Digital Music War ตอนที่ 2 : The Secret Source

เมื่อจ๊อบส์ ได้เปิดวิสัยทัศน์ใหม่ของ apple คือ Digital Hub เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ตอนนี้มันก็ถึงเวลาที่ Apple ต้องสร้างอะไรบางอย่าง เพื่อให้ Mac สามารถขายได้มากขึ้น เพราะสถานการณ์ของ Apple กำลังดำดิ่งจากยอดขายของเครื่อง Mac ที่ลดถอยลงไปเรื่อย  ๆ

ในต้นปี 2001 เหล่าผู้บริหารก็ได้ระดมความคิดกันว่า ตอนนี้ต้องทำอะไร ผู้คนต้องการอะไรเพื่อตอบโจทย์ชีวิตเขาในช่วงเวลานั้น และที่สำคัญมันต้องเป็นอุปกรณ์พิเศษ ที่สามารถดึงดูดให้คนมาใช้งาน Mac เพิ่มมากขึ้น โดยต้องติดกับ Platform และต้องไม่ทำงานบน Windows และจะกลายมาเป็น Ecosystem ของ Mac นั่นเอง

ในเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2001 ในงานแสดง Macworld ณ กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น รูบินสไตน์ผู้บริหารด้าน Hardware ของ Apple ได้พบกับวิศวกรของโตชิบา 

ซึ่ง วิศวกรของโตชิบา ได้นำเอาฮาร์ดไดร์ฟ ขนาดจิ๋ว ให้ รูบินสไตน์ดู ซึ่งเขามองออกทันทีว่าเจ้า ฮาร์ดไดร์ฟ จิ๋ว ตัวนี้สามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างเครื่องเล่นเพลงได้ โดยทำการเชื่อมกับ Mac และทำให้ Digital Hub เกิดประโยชน์สูงสุด

ฮาร์ดไดร์ฟขนาดจิ๋วของ โตชิบา
ฮาร์ดไดร์ฟขนาดจิ๋วของ โตชิบา

เขาจึงรีบไปพบจ๊อบส์ เพื่อ ของบในการสร้างอุปกรณ์เสริมอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้บริโภคที่ยิ่งใหญ่ชิ้นแรกให้กับ Apple 

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคู่แข่งในตลาดในขณะนั้น ในตลาดเครื่องเล่น MP3 แบบพกพานั้น มีแต่คู่แข่งที่ไม่เอาไหน สินค้าที่มีในตลาดในขณะนั้นมันดูน่าเกลียดไปหมด ไม่ใหญ่เทอะทะ ก็รูปร่างประหลาดแบบสุด ๆ รวมถึงข้อจำกัดอีกมากมาในเรื่องของหน่วยความจำ

ความเชื่องช้าของการถ่ายโอนข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญอย่างนึง ซึ่งการที่จะถ่ายโอนข้อมูลขนาด 1 กิกะไบต์ในเวลานั้น ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง และฮาร์ดไดร์ฟ ขนาดใหญ่ก็สูบพลังของแบตเตอรี่จนน่าเกลียด ทำให้แบตหมดภายในระยะเวลาไม่ถึงชั่วโมง

Apple หาวิธีแก้ปัญหาความเร็วในการถ่ายโอนโดยใช้เทคโนโลยี FireWire ที่ Apple พัฒนาขึ้นมาเอง 

FireWire เป็นซีเรียลพอร์ต ที่สามารถจะถ่ายโอนข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์ วีดีโอ จากอุปกรณ์หนึ่ง ไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งด้วยความเร็วสูง ซึ่งในตอนนั้น ผู้ผลิตกล้องหลายรายในญี่ปุ่น เลือกจะนำเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้ และ จ๊อบส์ นั้นก็ได้ตัดสินใจที่จะบรรจุ FireWire Port นี้ไปในเครื่อง iMac เวอร์ชั่น ที่จะออกตลาดในเดือน ตุลาคม ปี 1999

ซึ่งเทคโนโลยี FireWire นี่เอง ที่สามารถถ่ายโอนวีดีโอจากกล้องถ่ายภาพยนต์ดิจิตอล แบบมืออาชีพได้ และทำงานเร็วกว่า USB 1.1 ถึง 30 เท่า

FireWire เทคโนโลยีสำคัญในการสร้างเครื่องเล่น MP3 ของ Apple
FireWire เทคโนโลยีสำคัญในการสร้างเครื่องเล่น MP3 ของ Apple

รูบินสไตน์ หัวหน้าโครงการ iPod (อุปกรณ์เล่นเพลงพกพาที่ Apple กำลังจะสร้างขึ้น) ได้ทำงานอย่างเร่งด่วน โดยมีวิศวกรที่ชื่อ โทนี่ ฟาเดลล์ มาช่วย ซึ่งฟาเดลล์ นั้นได้เร่ขายความคิดเกี่ยวกับเครื่องเล่นเพลงแบบมือถือใน Silicon Valley มาทั่วแล้ว

ฟาเดลล์ นั้น เคยตั้งบริษัท ถึง 3 แห่งสมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัย มิชิแกน พอเรียนจบก็ได้เข้าไปทำงานที่ General Magic ผู้ผลิตอุปกรณ์อเล็กทรอนิกส์แบบพกพา แล้วย้ายข้ามห้วยไปยัง Philips บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน อิเล็กทรอนิค ระดับโลก

ฟาเดลล์ นั้นมีไอเดียอย่างแรงกล้า ที่จะทำเครื่องเล่นเพลงที่ดีกว่าเครื่องที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เขาเคยไปนำเสนอ idea ที่ RealNetwork , Sony และ Philips แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

และ Apple ได้ลงนามกับสุดยอดเทคโนโลยีลับ คือ ฮาร์ดไดร์ฟขนาดจิ๋วของโตชิบา เพื่อให้ได้สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการใช้ฮาร์ดไดร์ฟดังกล่าว และไม่ให้ใครสามารถเลียนแบบได้นั่นเอง ถึงตอนนี้เราจะเห็นได้ว่า Apple ได้สุดยอดเทคโนโลยีทั้งสองไม่ว่าจะเป็น FireWire ที่ Apple เป็นเจ้าของเอง รวมถึง ฮาร์ดไดร์ฟ ขนาดจิ๋วจากโตชิบา ที่ตอนนั้นก็ยังไม่มีใครคาดคิดว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไร แต่ตอนนี้ Apple ได้เห็นเส้นทางที่จะกลับสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นกับ Apple ต่อจากนี้ แล้ว Microsoft ที่ตอนนั้นยังแทบไม่สนใจตลาดด้านนี้เลยด้วยซ้ำ จะมาข้องเกี่ยวกับ ธุรกิจนี้ได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 3 : iPod was Born

สงครามการค้า เกาหลี vs ญี่ปุ่น แต่ผู้ชนะคือจีน

“ สงครามการค้า” ที่ทวีความรุนแรงขึ้นระหว่าง ประเทศญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ อาจเป็นข่าวดีสำหรับจีนทั้งทางด้านเศรษฐกิจและประเด็นทางด้านการทูต 

จากข้อจำกัดในเรื่องการส่งออกของญี่ปุ่นที่มีปัญหากับบริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ โดยมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงในเรื่องสงครามการค้าขึ้น ซึ่งความบาดหมางครั้งนี้น่าจะส่งผลให้ผู้ผลิตจีนจะได้เปรียบในการแข่งขันตามข้อมูลของนักวิเคราะห์ที่กล่าวถึงเรื่องนี้

 เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะจำกัดการส่งออกในส่วนที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีเกาหลีใต้ 

ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงสำหรับบริษัทเทคโนโลยีของเกาหลีใต้เช่น Samsung และ LG Display ซึ่งทั้งคู่พึ่งพาผู้ผลิตจากญี่ปุ่นอย่างมาก แต่สำหรับทางฝั่งของ บริษัทญี่ปุ่นซึ่งจะต้องหาลูกค้ารายใหม่ ๆ และอาจทำให้ซัพพลายเชนของพวกเขาหยุดชะงัก ถ้าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศยังคงอยู่แบบนี้ ไม่มีการแก้ไข

นักวิเคราะห์เชื่อว่าการโต้กลับของเกาหลีน่าจะเป็นส่วนของชิ้นส่วน บล็อกหน้าจอ OLED ที่เกาหลีได้ส่งออกไปญี่ปุ่น ซึ่งแน่นอนว่าจะกระทบความสามารถของบริษัทญี่ปุ่นในการผลิตทีวีคุณภาพสูงเช่นเดียวกัน

ด้วยมาตรการดังกล่าว ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีของทั้งสองประเทศผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าผู้ผลิตจีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ของประเทศจีน  จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดในการเติมช่องว่างดังกล่าว

เกิดอะไรขึ้นระหว่างสองประเทศยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีจาก Asia

ซึ่งสาเหตุหลักจากสงครามการค้าครั้งนี้ เกิดจากข้อพิพาทระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น เกี่ยวกับมรดกของการปกครองอาณานิคมของญี่ปุ่นในคาบสมุทรเกาหลีก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นซึ่งจะต้องชำระค่าชดเชยทั้งหมดภายใต้สนธิสัญญาที่ลงนามเมื่อปี 1965 ซึ่งได้รับการแจ้งเตือนจากคำสั่งของศาลเกาหลีใต้เมื่อเร็ว ๆ นี้  ซึ่งทำให้เหล่าบริษัทญี่ปุ่นต้องช่วยชดเชยค่าใช้จ่ายดังกล่าวในช่วงสงครามให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการบังคับใช้แรงงาน.

ในการตอบโต้จากญี่ปุ่น ได้กล่าวว่าจะจำกัด การส่งออกสำหรับวัสดุที่ใช้ในอุปกรณ์เทคโนโลยี 3 ชนิด: โพลีอะมายด์ฟลูออไรด์ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน photoresists ที่ใช้ในเซมิคอนดักเตอร์ และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ที่ใช้ในเซมิคอนดักเตอร์เช่นเดียวกัน โดยบริษัท เกาหลีใต้พึ่งพาญี่ปุ่นเป็นอย่างมากสำหรับวัสดุทั้งสามรายการนี้ 

สงครามความตึงเครียดทางการค้า

อย่างไรก็ตามการลดความเชื่อมั่นดังกล่าว ไม่ใช่เพียงวิธีเดียว สำหรับสงครามการค้ารอบนี้ระหว่างประเทศทั้งสอง Ryo Hinata-Yamaguchi อาจารย์ประจำวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซานในเกาหลีใต้กล่าวว่า

“ ญี่ปุ่นเป็นแหล่งของสารเคมีและเทคโนโลยีการผลิตที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในขณะที่ญี่ปุ่นเกาหลีใต้เองนั้นก็เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญเช่นกัน ” Hinata Yamaguchi กล่าว

อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ กับปัญหาสงครามการค้าระหว่างสองประเทศ
อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ กับปัญหาสงครามการค้าระหว่างสองประเทศ

ประเด็นดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดย จูน พาร์ค อาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยจอร์จเมสันในเกาหลีใต้ ซึ่งกล่าวว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของทั้งสองประเทศ  ตัวอย่างเช่น การที่บริษัทเกาหลีใต้ซื้อวัสดุจากญี่ปุ่นเพื่อผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพื่อส่งกลับไปญี่ปุ่นอีกครั้ง“ แต่การยกเลิกการส่งวัสดุดังกล่าว ไม่ใช่สถานการณ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้ เมื่อพิจารณาถึงระดับความตึงเครียดในตอนนี้”  ปาร์คกล่าว “ ความตึงเครียดเหล่านี้หากยังคงอยู่ จะสามารถสร้างผลกระทบอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของการผลิตชิปไปทั่วโลกในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั่วโลกเช่น Apple และหัวเว่ย ด้วยเช่นเดียวกัน.”

ทำไมต้องเป็นจีน

นักวิเคราะห์กล่าวว่าการต่อสู้ทางการค้าที่รุนแรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตจีนในที่สุดเป็นผลมาจาก สงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา ซึ่งจีนได้พยายามก้าวไปข้างหน้าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมไมโครชิพของตัวเอง โดยลดการพึ่งพาจากอุตสาหกรรมในต่างประเทศ

ซึ่งหัวใจของแผนดังกล่าวคือ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ภายใต้แผน Made in China 2025 จีนมีเป้าหมายที่จะผลิตเซมิคอนดักเตอร์ประมาณ 40% ให้ได้ภายในปี 2020 และ เพิ่มให้สูงขึ้นถึง 70% ในปี 2025 

จีนกำลังได้ประโยชน์จากสงครามการค้าระหว่างเกาหลี และ ญี่ปุ่น
จีนกำลังได้ประโยชน์จากสงครามการค้าระหว่างเกาหลี และ ญี่ปุ่น

หากจีนสามารถใช้ประโยชน์จากความตึงเครียดในปัจจุบันได้ ก็จะเป็นการสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสามในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่มีมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ ซึ่งในปี 1990 และ 2000 ญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่า แต่ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ดูเหมือนเกาหลีใต้จะกลายเป็นผู้กำชัยชนะ

“ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีความซับซ้อนมากและความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปตลอด ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา” ปาร์คกล่าว

นักวิเคราะห์บางคนสงสัยว่าขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่จีนต้องเป็นผู้นำ

References : 
https://www.scmp.com/week-asia/geopolitics/article/3017918/how-china-can-win-trade-war-between-japan-and-south-korea