Blake Mycoskie ชายผู้เริ่มธุรกิจรองเท้า Toms โดยไม่ตั้งใจ

การเดินทางไปอาร์เจนตินาเพื่อเรียนรู้ในเรื่องกีฬาโปโลในปี 2006 ทำให้ชายหนุ่มที่ชื่อ Blake Mycoskie ได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งในบาร์ ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการบริจาครองเท้าให้กับเด็ก ๆ

ซึ่งหลังจากได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้น เมื่อเขาได้กลับไปสนามโปโล Alejo Nitti ครูสอนโปโล ของเขาถามคำถามที่จี้ใจดำของ Mycoskie มาก ๆ ว่า: “แล้วใครจะให้รองเท้าคู่ต่อไปกับเด็กพวกนี้” เท้าเด็กนั้นโตเร็วมาก “ เราต้องทำอะไรซักอย่างเพื่อจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ที่มีอยู่ทั่วโลก?”

“ ผมจำได้ว่าในคำถามเหล่านี้ ผมคิดถึงการที่ต้องสร้างองค์กรการกุศลแบบไม่หวังผลกำไรเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ เหล่านี้ …ซึ่งแน่นอนว่าผู้หญิงที่เขาเจอในบาร์นั้น ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการทำงาน เพื่อหารองเท้าที่เพียงพอที่จะทำให้เด็กเหล่านี้สามารถใช้ได้ประมาณ 2-3 เดือน” Mycoskie กล่าว

จากนั้นเขาก็ได้มีความคิดว่า  จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเขาขายรองเท้าที่เยี่ยมยอดเหล่านี้ที่ เขาเห็นในอาร์เจนตินาให้เพื่อนของเขาในแคลิฟอร์เนียและทุกครั้งที่เขาขายรองเท้าแต่ละคู่ เขาก็จะสร้างอีกคู่หนึ่งให้กับเด็กเหล่านี้ ซึ่งดูเหมือนว่ามันเป็นความคิดที่ง่ายที่สุดในโลก ในขณะนั้นที่เขาคิดได้

หลังจากนั้น Mycoskie ก็ได้ทำงานร่วมกับผู้ผลิตในท้องถิ่นเพื่อทำการผลิตรองเท้าสไตล์ espadrille ซึ่ง Mycoskie เรียกว่า Toms นั่นเอง เพราะชื่อเต็มอย่าง ”Tomorrow’s Shoes” มันดูยาวเกินไปและไม่สามารถสร้างเป็นฉลากของแบรนด์ได้ เขาจึงตัดให้เหลือแค่ Toms และสื่อให้เห็นว่า มันเป็น รองเท้าของวันพรุ่งนี้ นั่นเอง 

ซึ่งหลังจากนั้นเขาก็ได้นำตัวอย่างรองเท้า 2-3 คู่ กลับไปที่บ้านเกิดในแคลิฟอร์เนีย ประเทศอเมริกา เพื่อถามสาว ๆ ว่าพวกเธอคิดอย่างอย่างไรกับสไตล์รองเท้าที่เขานำมา เพราะดูเหมือนตัว Mycoskie นั้นจะไม่ถนัดทางด้านแฟชั่นเสียเลย

และในที่สุดร้าน American Rag นั้นเป็นร้านค้าแรกที่นำเอารองเท้า Toms ของ Mycoskie เข้าไปขายในร้าน และหลังจากได้วางขายในร้าน American Rag นั้น ทาง Mycoskie ก็ได้ตัดสินใจมอบรองเท้า 10,000 คู่ให้กับเด็ก ๆ ในอาร์เจนตินา ตามภารกิจเป้าหมายที่เขาต้องการส่งต่อรองเท้าให้กับเด็ก ๆ นั่นเอง

จนถึงปัจจุบัน มีการบริจาค รองเท้ามากกว่า 60 ล้านคู่ให้กับเด็ก ๆ และ บริษัท ยังได้นำแบบจำลองการขายหนึ่งครั้งเพื่อบริจาคหนึ่งชิ้น ไปใช้กับสินค้าอื่นๆ ของเขาด้วย เช่น แว่นตา หรือสินค้าอื่น ๆ ที่มีการขยายกิจการขึ้นของ Toms 

Blake Mycoskie ที่ทำแบรนด์รองเท้าเพื่อบริจาคให้เด็ก ๆ
Blake Mycoskie ที่ทำแบรนด์รองเท้าเพื่อบริจาคให้เด็ก ๆ

โดย ในปี 2014 Mycoskie ขายสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 50 ให้กับ Bain Capital ซึ่งมูลค่าของบริษัทในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 625 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้เขาได้รับเงินไปมากกว่า 300 ล้านเหรียญ แต่จุดประสงค์ดั้งเดิมของเขานั้นยังคงเดิม คือ สร้างบริษัทมาเพื่อบริจาครองเท้าให้กับเด็ก ๆ ซึ่งเขาก็ไม่ได้สนใจเรื่องเงิน หรือ ความร่ำรวยที่ได้มาแต่อย่างใด

“จะเป็นการสร้างกรรมอย่างแท้จริง ถ้าคุณรู้ว่ากำลังทำอะไรบางอย่างเพื่อช่วยเหลือผู้คน และใช้มันเป็นข้ออ้างในการหาเงินให้กับตัวเองเพียงเท่านั้น” Mycoskie กล่าว

สุดท้ายเขาได้ทำการเปิดตัวกองทุนเพื่อการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม โดยหวังที่จะทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคมต่อไป ตามความมุ่งมั่นที่เขามีมาตั้งแต่แรกนั่นเอง

References : https://en.wikipedia.org/wiki/Toms_Shoes https://www.entrepreneur.com/article/220350 https://www.cnbc.com/2018/10/04/blake-mycoskie-of-toms-shoes-set-out-to-do-good–and-made-millions.html https://angelacohan.com/2015/07/04/blake-mycoskie-of-toms-shoes/

Geek Monday EP26 : Baidu กับเทคโนโลยี AI และ Machine Learning

ในต้นปี 2017 บริษัท เทคโนโลยีจีน Baidu ผู้ให้บริการการค้นหาอินเทอร์เน็ตภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดรวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการดิจิตอลอื่น ๆ มุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ Machine Learning 

เนื่องจากประเทศจีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 731 ล้านคนเกือบสองเท่าของประชากรสหรัฐชุดข้อมูลของ Baidu จึงสามารถเติมพลังให้อัลกอริธึม AI ให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

และ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ปัญญาประดิษฐ์อย่างเต็มตัว Baidu ได้สร้างโปรแกรมค้นหา ที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning รวมถึงในสำนักงานของพวกเขาที่เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ที่ทำให้บัตรประจำตัวมาตรฐานอย่างบัตรประชน หรือ บัตรพนักงาน สามารถช่วยให้คุณสามารถสั่งซื้อเครื่องดื่ม หรือ สินค้าได้แบบไม่ต้องพกเงินสดอีกต่อไป

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/2C6J7x5

ฟังผ่าน Apple Podcast :   https://apple.co/2NdVmON

ฟังผ่าน Google Podcast : http://bit.ly/2NELJYv

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/33efmX5

ฟังผ่าน Youtube :   https://youtu.be/NJ5CesSrjPk  

Gustaf Thulin ผู้คิดค้นถุงพลาสติกเพื่อช่วยรักษาโลกเราไว้

ไม่น่าแปลกใจเลยที่ถุงพลาสติกทุกวันนี้ถูกมองว่าเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของโลก พลาสติกมีการทับซ้อนกันในหลุมฝังกลบขยะ ซึ่งทำให้แม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทรถูกปนเปื้อน อย่างไรก็ตามไม่ว่ามันจะฟังดูเข้าใจง่าย แต่ถุงพลาสติกถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยโลกของเรา 

นั่นคือสิ่งที่ลูกชายของวิศวกรชาวสวีเดน Sten Gustaf Thulin ผู้คิดค้นถุงพลาสติกขึ้น ในปี 1959 กล่าว ถุงพลาสติกได้รับการพัฒนาเป็นทางเลือกแทนถุงกระดาษซึ่งทำให้การลดการตัดไม้ทำลายป่าลง ทางเลือกใหม่เสนอความทนทานนานขึ้นซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก และสามารถใช้ได้หลายครั้งกว่าที่ถุงกระดาษแบบเดิม ๆ สามารถจัดการได้

เดิมทีถุงพลาสติกถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยรักษาโลกใบนี้ไว้

เครดิตรูปภาพ: dcaloren
เครดิตรูปภาพ: dcaloren

อย่างไรก็ตามพวกเรากลายเป็นคนขี้เกียจ แทนที่จะใช้และนำถุงเดิมกลับมาใช้ซ้ำ เรากลับชินในการกำจัดมัน โดย National Geographic ได้รายงานว่าประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของพลาสติกที่ผลิตนั้นเป็นบรรจุภัณฑ์จะถูกใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งไป 

ลูกชายของ Gustaf Thulin ผู้คิดค้นถุงพลาสติกบอกกับสื่อ: “ สำหรับพ่อของผม ความคิดที่ว่าผู้คนจะทิ้งถุงพลาสติกเมื่อใช้เพียงครั้งเดียวเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อในตอนที่เขาคิดค้นมันขึ้นมา เขาถือ [ถุงพลาสติก] ไว้ในกระเป๋าของเขาเสมอเพื่อใช้งานมันได้ตลอดไป 

วิศวกรชาวสวีเดนชื่อ Sten Gustaf Thulin สร้างถุงพลาสติกขึ้นในปี 1959

เครดิตรูปภาพ: jericlcat
เครดิตรูปภาพ: jericlcat

โดยถุงพลาสติกได้รับการจดสิทธิบัตรโดย บริษัท ที่ชื่อว่า Celloplast และในช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 พวกเขาได้เปลี่ยนถุงกระดาษและถุงผ้าในยุโรปให้มาใช้ถุงพลาสติกกันอย่างแพร่หลาย 

พอถึงปี 1979 ถุงพลาสติกคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของตลาดถุงในยุโรป ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ทั้งสองเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐคือ Kroger และ Safeway เปลี่ยนไปใช้ถุงพลาสติกทั้งหมด ในตอนท้ายของทศวรรษ 1980 ถุงพลาสติกได้แทนที่ถุงกระดาษในทั่วโลก

ถุงพลาสติกควรจะถูกนำมาใช้ซ้ำหลายครั้ง แต่น่าเสียดายที่ไม่เป็นเช่นนั้น

เครดิตรูปภาพ: Alan Denney
เครดิตรูปภาพ: Alan Denney

ตามรายงานเดียวกันโดย National Geographic ในปี 2018 ผู้ซื้อสินค้าในสหรัฐอเมริกาใช้ถุงพลาสติกเกือบหนึ่งใบต่อผู้พักอาศัยในแต่ละวัน ในขณะที่ผู้ซื้อในเดนมาร์กใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยสี่ถุงต่อปีเพียงเท่านั้น 

ในขณะที่ตามที่สหประชาชาติรางาน มีการผลิตถุงพลาสติกในอัตราหนึ่งล้านล้านถุงต่อปี! ดังนั้นหลาย ๆ ประเทศจึงสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติก โดยบังคลาเทศเป็นประเทศแรกที่สั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกเหล่านี้ในปี 2002

ตั้งแต่นั้นมาในหลาย ๆ ประเทศได้ดำเนินตามในรูปแบบเดีวกัน คือรณรงค์ งดใช้ถุงพลาสติก อย่างไรก็ตามหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือถุงพลาสติกส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิล และมันมักสิ้นสุดในหลุมฝังกลบที่พวกมันใช้เวลาเป็น 1,000 ปีในการย่อยสลาย

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าถุงพลาสติกอาจเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ากระดาษหรือฝ้าย

เครดิตรูปภาพ: rakka
เครดิตรูปภาพ: rakka

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญระบุว่าถุงพลาสติกไม่จำเป็นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การเลือกใช้กระดาษและถุงผ้าฝ้ายจะช่วยลดขยะในทางเทคนิค แต่ก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอื่น ๆ 

สำนักงานสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักรแนะนำว่าต้องใช้ถุงกระดาษอย่างน้อยสามครั้งเพื่อให้ใช้พลังงานเท่าการผลิตถุงพลาสติกที่ถูกรีไซเคิลได้ นี่เป็นเพราะการผลิตถุงกระดาษต้องการพลังงานและน้ำมากกว่า ในขณะที่มันหนักกว่าถุงพลาสติกซึ่งทำให้การขนส่งมีราคาแพงกว่า ถ้าเทียบกับถุงผ้า ต้องใช้อย่างน้อย 131 ครั้งเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเหมือนกับที่ถุงพลาสติกทำได้นั่นเอง

References : https://www.boredpanda.com/plastic-bags-supposed-to-help-save-planet

Movie Review : The King เดอะ คิง (Netflix)

ถือเป็นหนังเข้าใหม่ที่น่าสนใจเลยทีเดียวสำหรับ The King เดอะ คิง ผลงานการสร้างเองของ Netflix อีกเรื่องที่เพิ่งเข้ามาใหม่ในสัปดาห์นี้ และเป็นหนังแนวประวัติศาสตร์ที่ผมชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงไม่พลาดที่จะมารีวิวให้ฟังกัน

สำหรับเนื้อเรื่องของ The King นั้นว่าด้วย ฮัล (ทิโมธี ชาลาเมท) เจ้าชายผู้เอาแต่ใจและไม่ปรารถนาจะสืบทอดราชบัลลังก์หันหลังให้ชีวิตในวังหลวงและอยู่อย่างสามัญชนคนธรรมดา แต่หลังจากพระราชบิดาผู้เหี้ยมโหดสิ้นพระชนม์

เจ้าชายฮัลก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 และจำต้องใช้ชีวิตในแบบที่เคยทิ้งไป พระองค์ต้องหาทางรับมือกับพวกแก่งแย่งชิงดี รับช่วงต่อสงครามและความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ตลอดจนมรสุมอารมณ์จากชีวิตในอดีต

รวมทั้งความสัมพันธ์กับจอห์น ฟอลสตาฟ (โจเอล เอ็ดเกอร์ตัน) อัศวินขี้เมาที่เป็นทั้งเพื่อนและพี่เลี้ยงคนสนิท “เดอะคิง (The King)” เป็นผลงานการกำกับการแสดงโดยเดวิด มิจด เขียนบทโดยเดวิด มิจดและโจเอล เอ็ดเกอร์ตัน นำแสดงโดยฌอง แฮร์ริส, เบน เมนเดลโซห์น, โรเบิร์ต แพตทินสัน และลิลลี่ โรส เดปป์

ต้องบอกว่า เป็นหนังที่เล่าที่มาที่ไปของ เรื่องราวของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 น้อยไปหน่อย ไม่ค่อยมีการปูพื้นของเรื่องราวอะไรมาก่อนเลย เรียกได้ว่า คนที่ไม่เคยรู้ประวัติของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 น่าจะงงกันพอสมควร

แต่สำหรับหนังที่สร้างโดย Netflix นั้นก็ต้องถือว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ลงทุนสูงพอสมควร แต่จะไปคาดหวังฉากรบสุดอลังการงานสร้าง เหมือนหนังในโรงใหญ่นั้น คงจะผิดหวัง เพราะเรื่องนี้ แทบจะไม่มีให้เห็นเลย โชว์การรบเพียงน้อยนิดในช่วงท้ายเรื่องเพียงเท่านั้น

หนังพยายามสร้างความดราม่า โดยเล่า เรื่องราวที่ส่งผลให้ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ต้องไปรบกับ ฝรั่งเศษ ซึ่งในประวัติศาสตร์ที่แท้จริงคือสงคราม 100 ปี ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ แต่เรื่องนี้ถ่ายทอดออกมาได้แบบน่าผิดหวัง

สิ่งที่น่าเซอร์ไพรซ์คือ การแสดงของ โรเบิร์ต แพททินสัน ที่รับบทพระเจ้าโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศษ ที่ต้องมาเล่นสงครามจิตวิทยา กับ พระเจ้าเฮนรี่ ของอังกฤษ ซึ่งถือว่าลบภาพลักษณ์ของ พระเอก ทไวไลท์ไปได้อย่างสิ้นเชิง แม้จะโผล่มาในช่วงกลางเรื่องแล้วก็ตาม แต่ถือว่าแสดงได้น่าสนใจมาก

เรื่องนี้ ต้องบอกว่า อย่าคาดหวังความอลังการมาก เพราะเป็นหนังที่ผลิตเองโดย Netflix ซึ่งทุนการสร้างจึงมีอย่างจำกัด แต่เสียดายเนื้อเรื่อง ที่น่าจะทำเป็นหนังใหญ่ได้ดีกว่านี้ หากลงทุนสูงกว่านี้ คิดว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก หากมีการถ่ายทอดประวัติของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 อย่างยิ่งใหญ่กว่านี้ และฉากรบที่มีความประทับใจกว่านี้ แต่ถ้าเทียบกับหนังหลาย ๆ เรื่องของ Netflix ก็ต้องบอกว่าอยู่ในระดับสูงกว่าหนังทั่วไป หากใครเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ก็แนะนำให้ลองชมกันดูได้ครับผม