เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสมองของคุณเกลียด PowerPoint

การนำเสนอเกือบทั้งหมด ไมว่าจะเป็น PowerPoint หรืออย่างอื่น ส่วนใหญ่จะเป็นการที่ผู้นำเสนอพูดในขณะที่แสดงสไลด์ที่เต็มไปด้วยคำต่าง ๆ มากมาย โดยที่จะมีคำต่าง ๆ บนหน้าจอสนับสนุนคำพูดที่ผู้นำเสนอกำลังพูด ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการเพิ่มทั้งความเข้าใจและความจำของผู้รับฟังได้ดีขึ้น

แต่มันมีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งก็คือ การนำเสนอด้วย Powerpoint ลักษณะดังกล่าวนั้น เป็นการลดความเข้าใจที่เกิดขึ้นจริง เพราะสมองของมนุษย์ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการทำงานหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมองส่วนเดียวกัน นักจิตวิทยา Marc Coutanche จากมหาวิทยาลัย Pittsburgh อธิบาย :

“ขอบเขตภาษา [ของสมอง] ของคุณกำลังประมวลผลเสียง คำ ความหมายของประโยค ลองนึกภาพวงจรที่คุณมีอินพุตหลายตัวและเอาต์พุตหลายตัว แต่พวกมันใช้สายเชื่อมต่อเดียวกัน”

กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อสมองของเราได้ยินคำและเห็นคำต่างๆ กัน หรือสลับไปมาระหว่างชุดคำทั้งสอง ทำให้เกิดความสับสน นี่คือเหตุผลที่แทบทุกการนำเสนอ PowerPoint ทำให้เกิดความน่าเบื่อและไม่น่าจดจำ

อย่างไรก็ตาม สมองของเราสามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ เมื่อการทำงานหลายอย่างทำให้เกิดความต้องการในส่วนต่างๆ ของสมอง นั่นคือเหตุผลที่เราสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัยในขณะที่กำลังฟังพอดแคสต์

โชคดีที่มีทางเลือกอื่นที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอแบบสไลด์/แสดงหัวข้อย่อย และนี่เป็นข้อมูลสรุปโดยย่อ :

  • หากต้องการปรึกษาหารือและตัดสินใจ ให้ใช้เอกสารสรุป เอกสารสั้นๆ (สูงสุดสามหน้า) ที่ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมจะอ่านเมื่อเริ่มการประชุม สิ่งสำคัญก็คือ อย่ามอบหมายเอกสารให้เป็นการบ้านก่อนการประชุม เพราะแทบไม่มีใครอ่านมัน
  • หากกำลังสอนและฝึกอบรม ให้สร้างประสบการณ์เชิงโต้ตอบ ซึ่งหมายถึงรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบฝึกหัดกลุ่ม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดบันทึก ให้ใช้ดินสอหรือปากกาเสมอ ห้ามใช้คอมพิวเตอร์ การจดบันทึกบนกระดาษช่วยเพิ่มการจดจำได้มากเพราะดึงเอาส่วนต่างๆ ของสมองออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • หากต้องการสร้างความบันเทิงหรือสร้างแรงบันดาลใจ ให้กล่าวสุนทรพจน์ เมื่อมีกลุ่มใหญ่เกินกว่าจะใช้รูปแบบของแบบฝึกหัดเชิงโต้ตอบ ให้ลองมองดูรูปแบบของ TED Talk มากกว่ารูปแบบการบรรยายของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หากมีภาพที่มีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจกับคำพูด ให้แสดงภาพนั้น แต่ไม่ต้องแสดงรายการหัวข้อย่อย ถ้าใครเคยดู TED Talk เราจะไม่เห็นรายการหัวข้อย่อยใน TED Talk เลย
TED Talk คือตัวอย่างที่ดีของการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (CR:optimus-education)
TED Talk คือตัวอย่างที่ดีของการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (CR:optimus-education)

ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจำนวนมาก เช่น Jeff Bezos และ Elon Musk ได้สรุปว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้มันไม่ work และมีรายงานว่าพวกเขาไม่ต้องการใช้ PowerPoints อีกต่อไป

Jeff Bezos ได้สั่งห้าม PowerPoint จากการประชุมที่ Amazon โดยยืนยันว่าการประชุมจะเริ่มต้นด้วยผู้เข้าร่วมประชุมที่จะมีการอ่านเอกสารที่มีข้อมูลที่จำเป็นเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ ในหัวข้อการประชุม

เนื่องจากมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ว่าการใช้ PowerPoint ช่วยลดความฉลาดขององค์กร อย่างไรก็ตาม การแทนที่ PowerPoint ด้วย “เอกสารสรุป” (อย่างที่ Bezos ทำ) ไม่ใช่แค่เพียงสนับสนุนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการทางการเงินที่ชาญฉลาดอย่างไม่น่าเชื่อด้วยเหตุผลสองประการต่อไปนี้:

  1. ช่วยประหยัดเวลา PowerPoint สื่อสารด้วยความเร็วที่ผู้นำเสนอพูด เอกสารสรุปสื่อสารด้วยความเร็วที่ผู้ร่วมประชุมอ่าน การนำเสนอที่จะใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง สามารถย่อให้เหลือเพียงห้านาที
  2. ช่วยโฟกัสที่เนื้อหาที่ตรงประเด็น เนื่องจากเอกสารสรุปให้ข้อมูลสำคัญในตอนเริ่มการประชุม ทุกคนจึงโฟกัสไปที่เนื้อหาเดียวกันอย่างแท้จริง และการอภิปรายหรือการถกเถียงจะสั้นลงและตรงประเด็นมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่องจากการนำเสนอด้วย Powerpoint ต้องมีผู้นำเสนอ จึงจำเป็นต้องเข้าร่วมการประชุมเพื่อรับข้อมูล แต่ด้วยเอกสารสรุป ผู้เข้าร่วมต้องการเพียงแค่ข้อมูล แต่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วม สามารถอ่านเอกสารและข้ามการประชุมไปได้ทันที

ต้องบอกว่าก่อนหน้านี้ผู้บริหารโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของเวลาในการประชุม (หนึ่งในสามของทั้งหมดนั้นไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง) นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ เหนือกว่าความสามารถอันน้อยนิดของ PowerPoint ที่ทั้งสูญเสียทั้งทรัพยากรและรายจ่ายโดยใช่เหตุขององค์กรส่วนใหญ่นั่นเอง

References :
https://www.inc.com/geoffrey-james/science-just-discovered-your-brain-really-hates-powerpoint.html
https://www.inc.com/geoffrey-james/the-worlds-best-communicators-dont-use-powerpoint.html
https://www.inc.com/geoffrey-james/jeff-bezos-banned-powerpoint-its-arguably-smartest-management-move-that-hes-ever-made.html