นวัตกรรมเครื่องปรับอากาศแบบสวมใส่ได้จาก Sony

แน่นอนว่าตอนนี้ญิ่ปุ่นกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน อย่างเป็นทางการ และนั่นก็มักจะหมายถึงเหล่าบริษัทต่าง ๆ เริ่มออกกลยุทธ์สำหรับหน้าร้อนที่แสนสาหัสเช่นนี้  และตอนนี้เห็นได้ชัดว่า Sony กำลังระดมทุนเพื่อสร้างเครื่องปรับอากาศ / เครื่องทำความร้อนแบบพกพาที่สวมใส่ได้เพื่อให้คุณสามารถพลิกชีวิตสู่ธรรมชาติที่ดีที่สุดของคุณผ่านการควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสมนั่นเอง

Reon Pocket เป็นอุปกรณ์บลูทูธ ขนาดเท่ากระเป๋าสตางค์ ที่ใช้การระบายความร้อนด้วยเทอร์โมอิเล็กทริก ซึ่งคุณสามารถใส่เข้าไปในเสื้อกล้ามพิเศษที่มีส่วนเชื่อมต่อกับกระเป๋าและยังเชื่อมต่อกับแอพ ใช้งานเพียงแค่กดปุ่ม เครื่องจะทำการระบายความร้อนทันที หรือหากในอากาศเย็น ก็สามารถทำให้มันกลายเป็นเครื่องทำความร้อนได้เช่นกัน ซึ่งทาง Sony กล่าวว่าคุณยังสามารถใช้อุปกรณ์ในวันที่อากาศหนาวเย็นเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นได้อีกด้วยนั่นเอง

ซึ่งทาง Website ของผลิตภัณฑ์ Sony ตั้งข้อสังเกตว่ามีการจำลองหลายร้อยครั้งและในวันที่อากาศร้อน Reon Pocket สามารถทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ใช้เย็นลงถึง 13 องศาเซลเซียส (23 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่อากาศหนาวมันบอกว่ามันสามารถเพิ่มอุณหภูมิของคุณได้ประมาณประมาณ 8 องศาเซลเซียส (ประมาณ 14 องศาฟาเรนไฮต์)

ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าประทับใจนี้ยัง รองรับทั้ง iOS และ Android มีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ 24 ชั่วโมงและเวลาในการชาร์จ 2 ชั่วโมงและใช้ USB-C เนื่องจากมีขนาดเล็กมากและมีน้ำหนักเพียง 85 กรัม เท่านั้น  และทำการเปิดตัวด้วยสองรุ่น: Reon Pocket Standard และ Reon Pocket Lite โดยรุ่น Lite จะมีราคาถูกกว่า แต่มาพร้อมกับโหมดการทำงานด้วยตนเองเท่านั้น ซึ่งรุ่น Standard นั้นจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมอุณหภูมิด้วยตนเองผ่านสมาร์ทโฟนของคุณได้ แต่การอัพเดตในอนาคต จะมีการเพิ่มโหมดอัตโนมัติ รุ่น Standard ยังให้คุณปรับแต่งปริมาณอากาศที่สามรรถปรับแต่งตามตัวคุณได้นั่นเอง

แคมเปญระดมทุนระดมทุนของ Sony เพิ่งเปิดตัวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาและบรรลุเป้าหมายไปแล้ว 43 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายการระดมทุนและเหลือเวลาอีก 24 วัน น่าเสียดายที่มีเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น ราคามีตั้งแต่ 12,760 เยน ( 117 ดอลลาร์) ถึง 19,030 เยน (ประมาณ  175 ดอลลาร์ ) ขึ้นอยู่กับรุ่นและจำนวนเสื้อที่คุณต้องการซื้อด้วย ซึ่งตามเว็บไซต์ของ Sony มีการคาดการณ์ว่าพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ซึ่งผู้สนับสนุนจะได้เห็นผลิตภัณฑ์จริงได้ประมาณเดือนมีนาคม 2020 

References : 
https://gizmodo.com/sony-s-wearable-air-conditioner-should-be-ready-for-nex-1836691714

OMRON Forpheus หุ่นยนต์ใหม่กับแนวคิดการผสานความร่วมมือกับมนุษย์

OMRON เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ด้านการดูแลสุขภาพเช่นเครื่องวัดอุณหภูมิและวัดความดันโลหิต   แต่ตอนนี้ความทะเยอทะยานของบริษัทกำลังก้าวสู่งเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างการสร้างหุ่นยนต์ เทเบิลเทนนิส Forpheus 

ในทางเทคนิคแล้ว Forpheus เป็นหุ่นยนต์ตัวใหม่ ในขณะที่รุ่นก่อนหน้านี้มีแนวโน้มที่จะใช้ฮาร์ดแวร์จำนวนมากเกินไป แต่รุ่นใหม่นี้สร้างขึ้นแบบใหม่เพื่อเล่นปิงปอง  แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นตัวกล้องหลักนั้นมีขนาดเล็กกว่ารุ่นเดิม ๆ มาก 

โดยเฉพาะกล้องสองตัวที่ให้ความสำคัญกับการติดตามลูกปิงปอง มีอีกสองตัวที่อยู่ที่ผู้เล่นที่เป็นมนุษย์  รวมถึงกล้องความเร็วสูงบนไม้สำหรับใช้ตีปิงปอง ยิ่งไปกว่านั้นตัวไม้ยังมีป้ายสีเขียวติดอยู่ทั้งสองด้านเพื่อช่วยให้กล้องความเร็วสูงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ซึ่งด้วยวิธีนี้ Forpheus สามารถระบุรูปแบบของการหมุนของลูกปิงปองได้อย่างง่ายดาย ด้วยการอัพเกรดเทคโนโลยี Computer Vision ใหม่ พร้อมกับระบบอัตโนมัติล่าสุดของ OMRON ทำให้ Forpheus สามารถทำนายพฤติกรรมของผู้เล่นได้เป็นอย่างดี

โดย Forpheus นั้นมีแขนหุ่นยนต์แบบหลายแกนรูปแบบใหม่ที่สามารถเลียนแบบข้อศอกและข้อมือของมนุษย์ได้ดีกว่า ซึ่งกลายเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของ Forpheus:  แต่ไม่เพียงแค่นั้นบอทสามารถตีกลับด้วยท็อปสปินและแบ็คสปินได้เหมือนมนุษย์ รวมถึงตัวควบคุมเซอร์โวที่เร็วขึ้นเห็นได้ชัดว่าช่วยได้มากเช่นกัน

Forpheus โชว์การเล่นปิงปองระดับเทพ
Forpheus โชว์การเล่นปิงปองระดับเทพ

รายงานบนหน้าจอยังได้แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของForpheus นั้นใกล้เคียงกับผู้เล่นมืออาชีพถึง 78% ซึ่งตามรายงานของ OMRON เป็นผลงานที่ค่อนข้างดีมาก 

เมื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวกำลังจะมาถึงในปีหน้า OMRON จะใช้โอกาสนี้เพื่อโปรโมตหุ่นยนต์ปิงปอง  และยังไม่มีความชัดเจนว่า OMRON จะทำการจัดจำหน่าย Forpheus หรือไม่ แต่ท้ายที่สุดแล้วโครงการนี้เป็นงานแสดงสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมอัตโนมัติของบริษัท การออกแบบเครื่องจักรกลและความสุดยอดของเทคโนโลยี AI นั่นเอง

OMRON แสดงความสามารถของหุ่นยนต์เล่นปิงปองเพื่อ?

แม้กระทั่งกีฬาที่ใช้ความว่องไวสูงอย่าง ปิงปอง นั้น เราจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีทางด้านแขนหุ่นในปัจจุบันได้พัฒนาไปมากขนาดไหน เจ้าหุ่นยนต์ Forpheus  นั้นคงแค่สื่อให้เห็นถึงความเร็วในการทำงานของแขนหุ่นมากกว่า ที่จะนำมาใช้ในการแข่ง ปิงปอง จริง ๆ ที่คิดว่าคงไม่มีใครกล้าจะลงทุนซื้ออย่างแน่นอน

แต่ถ้าเรามองถึงการผลิตในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นความเร็วที่เป็นต่อในการผลิต ก็สามารถทำให้ได้เปรียบคู่แข่งได้ และอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันในตลาดได้

และที่สำคัญ มันได้แสดงให้เห็นแนวคิดที่สำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่าง มนุษย์กับหุ่นยนต์ ที่มันอาจจะไม่ได้มาแย่งงานเราทั้งหมดก็ได้ ในอนาคตนั้น การทำงานร่วมกับหุ่นยนต์จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน งานหลาย ๆ งานยังต้องพึ่งพามนุษย์อยู่และหุ่นยนต์จะมาเป็นเพียงผู้ช่วยเพื่อให้งานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม จากที่เราใช้ทำด้วยมนุษย์เพียงอย่างเดียว แนวคิดการทำงานร่วมกันนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งสุดท้ายคนที่ได้ประโยชน์ที่สุดก็คือมนุษย์เรานั่นเองครับ

References : 
https://www.engadget.com/2019/01/16/omron-forpheus-fifth-generation-table-tennis-robot-ces/

Coding First กับการก้าวสู่ประเทศไทยยุคใหม่

พอดีวันนี้ได้แอบเห็น Post ที่แชร์กันมาใน Facebook ที่มีเนื้อหาน่าสนใจในเรื่องของ “ให้ภาษาคอมพิวเตอร์ Coding เป็นภาษาที่ 3 ของหลักสูตรการศึกษาไทย” ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลย สำหรับเด็กยุคใหม่ ภาษาทางคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราในปัจจุบัน

ซึ่งหลาย ๆ ประเทศก็ได้บรรจุวิชาเหล่านี้ เป็นพื้นฐานหลักของการศึกษาไว้หมดแล้ว โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายไม่ว่าจะ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น จีน หรือ เกาหลี

ตอนนี้ หลาย ๆ อย่างทางเทคโนโลยีที่ผ่านตัวเรา มันเต็มไปด้วย Data จำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเหมือนขุมทองคำของเศรษฐกิจยุคใหม่ หากเด็ก ๆ ยุคใหม่ ได้เริ่มเรียนรู้ที่จะเอาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ไปวิเคราะห์ผ่าน computer algorithm จะเป็นสิ่งสำคัญกับการพัฒนาประเทศในยุคต่อไปได้อย่างแน่นอน

เราต้องก้าวข้ามความเป็นประเทศกำลังพัฒนาให้ได้เสียทีหลังจากติดหล่มนี้มานานแสนนาน และทางเดียวที่จะยกระดับพัฒนาประเทศได้ เราต้องเป็นคนคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญอย่างนึงก็คือ Computer Programming นั่นเอง

เราเป็นเพียงผู้เสพ หรือ ใช้เทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้วมานานแสนนาน มันต้องก้าวข้ามมาสร้างเทคโนโลยีเองได้เสียที เพราะตอนนี้ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงเรานั้น เค้ารุดหน้าแบบเต็มสูบไปแล้วไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไม่ต้องพูดถึง สิงคโปร์ เพราะเค้าไปไกลมากแล้ว

หากเราไม่เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีตั้งแต่จุดเริ่มต้นนั้น ต่อไปเราจะได้เพียงแค่ใช้ ๆ ๆ ๆ และไม่เกิดการพัฒนากับประเทศเราได้อย่างแน่นอน ดูตัวอย่างง่าย ๆ หลาย ๆ เทคโนโลยีอย่าง GET , Grab , Traveloga …

ซึ่งมันน่าสนใจเพราะเราไม่สามารถสร้างมาสู้กับเค้าได้เลย คือเมื่อก่อนเรายังใช้จากฝังยุโรป อเมริกา หรือ ญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น Facebook , Line ,Spotify … แต่ตอนนี้ เรากำลังเสพเทคโนโลยีจากเพื่อนบ้านเราแล้ว เค้ากำลังเริ่มพัฒนาไปไกลแล้ว และ ที่เสียหายที่่สุดก็คือ Data ข้อมูลต่าง ๆ ที่ app เหล่านี้ได้ไปนั้น มันส่งผลทั้งหมดต่อองค์รวมของประเทศไม่ว่าจะเป็น สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ทุกอย่างเกิดจาก Data จำนวนมหาศาล เหล่านี้ ที่ต่อไปเราอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นเรื่อง Data ก็เป็นได้ หากเราไม่เริ่มพัฒนาเองตั้งแต่ต้นทาง

ก็หวังว่าเด็ก ๆ รุ่นใหม่ น่าจะได้เรียนกันตั้งแต่เด็ก ๆ น่าจะพาประเทศเราเปลี่ยนผ่าน จากคำว่าประเทศกำลังพัฒนา ให้กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ได้เสียทีครับ

Digital Music War ตอนที่ 10 : Design Philosophy

ในเทศกาล คริสต์มาส ปี 2006 ถือเป็น เทศกาลวันหยุดแรก ที่ Zune ผลิตภัณฑ์เครื่องเล่นเพลงดิจิตอลตัวใหม่ของ Microsoft หลังจากวางตลาดได้เพียงไม่นาน ซึ่งมันเป็นการเริ่มต้นเทศกาลที่ดีมากของ Zune เมื่อสามารถทำยอดขายได้เป็นอันดับ 2 ในการขายในสัปดาห์แรกในตลาดค้าปลีกของอเมริกา

แต่ตลาดค้าปลีกที่มีทั้ง Walmart รวมถึงร้านค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่อย่าง Best-Buy ได้ช่วยผลักดันให้ Zune สามารถทำยอดขายได้สูงมาก แต่หากมองตลาดทั้งหมดจริง ๆ แล้วนั้น ไม่ได้รวมถึง ร้าน Apple Store ของ Apple ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าขายแต่เพียงสินค้าของ Apple ซึ่งก็คือ iPod รวมถึงตลาดออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon.com

นั่นเมื่อสำรวจจากตลาดรวมทั้งหมดของเครื่องเล่นเพลงแบบดิจิตอลจริง ๆ แล้วนั้น Zune ได้ส่วนแบ่งเพียงแค่ 13% เท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับ iPod นั้นสามารถครองส่วนแบ่งตลาดไปได้ถึง 63% หากนับตามจำนวนเครื่องที่ขาย แต่หากนับเป็นยอดขายจริง ๆ นั้น iPod ได้ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 72.5% เลยทีเดียว

โดยในต้นเดือนธันวาคม Microsoft นั้นหวังว่าจะขาย Zune ได้ 1 ล้านเครื่อง ซึ่งจะทำให้ Zune สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้ 10-15% ของตลาดเครื่องเพลงแบบดิจิตอลเลยทีเดียว

แนวความคิดแรกของผู้บริหาร Microsoft ที่จะส่ง Zune ออกมาแก้ขัดในตลาด ก่อนที่จะนำไปสู่งระบบคลังเพลงบนระบบ Cloud ดูเหมือนหนทางจะมืดมน เพราะ ตอนนั้นยังไม่มีบริการเชื่อมต่อใด ๆ ให้กับ Zune และในฐานะ Hardware ตัวหนึ่งนั้น Zune เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่คุ้มทุนเลย คล้าย ๆ กับ Xbox ที่ Microsoft ยอมขายเครื่องขาดทุนเพื่อไปเอากำไรจากบริการด้าน Software ที่เป็นเกมส์มากกว่า รวมถึงบริการในการเล่นออนไลน์นั่นเอง

ซึ่ง Microsoft นั้นก็ได้มอง Zune ในรูปแบบธุรกิจเดียวกัน ยอมขายเครื่องขาดทุน แล้วค่อยไปหาทางสร้างรายได้กับ Software กับการฟังเพลงบน Cloud ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นของถนัดของ Microsoft มากกว่า

จอห์น สกัลลีย์ อดีด CEO ของ Apple ที่เป็นคนมาแทนสตีฟ จ๊อบส์ ให้ความเห็นในเรื่องการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดูเหมือนจ๊อบส์นั้นทำให้ลูกค้าอยากได้ผลิตภัณฑ์ของ Apple ในแบบที่แบรนด์อื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ มันเป็นเรื่องของอารมณ์ที่อยู่เหนือเหตุผลในการซื้อสินค้าของ Apple

ซึ่งแน่นอนว่า Apple นั้นสามารถทำกำไรได้ทั้งในส่วน Hardware คือ iPod และส่วนของ Software & Service อย่าง iTunes นี่คือจุดแตกต่างระหว่างบริษัททั้งสอง ในตอนที่ Zune ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการนั้น มันเป็นสิ่งที่น่าเบื่อที่สุดจนแทบจะไม่มีใครอยากดูการ present เลยด้วยซ้ำ

Zune ที่เหมือนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกมาขัดตาทัพเพียงเท่านั้น
Zune ที่เหมือนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกมาขัดตาทัพเพียงเท่านั้น

มันเป็นความแตกต่างตั้งแต่ปรัชญาของสองบริษัทที่แตกต่างกันสิ้นเชิง ทีมงานของ Microsoft นั้น ฉลาดเป็นกรด มีแต่วิศวกรเก่ง ๆ อัจฉริยะทั้งนั้น ที่มาช่วยกันสร้าง Zune แต่ปรัชญาของ Microsoft นั้นจะต้องทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาก่อน แล้วค่อยตามแก้ปัญหาในภายหลัง ส่วน Apple ของ สตีฟ จ๊อบส์ ไม่เคยทำอย่างนั้น เขาจะไม่ปล่อยอะไรออกมาจนกว่าทุกอย่างจะดูสมบูรณ์แบบ

ซึ่งหลังจาก Zune นั้นออกวางขายด้วย สเปคทางเทคนิคที่ดีกว่า iPod แทบจะทุกอย่าง แต่ Apple นั้นไม่ได้สนใจ Zune เลยด้วยซ้ำ ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีอะไรให้กังวลนั่นเอง มีตัวเลขของสำนักวิจัยชื่อดังอย่าง NPD ที่แสดงให้เห็นว่า

Zune จะได้ส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศอเมริกาไปเพียงแค่ 2% และไม่ต้องคิดถึงตลาดโลก เพราะ Zune แทบจะไม่มีที่ยืนในตลาดโลกเลยเสียด้วยซ้ำ ส่วนร้านดนตรีออนไลน์ของ Zune นั้น ไม่ได้มีผลงานอะไรที่โดดเด่นเลย ต่างจาก iTunes ที่กลายเป็นที่ยอมรับของนักฟังเพลงทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยขายเพลงไปแล้วกว่า 1.15 พันล้านเพลง และสามารถสร้างรายได้ให้กับ Apple ราว ๆ 2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2006

รวมถึง Ecosystem ที่อยู่รายรอบผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ Apple นั้นดูเหมือนจะบริหารสิ่งเหล่านี้ได้ดีกว่า Microsoft อย่างชัดเจน เพราะ Microsoft นั้นไม่ได้สนใจองค์รวมของ Ecosystem ของทั้งธุรกิจที่จะไปด้วยกันอย่างที่เราเห็นกับ Apple ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผลักดันให้ iPod กลายเป็นสินค้ายอดฮิตติดตลาดไปในที่สุดนั่นเอง

ดูเหมือนว่า Microsoft นั้นจะมีผลิตภัณฑ์มากมายเต็มไปหมด และ Zune ก็เป็นหนึ่งในนั้น แถมยังโดนผู้บริหารมองเป็นสินค้าขัดตาทัพเพียงเท่านั้น เหมือนเป็นการทดลองตลาดของ Microsoft ในศึกเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลแบบพกพา ที่ Apple นั้นนำห่างออกไปเรื่อย ๆ 

ความแตกต่างตั้งแต่ ปรัชญา ความปราณีตของผลิตภัณฑ์ ที่ Apple ดูจะเหนือกว่าอย่างชัดเจน และสามารถสร้างสิ่งที่เข้าใจผู้บริโภคจริง ๆ รู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร Apple ก็จะบรรจงสร้างมาให้ User ใช้งานได้ทันทีโดยแทบจะไม่ต้องมีการเรียนรู้ด้วยซ้ำ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ในตลาด Consumer Product ที่มีขนาดของตลาดใหญ๋มหาศาลเช่นนี้ และ Microsoft ดูเหมือนจะพลาดในเกมนี้แล้ว

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อหลังจากนี้ กับ ผลิตภัณฑ์ทั้งสอง Zune จะล้มเหลวอีกครั้งเหมือนเกิดขึ้นกับ PlayForSure หรือไม่ ตอนหน้าจะเป็นบทสรุปของ Series ชุดนี้แล้วนะครับ โปรดอย่าพลาดติดตามกันน้า

–> อ่านตอนที่ 11 : The End at Last? (ตอนจบ)

สุดล้ำ! เมื่อนักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาเครื่องถอดรหัสความคิด

อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับสมองรูปแบบใหม่จะทำให้สามารถถอดรหัสรูปแบบต่าง ๆ ของสมองเพื่อค้นหาว่า สมองกำลังสื่อสารอะไร พยายามพูดอะไร และใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการสังเคราะห์ประโยคแบบเต็มออกมาเป็นเสียงให้เราได้ยิน

อุปกรณ์นี้ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบและการวิจัยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์แรกที่สร้างประโยคแบบเต็มรูปแบบ ในแบบที่คนอื่นสามารถเข้าใจได้โดยอ้างอิงจาก Scientific American – มันเป็นความหวังครั้งสำคัญสำหรับผู้ที่สูญเสียความสามารถในการสื่อสารจากโรคร้ายต่าง ๆ หรือความพิการ

ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย University of California, San Francisco (UCSF) ได้ใช้ AI เพื่อเชื่อมโยงสัญญาณที่สมองส่งไปยังผู้ใช้งาน โดยจะสอดคล้องกับคำศัพท์เฉพาะ ซึ่งท้ายที่สุดจะจำลองพฤติกรรมของการสร้างคำที่ฟังดูสมจริงเหมือนการสื่อสารแบบปรกติของมนุษย์ ซึ่งในการทดสอบการทำงานอุปกรณ์นี้สามารถสังเคราะห์เสียงพูดได้ในขณะที่ผู้พยายามใช้ความคิดอย่างเงียบ ๆ 

ภาพประกอบของตำแหน่งอิเล็กโทรดในคำพูดของผู้เข้าร่วมการวิจัยซึ่งรูปแบบกิจกรรมที่บันทึกไว้ในระหว่างการพูด ( จุดสี ) ถูกแปลเป็นคอมพิวเตอร์จำลองของระบบเสียงของผู้เข้าร่วม ( แบบจำลองขวา ) ซึ่งสามารถสังเคราะห์เพื่อสร้างประโยคใหม่ ได้รับการพูด ( คลื่นเสียง)
ภาพประกอบของตำแหน่งอิเล็กโทรดในคำพูดของผู้เข้าร่วมการวิจัยซึ่งรูปแบบกิจกรรมที่บันทึกไว้ในระหว่างการพูด ( จุดสี ) ถูกแปลเป็นคอมพิวเตอร์จำลองของระบบเสียงของผู้เข้าร่วม ( แบบจำลองขวา ) ซึ่งสามารถสังเคราะห์เพื่อสร้างประโยคใหม่ ได้รับการพูด ( คลื่นเสียง)

นักวิจัยได้คิดค้นวิธีสองขั้นตอนสำหรับการแปลความคิดเป็นคำพูด ขั้นแรกในการทดสอบกับผู้ป่วยโรคลมชักซึ่งมีการวัดการสื่อสารของระบบประสาทด้วยอิเล็กโทรด ลงบนพื้นผิวของสมอง นักวิจัยจะบันทึกสัญญาณจากบริเวณสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อลิ้น ริมฝีปาก และลำคอ ต่อมาหลังจากใช้อัลกอริธึมคอมพิวเตอร์ Deep Learning ที่ฝึกฝนจากคำพูดที่เป็นธรรมชาติพวกเขาก็นำมาแปลการเคลื่อนไหวเหล่านั้นให้เป็นประโยคที่ได้ยิน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถอดรหัสสมอง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการถอดรหัสสมอง

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้มีข้อโต้แย้งว่า อุปกรณ์ใหม่นี้ที่พยายามจะแปลพฤติกรรมของสมองเป็นการพูดด้วยเสียงนั้นมีความซับซ้อนเกินไปตามการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ออกมา

“สำหรับคนที่มีปัญหาด้านการสื่อสารหรือไม่สามารถสื่อสารได้แบบเต็มที่นั้น การมีข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะเป็นที่ยอมรับได้” Mark Slutzky neuroengineer แห่ง Northwestern University   ที่ได้ดำเนินโครงการที่คล้ายกันบอกกับ SCIAM “ เห็นได้ชัดว่าคุณสามารถพูดอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ แต่มันก็ยังดีกว่าการพิมพ์คำทีละตัวอักษรซึ่งเป็นสถานะของงานวิจัยล่าสุดในปัจจุบันอยู่นั่นเอง”

References : 
https://www.scientificamerican.com/article/scientists-take-a-step-toward-decoding-speech-from-the-brain/