Geek Monday EP29 : UPS กับการใช้ AI Machine Learning และ Big Data ในธุรกิจ

UPS ยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์จัดสรรงบประมาณกว่าพันล้านดอลลาร์ต่อปีเพื่อการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ บริษัท มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับเทคโนโลยีอย่าง ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Big Data 

UPS ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายของ UPS เอง ไปจนถึงการปรับปรุงการดำเนินงานข้อมูลขนาดใหญ่ (BIG Data) และปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ UPS ในอนาคต

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/2OIKtUL

ฟังผ่าน Apple Podcast : https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast : http://bit.ly/2riMFKy

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/2KOCFzr

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/ZsjGcnLwgv4

References : https://www.marketingaiinstitute.com/blog/how-ups-uses-artificial-intelligence-to-save-200-million-per-year https://www.supplychain247.com/article/ups_launches_chatbot_and_accelerates_path_toward_use_of_ai

Movie Review : Frozen 2 โฟรเซ่น 2 ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ

น่าจะเป็นหนังภาคต่อที่หลาย ๆ คนรอคอย โดยเฉพาะ เด็ก ๆ ที่ต่างหลงรักภาพยนต์ animation เรื่องนี้ ซึ่งเผลอแป๊บเดียวก็ผ่านมา 6 ปี เหล่าแฟนๆ รุ่นเล็กรุ่นใหญ่ก็ยังคงรอคอยกันอย่างเหนียวแน่นเหมือนเดิม สำหรับ Frozen 2 โฟรเซ่น 2 ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ

สำหรับในภาค 2 นี้จะกล่าวถึงเรื่องราว ว่าทำไมเอลซ่าถึงเกิดมาพร้อมกับพลังวิเศษ? คำตอบกำลังเรียกหาเธอและกำลังคุกคามอาณาจักรของเธอ เธอจึงเริ่มการเดินทางสุดอันตรายแต่แฝงไว้ด้วยความน่าพิศวง ไปกับ อันนา, คริสตอฟฟ์, โอลาฟ และสเฟน ใน “โฟรเซ่น – ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” เอลซ่ากลัวว่าพลังของเธอรุนแรงไปสำหรับโลกใบนี้ “โฟรเซ่น 2 – ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ” เธอเพียงได้แค่หวังว่าพลังของเธอจะรุนแรงพอ

ซึ่งในภาค 2 นี้ เป็นผลงานจากทีมผู้สร้างเจ้าของรางวัลออสการ์ – ผู้กำกับ เจนนิเฟอร์ ลี และคริส บัค ผู้อำนวยการสร้าง ปีเตอร์ เดล เวโค่ และผู้เขียนเพลง คริสเทน แอนเดอร์สัน-โลเปซ และโรเบิร์ต โลเปซ และนักแสดงผู้ให้เสียงพากย์ อิดิน่า เมนเซล คริสเทน เบลล์ โจนาธาน กรอฟฟ์, และ จอช แกด “โฟรเซ่น 2 – ผจญภัยปริศนาราชินีหิมะ” จากวอลท์ ดิสนีย์ แอนิเมชั่น สตูดิโอส์ 

สารภาพตามตรง แม้ตัวผมเองจะไม่ค่อยอิน กับหนังแนว ๆ นี้ซักเท่าไหร่ น่าจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักของหนัง

แต่เท่าที่ได้ดูในภาคนี้ ก็ต้องบอกว่า ผลงานการสร้าง animation ของ ดิสนีย์ นั้น พัฒนาขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับหลาย ๆ เรื่อง แม้จะเป็นการ์ตูน แต่ก็ทำเนื้อเรื่องออกมาได้ดีมาก ถามคนใกล้ตัวที่ไปดูด้วยกัน ก็บอกว่าชอบภาคนี้มากกว่าภาคแรก

ทำให้เราอินไปกับการผจญภัยของสาวน้อย เอลซ่า เหมือนในภาคแรก แต่แถมด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะมีมากกว่าในภาคแรก แน่นอน เรื่องเพลงประกอบที่เป็นส่วนสำคัญของหนังเรื่องนี้ก็ทำออกมาได้ดี มีการตัดผสมผสานกับบทเพลงได้อย่างลงตัวมาก ๆ

ถือว่าเป็นหนังที่ดูแล้วไม่ผิดหวังจริง ๆ สำหรับภาคต่อของ Frozen ในภาคนี้ เป็นหนังครอบครัว ที่ทุก ๆ คนไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะดูได้ทุกเพศทุกวัยจริง ๆ ไม่น่าเบื่อเลย สามารถอินกับทั้งบท และ เพลงในภาพยนต์ animation ชุดนี้จนจบเรื่องอย่างมีความสุขครับ

สุดล้ำ! นักวิจัยกำลังสร้างภาพ Holograms ที่สามารถรับความรู้สึกได้

ในปัจจุบันเราได้เห็นภาพสามมิติของอวัยวะมนุษย์ , ช้างในละครสัตว์ หรือ แม้แต่นักดนตรีดนตรีชื่อดังที่ตายไปนานแล้วผ่านเทคโนโลยี Holograms แต่ตอนนี้นักวิจัยกำลังสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เราสามารถรับรู้ความรู้สึกได้

แต่ตอนนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ได้ค้นพบวิธีการสร้างโฮโลแกรมที่ทันสมัยที่คุณไม่เพียงแค่สามารถมองเห็นได้เท่านั้นแต่ยังได้ยินและรู้สึกถึงมันได้อีกด้วย โดยพวกเขาสามารถถ่ายทอดมันออกมาโดยใช้เทคโนโลยีบางอย่าง

นักวิจัยได้ตีพิมพ์บทความลงบนอุปกรณ์ซึ่งเรียกว่า Multimodal Acoustic Trap Display (MATD) ในวารสาร Nature  เมื่อวันพุธที่ผ่านมา

อุปกรณ์ทำงานโดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์เพื่อดักจับและเคลื่อนย้ายเม็ดสไตรีนที่มีความกว้างสองมิลลิเมตร โดยจะมีลูกปัดคอยแกะรูปร่างของวัตถุออกเป็นสามมิติ ในขณะที่จะมีไฟ LED คอยส่องแสงสีแดงสีเขียวและสีน้ำเงิน

เนื่องจากลูกปัดกำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วดวงตาของมนุษย์จึงเห็นเฉพาะรูปร่างที่สมบูรณ์เท่านั้น ภาพที่เกิดขึ้นมีความน่าสนใจไม่เหมือนกับวิธีแบบเดิม ๆ ในการสร้างภาพ Holograms ที่จะใช้ภาพนิ่งเป็นชุดต่อเนื่องแบบรวดเร็ว ที่ทำให้ดูเหมือนภาพมีการเคลื่อนไหว

“เทคโนโลยีใหม่ของเราใช้แรงบันดาลใจจากทีวีรุ่นเก่าที่ใช้การสแกนลำแสงสีเดียว บนหน้าจออย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้สมองของเรานั้นเห็นมันเป็นภาพเดียว” นักวิจัย Ryuji Hirayama กล่าวในการแถลงข่าว “ต้นแบบของเราทำในรูปแบบเดียวกันกับทีวีรุ่นเก่า ๆ โดยใช้อนุภาคสีที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ทุกที่ในพื้นที่ 3 มิติ สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า”

การใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ช่วยให้อุปกรณ์สร้างเสียงที่ได้ยินเช่นเดียวกับความรู้สึกทางกายภาพทำให้เราสามารถรับรู้ในความรู้สึกได้

“ แม้ว่าจะไม่ได้ยินเสียงจริง ๆ ก็ตาม แต่อัลตร้าซาวด์ก็ยังเป็นคลื่นที่นำพลังงานผ่านอากาศ” นักวิจัย Diego Martinez Plasencia กล่าวในการแถลงข่าว “ ต้นแบบของเราจะมุ่งเน้นไปที่พลังงานดังกล่าวนี้ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้หูของคุณให้ได้ยินเสียงหรือกระตุ้นผิวหนังของคุณให้รู้สึกพอใจกับสิ่งที่เห็นได้”

นักวิจัยคาดการณ์ว่าอุปกรณ์รุ่นอนาคตใช้ประโยชน์จากเพื่อสร้างโฮโลแกรมที่มีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น และบางทีอาจจะน่าตื่นเต้นยิ่งกว่าต้นแบบเสียอีก

“ MATD ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบที่มีราคาต่ำและมีวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไป” ฮิรายามะกล่าวในการแถลงข่าว “ เราเชื่อว่ามีพื้นที่ทางการตลาดเหลือเฟือ ที่จะเพิ่มศักยภาพของอุปกรณ์ดังกล่าวในอนาคตได้”

References : https://www.theguardian.com/technology/2019/nov/13/hologram-like-device-animates-objects-using-ultrasound-waves