ทำไม Social Media ถึงทำให้เรามีความ Bias แล้วเราจะแก้ไขมันได้อย่างไร

ทุกครั้งที่เข้าสู่โลกของเครือข่าย Social Media โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ของสังคมอยู่ในภาวะที่มีความแตกแยกสูงอย่างที่เราได้เห็นตัวอย่างในเรื่องของการเมืองไทยในปัจจุบัน มันได้กลายเป็นสนามรบท่ามกลางการแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่มันเกี่ยวอะไรกับ Social Media ที่ทำให้ผู้คนแตกขั้ว สร้างความขัดแย้งได้ถึงเพียงนี้?

เพื่อหาคำตอบนักวิจัยอย่าง Dr. Damon Centola ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Pennsylvania ผู้อำนวนการของศูนย์ Network Dynamics Group ได้ทำการทดลองทาง Social Media ซึ่งได้มีการแบ่งกลุ่มคนที่มีการสนับสนุนพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แยกกัน โดยที่มีสมาชิกเป็นแฟน ๆ ของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในกลุ่มนั้น 

และได้ทำการเลือกประเด็นที่แบ่งขั้วมากที่สุดที่ทางทีมงานนักจัยคิดได้ ได้แก่ หัวข้อในเรื่องของการอพยพ การควบคุมอาวุธปืน และการว่างงาน และทำการถามผู้เข้าร่วมแต่ละคนว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับปัญหาเหล่านั้น

จากนั้นให้คนอื่น ๆ จากแต่ละกลุ่มได้พูดคุยกัน และทบทวนความคิดเห็นของพวกเขา หลังจากการอภิปราย ถกเถียง และการแก้ไขหลายรอบ ทางทีมนักวิจัยได้ประเมินมุมมองของแต่ละกลุ่มอีกครั้ง

สิ่งที่น่าแปลกใจ คือการสนทนาดังกล่าว ไม่ได้ทำให้คนแบ่งขั้วมากขึ้น แต่กลับน้อยลง หลังจากโต้ตอบใน Social Network กับเพื่อนร่วมงานที่คิดเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตก็ได้รับความคิดเห็นที่ปานกลาง ไม่ได้สุดโต่งแต่อย่างใด แม้จะเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ตามที

ทุกกลุ่มมีการถกเถียงกันอย่างอิสระ ซึ่งนำไปสู่ความคิดเห็นที่ ใกล้เคียงกับความคิดเห็นในด้าน “ตรงกันข้าม” ของกลุ่มการเมืองอีกฝั่งมากที่สุด

ทีมนักวิจัยรู้สึกประหลาดใจกับผลการทดลองของมัน เทคโนโลยีช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้คนได้มากขึ้น โดยหักล้างข้อสันนิษฐานหลายประการเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

แม้แต่ทีมงานของ Dr. Damon Centola ที่ Network Dynamics Group ก็ยังแปลกใจกับผลที่เกิดขึ้น : เหตุใดการทดลองทาง Social Media ครั้งนี้จึงพบสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่เขาได้เห็นในโลก Social Media

คำตอบอยู่ในสิ่งที่ Social Media ได้สร้างคนกลุ่มใหม่ขึ้นมา ซึ่งนั่นก็คือ กลุ่ม Influencers (ผู้มีอิทธิพลทางความคิด)

ต้องบอกว่าตอนนี้คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจมากพอสมควรแล้วว่า Influencer คืออะไร ซึ่ง คำ ๆ นี้ สร้างความร่ำรวยให้กับคนหนุ่มสาวที่มีไลฟ์สไตล์ และได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่าย Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Instagram, TikTok หรือ YouTube 

แต่คำนี้มีความหมายทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะเครือข่ายทางสังคมที่เฉพาะเจาะจงมาก โดยเฉพาะใน Social Media คนกลุ่มนี้มักจะมีรูปแบบความสัมพันธ์กับแฟน ๆ ของเขาแบบรวมศูนย์

คนจำนวนน้อยหรืออาจเป็นเพียงคนเดียวที่กลายเป็น “ศูนย์กลาง” ของเครือข่ายเชื่อมต่อกับคนอื่น ๆ มากมายในที่อยู่รอบนอก 

เครือข่ายสังคมออนไลน์จำนวนมากที่อยู่รอบนอกมีการเชื่อมต่อกันเพียงเล็กน้อย ในขณะที่มีเพียงไม่กี่คนที่ถูกเรียกว่า Influencers (ผู้มีอิทธิพลทางความคิด) ที่กลายเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับเกือบทุกคน 

ซึ่งสิ่งนี้นี่เองที่ทำให้คนเหล่านี้อยู่ในตำแหน่งที่ทรงพลังในการสามารถใช้ “อิทธิพล” เหนือกลุ่มคนอื่น ๆ ในระดับที่มีอิทธิพลสูงกว่าคนอื่น ๆ ในเครือข่ายเป็นอย่างมาก

ในทางตรงกันข้ามเครือข่ายที่ Dr. Centola ใช้ในการศึกษาของนั้นมีลักษณะแบบเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับการรวมศูนย์ 

โดยในเครือข่ายที่เท่าเทียมกันทุกคนมี Connection เท่า ๆ กัน ดังนั้นความคิดเห็นของแต่ละคนจึงมีอิทธิพลทั่วไปทั้งเครือข่าย ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของพวกเขามากจนเกินไปนั่นเอง

คุณลักษณะสำคัญของเครือข่ายที่เท่าเทียมกันคือความคิดและความคิดเห็นใหม่ ๆ สามารถเกิดขึ้นได้จากทุกที่ในชุมชนและกระจายไปยังทุก ๆ คน 

แต่ในเครือข่ายแบบรวมศูนย์ เช่น เว็บไซต์ Social Media หลายแห่งแนวคิดจะถูกกรองผ่านหรือบางครั้งก็ถูกปิดกั้นโดยผู้มีอิทธิพลทางสังคมที่ทรงพลังกลุ่มหนึ่งเพียงเท่านั้น

ซึ่งแน่นอนว่าพลังในการเชื่อต่อถึงกันดังกล่าวนั้น มีผลทำให้สิ่งที่ยิ่งใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดทางการเมือง ข่าวปลอม หรือ เรื่องลวงโลกต่าง ๆ ซึ่งต้องบอกว่า Social Media แบบรวมศูนย์ และ Social Media แบบเท่าเทียม มีผลกระทบที่แตกต่างกันมากในเรื่องของอคติและการยอมรับความคิดใหม่

กลุ่มคนในเครือข่าย Social Media มีแนวโน้มที่จะเชื่อข่าวปลอมจาก Influencers มากกว่าคนทั่วไป
กลุ่มคนในเครือข่าย Social Media มีแนวโน้มที่จะเชื่อข่าวปลอมจาก Influencers มากกว่าคนทั่วไป

ใน Social Media แบบรวมศูนย์หากผู้มีอิทธิพลที่อยู่ตรงกลางแสดงอคติของพรรคพวกเพียงเล็กน้อยก็สามารถขยายแนวความคิดไปได้ทั่วทั้งกลุ่ม 

แต่ในเครือข่ายที่มีความเสมอภาคความคิดต่างๆจะกระจายไปตามคุณภาพของพวกเขา ไม่ใช่บุคคลที่โน้มน้าวพวกเขา เกิดการสะท้อนภูมิปัญญามากมายในเครือข่ายรอบข้างในกลุ่มคนเหล่านี้ 

เมื่อ Social Network ช่วยให้คนเหล่านั้นสามารถพูดคุยกันได้ความคิดใหม่ ๆ ที่ท้าทายอคติของกลุ่มก็สามารถถูกระงับและถูกปิดกั้นไม่ให้แพร่กระจายไปยังวงกว้างได้ เพราะผ่านการถกเถียงกันในกลุ่มเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

เพื่อดูว่าเครือข่ายที่เท่าเทียมกันอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาที่ถกเถียงประเภทอื่น ๆ อย่างไรทาง Dr. Centola ได้ทำการทดลองอีกครั้งกับผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่โดยพูดถึงความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ 

ซึ่งผลการทดลองน่าสนใจมาก เพราะมันส่งผลกระทบ เช่นเดียวกับการศึกษาในเรื่องของการแบ่งขั้วทางการเมือง ทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มที่จะถกเถียงไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ 

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์หลังการศึกษาพวกเขารายงานว่ามีความคิดเห็นที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นจากอีกฝ่าย ทั้งผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่ต่างมองว่าอีกกลุ่มมีความสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือมากกว่าเกี่ยวกับความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ แต่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการขจัดอคติ จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อมีการสร้างเครือข่ายที่มีความเท่าเทียมกัน

ปัญหาของความลำเอียงของพรรคพวกกำลังทวีความรุนแรงขึ้นบน Social Media เนื่องจากเครือข่ายออนไลน์มักถูกจัดระเบียบโดยผู้มีอิทธิพลหลักไม่กี่คน 

คุณลักษณะของโซเชียลมีเดียนี้นี่เอง ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ข้อมูลผิด ๆ และข่าวปลอมแพร่หลาย ในเครือข่ายแบบรวมศูนย์ดั่งที่เราได้เห็นกันในยุคปัจจุบัน

ผู้มีอิทธิพลที่มีความคิดเอนเอียงมีผลกระทบอย่างมากต่อชุมชนของพวกเขา ทำให้ข่าวลือเล็ก ๆ ข่าวปลอม หรือ แนวคิดอคติทางการเมือง ถูกขยายไปสู่ความเข้าใจผิดและความเชื่อผิด ๆ อย่างกว้างขวางนั่นเอง

งานวิจัยชิ้นนี้ ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก และเป็นการให้แนวคิดที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวกับเรื่อง Influencers ที่กำลังมีอิทธิพลเกินกว่าที่เราคิด ในโลกออนไลน์ในยุคปัจจุบัน

สิ่งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ตามงานวิจัยชิ้นนี้ ก็คือ การพยายามเข้าหากลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook Group หรือ บอร์ดต่าง ๆ ที่ดูมีความเท่าเทียมทางความคิด โดยพยายามที่จะรับข้อมูลจากเหล่า Influencers หรือ ผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ต่าง ๆ ให้น้อยลงไป

จะทำให้ให้ความแตกแยกต่าง ๆ ที่ถกเถียงกันนั้น เดินหน้าสู่ความเป็นกลางมากยิ่งขึ้น เมื่อได้รับข้อมูล และ ถกเถียงกับบุคคลที่มี power ไม่แตกต่างกันกับเรานั่นเอง

ต้องบอกว่าตอนนี้ทั่วโลกต้องต่อสู้กับเรื่องอคติและการแบ่งขั้วมานานแล้ว แต่ปัญหาตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ เพราะมันถือเป็นเรื่องของประชาธิปไตยในการได้รับข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน เพราะกำลังส่งผลต่อเรื่องใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกร้อน เรื่องการแบ่งขั้วทางการเมือง การเกิดแนวความคิดแบบสุดโต่ง และกำลังสร้างปัญหาให้กับโลกเรามากมายอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับผม

References : https://www.scientificamerican.com/article/why-social-media-makes-us-more-polarized-and-how-to-fix-it/
https://www.pnas.org/content/116/22/10717

Geek Monday EP67 : ทำไม Social Media ถึงทำให้เรามีความ Bias แล้วเราจะแก้ไขมันได้อย่างไร

ทุกครั้งที่เข้าสู่โลกของเครือข่าย Social Media โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ของสังคมอยู่ในภาวะที่มีความแตกแยกสูงอย่างที่เราได้เห็นตัวอย่างในเรื่องของการเมืองไทยในปัจจุบัน มันได้กลายเป็นสนามรบท่ามกลางการแบ่งพรรคแบ่งพวก 

แต่มันเกี่ยวอะไรกับ Social Media ที่ทำให้ผู้คนแตกขั้ว สร้างความขัดแย้งได้ถึงเพียงนี้?

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ 

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3pc2nAq

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3n31M29

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/kZuNPt0bUD8

References : https://www.scientificamerican.com/article/why-social-media-makes-us-more-polarized-and-how-to-fix-it/
https://www.pnas.org/content/116/22/10717

อดทนและรอคอย กับสิ่งที่ประเทศไทยควรเรียนรู้จากการเลือกตั้งของอเมริกา

ถือเป็นหนึ่งการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งสำหรับการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปีนี้ ที่ต้องเรียกได้ว่า สูสี คู่คี่ ที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์ และสุดท้ายชัยชนะก็ตกเป็นของ โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต

ต้องถือว่าเป็นประเทศต้นแบบของประชาธิปไตยแบบเต็มใบ แม้จะมีความขัดแย้งในเรื่องอุดมการณ์ทางด้านการเมืองของคนในประเทศมากมายขนาดไหน ประชาชนในประเทศก็พร้อมที่จะยอมรับผลของการตัดสินจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน

แน่นอนจากการเอาชนะแบบพลิกล็อคไปในช่วงปี 2016 นั้นของประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ฝ่ายที่พ่ายแพ้อย่าง เดโมแครต ก็รอวันเวลาที่พวกเขาพร้อมจะเอาคืน ด้วยการเตรียมสู้สุดใจในการเลือกตั้งครั้งนี้

ผลจากการส่ง ทรัมป์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2016 ด้วยนโยบายหลักที่มีพลังอย่างเหลือเชื่อ นั่นก็คือ “Make America Greate Again”

แน่นอนว่าในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาของประธานาธิบดีทรัปม์ แม้โลกเราจะวุ่นวาย ทั้งผ่านสงครามการค้า กับนานา นับประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ทรัมป์ได้ทำตามนโยบายของเขาอย่างที่เขาได้หาเสียงไว้อย่างเต็มที่

ความน่าสนใจของการเมืองอเมริกาในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาก็คือวัฏจักร ความนิยม 8 ปี ของพรรคแต่ละพรรค ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี บิล คลินตัน มา ทั้งสองพรรคนั้นต่างสลับกันขึ้นครองตำแหน่งกันคราวละ 8 ปี มาตลอด

เรียกได้ว่า เป็นการแบ่งกันบริหารประเทศคนละ 8 ปี จากพรรคการเมืองสองฝั่งได้อย่างลงตัว อาจจะเป็นเพราะ เวลา 8 ปี น่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับ ประชาชน ในการเลือกสิ่งใหม่ ๆ เพราะเบื่อกับความซ้ำซากจำเจ กับนโยบายแบบเดิม ๆ

แต่รอบนี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่ พรรคเดิมอย่างรีพับรีกัน ไม่สามารถต่ออายุการทำงานของตัวเองได้ให้ครบ 8 ปี เหมือนในประวัติศาสตร์รอบ 20 ปีหลัง เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

การออกมาใช้สิทธิ์อย่างมหาศาลของการเลือกตั้งครั้งนี้แสดงให้เห็นถึง ความอดทนของพวกเขาคงมีจำกัดแค่นี้ กับประธานาธิบดี ทรัมป์ กับความวุ่นวายในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา แม้ทรัมป์จะพยายามทำตามนโยบายของเขาในการทำให้ America Greate Again ในทุกวิถีทางที่เขาทำได้แล้วก็ตามที

ตัดกลับมาที่การเมืองของประเทศเรา สิ่งที่เราพบเจอ กับเรื่องราวตลอด 20 ปีที่ผ่านมา นั่นก็คือ การ shortcut ประเทศ ด้วยการอ้างเห็นผลต่าง ๆ นา ๆ เพื่อทำการรัฐประหารประเทศ ไม่ปล่อยให้ประชาชน สร้างนิสัย ที่จะรู้จักความอดทนและการรอคอย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะเราไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจาก สิ่งที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ทำเมื่อขึ้นครองตำแหน่งในฟากฝั่งรัฐบาล

ต้องบอกว่าเราได้พบเจอกับหลากหลายนโยบาย ของหลาย ๆ พรรคการเมืองที่ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งรัฐบาล ทั้งนโยบายที่ดี และ นโยบายที่แย่ และคนไทยเราทุกคนก็ได้รับทั้งผลประโยชน์ และ ผลกระทบทางลบกับนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ที่พรรคการเมืองต่าง ๆ คิดขึ้น

ซึ่งแน่นอนว่ามันก็เหมือนกับที่ชาวอเมริกันได้พบเจอ พวกเขาอดทน และรอคอย ให้การเลือกตั้งกลับมาอีกครั้ง เพื่อนำเสียง vote ของพวกเขามาเป็นพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ อย่างที่เราได้เห็นจากการเลือกตั้งครั้งนี้ของประเทศอเมริกา

เพราะฉะนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดของประเทศไทยในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด และเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่สุด (ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ที่ผ่านการนำเอาเสียงของ สว.ทั้ง 250 เสียงออกไปแล้ว) นั่นก็คือ การรอคอย และ อดทด และใช้พลังเสียง vote ของเราเพื่อเปลี่ยนแปลงมันนั่นเองครับผม

References Image : https://www.thestar.com/news/canada/2020/11/07/us-election-as-votes-continue-to-be-counted-the-us-election-enters-its-fifth-day-armed-protesters-in-support-of-president-donald-trump-begin-gathering-nightly-outside-offices-of-poll-workers.html