การระบาดของ COVID-19 ทำให้โลกเรากลับมามีอากาศที่บริสุทธิ์อีกครั้ง

เมื่อรัฐบาลขอให้ทุกคนอยู่บ้านหลังจากการะบาดอย่างหนักของ Coronavirus ไปทั่วโลก ทำให้โลกเรากลับมามีอากาศที่บริสุทธิ์อีกครั้ง: นักวิทยาศาสตร์กำลังบอกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจะลดลงในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ

นับตั้งแต่ผู้คนเริ่มลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น BBC รายงานว่า นิวยอร์กกำลังประสบกับการลดลงของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งส่งผลให้มลพิษทางอากาศลดลงเช่นกัน สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เช่น จีน ซึ่งแทบจะทุกอย่างได้ปิดตัวลงในช่วงการระบาดของโรค coronavirus

ในนิวยอร์กมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศระหว่างห้าถึงสิบเปอร์เซ็นต์

และการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่เชื่อมโยงกับรถยนต์ ได้ลดลงอย่างมากในช่วงครึ่งปีนับตั้งแต่ผู้คนเริ่มกลับเข้าสู่ที่พักมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังจากการระบาดของ Coronavirus ตาม ที่ BBC รายงาน

ในขณะที่นักวิจัยคาดการณ์ว่าการกักกันต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่ โลก อาจนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก แต่นั่นก็ยังห่างไกลกับสิ่งที่มนุษย์ได้ทำลงไปในช่วงหลายทศวรรษหลังที่มีการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องในทั่วทุกมุมโลก

“ ตอนนี้รัฐบาลจะต้องระมัดระวังอย่างมากเกี่ยวกับวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจของพวกเขา” นักวิจัยของมหาวิทยาลัย East Anglia Corinne Le Quéré กล่าวกับ BBC ว่า “ควรระวังที่จะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาทำลายโลก ในอัตราที่สูงลิ่ว อีกครั้ง”

ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก สำหรับเหตุการณ์การระบาดครั้งใหญ่ในครั้งนี้ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กำลังทำลายโลกเราอยู่ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา จากความหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลก

ซึ่งโลกเราก็ได้ผ่านเหตุการณ์เหล่านี้มาแล้วหลายครั้ง เมื่อธรรมชาติขาดสมดุล การขาดการใส่ใจอย่างจริงจังจากมนุษย์เราที่ปล่อยก๊าซเหล่านี้มาทำลายโลก แบบไม่คิดจะหยุดยั้งถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าจากปัญหาโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่น่าคิดเหมือนกันนะครับว่า สุดท้ายธรรมชาติอาจจะลงโทษมนุษย์เราด้วยการส่งเจ้าไวรัสนี้ มาเพื่อทำให้โลกกลับมาสมดุลอีกครั้งก็เป็นได้ครับ

References : https://futurism.com/the-byte/coronavirus-carbon-emissions-reduced https://www.bbc.com/news/science-environment-51944780