การปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยี ถ้าให้ประโยชน์เพียงแค่กลุ่มคนบางกลุ่มมันก็ถึงเวลาที่ต้องเหยียบเบรก

ต้องบอกว่าเทคโนโลยีมีอยู่ทุกหนทุกกแห่งและเป็นสิ่งที่ดีต่อมนุษย์เราอยู่เสมอ ในที่สุดเทคโนโลยีใหม่ๆ มักจะสร้างงานที่ดีขึ้น สร้างความมั่นคงให้กับโลกเราได้ในท้ายที่สุด

แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเทคโนโลยีถูกนำมาใช้สำหรับกำจัดคู่แข่งทางการเมือง รวมถึงปกป้องชนชั้นสูงเพื่อให้พวกเขาอยู่ยั้งยืนยงตลอดไป

เป็นหนังสือที่น่าสนใจที่มีชื่อว่า Power and Progress โดยนักเศรษฐศาสตร์ MIT Daron Acemoglu และ Simon Johnson ที่มีการสำรวจช่วงเวลาต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยี

เมื่อเทคโนโลยีนำไปสู่สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเท่าเทียม แทนที่จะมีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน แต่มันกลับสร้างความได้เปรียบให้กลุ่มชนชั้นบางกลุ่มเพียงเท่านั้น

ที่ผ่านมาเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรแทบสร้างประโยชน์ให้กับชาวนาจริง ๆ น้อยมาก ๆ พวกเขายังจมปลักอยู่กับความจนอย่างเดิมไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย ความก้าวหน้าในการออกแบบเรือทำให้การค้าทาสเติบโตขึ้น และการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เหล่าผู้จัดการเพิ่มชั่วโมงการทำงานและลดค่าจ้างเสียมากกว่า รวมถึงการพัฒนารอบล่าสุดอย่างการปฏิวัติ AI ที่อาจจะทำให้หลายคนต้องเดือดร้อนกับตำแหน่งงานที่สูญหายไป

น่าสนใจนะครับ นักวิชาการจาก MIT แต่มีมุมมองแบบ Bias ต่อเรื่องของเทคโนโลยีค่อนข้างมาก นักวิชาการทั้งสองมีแนวคิดที่แตกต่างในการเพิ่มผลผลิตของเทคโนโลยีและวิธีการกระจายเทคโนโลยีให้เกิดความเท่าเทียมเมื่อเทียบกับนักวิชาการคนอื่น ๆ

ทั้งคู่ได้แสดงให้เห็นว่าระบบอัตโนมัติทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

มันไม่ได้เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน แต่มันเป็นการแทนที่ต่างหาก ระบบอัตโนมัติไม่ได้เกิดมาเพื่อทำให้ค่าจ้างลดลง หรือ ต้องบังคับให้แรงงานต้องฝึกปรือฝีมือเพิ่มเติมเพื่อมาต่อสู้กับระบบเหล่านี้ แต่ระบบอัตโนมัติทำให้งานและค่าจ้างลดลงไปจากที่มีอยู่เดิม

การเกิดขึ้นของพลังงานไฟฟ้าในศตวรรษที่ 19 มันทำให้งานของอาชีพระดับสูงอย่างวิศวกรหรือผู้จัดการโรงงานเพิ่มมากขึ้น แต่ส่งผลกระทบต่องานของคนงานระดับล่าง

แต่ด้วยความช่วยเหลือจากเหล่านักกฎหมายที่ส่งเสริมให้เกิดรูปแบบของสหภาพแรงงานมากขึ้น และทำให้องค์กรเหล่านี้เกิดความเข้มแข็ง ทำให้ชนชั้นล่างสามารถมีอำนาจต่อรองกับเหล่าชนชั้นปกครองได้มากยิ่งขึ้น

นั่นทำให้ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ส่วนแบ่งรายได้ของประชากร 1% แรกลดลงเหลือ 13% ซึ่งลดลงจาก 22% ในช่วงปี 1920 เพราะค่าจ้างโดยเฉลี่ยของแรงงานนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ความเชื่อมโยงดังกล่าวเริ่มถึงจุดแตกหัก ส่วนใหญ่เพราะการลดลงของสหภาพแรงงาน แม้ว่าโดยรวมแล้วคนงานชาวอเมริกันจะสร้างผลผลิตออกมามากยิ่งขึ้น แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีส่วนในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

สถานการณ์เมื่อมาถึงวันนี้โลกเรากำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในเรื่องของเทคโนโลยี แม้แต่เหล่าผู้มีอิทธิพลใน Silicon Valley เช่น Elon Musk และ Steve Wozniak ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ก็เรียกร้องให้มีการชะลอการเปิดตัว AI เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่แท้จริงของมันให้ดีก่อน

ฝั่ง Google และ Microsoft แม้จะพยายามโน้มน้าวว่าไม่มีอะไรต้องกังวล แต่มันก็เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของพวกเขาแทบทั้งสิ้น ที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพราะพวกเขามีขุมทรัพย์มหาศาลที่พร้อมจะทำเงินมากมายในเทคโนโลยีดังกล่าวนี้

ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เหล่าผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ ไล่มาตั้งแต่ยุคอดีตมาจวบจนล่าสุดอย่างเครือข่าย Big Tech ที่ทำตัวเปรียบเสมือนทุนนิยมแบบสอดแนม ที่ผลักดันให้มีการอนุญาตขุดคุ้ยข้อมูลและหากำไรจากข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ได้ใช้อำนาจและอิทธิพลในการกำหนดเรื่องราวของธุรกิจดังกล่าวนี้

ซึ่งเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันก็ต่อเมื่อมันความเป็นประชาธิปไตยเพียงพอ ไม่ใช่สร้างมาเพื่อกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงเท่านั้นอย่างที่เป็นอยู่

เพื่อให้แน่ใจว่าประวัติศาสตร์มันจะไม่ซ้ำรอยเดิม กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ เทคโนโลยีก่อนหน้านี้ เหล่าสหภาพแรงงานและรัฐบาลของทุกประเทศต้องดำเนินการบางอย่างโดยเฉพาะในแง่ของกฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่า การปฏวัติของเทคโนโลยีใหม่อย่าง AI จะไม่จบลงด้วยคราบน้ำตาของใครอีกหลายคนนั่นเอง

References :
https://www.ft.com/content/46d56c75-57d5-44ef-812c-5e58865f0179
https://www.history.com/topics/industrial-revolution

Geek Monday EP173 : ลดค่ารอบไรเดอร์ กับความแตกต่างระหว่างธุรกิจจริงและสตาร์ทอัพเผาเงิน

การประท้วงของไรเดอร์ เรียกได้ว่าปัญหานี้มีอยู่ทั่วโลกจริง ๆ ที่จะเริ่มตัดรายได้ลงไปเรื่อย ๆ จนสู่จุดคุ้มทุนทางด้านธุรกิจจริง ๆ ไม่ได้สปอยเงินให้กับไรเดอร์เหมือนช่วงเปิดแพล็ตฟอร์มใหม่ๆ ในช่วงเฟสของการแบบเผาเงินสไตล์สตาร์ทอัพ

ด้วยการอัดโปรโมชั่นมากมายที่ดูเหมือนเป็นการสปอยเหล่าไรเดอร์ที่เข้ามาร่วมในระบบ ทำให้มีคนเข้าไป join ใน platform เหล่านี้ แน่นอนว่า รายได้ในช่วงแรก ๆ ต้องกระฉูด เพราะเป็นช่วงเผาเงินที่ได้รับจากนักลงทุน เพราะแน่นอนว่ามันไม่ใช่เงินจากการทำธุรกิจจริง ๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยในการอัดเงินให้ไรเดอร์มากมายขนาดนี้ ถ้าพวกเขาคิดจะใช้ Model นี้แบบเพื่อทำธุรกิจแบบยั่งยืนจริง ๆ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/3KJ7y6T

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
http://bit.ly/3nZzsUk

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/3MvjE5T

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
http://bit.ly/3mtlMAm

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/TIGGJyHvDTk