Geek Monday EP103 : The You-turn กับเรื่องราวการ Pivot ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกธุรกิจของ Youtube

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะละทิ้งวิสัยทัศน์เริ่มต้น และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงพร้อมที่จะเสี่ยงต่อธุรกิจทั้งหมดของตน นี่เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในโลกธุรกิจ

แต่ใหากคุณไปดูในความเป็นจริง ธุรกิจชั้นนำของโลกส่วนใหญ่มีจุด Pivot หรือ จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของธุรกิจที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ ซึ่งหลังจากนั้นความสำเร็จของพวกเขาก็พุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว อย่าง Case Study ที่เกิดขึ้นกับ Youtube

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3i96JXq

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/JdiUSCAThTw

References :
https://www.linkedin.com/pulse/you-turn-youtubes-inglorious-pivot-story-sreya-mahipala/
https://www.feedough.com/youtube-history-business-strategy/
https://www.inc.com/kelly-main/the-most-successful-pivot-in-history-built-a-500-billion-business-in-just-1-year.html
https://wersm.com/youtube-was-created-to-be-a-video-dating-website/
https://contextisking.com/2021/06/12/youtube-is-worth-500-billion/

คนเก่งที่สุด vs คนไว้ใจได้ที่สุด กับการแต่งตั้ง CTO คนใหม่ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook

เป็นเรื่องจริงที่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อยิ่งขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งระดับสูง ๆ ทั้งในองค์กรเอกชน รัฐ หรือ แม้กระทั่งข้าราชการก็ตามที คนที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้มีอำนาจมากที่สุด มักจะได้รับตำแหน่งดี ๆ ในองค์กรอยู่เสมอ

แน่นอนว่าความเก่งมันต้องมีอยู่แล้วเพื่อที่ให้ได้รับโอกาสเหล่านี้ แต่มันไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องมีความเก่งกาจที่สุด เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความไว้วางใจต่างหาก

เฉกเช่นเดียวกับเคสที่เกิดขึ้นกับ Facebook เมื่อ Mark Zuckerberg ได้นำคนที่เขาไว้ใจที่สุดคนหนึ่งอย่าง Andrew ‘Boz’ Bosworth อดีตผู้ช่วยสอนในคลาสปัญญาประดิษฐ์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ขึ้นมารับตำแหน่งใหญ่อย่าง Chief Technology Officer (CTO)

เมื่อ Facebook ถูกถล่มยับจากปัญหา Fake News

แม้จะพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวมาหลายปี แต่ก็ต้องบอกว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะแก้ไข และไม่ใช่เพียงแค่ Fake News ที่กำลังเป็นปัญหา แต่ยังรวมถึงปัญหาของแพล็ตฟอร์มอย่าง Instagram ที่กำลังส่งผลต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นเป็นจำนวนมากอีกด้วย

Instagram ที่กำลังส่งผลต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นทั่วโลก (CR:CNBC)
Instagram ที่กำลังส่งผลต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นทั่วโลก (CR:CNBC)

รายงานบางฉบับระบุว่าพนักงานและผู้บริหารของ Facebook ทราบปัญหาเหล่านี้แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยทางฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐก็ได้ให้คำมั่นกับประชาชนที่จะซักถามผู้บริหารจาก Facebook และบริษัท Big Tech อื่นๆ เกี่ยวกับผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อวัยรุ่น หรือ ปัญหาข่าวปลอมที่กำลังแพร่กระจายอย่างหนักในแพล็ตฟอร์ม

มันเป็นปัญหาที่ถาโถมเข้าใส่ Facebook โดยตรง และคนที่รับผิดชอบหลัก ที่ต้องลาจากไปก็คือ Mike Schroepfer อดีต CTO ของบริษัทที่ดำรงตำแหน่งมานานกว่า 8 ปี

Mark Zuckerberg ต้องการคนไว้ใจที่สุดเพื่อสะสางปัญหาที่มีความซับซ้อน

การเข้ามารับตำแหน่งของ Bosworth มันมีความชัดเจนว่า Mark Zuckerberg ต้องการหันไปพึ่งคนที่เขาไว้ใจได้มากที่สุด ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดอีกต่อไป

Bosworth เข้ามาร่วมงานกับ Facebook ในปี 2006 เขามีส่วนช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์หลัก และมีชื่อเสียงเรื่องความตรงไปตรงมากับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา และสิ่งสำคัญก็คือ เขามักจะออกมาปกป้องบริษัทจากประเด็นปัญหาต่าง ๆ เสมอ เรียกได้ว่าพร้อมลุยเพื่อกู้ชื่อเสียงของ Facebook และ Mark Zuckerberg ในทุก ๆ เรื่องที่เป็นปัญหา

แต่ถามว่าเขาเป็นคนเก่งที่สุดหรือไม่ คงจะไม่ใช่เพราะ Facebook มีพนักงานระดับอัจฉริยะมากมายเต็มไปหมดที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท แน่นอนว่าเขาเป็นคนเล่นการเมืองเก่ง อดีตพนักงานคนหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อ ได้เปิดเผยข้อมูลออกมาว่า “Bosworth คิดว่าเขาเป็นอัจฉริยะ แต่เขาอาจจะแค่โชคดีในอาชีพการงานที่ Facebook เพียงเท่านั้น”

Bosworth ได้เจอกับ Mark Zuckerberg ครั้งแรกที่ฮาร์วาร์ด โดยเป็นผู้ช่วยสอนในชั้นเรียนคลาสปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งหลังจากที่ Zuckerberg ได้ก่อตั้ง Facebook ในปี 2004 Bosworth ก็เข้าร่วมงานกับบริษัทในเดือนมกราคมปี 2006 โดยเป็นหนึ่งในวิศวกรซอฟต์แวร์รายแรก ๆ ของบริษัท

ในเดือนสิงหาคมปี 2017 Facebook ได้ประกาศว่า Bosworth จะเข้ามาดูแลในผลิตภัณฑ์ด้านฮาร์ดแวร์ของบริษัท

แม้ว่า Bosworth จะไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานด้านฮาร์ดแวร์มาเลยก็ตามที แต่ Zuckerberg ก็ดูเหมือนว่าจะเชื่อมั่นในเพื่อนคนนี้ของเขาเป็นอย่างมาก โดยให้ดูแลแผนก Virtual Reailty ของ Oculus ที่ Facebook เข้าซื้อกิจการในปี 2014 ด้วยมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์

โดย Oculus เปิดตัวชุดหูฟังสำหรับผู้บริโภคตัวแรกคือ Oculus Rift ซึ่งก็ดูเหมือนจะยังไม่ประสบความสำเร็จในตลาดนี้แต่อย่างใด

Oculus Rift ที่ดูจะยังไม่ปังเท่าที่ควร (CR:Ars Technica)
Oculus Rift ที่ดูจะยังไม่ปังเท่าที่ควร (CR:Ars Technica)

โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา Bosworth ได้เข้ามาจัดระเบียบและปรับหน่วยงานด้านฮาร์ดแวร์ของ Facebook ซึ่งปัจจุบันถูกเรียกว่า Facebook Reality Labs

ก็ต้องเรียกได้ว่าเป็นภาระที่หนักอึ้งเลยทีเดียวสำหรับ Bosworth ที่ขึ้นดำรงตำแหน่ง CTO ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดด้านเทคโนโลยีของ Facebook

ปัญหาที่ถาโถมเข้ามามากมาย และดูว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ และยังมีความซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่องทั้งเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือ การที่ต้องร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในบางประเด็นที่อ่อนไหว

ซึ่งดูเหมือนว่าปัญหาที่มีความซับซ้อนเหล่านี้ คนที่เก่งที่สุดอาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะตอนนี้ Zuckerberg ต้องการคนที่ไว้ใจได้ที่สุด เพื่อมาสะสางปัญหาเหล่านี้นั่นเองครับผม

แล้วคุณล่ะคิดอย่างไร หากคุณเป็นผู้นำระดับสูง และมีอำนาจสูงสุดขององค์กร คุณจะเลือกคนที่ไว้ใจได้มากที่สุด หรือ คนที่เก่งที่สุด มาทำงานใหญ่ ๆ ให้กับคุณ?

References : https://www.cnbc.com/2021/09/23/what-mark-zuckerberg-gets-with-new-cto-andrew-boz-bosworth.html
https://www.wsj.com/articles/the-facebook-files-11631713039
https://www.wsj.com/articles/facebook-knows-instagram-is-toxic-for-teen-girls-company-documents-show-11631620739
https://www.buzzfeednews.com/article/ryanmac/growth-at-any-cost-top-facebook-executive-defended-data
https://www.businessinsider.com/facebook-executive-andrew-bosworth-tips-maximizing-skills-personal-api-2020-5

Geek Daily EP92 : Paypal กับกลยุทธ์ Super App สู่การเป็นเครื่องมือทางการเงินแบบ All in one ของชาวอเมริกัน

PayPal ได้พูดถึงแผน “Super App” มาเป็นเวลาระยะหนึ่งแล้ว โดยเพิ่งบอกกับนักลงทุนว่าแอปกระเป๋าเงินดิจิทัลและแอปชำระเงินที่กำลังจะออกมา โดยเวอร์ชันแรกของแอปดังกล่าวกำลังจะได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

โดยเป็นการนำเสนอเครื่องมือทางการเงินที่ผสมผสานกัน เช่น การฝากเงินโดยตรง การจ่ายบิล กระเป๋าเงินดิจิทัล การชำระเงินแบบ peer-to-peer เครื่องมือการช็อปปิ้ง การซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล และอื่นๆ โดยบริษัทยังประกาศความร่วมมือกับ Synchrony Bank สำหรับบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่ถูกเรียกว่า PayPal Savings

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3zzBr1z

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/8U7npQpzhP0

Credit Image : https://techcrunch.com/

Sex Creator & Onlyfan อีกหนึ่งอาชีพอิสระ ที่ถูกโยนภาระจาก Platform

ต้องบอกว่ากลายเป็นข่าวดังเลยทีเดียวนะครับสำหรับการบุกจับ Sex Creator ชื่อดังในแพล็ตฟอร์มยอดฮิตอย่าง Onlyfan ที่ใช้ฉายาในวงการว่า ‘น้องไข่เน่า’ ในข้อหาทำผิดกฏหมายพรบ.คอมพิวเตอร์ ผลิตและนำสื่อลามกอนาจารให้คนอื่นเข้าถึงได้

แน่นอนว่า Onlyfan เป็นอีกแพล็ตฟอร์มหนึ่งที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแพล็ตฟอร์มที่น่าจับตามอง และสามารถทำรายได้ให้กับเหล่า Creator มากมาย

ด้วยการโฟกัสที่คอนเทนต์ ที่มีเนื้อหา 18+ และใช้โมเดลธุรกิจแบบ Subscription Model ที่เป็น Model ยอดฮิตของเหล่า Startup ในยุคปัจจุบัน ทำให้สามารถระดมทุนได้มากมายมหาศาล

และข่าวการจับกุมน้องไข่เน่าในครั้งนี้ สร้างประเด็นถกเถียงขึ้นในสังคมอย่างรุนแรง ทั้งฝั่งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ในเรื่อง Sex Creator ที่เป็นอีกหนึ่งอาชีพอิสระ แต่ดูเหมือนจะไม่สามารถผ่านกรอบด้านศีลธรรม แนวคิดแบบดั้งเดิมของคนไทยได้

แต่วันนี้ จากข่าวที่ปรากฏขึ้น ผมจะมาชวนวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจอีกแง่มุมนึง

คำว่าอาชีพอิสระ ที่ถูกโยนภาระจาก Platform

เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกัน สำหรับเรื่องนี้ จากการเกิดขึ้นมากมายของ Sharing Economy หรือ Gig Economy ที่ได้อาศัยช่องโหว่ของกฏหมายที่ตามไม่ทันโลกของประเทศต่าง ๆ แจ้งเกิดแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ได้มากมาย

ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นอย่าง Uber ที่ปฏิวัติระบบขนส่งใหม่ หรือ Airbnb ใครจะคิดว่าผู้คนจะเปิดรับคนแปลกหน้าให้มาพักอาศัยในบ้านได้ จนมาถึง Onlyfan แพล็ตฟอร์มแบ่งปันเนื้อหา 18+

มุมหนึ่งมันทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล่า Rider ที่สามารถทำรายได้อย่างมหาศาลผ่านแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ หรือ Host ที่ปล่อยที่พักอาศัยให้กับคนทั่วไปที่ต้องการหาที่พักราคาย่อมเยาว์ หรือ แม้กระทั่งมีการทำเป็นธุรกิจจริง ๆ จัง ๆ ใน Airbnb เลยก็ตาม

ปัญหาที่ตามมาน่าสนใจมาก ๆ เนื่องจากอาชีพเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นอาชีพอิสระ และ สิ่งที่แพล็ตฟอร์มทำก็ไม่ได้ถูกกฏหมาย 100% ในหลาย ๆ ประเทศ แม้กระทั่งในเคสของ Onlyfan ก็คิดว่าน่าจะมีปัญหาในหลาย ๆ ประเทศเหมือนที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเช่นเดียวกัน

แพล็ตฟอร์มอาศัยความได้เปรียบ โดยถีบกลุ่มคนเหล่านี้ ให้เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้น (ถึงรับผิดชอบก็น้อยมาก ๆ ) ดั่งที่ได้เคยเกิดปัญหาในทุก ๆ แพล็ตฟอร์ม

ทั้งเรื่อง Rider ที่ไม่ได้ลงทะเบียนให้มันถูกกฏหมาย และ จ่ายภาษีให้มันถูกต้องจริง ๆ เหล่า Host ที่อาศัยช่องโหว่ ทำให้คอนโดหรืออพาร์ทเมนต์ให้กลายเป็นโรงแรมย่อม ๆ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับผู้ร่วมอาศัยคนอื่น ๆ ที่ซื้ออสังหาฯ เพื่อใช้ในการอยู่อาศัย

เฉกเช่นเดียวกับ น้องไข่เน่า ที่กำลังโดนกฏหมายเล่นงาน แน่นอนว่าแพล็ตฟอร์มก็ใช้ช่องโหว่ของกฏหมายเหล่านี้เช่นเดียวกัน มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ ผลักภาระให้ Creator โดยให้ทำเป็นอาชีพอิสระ ไม่มีอะไรคุ้มครองจากบริษัท ซึ่งแทบไม่ต้องมีความรับผิดชอบใด ๆ หาก creator เหล่านี้ไปทำผิดกฏหมาย

ส่วนตัวบางครั้งผมก็มองว่าธุรกิจแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ ไม่ได้สร้างนวัตกรรมอะไรที่ล้ำเลิศ แต่อย่างใดเลย แต่พวกเขาอาศัยช่องโหว่บางอย่างในเรื่องกฏหมายที่ยังตามไม่ทันโลกที่เปลี่ยนไป แล้วอาศัยช่องโหว่เหล่านี้เพื่อทำเงินได้อย่างมหาศาล โดยอาศัยคำว่า ‘อาชีพอิสระ’ อย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับผม

ส่องกลยุทธ์ ยานแม่ SCBX กับการแหกกฏเดิม ๆ ของธนาคารเพื่อมุ่งหน้าสู่ Regional Company

ข่าวร้อนแรงที่สุดที่มีการประกาศมาเมื่อวานคงจะหนีไม่พ้น การเปิดตัว SCBX ที่ถูกเรียกว่า ‘ยานแม่’ ที่ต้องเรียกได้ว่าเป็นการปรับยกเครื่องโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อลุยธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว

เรียกได้ว่าแตกย่อย เพื่อความคล่องตัว และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดเรื่องกฏระเบียบของการเป็นธนาคาร เพื่อเดินหน้าสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริงสำหรับ SCBX ที่มีการกำเนิดของบริษัทร่วมทุนที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็น AISCB , Alpha X , Auto X , Card X และอีกหลากหลายบริษัทตามที่สื่อต่างๆ ได้เสนอข่าวไป

ผมจะมาชวนวิเคราะห์สิ่งที่น่าสนใจจากการปรับตัวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการเซอร์ไพรส์ ที่สั่นสะเทือนแวดวงธุรกิจไทยเป็นอย่างมาก

SCB เดิมที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง?

เป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับเหล่าสาขาของธนาคาร หรือพนักงานที่อยู่ในยุคเก่า ที่ต้องผลัดใบก้าวเข้าสู่ยุคใหม่อย่างเต็มตัวของ SCB นะครับ

แน่นอนว่า SCB ได้ดำเนินการลดจำนวนสาขาไปเป็นจำนวนมากมาซักระยะหนึ่งแล้ว เอาแค่สาขาที่ใกล้บ้านผม จาก 5 สาขาลดเหลือ 1 สาขาเท่านั้น มันเป็นเทรนด์ที่ชัดเจนมากว่า การทำธุรกรรมในสาขาแบบเดิม ๆ จะลดน้อยลงไปอีกมาก ๆ ในอนาคต

สอดรับกับเทรนด์ผู้บริโภค ที่เรียกได้ว่า ปรับเปลี่ยนกันแบบต้องบังคับปรับกันเลยทีเดียว หลังจากการระบาดของ COVID-19 ที่มีการปรับตัวไปสศู่การใช้ทำธุรกรรมผ่านแอป หรือ สังคมไร้เงินสด

ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว แม้กระทั่งคนแก่คนเฒ่า ผมก็เชื่อว่าส่วนใหญ่ก็สามารถปรับตัวกันได้แล้วเช่นกัน คงเหลือคนจำนวนกลุ่มไม่มากนัก ที่ยังยึดติดกับการทำธุรกรรมผ่านธนาคารในรูปแบบเดิม ๆ

ซึ่งในอนาคตอันใกล้ เราคงเห็นพนักงานตามสาขา ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ เหลือไว้เพียงบางแห่งเท่านั้น โดยเฉพาะอาจจะเป็นในห้างสรรพสินค้า เพื่อไว้สำหรับความสะดวกให้กับคนที่มาทำกิจกรรมต่างๆ ในห้าง

เมื่อแพล็ตฟอร์มจีน โดนเล่นงานจากรัฐ

เอาจริง ๆ การปรับตัวครั้งใหญ่ของระบบธนาคารไทย น่าจะเกิดจากการเล็งเห็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ที่บริการทางการเงินของบริษัทเทคโนโลยีนั้น รุกล้ำเข้ามาในธุรกิจของธนาคารดั้งเดิมจนยึดส่วนแบ่งไปได้มากมาย

ธนาคารในประเทศเราต่าง transform ครั้งใหญ่เลยก็ว่าได้ โดยเริ่มจากการโอนเงินแบบไม่เสียค่าธรรมเนียม การใช้ พร้อมเพย์  หรือ การลงทุนครั้งใหญ่ในการปฏิวัติแอปบนมือถือของหลายๆ ธนาคาร ที่ตอนนี้เรียกได้ว่าธุรกรรมเกือบทุกอย่าง สามารถทำได้เพียงแค่ปลายนิ้วผ่านแอป

แต่ดูเหมือนศัตรูที่น่ากลัวอย่าง ซุปเปอร์แอป ของจีน จะถูกคลายพิษสงลงไป เนื่องจากการเข้ามาควบคุมของรัฐบาล ที่เรียกได้ว่า เดินหน้าจัดการอย่างจริงจัง ทำให้ตอนนี้คงไม่มีอารมณ์มาบุกต่างประเทศมากซักเท่าไหร่ คงขอแค่เอาตัวรอดในประเทศตัวเองให้ได้ก่อน

ซุปเปอร์แอปจีน ที่โดนเล่นงานอย่างหนักจากรัฐ (CR:The Republic)
ซุปเปอร์แอปจีน ที่โดนเล่นงานอย่างหนักจากรัฐ (CR:The Republic)

แต่ถึงแม้จะบุกมาจริง ๆ มันก็น่าสนใจนะครับ เพราะ แอปจากจีนนับรายได้ที่จะสามารถบุกต่างประเทศได้ จะมีให้เห็นก็แค่ TikTok เท่านั้นที่ดูเป็น Global Company รุกตลาดโลกได้สำเร็จ

ส่วนแอปอื่น ๆ พอเจอคู่แข่งในภูมิภาคต่าง ๆ ก็ดูเหมือนจะล้มไม่เป็นท่าเสียมากกว่า ตัวอย่างเห็นได้ชัด WeChat x Line หรือ แม้กระทั่ง Lazada เองที่กำลังเพลี่ยงพล้ำให้กับ Shopee อยู่ในขณะนี้

การมุ่งหน้าสู่ Regional Company

ส่วนนี้ผมค่อนข้างตื่นเต้นมาก ๆ กับธุรกิจธนาคารของไทย ผมคิดว่าไม่เป็นสองรองใครอย่างแน่นอน ในภูมิภาคเราความล้ำของเทคโนโลยีที่ปล่อยออกมา เรียกได้ว่าแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน ทุกธนาคารต่างสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ ออกมาเพื่อตอบรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ซึ่งผมคิดว่า นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยกับแวดวงธนาคารนั้น ก็ไม่เป็นสองรองใครในภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน

การปรับตัวครั้งนี้ แน่นอนว่า เกิดจากการถูกรุกล้ำเข้ามาในธุรกิจ จากเหล่าแพล็ตฟอร์มยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีใน Region ไม่ว่าจะเป็น Grab , Shopee , … ที่ดูเหมือนต่างมุ่งหน้ามาลุยในธุรกิจทางด้านการเงินเหมือน ๆ กัน

คู่แข่งตัวจริงน่าจะกลายเป็น Super App ภายใน Region (CR: Tech in Asia)
คู่แข่งตัวจริงน่าจะกลายเป็น Super App ภายใน Region (CR: Tech in Asia)

ซึ่งหากปล่อยให้เหล่าแพล็ตฟอร์มพวกนี้กินรวบ คงไม่เป็นเรื่องดีแน่นอน ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ครั้งนี้ของ SCBX นั้น ก็คงไม่มองแค่ตลาดในประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะหากรอ จนถูกขย้ำในบ้านเมื่อไหร่ ก็ตายสถานเดียวเหมือนในหลาย ๆ ธุรกิจ

ด้วยความพร้อมทั้งเงินทุน และ อาวุธที่สำคัญอย่างทรัพยากรมนุษย์ที่ได้ดึงดูดคนเก่ง ๆ ไปเป็นจำนวนมากในธุรกิจธนาคารไทย (ตัวอย่างสาย Tech ที่ตอนนี้ดึงกันวุ่นไปหมด และให้เงินสูงที่สุดด้วย)

ซึ่งผมก็คิดว่า ถึงเวลาที่เราก็ต้องบุกลุยต่างประเทศเหมือนกันเพื่อเป็นผู้นำใน Region ให้ได้ เพราะไม่งั้น หากเหล่าแพล็ตฟอร์มได้ข้อมูลไปจำนวนมหาศาล จากฐานผู้ใช้ของพวกเขาที่มีอยู่ทั่ว Region ก็จะทำให้พวกเขาจะได้เปรียบเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะทางด้านการเปล่อยสินเชื่อที่เปรียบเสมือนไข่ในหินของทุก ๆ ธนาคารนั่นเองครับผม

Credit Image : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/663818