หนึ่งวันในชีวิตของ Ray Dalio ตำนานพ่อมดการเงินผู้ได้รับการขนานนามว่า “Steve Jobs แห่งการลงทุน”

ถ้าพูดถึงโลกของการเงินและการลงทุน ทุกคนต้องรู้จักชื่อของ Ray Dalio พ่อมดการเงินที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น Steve Jobs แห่งโลกการลงทุน เขาสร้างชื่อให้ตัวเองและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนหลายพันคนในปัจจุบัน

บางคนอาจสงสัยว่าเจ้าพ่อการเงินรายนี้ทำอะไรที่ช่วยให้เขาสร้างอาณาจักรขนาดยักษ์ของตัวเขาเอง และช่วยให้เขาก่อตั้งกองทุนป้องกันความเสี่ยงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่าง Bridgewater Associates

Dalio ก่อตั้งบริษัท Bridgewater Associates จากอพาร์ตเมนต์ 2 ห้องนอนของเขาในปี 1975 เขาถึงจุดต่ำสุดในปี 1982 เมื่อการลงทุนที่ผิดพลาดทำให้เขาแทบหมดตัว และเขาต้องยืมเงิน 4,000 ดอลลาร์จากพ่อของเขา เพื่อสร้างบริษัทใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น

ตั้งแต่นั้นมา Dalio ก็พาบริษัทพุ่งทะยานสร้างทรัพย์สินมูลค่า17,000 ล้านดอลลาร์ และทำให้ Bridgewater ให้เป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันบริหารทรัพย์สิน ประมาณ 150,000 ล้านดอลลาร์

แม้ว่า Dalio จะก้าวลงจากตำแหน่งซีอีโอร่วมของ Bridgewater ในปี 2017 แต่เขายังคงดำรงตำแหน่งประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนร่วม 

ตอนนี้ในวัย 73 ปี เขามุ่งความสนใจไปที่ช่วงต่อไปของชีวิต ไล่ตามความฝันและช่วยเหลือผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จ

Dalio ไม่มีกิจวัตรที่เคร่งครัดที่เขาต้องทำเป็นประจำในทุก ๆ วัน เขาเป็นผู้ที่เชื่อในการมีส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างความสนุกและการทำงาน

Ray Dalio มีชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวที่สมดุล มาดูตารางเวลาประจำวันของ Ray Dalio แบบเจาะลึกกัน

ตอนเช้า

Ray Dalio เริ่มต้นวันใหม่เวลา 6 โมงเช้า เช่นเดียวกับมหาเศรษฐีส่วนใหญ่ เขาชอบที่จะเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการนั่งสมาธิ การทำสมาธิช่วยให้เขามีความชัดเจนในชีวิตมากขึ้น ซึ่งการลงทุนให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่ดี การทำสมาธิช่วยให้เขาบรรลุสิ่งนั้นได้

จากนั้นวันของเขาจะตามมาด้วยการรับประทานอาหารเช้า แล้วก็ลุยกับกิจกรรมต่างๆ ในระหว่างวัน

หลังจากก้าวลงจากบทบาทในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุนร่วมของบริษัท Bridgewater Associates เขาใช้เวลาในแต่ละวัน ทำตามความหลงใหลส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์ตลาด

เขาชอบที่จะอัพเดทตัวเองเกี่ยวกับตลาดและอ่านหนังสือมากมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ของเขา ตารางงานของ Dalio นั้นไม่แน่นอน และเขาชอบที่จะไหลไปตามสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันที่แตกต่างกันไป

Dalio อ่านหนังสือมากมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ของเขาอยู่เสมอ (CR:Business Insider)
Dalio อ่านหนังสือมากมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ของเขาอยู่เสมอ (CR:Business Insider)

ช่วงบ่าย

ในตอนบ่ายเขาพยายามทุ่มเทเวลาสูงสุดให้กับการค้นคว้า ขุดคุ้ยเรื่องโปรดของเขา เช่น ตลาด การสำรวจมหาสมุทร และใช้เวลากับครอบครัว

หลังจากก้าวจากตำแหน่งที่ Bridgewater Associates เขาก็หาเวลาทุ่มเทให้กับหัวข้อที่เขาชอบและศึกษามันอย่างเจาะลึก

เขาได้คิดค้นเครื่องมือปฏิวัติมากมายสำหรับโลกการเงิน เช่น กลยุทธ์ All Weather เขามีความรักในตลาด และสิ่งนี้ค่อนข้างชัดเจนในวิธีที่เขาลงทุนและสร้างการเติบโตของ CAGR ที่น่าอัศจรรย์ทุกครั้ง

ปัจจุบันเขาไม่ได้ทำงานแต่ยังคงใช้เวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมงในการศึกษาหัวข้อที่เขาชอบรวมถึงศึกษาและวิเคราะห์ตลาดอยู่เสมอ

ตอนเย็น

ตอนเย็นส่วนใหญ่หมกมุ่นอยู่กับการค้นคว้าของเขา ซึ่งดำเนินไปจนถึง 19.00 น. โดยเขาจะรับประทานอาหารเย็นในเวลาประมาณ 19.00 น. จากนั้นเขาอาจดื่มด่ำกับกิจกรรมกลางแจ้ง

เขาอาจจะไปพายเรือคายัค ขี่จักรยาน หรือเดินเล่น เขาชอบที่จะอยู่ริมน้ำ นั่นเป็นวิธีที่ทำให้เขาฟิตและมีความสดชื่นอยู่เสมอ

จากนั้นเขาจะเข้านอนภายในเวลา 23.00 น. และอาจแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ เขาใช้เวลานอนหลับที่เหมาะสมราวๆ 7-8 ชั่วโมงทุกวัน

กิจวัตรส่วนอื่น ๆ

Ray Dalio เป็นคนรักธรรมชาติและพยายามใช้เวลาใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด

Ray Dalio เป็นคนรักธรรมชาติและพยายามใช้เวลาใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด (CR:The Wall Street Journal)
Ray Dalio เป็นคนรักธรรมชาติและพยายามใช้เวลาใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด (CR:The Wall Street Journal)

Dalio เชื่อใน Transcendental Meditation แนวทางปฏิบัติที่พัฒนาโดย Maharishi Mahesh Yogi เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงสภาวะของจิตใต้สำนึก ตลอดเส้นทางอาชีพการทำงานกว่า 50 ปีของเขา ตัวเขาเองได้ฝึกฝนเทคนิคนี้วันละ 2 ครั้ง หนึ่งครั้งในตอนเช้าและอีกครั้งในตอนเย็น ครั้งละ 20 นาที

“มันใช้ได้ผลเพราะมันนำคุณเข้าสู่จิตใต้สำนึกของคุณและทำให้มีความใจเย็น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือความสงบที่มีศูนย์กลางอยู่ท่ามกลางพายุ” Dalio อธิบาย

การฝึกนี้ยังเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และได้ห่างไกลจากสิ่งรบกวนในชีวิตประจำวัน ซึ่ง Dalio กล่าวว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาส่วนบุคคลของเขา

Ray Dalio สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจาก Harvard Business School เขาไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น แต่ยังคงอัพเดทความรู้ของเขาเกี่ยวกับตลาดและโลกการเงินอยู่เสมอ

กุญแจสู่ความสำเร็จในทุกด้านคือการอัพเดทเทรนด์และเทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ตัวเองทันสมัยและมีความเชี่ยวชาญในสายงานนั้นอย่างแท้จริง

References :
https://www.drworkout.fitness/ray-dalio-daily-routine
https://www.cnbc.com/2021/05/11/ray-dalio-on-what-makes-him-successful-and-what-worries-him.html#:~:text=I%20usually%20wake%20up%20at,%2C%20digging%20%5Binto%20research%5D.
https://www.businessinsider.com/ray-dalio-5-habits-for-success-2014-11
https://www.cnbc.com/2019/08/23/bridgewater-associates-ray-dalio-daily-routine-inspired-by-the-beatles.html

ไฮเออร์ จัดกิจกรรม Haier Dream For Fan Season 3 ตอน Darling Drink with Me by barista bb0un หอมกรุ่นไปด้วยกลิ่นของความรัก

ไฮเออร์ (Haier) แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอันดับ 1 ของโลกติดต่อกัน 14 ปีซ้อน ได้จัดกิจกรรมไลฟ์แคมเปญร่วมกับนักแสดงหนุ่มสุดฮอต บุ๋น นพณัฐ กันทะชัย ใน Haier Dream For Fan Season 3 ตอน Darling Drink with Me by barista bb0un เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีผู้โชคดีจำนวน 10 ท่าน ได้เข้าชมไลฟ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ได้ร่วมสนุกกิจกรรมและสัมผัสประสบการณ์การใช้งานจริงของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านไฮเออร์ ซึ่งผู้โชคดีต่างได้มีโมเมนต์สุดพิเศษกับบุ๋น พร้อมรับของที่ระลึกมากมาย

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสำหรับผู้ที่ช่วยติดแฮชแท็ก #HaierXBaristabb0un เพื่อปั่นเทรนด์ในทวิตเตอร์ระหว่างการไลฟ์ โดยโชคดี 5 ท่าน มีสิทธิ์ได้รับ Exclusive Coffee Glass ที่วาดลวดลายโดยบาริสต้าบุ๋น ซึ่งบุ๋นได้วาดให้เห็นกันสดๆ ผ่านไลฟ์ใน Mission “Bb0un draws You Drink” ภายใต้คอนเซปต์ Happy Mood Good Message ที่ช่วยเรียกรอยยิ้มให้กับแฟนๆ ด้วยรูปวาดน่ารัก ๆ ที่จะทำให้ใจฟูและคิดถึงบุ๋นทุกครั้งที่ใช้แก้วใบนี้

ซึ่งผู้ช่วยสุดสมาร์ตของบาริสต้าบุ๋นในครั้งนี้ คือ เครื่องชงกาแฟ HAIER รุ่น HCM918 ที่มีระบบควบคุมการทำงานแบบดิจิทัล มาพร้อมไฟแสดงสถานะกับจอแสดงผล LCD ใช้งานสะดวกสบาย ทั้งยังมีระบบปิดอัตโนมัติหลังจากเครื่องชงกาแฟเสร็จ และอุ่นต่อโดยอัตโนมัติอีก 2 ชั่วโมง 

นอกจากนี้ยังมี ไมโครเวฟ Haier รุ่น HMW-M2301W ที่มี Power Level สามารถปรับระดับความร้อนได้ตั้งแต่ไฟต่ำไปจนถึงไฟแรงสูง ทำให้สามารถเลือกอุณหภูมิและตั้งเวลาในการเวฟให้เหมาะสมกับประเภทอาหารได้อีกด้วย สามารถทำเมนูต้ม-ตุ๋น-อุ่น-นึ่ง ใด ๆ ได้สะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีโปรแกรม Defrost ละลายอาหารแช่แข็ง โดยไมโครเวฟของไฮเออร์นี้จะช่วยทำให้การทานอาหารที่ถูกแช่เย็น-แช่แข็งง่ายขึ้น เพราะช่วยอุ่นอาหารเพียงแค่หน่วยนาทีเท่านั้น 

ปิดท้ายด้วย ตู้เย็น Haier Magic Cooling รุ่น HRF-330MGI มี 3 ช่องแช่แยกอิสระ ได้แก่ ช่องแช่แข็ง ช่องแช่เย็น และช่อง Magic Room ที่สามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ เพราะไฮเออร์รู้ว่าอาหารแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิเฉพาะในการเก็บรักษา อย่างช่อง Magic Room จะเป็นช่องพิเศษที่สามารถปรับอุณหภูมิอิสระตั้งแต่ 5° ถึง -18° เหมาะสำหรับแช่ของที่ต้องการอุณหภูมิจำเพาะ และสามารถทำเครื่องดื่มเกล็ดหิมะได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีจอควบคุมแบบสัมผัสที่หน้าตู้ สามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำสำหรับแต่ละพาร์ติชัน เพื่อให้ได้ระดับความเย็นที่คุณต้องการ และยังมีระบบ Deodorizer ช่วยกำจัดกลิ่นและยับยั้งแบคทีเรียได้อีกด้วย 

ทั้งนี้กิจกรรม Haier Dream For Fan Season 3 ตอน Darling Drink with Me by barista bb0un ได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างล้นหลามทั้งจากผู้โชคดี 10 ท่าน ที่ได้เข้าชมไลฟ์สดจากห้องส่ง และผู้ชมไลฟ์ ผ่านทาง Facebook Haier Thailand ที่ต่างได้รับชมความหล่อ น่ารัก สดใส และมีโมเมนต์สุดประทับใจร่วมกับบาริสต้าบุ๋น ทั้งยังได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่กับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไฮเออร์ ที่ถูกออกแบบและรังสรรค์มาเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่

สามารถติดตามข่าวสารของไฮเออร์ ได้ที่ Facebook: Haier (TH)
Instagram: @haierthailand_official และ Twitter: @ThailandHaier

ปลดล็อกแนวทางลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้ภาคการผลิตไทย ด้วย Agile Operational Excellence (Agile OpX)

สภาวะเงินเฟ้อส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสถานการณ์การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งในและต่างประเทศที่มากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ถึงแม้ผู้ประกอบการจะมีแผนปรับลดต้นทุนภายในอย่างต่อเนื่อง แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังไม่น่าพึงพอใจเท่าที่ควร

ซึ่ง Agile OpX (Agile Operational Excellence) เป็นกระบวนการที่ได้รับการพิสูจน์จากหลายบริษัทแล้วว่า สามารถลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กับผู้ประกอบการธุรกิจด้านการผลิตได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว ซึ่ง LiB Consulting บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น จะมาเผยถึงเคล็ดลับของ Agile OpX ให้ทุกท่านได้ทราบกัน

กำไรธุรกิจการผลิตสามารถเพิ่มได้ แต่ทำอย่างไรถึงได้ผล

ด้วยรูปแบบในการดำเนินธุรกิจการผลิตนั้นมีความซับซ้อน เกี่ยวโยงกับปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี แรงงาน และความต้องการของตลาด ส่งผลให้แผนการดำเนินการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำไรให้ธุรกิจนั้น ไม่แสดงผลลัพธ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนต่อองค์กร สาเหตุหลัก ๆ เกิดจาก

  1. ขาดการคำนึงถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเชิงกลยุทธ์ เช่น ปรับเฉพาะรูปแบบการดำเนินงานแต่ไม่ได้ปรับการจัดการค่าใช้จ่ายหลักขององค์กร เป็นต้น 
  2. ขาดการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ ทำให้มีข้อมูลไม่เพียงต่อการประเมิน วิเคราะห์ และตัดสินใจเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืออาจจะมีข้อมูลแต่ไม่ได้นำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์
  3. ขาดองค์ความรู้และมุมมองใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อความสำเร็จของการลดต้นทุน อย่างเช่น การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของธุรกิจที่คล้ายกันในต่างประเทศ
  4. ขาดรูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล 

ทุกองค์กรตระหนักว่าจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย แต่เพราะ 4 ปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้องค์กรมองไม่ออกว่าควรจะต้องลดตรงส่วนไหนบ้างถึงจะได้ผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงที่ตรงตามต้องการ โดยมากแล้วองค์กรตัดสินใจใช้วิธีนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น นำโปรแกรมไอทีเข้ามาอยู่ในแผนปรับลดต้นทุน โดยคาดหวังว่าเทคโนโลยีไอทีจะสามารถเข้ามาทดแทนแรงงานได้ ซึ่งนั่นจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายพร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรให้ธุรกิจไปด้วยในเวลาเดียวกัน แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว หลายๆบริษัทกลับไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนอย่างที่คาดหวังไว้ 

มองแบบ Bird’s Eye View และวิเคราะห์แบบ Insight

เมื่อการวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงในธุรกิจให้ครอบคลุมทุกมิติเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบการ จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยมุมมองจากภายนอกจากที่ปรึกษาทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการมองจากมุมสูงอันจะช่วยทำให้สามารถมองเห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ในกระบวนการทำงานส่วนต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม

และจากประสบการณ์ที่ LiB Consulting เคยให้คำปรึกษาและได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ให้กับองค์กรภาคอุตสาหกรรมกรรมการผลิต ผ่านแนวทางและกระบวนการ Agile OpX มาพบว่ากระบวนการนี้สามารถช่วยให้การดำเนินการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในธุรกิจเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน สามารถวัดผลได้ ขณะเดียวกันก็จะได้ทราบข้อมูลและแนวทางที่เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินการขององค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อทำกำไรให้ธุรกิจด้วย

โดย Agile OpX จะเป็นกระบวนการศึกษาประเมินภาพรวมและวิเคราะห์เชิงลึกใน Workflow การทำงานในทุกกระบวนการขององค์กร เพื่อให้มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการทำงาน ซึ่งจะมีขั้นตอนอยู่ 4 ขั้นตอนนั่นคือ

  1. Visualization ประเมินภาพรวมและวิเคราะห์ Workflow ทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งจุดสำคัญ คือ การประเมินภาพรวมก่อน แล้วจึงมองแบบวิเคราะห์ให้ละเอียด โดยเฉพาะจุดที่ใช้แรงงานเยอะ
  2. Direction setting ออกแบบและกำหนดแนวทางในการปรับปรุง Workflow ให้กระบวนการทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจุดสำคัญ คือ การคิดจากผลลัพธ์ที่จะได้ว่าสร้าง Value มากแค่ไหนให้กับธุรกิจบ้าง และ Impact ของการลด Output แต่ละส่วนไปจะส่งผลมากน้อยเพียงใดกับธุรกิจ
  3. Implementation วิเคราะห์ความเป็นไปได้และประเมินถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ เช่น รายได้หรือความพึงพอใจของลูกค้าที่จะเกิดขึ้น และวาง Roadmap การดำเนินการบริหารจัดการพร้อมกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
  4. Manpower management ดำเนินการปรับปรุง Workflow ตามแนวทางที่กำหนดไว้ โดยเน้นการบริหารจัดการกำลังคนให้สมดุลและสอดคล้องไปกับกระบวนการทำงานใหม่ขององค์กร

 ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้จะสามารถช่วยองค์กรให้สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในธุรกิจได้ โดยที่ประสิทธิภาพ คุณภาพและโอกาสในการทำกำไรของธุรกิจก็ยังคงดำเนินไปสู่เป้าหมายตามกระบวนการที่วางไว้ ซึ่งหลาย ๆ แผนการดำเนินงานนั้นองค์กรไม่จำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนแต่อย่างใด

LiB กับการปลดล็อกประสิทธิภาพให้กับภาคการผลิตไทย

จากประสบการณ์ที่ LiB Consulting ได้นำกระบวนการ Agile OpX เข้าไปช่วยปรับปรุงวิธีดำเนินงานและการจัดการต่าง ๆ ภายในองค์กรธุรกิจภาคการผลิต ทุกองค์กรต่างพอใจกับผลลัพธ์ที่ได้ การลดต้นทุนธุรกิจเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยกรณีศึกษาที่น่าสนใจมีดังนี้

กรณีศึกษาที่ 1 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และแม่พิมพ์โลหะ

โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และแม่พิมพ์โลหะแห่งหนึ่ง ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด 19 ทำให้ประสบกับปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะเคยทำได้ดีและพยายามต่อสู้บริหารจัดการต้นทุนธุรกิจด้วยตนเองแล้ว เช่น ตัดสินใจ Layoff พนักงานในสายการผลิตถึง 40% หรือปรับลดโบนัสและสวัสดิการ แต่ทุก ๆ มาตรการที่ดำเนินการไปก็ได้ผลเพียง 2% ของยอดขายเท่านั้น ผู้บริหารจึงได้ตัดสินใจขอคำปรึกษากับ LiB Consulting เพื่อให้ LiB ช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายอย่างเร่งด่วน LiB ได้ใช้ Agile OpX เข้าไปประเมินปัญหาในภาพรวม และวิเคราะห์องค์กรในเชิงลึก โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้างเชิงกลยุทธ์ใหม่ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการแข่งขันลดต้นทุนระหว่างแผนกและดำเนินการลดต้นทุนแบบ Quick win ไปพร้อมกับทีมของ LiB เพิ่ม Skill set กับ Challenging Mind ให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งภายหลังจากดำเนินการทั้ง Project แล้ว โรงงานแห่งนี้สามารถลดต้นทุนได้ถึง 10% ของยอดขาย และยังช่วยลดการทำงานล่วงเวลา ลดจำนวนการใช้งานใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในองค์กรไปได้มาก และแม้ 2 ปีหลังจากที่ Project จบไปแล้วโรงงานแห่งนี้ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายต้นทุนในธุรกิจลงได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนก Cost Management ที่คอยบริหารจัดการต้นทุนธุรกิจโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมไม่ให้ต้นทุนปรับตัวสูงขึ้นมาอีกและสามารถที่จะฟื้นตัวกลับมาทำกำไรได้เหนือกว่าทุก ๆ สาขาโรงงานต่างประเทศ รวมถึงบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น

กรณีศึกษาที่ 2 โรงงานผลิตอาหาร

โรงงานผลิตอาหารแห่งหนึ่งของไทย ที่ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและสามารถสร้างรายได้ราว 2,000 ล้านบาท/ปี แม้จะทำรายได้ในธุรกิจได้สูง แต่ต้นทุนรายจ่ายในธุรกิจก็ถือว่าไม่น้อย ผู้บริหารองค์กรจึงมองว่าควรจะหาวิธีลดต้นทุนรายจ่ายในธุรกิจ ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดส่งออกด้วย จึงได้ขอคำปรึกษากับ LiB Consulting เพื่อให้ช่วยหาวิธีการลดต้นทุนธุรกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้สามารถขยายไปยังตลาดต่างประเทศได้ LiB จึงเริ่มกระบวนการ Agile OpX ประเมินและวิเคราะห์ Workflow ของโรงงาน จนพบหลายส่วนมีความซ้ำซ้อน และสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจได้ แบบ Quick win ซึ่งได้ดำเนินการทันที จึงลดค่าใช้จ่ายแรงงานได้ถึง 37.5% โดยไม่ต้องเพิ่มการลงทุน พร้อมกับออกแบบและวางแผนการดำเนินการระยะกลางถึงระยะยาวเพื่อปรับลดงานที่ซ้ำซ้อนและเพิ่ม Efficiency ตามด้วยการทำ Manpower management จนทำให้โรงงานผลิตอาหารแห่งนี้สามารถจัดสรรบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานในสายการผลิตขององค์กร ผลสุดท้ายของ Project คือ แผนการลดต้นทุนทั้งหมด เมื่อดำเนินการเสร็จจะลดได้กว่า 20 ล้านบาทต่อปี

วิธีการลดต้นทุนและการเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจที่องค์กรภาคการผลิตดำเนินการมาแต่เดิมนั้น อาจจะได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วยังให้ผลลัพธ์ที่ยังไม่น่าพอใจ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเกือบทุกองค์กรสามารถที่จะลดต้นทุนและการเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจได้มากกว่าที่เป็นอยู่ได้ เพียงแต่อาจจะยังไม่ทราบแนวทางและวิธีการที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ซึ่งนั่นเท่ากับว่าองค์กรภาคการผลิตกำลังพลาดโอกาสในการปรับปรุงเพื่อขยายศักยภาพธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย หากว่าคุณต้องการปลดล็อกแนวทางลดต้นทุนและทำกำไรเพิ่มอย่างได้ผล กระบวนการ Agile OpX จาก LiB Consulting เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สิ่งนี้อาจเป็นกุญแจสำคัญที่พาธุรกิจของคุณให้ก้าวต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์อย่างมั่นคง