Blood Oil ตอนที่ 3 : National Reform

การเปลี่ยนผ่านของราชวงศ์อัลซาอุดทุกครั้งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจที่เกิดขึ้น แต่ในครั้งนี้หลังจากการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ซัลมาน มันได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างของอาณาจักรซาอุดิอาระเบียแบบที่ไม่เคยมีใครคาดคิด

และแน่นอนแม้ฐานะกษัตริย์จะเป็นของซัลมานผู้พ่อ แต่คนที่ออกมาจัดการทุกอย่าง ไม่ใช่ใครที่ไหน เพราะเขาคือ โมฮัมเหม็ดลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของซัลมานนั่นเอง

สิ่งแรกที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนก็คือเรื่องนโยบายด้านการทหาร เหล่านายพลของซาอุดิอาระเบียนั้นบริหารกองกำลังของซาอุฯมานานหลายทศวรรษ และมีความเชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่ของพวกเขาจะเหมือนคนก่อน ๆ ที่ผ่านมา

แต่เดิมซาอุฯ นั้นถือเป็นมิตรแท้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน เรื่องใดที่เกี่ยวกับนโยบายด้านการกลาโหมนั้น จะมีการพิจารณาอย่างจริงจัง และจะมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น โดยต้องรอทางวอชิงตัน ดีซี ว่าจะตัดสินใจทำอย่างไร

แต่เมื่อโมฮัมเหม็ดที่ขณะนั้นมีอายุ 29 ปี และมีประสบการณ์เพียงแค่ 8 สัปดาห์ในการทำงานกับกองทัพซาอุดิอาระเบียในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ ได้นั่งที่หัวโต๊ะ และออกคำสั่งที่ทำให้เหล่านายพลทั้งหลายต่างอึ้งไปตาม ๆ กัน

“ส่ง F15s ออกไปลุยทันที”

เหล่านายพลต่างตกใจ ในห้องประชุมมีแต่ความเงียบงัน ซาอุดิอาระเบียจะไม่ใช่แค่ทำสงคราม แต่ตอนนี้พวกเขากำลังจะกลายเป็นผู้นำในการรบ

กลุ่มกบฏฮูตี ได้เดินขบวนทั่วเยเมนเพื่อนบ้านของซาอุดิอาระเบีย เพื่อยึดเมืองทีละเมือง ความหน้าด้านจากการสนับสนุนจากอิหร่าน และเมื่อมันเริ่มคลืบคลานเข้ามาใกล้ริยาด ทำให้กองกำลังโจรเหล่านี้เป็นภัยคุกคามที่อันตรายในชายแดนทางใต้ของซาอุฯ

คำสั่งดังกล่าวมันทำให้เหล่านายพลและกระทรวงการต่างประเทศของซาอุฯ รู้สึกประหม่าทันที แม้ว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้ซาอุดิอาระเบียควบคุมความมั่นคงของตนเองมานานหลายปี

แต่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่เคยเป็นผู้นำในการโจมตีในแนวหน้า ซึ่งจะทำให้ประชาชนตกอยู่ในอันตราย แต่มันตรงกันข้ามกับชายหนุ่มผู้ก้าวร้าวอย่างโมฮัมเหม็ดที่แม้จะไม่เคยฝึกทหารมาก่อนก็ตามที

เครื่องบินไอพ่นของซาอุดิอาระเบียเคลื่อนผ่านชายแดน โดยมีทหารจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และพันธมิตรอาหรับอื่น ๆ เข้าร่วม โดยเล็งระเบิดด้วยเลเซอร์ไปที่กลุ่มกบฏฮูตีทันที แต่ปัญหามันก็เกิดขึ้น เพราะแม้ว่าซาอุดิอาระเบียจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์ไฮเทค แค่ไหนก็ตาม แต่พวกเขาก็ไม่มีความเชี่ยวชาญที่จะใช้มัน

โมฮัมเหม็ดทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังการโจมตีครั้งแรก รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้แจกจ่ายภาพถ่ายของเขาด้วยสีหน้าแน่วแน่ ศึกษาแผนที่และปรึกษากับเหล่านายพลผู้นำทหาร สงครามครั้งนี้ได้ตอกย้ำว่าโมฮัมเหม็ดเป็นผู้นำแบบใหม่ เขาจะไม่ทนต่อการยั่วยุใด ๆ อีกต่อไป

โมฮัมเหม็ดที่นำพาซาอุฯยุคใหม่ที่ไม่ทนต่อการยั่วยุใด ๆ อีกต่อไป
โมฮัมเหม็ดที่นำพาซาอุฯยุคใหม่ที่ไม่ทนต่อการยั่วยุใด ๆ อีกต่อไป (CR:slow-journalism)

และสิ่งที่น่าสนใจคือ ทางสหรัฐนั้นแทบจะไม่เคยรู้จักโมฮัมเหม็ดมาก่อน และตกใจกับยุทธศาสตร์ใหม่ของซาอุดิอาระเบียที่นำโดยเขา

ทางสหรัฐเองนั้นไม่ได้มีข้อมูลของโมฮัมเหม็ดมากนัก เพราะเขาไม่เหมือนราชวงศ์ซาอุดิอาระเบียคนอื่นๆ เพราะเขาได้เติบโตมาที่บ้าน ไม่ได้ไปเรียนต่างประเทศเหมือนพี่ชายคนอื่น ๆ หรือเหล่าเครือญาติคนอื่นๆ ที่มักจะไปเรียนที่มหาลัยชื่อดังทั้งในอเมริกาและอังกฤษ

สาเหตุที่สำคัญอย่างนึงก็คือ การที่เขาต้องเสียพี่ชายของเขาอย่างฟาห์ด ที่เป็นลูกชายคนโตของกษัตริย์ซัลมาน เขาเป็นนักธุรกิจและเจ้าของม้าแข่งชื่อดังก้องโลก แต่มาเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคหัวใจ

และพี่ชายอีกคนอย่างอาเหม็ด ก็ได้เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวเช่นเดียวกันในวัยเพียงแค่สี่สิบสามเท่านั้น รวมถึงเจ้าชายอีกคนซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับโมฮัมเหม็ดก็เสียชีวิตในอุบัติเหตุทางรถยนต์ในริยาด

มันได้กลายเป็นโศกนาฏกรรมที่แทบจะทนไม่ได้สำหรับกษัตริย์ซัลมาน และในตอนนั้นโมฮัมเหม็ดก็อยู่เคียงข้างพ่อของเขามาโดยตลอด และทำให้โมฮัมเหม็ดนั้นต่างจากคนอื่นๆ ที่สนใจที่จะเรียนในประเทศ โดยเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย King Saud

ซึ่งซัลมานมีเหตุผลอีกประการในการที่รั้งลูกชายคนโปรดของเขาไว้ที่ริยาด หลังจากได้เห็นลูกชายคนโตของเขาได้สูญเสียอัตลักษณ์ของชาวซาอุดิอาระเบียหลังจากที่ไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ

ตัวโมฮัมเหม็ดเองก็มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมามากมายด้วยเช่นกัน และอีกหนึ่งความทะเยอทะยานของเขามีก็คือการมุ้งเน้นไปที่เศรษฐกิจของซาอุดิอาระเบียในโมเดลใหม่

เขามีเพื่อนที่เป็นที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และกฏหมายอยู่รอบตัวมากมาย เขาใช้เวลาทุ่มเทวางแผนสิ่งที่จะเป็นแรงผลักดันสำหรับวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงของซาอุดิอาระเบียในปี 2030

ต้องบอกว่าก่อนหน้านี้ก็มีความพยายามที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจให้เลิกพึ่งพาน้ำมันหลายต่อหลายครั้ง มีหลากหลายแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ แต่ในบริบทของประวัติศาสตร์ของประเทศคนส่วนใหญ่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และมองเป็นการปฏิวัติ ต้องบอกว่าซาอุดิอาระเบียเกลียดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างยิ่ง

โดยในการทดลองเศรษฐกิจโมเดลใหม่นี้ โมฮัมเหม็ดได้ตัดสินใจที่จะเริ่มต้นสร้างสถาบันใหม่ของซาอุดิอาระเบีย เขาเรียกมันว่ามูลนิธิ Mohammed bin Salman bin Abdulaziz หรือ MiSK และเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหมือนในอดีต เขาจึงต้องหาที่ปรึกษาชั้นนำจากตะวันตกมาช่วยเหลือ

ต้องบอกว่าซาอุดิอาระเบียนั้นเป็นหนึ่งในประเทศที่ขาดแคลนน้ำมากที่สุดในโลก รวมถึงประชาการของอาณาจักรก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และ Trend ที่ชัดเจนของโลกกำลังเดินทางไปสู่จุดที่ใช้น้ำมันลดน้อยลงเรื่อย ๆ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อราคาน้ำมันลดลง? นั่นเป็นสาเหตุที่ซาอุดิอาระเบียจำเป็นต้องกระจายการลงทุนในพลังานแสงอาทิตย์ พลังงานนิวเคลียร์ และเริ่มเคลื่อนย้ายความมั่งคั่งจากน้ำมันบางส่วนไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อให้มีแหล่งรายได้ที่หลากหลาย

ต้องบอกว่าหลังจากที่ซัลมานขึ้นครองบัลลังก์ โมฮัมเหม็ดก็กลายเป็นจุดศูนย์กลางของความคิดทั้งหมดในการปฏิรูปประเทศ

วันรุ่งขึ้นหลังจากพิธีศพของกษัตริย์อับดุลลาห์ โมฮัมเหม็ดได้ออกคำสั่งเพื่อให้เจ้าหน้าที่และนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงของซาอุดิอาระเบียมาประชุมกันในวันนั้นแบบทันที เขาต้องการความคิดเห็นในเรื่องการยกระดับการปกครอง ซึ่งจะมีการละทิ้งคณะกรรมการและหน่วยงานส่วนใหญ่ที่กษัตริย์อับดุลลาห์ใช้มานานหลายทศวรรษ

ภายในหกวันหลังจากที่บิดาของเขาขึ้นเป็นกษัตริย์ โมฮัมเหม็ดก็ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานของหน่วยงานใหม่ที่เรียกว่า Council of Economic and Development Affairs ซึ่งเป็นหนึ่งในสองคณะกรรมการที่ดูแลทุกอย่างในประเทศ

ภายในสองเดือนแรกเขาทำการเลือกกองทุนเพื่อการลุงทน โดยเป็นสถาบันที่จะทำให้ประเทศอยู่ในแผนการลงทุนระดับโลกและนำไปสู่การปฏิรูปหลายอย่าง หลังจากนั้นเขาก็ได้เข้ามาควบคุม Saudi Aramco ซึ่งเป็นเครื่องจักรทำเงินของประเทศ และเป็นบริษัทที่ทำกำไรและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

เข้าควบคุม Saudi Aramco บริษัทที่เป็นเครื่องจักรผลิตเงินให้ประเทศซาอุฯ
เข้าควบคุม Saudi Aramco บริษัทที่เป็นเครื่องจักรผลิตเงินให้ประเทศซาอุฯ (CR:wsj)

และแนวทางที่สำคัญอีกประการของโมฮัมเหม็ดก็คือ การว่าจ้างบริษัททำโพลล์ระหว่างประเทศเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้คนเกี่ยวกับการรับรู้ของพวกเขาที่มีต่อประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองเชิงลบใด ๆ

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะคนส่วนใหญ่มองว่า ซาอุดิอาระเบียเป็นสังคมปิด ที่มีแต่ผู้ก่อการร้าย ไม่มีโรงภาพยนตร์หรือสถานบันเทิง รวมถึงสิทธิ ที่จำกัดเป็นอย่างมากของประชากรในประเทศโดยเฉพาะผู้หญิง

โมฮัมเหม็ดได้สร้างทีมงานเพื่อมากำจัดจุดอ่อนแต่ละจุดของประเทศ ด้วยแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม มันถึงเวลาแล้วที่ซาอุดิอาระเบียจะต้องเข้าสู่สังคมโลกด้วยความเท่าเทียมกัน และเขามองว่าประเทศของเขาเองก็มีทุกสิ่งที่อย่างที่จำเป็นในการเป็นประเทศมหาอำนาจในเวทีโลกในอนาคต และมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งได้โดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันอีกต่อไปนั่นเองครับผม

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อหลังจากการขึ้นมาครองอำนาจแบบเบ็ดเสร็จของกษัตริย์ซัลมานและลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของเขาอย่างโมฮัมเหม็ด โปรดติดตามต่อในตอนหน้านะครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : Vision 2030

ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Geek Story EP76 : Canva กับการเปลี่ยนความคิดหนังสือรุ่นโรงเรียนมัธยมให้กลายเป็นธุรกิจพันล้าน

การเริ่มต้นสร้างบริษัทเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่การเริ่มต้นบริษัทด้วยการต้องแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีระดับสูงอย่าง Microsoft และ Adobe นั้น ถือว่าไม่เป็นเรื่องง่ายเลย

แต่นั่นคือสิ่งที่ Melanie Perkins นักธุรกิจสาวชาวออสเตรเลียทำเมื่อเธอสร้างผลิตภัณฑ์สำหรับการออกแบบเพื่อแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเหล่านี้

บริษัท ที่มีสำนักงานใหญ่ในซิดนีย์ กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ Perkins และผู้ร่วมก่อตั้งและคู่หมั้นของเธอ Cliff Obrecht กลายเป็นเศรษฐี โดยมีมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 900 ล้านเหรียญสหรัฐ และต้องบอกว่าเรื่องราวของ Canva นั้นน่าสนใจเพราะ มันเริ่มต้นด้วยธุรกิจรายงานประจำปีของโรงเรียนมัธยม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/39CtA9M

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/xSXltZhfraI