่เหลือจะได้รับการระดมทุนจากมหาเศรษฐีชาวไต้หวัน ซึ่งตอนนั้นรัฐมนตรีในรัฐบาลจะมีการโทรหานักธุรกิจไต้หวันเพื่อให้เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะเหล่าครอบครัวที่มีความมั่งคั่งที่สุดของไต้หวันซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านพลาสติก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ รวมถึงรัฐบาลยังให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ TSMC อีกด้วย ทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทจะมีเงินมากพอสำหรับการลงทุน

ตั้งแต่มีการเริ่มโครงการนี้ในไต้หวันต้องบอกว่าส่วนประกอบสำคัญในความสำเร็จในช่วงแรกของ TSMC ก็คือ ตัว Chang นั่นนเองที่มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับอุตสาหกรรมชิปของสหรัฐ

ลูกค้าส่วนใหญ่ของ TSMC ในยุคแรกเริ่มนั้นเป็นนักออกแบบชิปในสหรัฐอเมริกาและพนักงานระดับสูงหลายคนของ TSMC ก็เคยทำงานใน Silicon Valley มาก่อน เพราะฉะนั้นเหล่าพนักงานยุคก่อตั้งที่เป็นหัวกะทิที่ทาง Chang ได้ว่าจ้างมาก็ล้วนเคยทำงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Motorolla , Intel หรือ เพื่อนร่วมงานเก่าที่ Texas Instruments รวมถึงผู้บริหารส่วนใหญ่ของบริษัทก็จบปริญญาเอกชั้นนำที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาแทบทั้งสิ้น

แนวคิดของ Chang ที่เป็นแนวคิดใหม่ในตอนนั้น การก่อตั้ง TSMC ทำให้นักออกแบบชิปทุกคนมีพันธมิตรที่สามารถไว้วางใจได้ โดย Chang สัญญาว่าจะไม่ออกแบบชิปแต่จะสร้างมันขึ้นมาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

TSMC ไม่ได้แข่งขันกับลูกค้าในอุตสาหกรรมชิป แต่เข้ามาช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนในการเริ่มต้นการผลิต นั่นทำให้โมเดลธุรกิจใหม่ของ Chang ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมชิปเลยก็ว่าได้

ทำให้เกิดบริษัทออกแบบชิปหลายรายที่เน้นไปที่การออกแบบเพียงอย่างเดียวแล้วก็ส่งมาให้ TSMC ผลิต และด้วยความได้เปรียบหลาย ๆ อย่างทั้งเรื่องของค่าแรงที่ยังไม่สูงมากในตอนนั้น รวมถึงการได้พนักงานระดับหัวกะทิมากมายจาก Silicon Valley รวมถึงบริษัทชิปจากสหรัฐที่เข้ามาเริ่มต้นผลักดันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในไต้หวัน

โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนที่ Morris Chang ได้ออกแบบแนวคิดนี้ออกมา ทำให้ธุรกิจของ TSMC เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก กระบวนการผลิตของบริษัทก็ได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบันนั่นเองครับผม 

References :
เรียบเรียงจากหนังสือ Chip War: The Fight for the World’s Most Critical Technology โดย Chris Miller
https://asiasociety.org/asia-game-changer-awards/dr-morris-chang

คาซาร์เต้ เฉลิมฉลองครบรอบ 1 ปี ภายใต้คอนเซ็ป Master of Living Art ตอกย้ำความเป็นงานศิลปะของเครื่องใช้ไฟฟ้า

คาซาร์เต้ (Casarte) แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านระดับลักชัวรี จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 1 ปีของแบรนด์ ภายใต้คอนเซ็ป ‘Master of Living Art’ โดยภายในงานได้บอกเล่าถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ Casarte ซึ่งเป็นแบรนด์ที่เน้นการผสมผสานศิลปะและการออกแบบให้เข้ากับความทันสมัย

มีการนำเสนอความเป็นมาของแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับและความนิยมอย่างกว้างขวางในวงการศิลปะและการออกแบบภายในบ้าน นอกจากนี้ ยังได้เผยถึงแผนการตลาดของ Casarte ซึ่งเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและความเป็นเอกลักษณ์ให้กับผู้บริโภคในประเทศไทย และเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Casarte ในปี 2023 นี้ด้วย

ตั้งแต่ปี 2006 เมื่อ Casarte เริ่มเปิดตัวจากแรงบันดาลใจและแนวคิด “Refined Living” ที่ต้องการมอบความสมบูรณ์แบบในทุกมิติ ผ่านผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ยอดเยี่ยมในหลากหลายประเภท เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ตลอดเวลาที่ผ่านมา

และยังนำเสนอเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้ผสมผสานไปกับงานศิลปะอย่างลงตัวผ่านผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่สร้างมิติใหม่ให้กับการใช้ชีวิต ทำให้ Casarte เป็นผู้นำในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับไฮเอนด์ และเป็นที่ชื่นชอบของครอบครัวทั่วโลกกว่าสิบล้านครอบครัว นอกจากนี้ยังเป็นแบรนด์ที่ครองอันดับสูงสุดในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับไฮเอนด์ในประเทศจีนอย่างกว้างขวางอีกด้วย

เครื่องใช้ไฟฟ้า Casarte ได้เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทยในปี 2565 และในงานฉลองครบรอบ 1 ปีของแบรนด์ในประเทศไทยครั้งนี้ ในงาน มร. จาง เจิ้งฮุ้ย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮเออร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กล่าวภายในงานว่า “ความสมบูรณ์แบบอย่างไร้ที่ติ” คือจิตวิญญาณ และ ความตั้งใจของแบรนด์ Casarte ในการให้บริการแก่ผู้บริโภคในประเทศไทย

ซึ่งงาน Master of Living Art ของ Casarte เป็นการรวมตัวกันครั้งยิ่งใหญ่ของผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ โดยจัดขึ้นมาแล้วกว่า 8 ครั้งทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2015 แบรนด์ Carsate ไม่เพียงแค่เป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านระดับไฮเอนด์เท่านั้น แต่ยังเป็น “เทคโนโลยี ความประณีต และศิลปะ” ที่จะทำให้ชีวิตของผู้ใช้สะดวกสบายอย่างมีระดับอีกด้วย

ได้รับเกียรติจาก คุณสายวิภา พัฒนพงศ์พิบูล Executive Director บริษัท พี 49 ดีไซน์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด, คุณรินลดา ณ เชียงใหม่ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ Jim Thomson Art Center และ คุณบิงฮาน (Bing Han) ศิลปินนักดนตรีชื่อดัง มาร่วมแชร์และพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิดไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เน้นความสะดวกสบายและคุณค่าในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีผลิตภัณฑ์ Casarte เป็นส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์ชีวิตที่ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำเสนอไม่เพียงเพื่อความสวยงามและดีไซน์เท่านั้น แต่ยังเป็นศิลปะที่ได้รับการนำเสนอในบ้านเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับทุกคนในครอบครัว นอกจากแขกรับเชิญทั้ง 3 ท่านแล้วยังมีแขกรับเชิญคนพิเศษอีก 2 ท่าน คือ คุณแอริน ยุกตะทัต ศิลปิน นักแสดง และ เชฟชุมพล แจ้งไพร ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย ระดับมิชลินสตาร์ 2 ดาว ได้มาร่วมพูดคุยและแชร์เรื่องราวไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเซอร์ไพรส์พิเศษจากเชฟชุมพล ที่ได้รับแรงบันดาลใจของศิลปะแห่งบ้าน จาก Casarte ถ่ายทอดออกมาเป็นอาหารเมนูพิเศษ เพื่อมอบประสบการณ์สุดประทับใจให้กับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน โดยทุก ๆ เมนูนั้น ล้วนแต่ถูกรังสรรค์ขึ้นอย่างประณีตจากสุดยอดเชฟระดับมิชลินสตาร์ ซึ่งแต่ละเมนูได้สะท้อนภาพลักษณ์ของ Casarte ออกมาได้อย่างเป็นเอกลักษณ์

เพื่อให้แขกผู้มีเกียรติได้สัมผัส ความสุนทรีย์ และดื่มด่ำกับรสชาติอาหารของเมนูสุดพิเศษนี้อย่างสมบูรณ์แบบ เหนือระดับ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากศิลปินระดับคุณภาพอย่าง คุณบิงฮาน (Bing Han) เป็นผู้มอบบทเพลงอันไพเราะ และนอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณโต๋ ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร ศิลปิน นักเปียโน มายกระดับความสุขและสุนทรียภาพให้แขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานนี้อีกด้วย

Casarte ได้คำนึงถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในระดับสูงสุด ภายใต้แนวคิดที่มุ่งหวังเพื่อเพิ่มคุณค่าและความทันสมัยให้กับชีวิตผู้ใช้ในเมืองไทย ทุกครอบครัว โดยให้เกิดการสมดุลและความสุขในทุก ๆ วัน ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านระดับไฮเอนด์ของ Casarte จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่อุปกรณ์ใช้งาน

แต่ทว่าเป็นแรงบันดาลใจที่สร้างความลงตัว อำนวยความสะดวกสบาย และความสุขสู่ทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คน และในปี 2023 นี้ Casarte ยังคงมุ่งมั่นสู่การสร้างนวัตกรรมที่ไม่มีที่สิ้นสุด ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อเติมเต็มความต้องการและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของทุกครอบครัวให้เต็มเปี่ยมด้วยความสุขและความสมบูรณ์แบบทุกวัน ตามคอนเซปต์ของ Casarte Master of Living ที่จะยังคงเป็นเสน่ห์แห่งการใช้ชีวิตอย่างลงตัวและยิ่งใหญ่ที่สุด

ติดตามข่าวสารของคาซาร์เต้ ได้ที่ 

Facebook: Casarte Thailand 
Instagram: @casartethailand_official
website: https://www.casarte-world.com/