Geek Monday EP39 : Disney กับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ Boost Customer Experience

วิธีการที่นำข้อมูลไปใช้เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าแก่ลูกค้านั้น กำลังแพร่หลายไปทั่วทุกพื้นที่ของธุรกิจของ Disney เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและใช้จุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดและการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

และด้วยความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลที่น่าเกรงขามดังกล่าว Disney จึงสามารถพัฒนาวิสัยทัศน์ดิจิทัลที่ชัดเจนซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยวัฒนธรรมการวิเคราะห์และการลงทุนด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ในการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพมหาศาลของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบันเทิง Disney ได้แสดงให้เราเห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถแยกไม่ออกจากเวทมนตร์ได้อย่างไร  

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/393YFkh

ฟังผ่าน Apple Podcast :  https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/2SSHI6H

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/2HLGIL6

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/qVPLhCIwzV4

References : https://theleadershipnetwork.com/article/disney-digital-magic-big-data

NetScape Time ตอนที่ 1 : Billion Dollar Company

ช่วงทศวรรษ 1990 แม้ว่าตลาดหุ้น Wallstreet นั้นจะตอบรับบริษัทเทคโนโลยี อย่างดียิ่ง เป็นหุ้นกลุ่มที่ร้อนแรงที่สุดของตลาดในขณะนั้น แต่นักวิเคราะห์หลาย ๆ คนก็คิดว่ามันกำลังเริ่มที่จะร้อนแรงเกินไปเสียแล้ว มันกำลังจะเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ เหมือนกับหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา

วันที่ 9 สิงหาคม 1995 เป็นวันที่ หุ้นของ NetScape จะถูกนำมา IPO เปิดขายให้กับสาธารณชนเป็นครั้งแรกในตลาดหุ้น Nasdaq ของอเมริกา โดย NetScape ที่สร้างโดย Marc Andreessen และ Jim Clark ที่ร่วมกันสร้างขึ้นมาจะกลายเป็นธุรกิจพันล้านใหม่ในตลาดหุ้นในวันนั้น

สิ่งที่ NetScape ได้สร้างมาเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่เปลี่ยนทุกอย่างของโลกเราไปตลอดกาล โปรแกรม Nevigator ที่ช่วยให้ผู้คนเข้าสู่ Internet นั้นถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่ ที่ไม่มีใครเคยได้พบเจอมาก่อน

มันทำให้ผู้คนสามารถเข้าสู่โลกของ World Wide Web ได้อย่างง่ายดาย NetScape ได้ฉีกแนวธุรกิจใหม่ขึ้น เมื่อสร้างสินค้าที่เผยแพร่ไปบน Internet ไปสู่ผู้ใช้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านชั้นวางสินค้า ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 6 เดือนหลังจาก่อตั้ง มีผู้ดาวน์โหลดไปใช้งานกว่า 6 ล้านชุด

แน่นอนว่าในตอนแรก พวกเขาก็ยังไม่มี Business Model ที่ชัดเจนนัก ว่าจะทำกำไรจาก NetScape Navigator นี้ได้อย่างไร และต้องบอกว่ามันเป็นครั้งแรก ๆ ที่มีการคิด Model ปล่อยให้ใช้ฟรี แล้วค่อยมาทำเงินจากมันในภายหลัง ให้เกิดขึ้นบนโลกของเทคโนโลยีก่อนที่จะกลายเป็นเรื่องปรกติในยุคปัจจุบันนั่นเอง

แน่นอนว่ามันเป็นการพนันครั้งยิ่งใหญ่ของ Marc Andreessen และ Jim Clark สองผู้ก่อตั้ง ที่จะไม่ขายให้ผู้ใช้โดยตรงตั้งแต่ครั้งแรก แต่พวกเขามองว่ารายได้จะเข้ามาเองเมื่อผู้ใช้เหล่านั้นพอใจกับสินค้าที่พวกเขาเสนอ ซึ่งถือเป็นแนวคิดใหม่มาก ๆ ในยุคนั้น

James Barksdale หนึ่งในผู้บริหารของ NetScape ในขณะนั้น ก็ยังมองว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงเกินไป ที่จะนำเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เพราะสถานการณ์ในขณะนั้น NetScape แทบจะยังไม่สามารถสร้างกำไรจากธุรกิจได้เลยด้วยซ้ำ

3 ทีมงานคุณภาพของ NetScape  James Barksdale , Marc Andreessen , Jim Clark
3 ทีมงานคุณภาพของ NetScape James Barksdale , Marc Andreessen , Jim Clark

แต่ตัวเร่งที่สำคัญที่ทำให้ NetScape ต้องลุยเข้า IPO โดยด่วนก็คือ บริษัทอย่าง Spyglass ที่เป็นบริษัทขนาดเล็กในอิลลินอยส์ เช่นเดียวกัน และได้รับลิขสิทธิ์จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในการเผยแพร่โปรแกรม Mosaic ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดย Marc Andreessen และเพื่อร่วมงานของเขา (สมัยที่ยังศึกษาอยู่) และสามารถระดมเงินทุนได้ถึง 200 ล้านเหรียญ และกำลังจะกลายมาเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ NetScape อีกด้วย

แน่นอนว่า Spyglass เองพยายามพูดถึง NetScape ในแง่ลบ ในการขโมยความคิดมาจากหน่วยงาน National Center of Supercomputer Application (NCSA) แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในขณะนั้น ซึ่ง Marc Andreessen ผู้ร่วมก่อตั้ง NetScape เคยทำงานวิจัยอยู่ที่นั่น

และในที่สุดเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึงในเวลา 11.30 ของเช้าวันที่ 9 สิงหาคม 1995 ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะมีการเปิดตัวหุ้น NetScape นั้น ราคาหุ้นได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 1 เท่าตัว ได้เกิดบันทึกหน้าใหม่ให้กับตลาดหุ้น Wallstreet เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และนั่นเอง มันได้ทำให้ NetScape ที่ยังแทบจะไม่มี model ในการสร้างรายได้ในระยะยาว และไม่ต้องพูดถึงกำไรที่ยังแทบจะไม่มี ได้กลายเป็นบริษัทที่มูลค่าตลาดพุ่งไปสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญ ได้สำเร็จ ทำให้ Jim Clark สร้างบริษัทที่สองให้กลายเป็นบริษัทพันล้านเหรียญได้สำเร็จ และหุ้นที่เขาถืออยู่ในมือ ก็กำลังมีมูลค่าสูงถึง 663 ล้านเหรียญด้วยเช่นเดียวกัน

ซึ่งการพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วของหุ้น NetScape นี่เอง เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของตลาดหุ้น Wallstreet และสร้างความประทับใจให้กับสื่อมวลชนเป็นอย่างยิ่ง มีการพาดหัวในหนังสือพิมพ์ Newyorktime ว่า “ด้วยกระแสของ internet แม้จะไม่มีกำไร หุ้นของบริษัทใหม่ก็เป็นที่ต้องการของ Wallstreet”

และเพียงแค่วันแรกของการเปิดตลาด IPO ของ NetScape นั้น เมื่อสิ้นสุดวัน ราคาหุ้นของพวกเขาก็ได้ปรับตัวขึ้นไปสูงถึง 58.25 เหรียญ และนี่คือจุดเริ่มต้นครั้งยิ่งใหญ่ของพวกเขา ที่ทำให้เหล่าพนักงาน รวมถึงผู้ก่อตั้งกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านไปได้ในชั่วข้ามคืนในที่สุดนั่นเองครับ

ต้องบอกว่า เรื่องราวของ NetScape นั้นถือเป็นอีกหนึ่ง Story ทางธุรกิจที่น่าสนใจ กับธุรกิจเทคโนโลยี ที่สุดท้ายต้องมาประมือกับยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไร ผมจะพาย้อนไปตั้งแต่พวกเขาเริ่มต้น ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งต้องบอกว่าเรื่องราวของ NetScape นั้น ไม่แพ้การต่อสู้ในหลาย ๆ ธุรกิจที่ผมเคยเล่าผ่าน Blog Series ชุดต่างๆ มาเลยทีเดียวครับ โปรดอย่าพลาดติดตามต่อในตอนหน้านะครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Mosaic Killer

References : https://www.britannica.com/topic/Netscape-Communications-Corp

Blog Series : Netscape Time The True Legend of Internet

ต้องบอกว่า internet นั้นถือเป็นนวัตกรรมครั้งสำคัญของโลกเรา ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์เราไปตลอดกาล ข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกที่สามารถเข้าถึงได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส

แน่นอนว่าพื้นฐานในการเข้าสู่ internet นั้นต้องใช้โปรแกรมท่องเว๊บอย่าง Web Browser ที่มีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบัน แต่การปฏิวัติครั้งสำคัญจน เราสามารถท่องโลก internet ได้อย่างง่ายดายเหมือนปัจจุบันนั่นก็คือ การเกิดขึ้นของ NetScape

แต่การเป็นผู้บุกเบิก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป เมื่อเราแทบจะไม่ได้เห็นชื่อของ NetScape มานานมากแล้ว แต่การต่อสู้กับพวกเขาในยุคนั้น ที่ต้องต่อสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นต้องบอกว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ที่ผมจะมาเล่าผ่าน Blog Series ชุดนี้นั่นเองครับ

NetScape Time : JIM CLARK
Speeding The Net : Joshua Quittner and Michelle Slatalla

โดยเรื่องราวจะมาจากหนังสือหลักสองเล่ม คือ NetScape Time โดย JIM CLARK และ Speeding The Net โดย Joshua Quittner and Michelle Slatalla ที่มาเรียบเรียงใหม่ผ่านสไตล์ของผมเหมือนเช่นเคย ครับ อย่าลืมติดตามกันด้วยนะครับผม

–> อ่านตอนที่ 1 : Billion Dollar Company

Trend ใหม่ของวงการเพลงไทย ที่ไม่ต้องแจ้งเกิดผ่านสื่อกระแสหลัก

ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการเพลงไทย ในยุคหลัง ที่ค่ายยักษ์ใหญ่ต้องปวดหัว เมื่อมีศิลปินหน้าใหม่มากมาย ที่สามารถแจ้งเกิดได้ผ่านผลงานในโลกออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Social Network โดยแทบจะไม่ต้องใช้สื่อกระแสหลักในการแจ้งเกิดเหมือนยุคก่อนอีกต่อไป

แน่นอนว่า วงการเพลง มันก็ต้องมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนความซ้ำซากจำเจ ที่ฟังกัน ช่วงนึงกระแส pop มาแรง จนมาเป็นเพลง Rock พอคนเบื่อก็หันมา Rap แต่ตอนนี้กำลังเกิดปรากฏการณ์ใหม่ นั่นก็คือ เพลงที่ใช้ภาษาแบบแหวกแนวไปเลย แต่กลับฮิตติดกระแสอย่างเหลือเชื่อได้ในยุคปัจจจุบัน

ต้องบอกว่า เป็น trend ใหม่ที่น่าสนใจมาก ๆ ของวงการเพลงไทย ในปัจจุบัน ที่การทำเพลงสร้างสรรค์ แบบแหวกแนว กว่าเมื่อก่อนมาก สามารถคิดนอกกรอบได้แบบสุด ๆ และมันก็สามารทำให้ดังได้สุด ๆ เหมือนกัน ครับผม

ฟังดูแล้วน่าสนใจนะครับ เป็นเพลงที่ฮิตติดลมบนแทบจะทั้งสิ้น เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของเพลงไทยเลยก็ว่าได้ครับ

Check & Balance กับปัญหาคลาสสิกของระบอบประชาธิปไตย

คำว่า ประชาธิปไตย ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแนวคิดทางการเมืองและทางปรัชญาในยุค กรีซโบราณ นักปราชญ์ชื่อดังอย่าง เพลโตเปรียบเทียบประชาธิปไตย ซึ่งเขาได้ให้ความหมายไว้ว่า “เป็นการปกครองโดยผู้ถูกปกครอง”

แต่ก็ต้องบอกว่า แม้ในยุคสาธารณรัฐโรมันจะมีการสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น การออกกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ชาวโรมันเลือกผู้แทนตนเข้าสู่สภาก็จริง แต่นั่นไม่ได้รวมถึงสตรี ทาสและคนต่างด้าวจำนวนมหาศาล และยังมีการให้น้ำหนักของอำนาจกับเหล่าเศรษฐีและเจ้าหน้าที่ระดับสูง ซึ่งการจะได้เป็นซึ่งสมาชิกวุฒิสภามักมาจากครอบครัวที่มีชื่อเสียงและร่ำรวยที่มีจำนวนน้อยเท่านั้น

แน่นอนว่าโลกเราก็หมุนไปอย่างรวดเร็ว ประชาธิปไตย ก็ยังคงมีการพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ แต่ยังคงยึดไว้ที่ฐานของการให้อำนาจแก่ประชาชนทุกคนเป็นหลัก และมีหลักการสำคัญ ซึ่งก็คือ Check & Balance

เพื่อเป็นการยับยั้งการฉ้อฉลที่อาจเกิดขึ้น การปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงต้องยึดหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check & Balance) เช่น ในการตรากฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายต่างๆ ต้องผ่านความเห็นชอบทั้งสองสภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อให้มีการตรวจสอบและคัดกรองให้รอบคอบและคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากที่สุดนั่นเอง

ซึ่งการถ่วงดุล การถ่วงดุลอำนาจโดย ตุลาการ นิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ก็ต้องตรวจสอบกันเอง ซึ่งการใช้อำนาจตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นข่าวดังในครั้งนี้ ก็ถือเป็นหลักในการปกป้องไม่ให้มีการใช้เสียงข้างมากไปสร้างความเสียหาย ให้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

แต่ก็ใช่ว่า Check & Balance นั้นจะถ่วงดุลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอไป ซึ่งก็ต้องบอกว่าประเทศเราก็ได้แก้ไขเรื่องนี้มาหลายสิบรอบ กับ จำนวน รัฐธรรมนูญ ที่ฉีกบ้าง แก้บ้าง สร้างใหม่บ้าง จนแทบจะมีจำนวนฉบับที่ร่างขึ้นมามากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้

ตัวอย่างที่ชัดเจน และดูจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่น่าสนใจมากที่สุด ก็คือ ฉบับ ปี 40 ที่ให้อำนาจกับฝ่ายบริหาร จนทำให้อดีตท่านนายกทักษิณ สามารถกุมอำนาจต่าง ๆ ได้แบบเบ็ดเสร็จ แต่สุดท้ายการให้อำนาจที่สูงเกินไปก็จะเกิดปัญหาตามมาอย่างที่เราได้เห็นภาพกัน เพราะสุดท้ายก็มีการประท้วง และ ทะเลาะกันอยู่ดี แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เหมาะอย่างมากในการขับเคลื่อนประเทศเราไปข้างหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ซึ่งแน่นอน หลักจากฉบับ ปี 40 มันก็ตามมาด้วยฉบับที่ เกิดจากการรัฐประหารของประเทศ ที่ focus ไปที่การตรวจสอบแบบเข้มข้น และทำให้อำนาจมันถูกย้ายไปฝั่งตุลาการอย่างเห็นได้ชัด จนประเทศเรากลายเป็นประเทศที่มีการยุบพรรคมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้

ซึ่งแน่นอนว่า การยุบพรรค แต่ละพรรค มันมีเหตุผลรองรับ ตามกฏหมายของมันอยู่แล้ว และแน่นอนว่า มันเป็นผลพวงมากจากการ Design รัฐธรรมนูญให้อำนาจมันดูผิดเพี้ยน ไม่ยึดโยงกับประชาชน อย่างที่เราได้เห็นกันในฉบับปัจจุบัน ที่ไม่อาจปฏิเสธได้

สุดท้าย รัฐธรรมนูญที่เป็นกฏหมายสูงสุด ของประเทศเรา ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ตามสถานการณ์ของประเทศในขณะนั้น ซึ่งการที่จะทำให้ประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งผมมองว่าสุดท้าย ก็ต้องใช้ กลไก check & balance ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ให้อำนาจแก่ฝ่ายหนึงฝ่ายใด มากกว่ากันมากจนเกินไปนั่นเองครับผม

References : Wikipedia.org https://www.freshwatercleveland.com/features/civicsessential032819.aspx