Geek Daily EP104 : Supply Chain Crisis กับสิ่งเดียวที่ฉุดรั้งการเติบโตอย่างมหาศาลของ Apple

ในขณะที่การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสได้เพิ่มความต้องการอุปกรณ์อย่าง Mac และ iPads แต่ปัญหาขาดแคลนชิป ก็ทำให้เกิดวิกฤตห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ขัดขวางการเติบโตทางการเงินของบริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Apple

Apple เผชิญกับปัญหาหลัก 2 ประการ ได้แก่ ความล่าช้าด้านลอจิสติกส์ที่ยังไม่ดีขึ้น และความขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่อาจใช้เวลาหลายเดือน หรืออาจจะเป็นปีจึงจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3fZRcYo

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3tZFTYu

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3u65eA4

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/35jn6Nk

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/wR–OtNpuIc

ผู้สนับสนุน..

Fillgoods ผู้ช่วยมืออาชีพของธุรกิจออนไลน์ ที่จะทำให้ชีวิตง่ายและสะดวกสบายขึ้นกว่าเดิม ด้วยฟีเจอร์ทั้งหมดออกแบบมาเพื่อซัพพอร์ตการทำงานของธุรกิจออนไลน์อย่างแท้จริง

ให้ทุกธุรกิจสามารถทำกำไรและสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้ตามที่ต้องการอย่างไร้กังวล ร้านค้าที่ยังประสบปัญหาที่คอยฉุดยอดขายและโอกาสเติบโตให้ดิ่งเหว

สามารถติดต่อให้ Fillgoods เข้าไปเป็นผู้ช่วยธุรกิจคุณได้ที่สมัครใช้งานและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://fillgoods.co/  สมัครตอนนี้มีโปรโมชันพิเศษมากมาย อัปเดตกิจกรรมและข่าวสารที่ https://www.facebook.com/fillgoods.co/ หรือโทร 021146800 กด 1

Geek Story EP134 : Parag Agrawal จาก Programmer สู่ CEO กับเส้นทาง 10 ปีสู่ผู้นำคนใหม่ของ Twitter

Parag Agrawal ในวัย 37 ปีได้กลายมาเป็น CEO ของ Twitter ที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ใน S&P 500 รองจาก Mark Zuckerberg แต่เรื่องราวที่น่าสนใจก็คือเมื่อ 10 ปีที่แล้วเขาเริ่มต้นด้วยการเป็น Programmer ให้กับ Twitter

เขาใช้เวลาเพียงหกปีในการเข้าไปอยู่ในระดับผู้บริหาร C-suite ในตำแหน่ง CTO Agrawal สร้างชื่อให้กับตัวเองด้วยการใช้เทคโนโลยี AI และเทคโนโลยี Machine Learning ให้กับ Twitter ซึ่งช่วยเพิ่มการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานของบริษัท

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3tYFOnK

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3rOceyP

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3IE00iK

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3nTywxF

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/QVCISvtBTZw

ผู้สนับสนุน..

Fillgoods ผู้ช่วยมืออาชีพของธุรกิจออนไลน์ ที่จะทำให้ชีวิตง่ายและสะดวกสบายขึ้นกว่าเดิม ด้วยฟีเจอร์ทั้งหมดออกแบบมาเพื่อซัพพอร์ตการทำงานของธุรกิจออนไลน์อย่างแท้จริง

ให้ทุกธุรกิจสามารถทำกำไรและสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้ตามที่ต้องการอย่างไร้กังวล ร้านค้าที่ยังประสบปัญหาที่คอยฉุดยอดขายและโอกาสเติบโตให้ดิ่งเหว

สามารถติดต่อให้ Fillgoods เข้าไปเป็นผู้ช่วยธุรกิจคุณได้ที่สมัครใช้งานและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://fillgoods.co/  สมัครตอนนี้มีโปรโมชันพิเศษมากมาย อัปเดตกิจกรรมและข่าวสารที่ https://www.facebook.com/fillgoods.co/ หรือโทร 021146800 กด 1

Robinhood Travel เมื่อแพลตฟอร์มไทยเตรียมท้ารบในตลาด Online Travel Agency

ต้องบอกว่าแพลตฟอร์ม Online Travel Agency (OTA) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นธุรกิจนึงที่แทบจะไม่มีการแข่งขันมานานมากแล้ว ด้วยตัวแพลตฟอร์มที่แทบจะคล้ายคลึงกันทั้งหมด และแทบจะไม่มีนวัตกรรมใหม่อะไรออกมาเลย สำหรับธุรกิจนี้ หากคุณลองไปที่แพลตฟอร์มดัง ๆ ทั้ง Agoda , Booking , Expedia , Hotels.com .. หรืออีกมากมายในวันนี้ คุณเห็นอะไรที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญบ้าง

แม้ว่าอาจจะมีการแข่งขันกันในเรื่องเรทราคาที่แตกต่างกันบ้าง แต่ถ้าเข้าไปดูหน้าจอเว็บไซต์ หรือ แอป ของพวกเขาเหล่านี้ พบว่าแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกัน เหมือนโคลนนิ่งกันมายังไงยังงั้น

แม้ดูเหมือนว่ามันจะมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่ผมมองว่า มันก็แทบจะไม่มีอะไรใหม่ เมื่อเทียบกับธุรกิจอย่าง Ecommerce ที่อัดใส่นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการ Shopping กันอย่างดุเดือด ใครพลาดพลั้ง อาจจะโดนแย่งฐานลูกค้าขนาดใหญ่ไปได้เลย เหมือนที่ Shopee , Lazada , JD.com แข่งขันกันอย่างหนักหน่วง

เมื่อ Robinhood เปิดตัว Robinhood Travel

ผมเชื่ออย่างนึงว่าถ้าเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยี ถ้าเทียบกันในอาเซียน ไทยเองก็มีคนเก่ง ๆ ที่ไม่เป็นสองรองใคร แต่จะเห็นได้ว่าแทบไม่มีแพลตฟอร์มของไทยที่ลุกขึ้นสู้แอปต่างชาติได้เลย โดยเฉพาะแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ตัวอย่าง Grab หรือ Shopee

แต่ความน่าสนใจของ Robinhood นั่นก็คือก้าวข้ามความเป็นบริษัท startup มีเงินทุนขนาดใหญ่จากบริษัทแม่อย่าง SCB ที่ช่วยให้เริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายกว่า startup ขนาดเล็ก ๆ ที่ยากจะไปต่อกรกับแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ

ซึ่งจากโปรแกรม CSR ส่งฟรีไม่เก็บค่า GP ของ Robinhood กับบริการ Delivery Service ในช่วง COVID ระบาดหนัก ทำให้ Robinhood สามารถแจ้งเกิดเข้ามาสอดแทรกในตลาด Delivery Service ได้แบบเต็มตัว

ก้าวใหม่ของ Robinhood ถือว่าน่าสนใจมาก ๆ ในการเข้าสู่ตลาด Travel Agency ซึ่งใช้กลยุทธ์เดิมคือการ ค่าคอมมิชชั่น 0% ซึ่งผู้ประกอบการแทบไม่ต้องเสียค่าบริการซักบาท จากเดิมที่ถูกชาร์จอยู่ที่ราว ๆ 15-30% จากแพลตฟอร์มต่างชาติ

มันเป็นการเข้ามาได้ถูกที่ถูกเวลาอีกครั้งสำหรับ Robinhood ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวที่แบบรับภาระมานานแสนนาน โดยเฉพาะจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงไปอย่างมหาศาล แต่สถานการณ์เริ่มกลับมาดีขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งแน่นอนว่าโปรโมชั่นดังกล่าวคงเป็นการใช้งานในช่วงเวลาระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในธุรกิจนี้เลยก็ว่าได้ เมื่อแพลตฟอร์มไทย จะมาลุยสู้กับแพลตฟอร์มต่างชาติแบบเต็มตัว ซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ ๆ จากฝั่งตะวันตกทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็น Booking.com , Agoda , Expedia หรือ Hotels.com

มันก็คงเหลือแค่แพลตฟอร์ม Travel Agency ที่ตอนนี้กลายเป็นของตะวันตกไปหมดแล้ว ตัวอย่าง Agoda หรือ Booking เองก็เป็นของ Priceline Group ของอเมริกา ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปแบบต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มนั้น เป็นแพทเทิร์นทางตะวันตกเสียมากกว่า ทั้ง UX/UI ที่ดูแข็ง ๆ ดูสไตล์คล้าย ๆ Amazon หรือ Ebay

ซึ่งมันใช้ง่าย เหมาะกับสไตล์ตะวันตก แต่ผมยังมองว่าตลาดนี้ ยังมีช่องว่างให้รายใหม่เข้ามาได้อีกมากหากมีการปรับให้เข้ากับท้องถิ่นจริง ๆ หรือมีนวัตกรรมใหม่ ๆ จริง ๆ ออกมา ซึ่งคิดว่า Robinhood ก็คงคิด วิเคราะห์ และมองเห็นช่องว่างในจุดนี้มาอย่างดีแล้วจึงมาลุยในตลาดนี้แบบเต็มตัว

ก็ต้องมาดูกันต่อไปนะครับว่า การเดินเกมของ Robinhood ในการเข้าสู่ตลาดนี้ จะเป็นเพียงแค่การ PR ชั่วคราว หรือ มีเป้าหมายใหญ่กว่านั้นคือการสร้างแพลตฟอร์ม Travel ใหม่ขึ้นมาจริง ๆ ที่่ตอบโจทย์กับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็นได้ครับผม

Geek Monday EP117 : เบื้องหลังความสำเร็จของแคมเปญการตลาด K-wave จาก Tokopedia

K-wave ปรากฏการณ์นี้เห็นได้ชัดเจนว่ามันได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกชื่นชมวัฒนธรรมเกาหลี ไม่ว่าจะผ่านการฟังเพลงเคป็อปหรือเพลิดเพลินกับอาหารเกาหลี อินโดนีเซียก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับปรากฏการณ์นี้ ประเทศนี้เป็นบ้านของประชากรวัยหนุ่มสาวที่เข้าใจอินเทอร์เน็ต และคนเหล่านี้ถูกคลื่น K-wave โจมตีพวกเขาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย YouTube และ Netflix

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Tokopedia ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของอินโดนีเซีย ได้ใช้ K-wave ในกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อค้นหาลูกค้าและเชื่อมต่อกับพวกเขาในรูปแบบที่มีความหมายมากขึ้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3tOTJwz

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3tW3KYW

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3IynJ3R

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3fNSJkj

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/q4e4KONufjA

ผู้สนับสนุน..

Fillgoods ผู้ช่วยมืออาชีพของธุรกิจออนไลน์ ที่จะทำให้ชีวิตง่ายและสะดวกสบายขึ้นกว่าเดิม ด้วยฟีเจอร์ทั้งหมดออกแบบมาเพื่อซัพพอร์ตการทำงานของธุรกิจออนไลน์อย่างแท้จริง

ให้ทุกธุรกิจสามารถทำกำไรและสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้ตามที่ต้องการอย่างไร้กังวล ร้านค้าที่ยังประสบปัญหาที่คอยฉุดยอดขายและโอกาสเติบโตให้ดิ่งเหว

สามารถติดต่อให้ Fillgoods เข้าไปเป็นผู้ช่วยธุรกิจคุณได้ที่สมัครใช้งานและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://fillgoods.co/  สมัครตอนนี้มีโปรโมชันพิเศษมากมาย อัปเดตกิจกรรมและข่าวสารที่ https://www.facebook.com/fillgoods.co/ หรือโทร 021146800 กด 1

แฟชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยโรคระบาดสู่การดับอนาทของแอป Club House

ต้องบอกว่าเป็นการเริ่มต้นที่น่าสนใจมาก ๆ เมื่อ Clubhouse แอปที่เปิดตัวด้วยการเป็น exclusive network ที่ต้องได้รับเชิญเท่านั้นได้ได้ขับเคลื่อนโลกของโซเชียลมีเดียให้กลายเป็นกระแส Live Audio รูปแบบใหม่ที่มนุษย์เราอาจจะไม่เคยพบเจอมาก่อน 

ตลอดปี 2020 และต้นปี 2021 Clubhouse เป็นสถานที่สำหรับสนทนาที่เป็นที่นิยมอย่างมาก ทั้งการอภิปรายเชิงลึก และคำแนะนำทางธุรกิจทั่วไป Clubhouse ได้รับการอธิบายว่าเป็น “เครือข่ายโซเชียล Live Audio แห่งแรก” ซึ่งทำให้ในช่วงแรกหลังการเปิดตัวมีการเติบโตและอัตราการดาวน์โหลดอย่างมาก โดยมีผู้ใช้ 10 ล้านคนดาวน์โหลดในเดือนกุมภาพันธ์เพียงเดือนเดียว แม้จะพร้อมใช้งานบน iOS อย่างเดียวเพียงเท่านั้น 

ความนิยมของผู้บริโภคทำให้เกิดโอกาสมากมายต่อแบรนด์ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกับกลุ่มลูกค้าได้ในทันทีและเป็นส่วนตัวมากขึ้น แบรนด์จากอุตสาหกรรมทุกประเภทได้จัดสร้างห้อง และ เริ่มการสนทนาในแบบตนเอง หรือร่วมมือกับผู้ดำเนินรายการเพื่อนำเสนอแบรนด์ของตนสู่ผู้ชมกลุ่มใหม่ 

แอปจึงได้พัฒนาโปรแกรมครีเอเตอร์ของตัวเองที่ถูกเรียกว่า Clubhouse Creator First ซึ่งได้จัดหาอุปกรณ์ให้กับครีเอเตอร์ที่ได้รับการคัดเลือก และให้การสนับสนุนรวมถึงโอกาสในการสนับสนุนแบรนด์ต่าง ๆ  

จุดมุ่งหมายของ Clubhouse คือการช่วยให้ครีเอเตอร์ที่ได้รับการคัดเลือกสร้างเนื้อหาคุณภาพสูงซึ่งจะทำให้ครีเอเตอร์สามารถสร้างรายได้จากการสนทนาของพวกเขาจากเนื้อหาคุณภาพสูง Clubhouse ได้แนะนำ “Tips” ซึ่งผู้ฟังสามารถให้ทิปครีเอเตอร์ที่พวกเขาชื่นชอบได้

เมื่อพิจารณาจากสภาพห้องสนทนาของ Clubhouse แบบสด ๆ และจำนวนผู้ใช้ที่เข้ามาอย่างมหาศาลในช่วงต้นปี 2021 Clubhouse จึงเป็นพื้นที่ออนไลน์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับแบรนด์ต่างๆ ในการประกาศเรื่องต่าง ๆ ให้กับกลุ่มแฟน ๆ ของพวกเขา 

ตัวอย่างเช่น NFL ที่ได้ร่วมมือกับ Clubhouse เพื่อสร้าง Club เฉพาะสำหรับการสนทนาสดเกี่ยวกับฟุตบอลใน Draft Week แฟน ๆ สามารถเข้าร่วมคลับเพื่อติดตามประกาศสด ฟังการสนทนาพิเศษกับนักกีฬาและโค้ช และรับเชิญบนเวทีเพื่อถามคำถาม 

ความสำเร็จของ Clubhouse ทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นเริ่มทำงานในเวอร์ชันของตนเองหรือพัฒนาฟีเจอร์ที่มีอยู่เพื่อแข่งขัน 

Facebook ได้สร้างบริการของตัวเองชื่อว่า Live Audio Rooms;  ซึ่ง Facebook จะผสานรวม Live Audio Rooms เข้ากับ Groups และเพิ่มฟีเจอร์ Stars เพื่อให้ครีเอเตอร์สร้างรายได้จากเนื้อหาเสียงของตนได้

Instagram ได้พัฒนาฟีเจอร์ Live อย่างหนักเพื่อแนะนำ Lives แบบกลุ่ม และเพิ่มความสามารถในการเปิดและปิดกล้องและไมโครโฟนในการสตรีมสด การพัฒนานี้ทำให้โฮสต์มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในระหว่างการสตรีมสด และขจัดแรงกดดันที่จะต้องดูและฟังอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์มีส่วนร่วมกับผู้ติดตามได้อย่างอิสระมากขึ้น 

เพื่อให้ทันกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ในที่สุด Clubhouse ได้พัฒนาเวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ Android Clubhouse ได้ทำการทดสอบเวอร์ชัน Android ในสหรัฐอเมริกาและเปิดตัวในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ผู้ใช้ Android ในญี่ปุ่น บราซิล และรัสเซีย ได้ใช้แอปเป็นครั้งแรกในวันที่ 18 พฤษภาคม และเปิดให้ใช้งานทั่วโลกในวันที่ 21 พฤษภาคม 

อย่างไรก็ตาม Clubhouse ทำการเปิดตัวเวอร์ชั่น Android สายเกินไปหรือไม่?

ทำไม Clubhouse ถึประสบความสำเร็จ?

1. ให้การเข้าถึงคนดัง

เหตุผลหลักประการหนึ่งที่ Clubhouse ได้รับความนิยมจากผู้ใช้คือการเข้าถึงคนดัง ซีอีโอ และผู้นำทางความคิดได้ง่าย Elon Musk ซีอีโอของ Tesla ได้เผยแพร่แอปบน Twitter และกลายเป็นหนึ่งในแอปที่ดาวน์โหลดมากที่สุดของ Apple ในชั่วข้ามคืน 

นับตั้งแต่เขาโปรโมตแอปนี้ แอปนี้ก็มีรายชื่อเซเลบ ผู้ประกอบการ และนักการเมืองที่เข้ามาร่วมแพลตฟอร์มเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการอภิปรายในหัวข้อต่างๆ มากมาย ผู้ใช้สามารถฟัง Mark Zuckerberg, Oprah, Justin Bieber, Jared Leto, Drake, Kevin Hart และอื่น ๆ อีกมากมาย

สามารถเข้าถึงเซเลบ ผู้ประกอบการ และนักการเมืองมากมาย (CR:Twitter)
สามารถเข้าถึงเซเลบ ผู้ประกอบการ และนักการเมืองมากมาย (CR:Twitter)

Clubhouse เปิดโอกาสให้แฟนๆ ได้ฟังและโต้ตอบกับดาราคนโปรดเป็นครั้งคราว (หากพวกเขาถูกพาขึ้นไปบนเวที) นอกจากนี้ การสนทนายังได้รับเอกสิทธิ์พิเศษโดยธรรมชาติเพราะเป็นการฟังแบบสด Clubhouse จะไม่บันทึกห้องหรือการสนทนา ดังนั้นเมื่อการสนทนาจบทุกอย่างจะถูกลบออกไปทันที

2. ให้บริการที่เป็นเอกลักษณ์และเนื้อหาที่มีคุณค่า

Clubhouse เมื่อเริ่มก่อตั้งเป็นแอปที่ค่อนข้างพิเศษ จุดขายหลักที่แตกต่างจากเครือข่ายโซเชียลอื่น ๆ คือลักษณะของเสียงแบบสด Clubhouse เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับผู้คนในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยไม่มีสิ่งรบกวน ผู้ใช้ Clubhouse ทั่วไปกล่าวว่าการอยู่ในห้องที่มีสมาชิก VIP เพียงไม่กี่คน และได้ยินเฉพาะคนสำคัญพูดเท่านั้น รู้สึกใกล้ชิดและมีส่วนร่วมมากกว่าแพลตฟอร์มโซเชียลอื่นๆ

การมี moderatorในห้องสนทนาหมายถึงการทำให้การสนทนามีความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ผู้ดำเนินรายการสามารถปิดเสียงและเปิดเสียงผู้พูดได้ และผู้เข้าร่วมต้องยกมือก่อนที่จะได้รับการอนุมัติจาก moderator ให้พูดได้ ซึ่งช่วยให้ห้องมีเนื้อหาที่ชัดเจนและสามารถครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ยังสามารถนั่งเอนหลังและเพลิดเพลินกับการสนทนาได้หากต้องการ

3. Exclusive Network

Clubhouse เป็นแอปเฉพาะผู้ได้รับเชิญเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงแอปอยู่แล้วจะต้องส่งลิงก์ให้เพื่อนเพื่อเข้าร่วมด้วย ซึ่งมันได้สร้างภาพลวงตาของการผูกขาดให้กับ Clubhouse ในช่วงแรก ๆ  และการที่ Clubhouse ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บันทึกห้องสนทนา ผู้ใช้ใน Clubhouse จะได้รับสิทธิ์เข้าถึงประกาศ การสนทนา และคำแนะนำต่าง ๆ เฉพาะในแอปเพียงเท่านั้น

รูปแบบเฉพาะผู้ได้รับเชิญเท่านั้นยังหมายความว่าผู้ใช้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกับผู้ที่มีความคิดเหมือนกันมากขึ้น ซึ่งคล้ายกับการเป็นส่วนหนึ่งของคลับที่สุดพิเศษ

Exclusive Network ที่ต้องผ่านการ invite เท่านั้น (CR:The Verge)
Exclusive Network ที่ต้องผ่านการ invite เท่านั้น (CR:The Verge)

ทำไมความนิยมของ Clubhouse จึงลดลง?

ในเดือนเมษายน 2021 มีการดาวน์โหลดแอป Clubhouse เพียง 900,000 ครั้ง ซึ่งลดลงอย่างมากจากการดาวน์โหลด 10 ล้านครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ Clubhouse ยังพบว่ามีผู้ใช้เฉลี่ยต่อเดือนลดลงเกือบ 70% แล้วทำไมมันถึงเป็นเช่นนี้?

1. มันเป็นแฟชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยโรคระบาด

เป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับ Clubhouse  เพราะจากการสำรวจของ Business Insider พบว่า 88% ของผู้เข้าร่วม 5,000 คนไม่ได้ใช้ Clubhouse อีกต่อไปเพราะพวกเขามองมันเป็นเพียงแค่แฟชั่น 

แม้จะมีการเปิดตัวเวอร์ชั่นสำหรับผู้ใช้ Android แล้ว แต่หลายคนเชื่อว่า Clubhouse ได้รับความนิยมอย่างมากจากการระบาดใหญ่เพราะพวกเราหลายคนอยากที่จะพูดคุยกับคนอื่น เมื่อชีวิตกลับคืนสู่สภาวะปกติ ผู้คนสูญเสียเวลาว่างจากการฟังบทสนทนาของ Clubhouse ธรรมชาติที่ฟังแบบสด ๆ ของ Clubhouse ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถฟังตามความต้องการได้เหมือนกับพอดคาสต์

ด้วยการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ ผู้ใช้สามารถรวมตัวกับเพื่อน ๆ และสนทนาแบบตัวต่อตัว ไม่จำเป็นต้องฟังการสนทนาของผู้อื่นอีกต่อไป

2. การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากแพลตฟอร์มอื่น

ฐานผู้ใช้ของ Clubhouse จำนวนมากจะถูกแย่งชิงโดยคู่แข่งที่มีชื่อเสียง (เช่น Instagram, Facebook และ Twitter) ที่ทำบริการเลียนแบบด้วยการพัฒนาความสามารถด้านเสียงของตัวเอง แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ปรับแต่งตัวเองให้เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ครบวงจร ซึ่งสามารถมอบทุกสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการได้

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้โซเชียลมีเดียอยู่แล้ว ทุกคนเข้าถึงได้ซึ่งหมายความว่าทุกคนสามารถแชทกับใครก็ได้ Spaces ของ Twitter ซึ่งเปิดตัวสำหรับผู้ใช้ Android และ iOS ทำให้หลายๆ คนย้ายกลับมาที่แพลตฟอร์มเก่า ๆ มากขึ้น

3. การแจ้งเตือนมากกินไป

ใครก็ตามที่เคยใช้ Clubhouse อาจเคยประสบกับการแจ้งเตือนของ Clubhouse แม้ว่าการแจ้งเตือนจะมีความสำคัญ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากฟีเจอร์แบบสด) Clubhouse ดูเหมือนว่าจะมีการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการโต้ตอบกับแอป ซึ่ง Clubhouse ส่งการแจ้งเตือนสิ่งต่าง ๆ มากมายดังนี้ : 

– ช่วงเวลาที่ใครก็ตามที่คุณเคยบันทึกไว้ในรายชื่อผู้ติดต่อของคุณเข้าร่วมแอป

– เมื่อใครก็ตามที่คุณติดตามในแอปเริ่มสร้างห้อง

– เมื่อใครก็ตามที่คุณติดตามพูดในห้อง

– เมื่อคนที่คุณติดตามกำหนดเวลาการสนทนาในอนาคต

– เมื่อมีกำหนดการสนทนาสำหรับ Club ที่คุณติดตาม

– ถ้าคนที่คุณรู้จักส่ง Ping ให้คุณเข้าร่วมห้อง

ยิ่งคุณโต้ตอบกับสมาชิก club และการสนทนามากเท่าใด คุณก็จะได้รับการแจ้งเตือนมากขึ้นเท่านั้น ผู้ใช้หลายคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความบ้าคลั่งของการแจ้งเตือนที่สร้างความรำคาญ และแม้ว่าจะสามารถลดจำนวนการแจ้งเตือนได้ แต่มันก็ไม่มีความชัดเจนจากแพลตฟอร์ม

4. สูญเสียความพิเศษไปแล้ว

ในขณะที่ยังคงดำเนินการให้มีผู้ใช้ใหม่ตามคำเชิญเท่านั้น Clubhouse ได้เพิ่มจำนวนผู้ใช้มากเกินไปจนผู้คนสูญเสียสถานะพิเศษ ในขณะที่การสนทนายังคงเป็นแบบสดอยู่ มีครีเอเตอร์จำนวนมากที่นำเสนอข้อมูลเดียวกันในเวลาที่สะดวกกว่า เช่นทางพอดคาสต์ หรือ youtube ซึ่งทำให้ไม่มีใครกังวลว่าจะพลาดคำแนะนำดี ๆ หรือ ข้อมูลพิเศษ ๆ สุด exclusive ที่หาที่อื่นไม่ได้อีกต่อไปนั่นเองครับผม

References : https://www.vanityfair.com/news/2021/04/the-clubhouse-party-is-over
https://startuptalky.com/clubhouse-downfall/
https://sociallypowerful.com/post/the-rise-and-fall-of-clubhouse