นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาวัคซีนด้วย AI ตัวแรกของโลก

Nikolai Petrovsky ศาสตราจารย์แพทยศาสตร์ที่ Flinders University ในประเทศออสเตรเลียและหัวหน้านักวิจัยด้านวัคซีนกล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกที่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้รับการพัฒนาโดยใช้ AI  ซึ่งด้วยองค์ประกอบพิเศษที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ให้สร้างแอนติบอดีต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าวัคซีนทั่วไป และตอนนี้กำลังก้าวไปสู่การทดลองในมนุษย์

เขากล่าวว่าการใช้ AI ช่วยเร่งกระบวนการค้นพบวัคซีนทำให้ช่วย ลดค่าใช้จ่ายอย่างมากและทำให้สามารถพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เขากล่าวว่าการใช้ AI ปรับปรุงกระบวนการพัฒนาวัคซีนให้คล่องตัวขึ้น

“ โดยปกติ บริษัท ใหญ่ ๆ อย่าง GSK จะทำการกลั่นกรองสารประกอบนับล้านโดยที่มีคนหลายพันคนทำงานเป็นเวลากว่าประมาณห้าปี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายหลายร้อยล้านดอลลาร์ในการสร้างวัคซีนแต่ละตัวออกมาใช้ได้จริง” เขากล่าว

นักวิจัยชาวออสเตรเลียสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกเรียกว่า Sam ซึ่งพวกเขาสอนวิธีจดจำวัคซีนที่ทำงานกับไข้หวัดใหญ่และอีกส่วนนึงที่ไม่ได้รับวัคซีน เพื่อทำการ Training เปรียบเทียบกัน

จากนั้นพวกเขาสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกโปรแกรมหนึ่งซึ่งศาสตราจารย์ Petrovsky ได้ทำการสร้างสารประกอบหลายล้านล้านชุด จากนั้นจะคัดเลือกผ่านอัลกอรึทีมทางคอมพิวเตอร์เพื่อคัดให้เหลือ 10 กลุ่มเป้าหมายของสารประกอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

“ ดังนั้นแทนที่จะคัดกรองสารประกอบนับล้าน  เราสามารถใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในการสังเคราะห์สารประกอบเหล่านี้ แล้วทำการทดสอบมันด้วยเลือดมนุษย์ ซึ่งสารประกอบนั้นต้องผ่านการทดสอบกับสัตว์มาก่อนที่จะใช้ทดลองกับมนุษย์”เขากล่าว

ข้อดีของการใช้ AI คือไม่เพียงเพิ่มความเร็วในกระบวนการ แต่ยังพบสารประกอบที่มีประสิทธิภาพที่สุดอีกด้วย 

AI ช่วยให้การพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ๋มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
AI ช่วยให้การพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ๋มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

การใช้ เครือข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ซึ่งเลียนแบบสมองมนุษย์โดยจดจำรูปแบบและทำการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันสามารถรับและประมวลผลข้อมูลได้ดีกว่าสมองของมนุษย์นั่นเอง 

ศาสตราจารย์ Petrovsky กล่าวว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า AI จะเป็นสิ่งพื้นฐานในการพัฒนายา 

“ AI ได้รับการใช้งานอย่างต่อเนื่องในการตัดสินใจทางด้านคลินิก ว่าควรใช้ยาชนิดใดสำหรับผู้ป่วยรายใด แต่การออกแบบยานั้นเป็นเรื่องยากที่จะคิดว่ามันเกินความสามารถของ AI ในปัจจุบัน แต่เราได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเราสามารถทำได้” เขากล่าว

ศาสตราจารย์ Petrovsky เชื่อว่าวัคซีนจะแล้วเสร็จภายในอีกประมาณสามปี ถ้ามันสามารถก้าวข้ามอุปสรรคสุดท้ายได้สำเร็จ

“ ด้วยความต้องการและแรงผลักดันในการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ดีกว่าเดิม AI สามารถช่วยเหลืองานด้านนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ และงานวิจัยควรจะได้รับการนำไปใช้จริง ๆ ในอนาคต” เขากล่าว

References : 
https://www.telegraph.co.uk/news/0/scientists-claim-have-developed-worlds-first-vaccine-artificial/

หุ่นยนต์กับการเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์

ในบรรดาหลายๆ สิ่งที่มนุษย์มีวิวัฒนาการเหนือกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ คือเรื่องของภาษาที่ซับซ้อนของเรา แน่นอนว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็มีความสามารถในการพูดคุยกันได้ แต่เรามีหลากหลายภาษาที่เป็นภาษาเขียน ซึ่งมีความซับซ้อนทั้งในเรื่องไวยากรณ์และการพูด 

โดยนักวิจัยที่ Brown University ได้สร้างหุ่นยนต์ทำสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ในเรื่องของภาษา: หลังจากมีการฝึกฝนการเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยมือแล้วหุ่นยนต์ก็เริ่มคัดลอกคำแบบเดียวกันในภาษาอื่น ๆ ที่ไม่เคยเขียนมาก่อน รวมถึงภาษาฮินดี กรีก และอังกฤษเพียงแค่ดูตัวอย่างลายมือนั้นเพียงเท่านั้น 

ก้าวข้ามเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์
ก้าวข้ามเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์

เช่นเดียวกับการก้าวเดินได้ด้วยสองขา การเขียนด้วยลายมือก็ถือเป็นหนึ่งในเสน่ห์ที่เรียบง่ายของมนุษย์ที่ดูแล้วเหมือนจะมีความซับซ้อน เมื่อคุณเขียนคำใด ๆ คำหนึ่ง คุณก็จะต้องรู้ว่าจะวางปากกาของคุณนานแค่ไหนในการวาดเส้นและการวางทิศทางในการเขียน ซึ่งมันไม่เป็นเรื่องง่ายเลยที่หุ่นยนต์จะสามารถเลียนแบบความสามารถนี้ของมนุษย์ได้

ดังนั้นเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเขียนได้เหมือนกับมนุษย์  จะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดรูปแบบตัวอักษรแต่ละตัว   Stefanie Tellex และ Atsunobu Kotani  นักพัฒนาหุ่นยนต์ของ Brown University ผู้เป็นพัฒนาระบบ กล่าว “ และนั่นคือสิ่งที่อัลกอริทึมเรียนรู้ที่จะทำตามรูปแบบของมนุษย์”

ระบบการเรียนรู้ของหุ่นยนต์แบ่งออกเป็นสองรูปแบบที่แตกต่างกัน แบบแรก นั้นรับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับจังหวะของปากกา ดังนั้นการเล็งไปในทิศทางที่ถูกต้องและกำหนดวิธีที่จะหาจังหวะสิ้นสุดของการเขียน และแบบที่สอง นั้นมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายการเขียนของหุ่นยนต์ไปยังตัวอักษรถัดไป

ในการฝึกอบรมหุ่นยนต์นักวิจัยได้ป้อนคลังข้อมูลของตัวอักษรญี่ปุ่นและให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่องค์ประกอบของตัวอักษารแต่ละตัว “ จากนั้นมันจะเรียนรู้แบบจำลองที่ดูที่ระดับพิกเซลของภาพและคาดการณ์ว่าจะต้องเริ่มจังหวะต่อไปที่ใดและต้องเคลื่อนที่ในขณะที่กำลังวาดเส้นเพื่อสร้างตัวอักษรให้ออกมาได้” Tellex กล่าว

จากนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะทำให้หุ่นยนต์สับสนโดยการเขียนคำว่า “Hello” บนกระดานไวท์บอร์ดในภาษาฮินดี, ทมิฬและภาษายิดดิช ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้รูปแบบการเขียนที่ไม่เหมือนใคร 

และไม่น่าเชื่อว่าหุ่นยนต์จะสามารถใช้เทคโนโลยี Machine Vision และเขียนคำศัพท์ของตัวเอง แม้ว่าตัวมันจะฝึกการเขียนเฉพาะภาษาญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น 

จากนั้นเมื่อมีเด็ก ๆ อนุบาลหลายคนไปเยี่ยมห้องทดลองของ Tellex  แม้เด็ก ๆ จะใช้การเขียนด้วยลายมือที่ไม่ดี แต่เจ้าหุ่นยนต์มันเลียนแบบพวกเขาได้อย่างง่ายดาย “ เพียงเพื่อดูแล้วทำซ้ำ ซึ่งการเขียนด้วยลายมือที่อ่านได้ยากของเด็กน้อยอายุ 6 ปีเหล่านี้ มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ไม่เคยเห็นมาก่อนและเจ้าหุ่นยนต์ก็ไม่เคยฝึกฝนในเรื่องนี้” Tellex กล่าว

เลียนแบบการวาดภาพของมนุษย์
เลียนแบบการวาดภาพของมนุษย์

แต่ไม่มีทำได้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากนักวิจัยฝึกฝนหุ่นยนต์กับภาษาญี่ปุ่นยุคใหม่ซึ่งเขียนจากซ้ายไปขวา หุ่นยนต์อาจคุ้นชินกับภาษาอังกฤษซึ่งเขียนในทิศทางเดียวกันได้ แต่มันก็ดูเหมือนจะได้ไม่ดีนักกับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายในทิศทางกลับกันนั่นเอง

และตอนนี้หุ่นยนต์จากงานวิจัยชิ้นนี้ กำลังพัฒนาก้าวไปสู่การสื่อสารรูปแบบใหม่ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร แม้อาจจะไม่เห็นผลมากนักในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่สักวันอาจมีหุ่นยนต์ที่สามารถทิ้งโน้ตที่เขียนด้วยลายมือของเราก็เป็นได้นั่นเองครับ

References :  
https://www.wired.com/story/robot-writing/

จีนกำลังใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

โรงเรียนมัธยมในประเทศจีนได้จัดทำระบบเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) เพื่อเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในห้องเรียน

เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ที่ทางโรงเรียนใช้ คือการบันทึกการแสดงออกทางสีหน้าของนักเรียนทุกคนขณะที่อยู่ในห้องเรียน ระบบจะทำการสแกนห้องเรียนทุก ๆ 30 วินาทีและจดจำการแสดงออกที่แตกต่างกันเจ็ดอย่าง เช่น ปรกติ, มีความสุข, เศร้า, ผิดหวัง, กลัว, โกรธและประหลาดใจ

ระบบนี้ถูกเรียกว่า “ระบบจัดการพฤติกรรมห้องเรียนอัจฉริยะ” และมันถูกใช้ในโรงเรียนมัธยมหมายเลข 11 ในเมือง หางโจว ด้วยการสแกนการแสดงออกทางใบหน้า ระบบมีความสามารถในการวิเคราะห์พฤติกรรมทั้งหกประเภทของนักเรียน เช่นการลุกขึ้นยืน การอ่าน การเขียน การยกมือ การฟังครู และการเอนตัวลงบนโต๊ะ

ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่นักเรียนโต้ตอบและพฤติกรรมในชั้นเรียนเมื่อครูสอน จะถูกส่งไปยังครูเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ระบบนี้ยังใช้ในการตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนได้อีกด้วย

แต่ระบบดังกล่าวก็ได้ท้าทายในเรื่องความเป็นส่วนตัวของนักเรียน อย่างไรก็ตามโรงเรียนกลับไม่ได้คิดอย่างงั้น  Zhang Guanchao รองอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนกล่าวว่าระบบจะรวบรวมและวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์การจดจำใบหน้าและเก็บไว้ในฐานข้อมูลเฉพาะในโรงเรียน แทนที่จะอัปโหลดไว้ในระบบคลาวด์ และระบบไม่ได้บันทึกภาพเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ทุกคน มีการกำหนดสิทธิ์อย่างชัดเจนในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ นักเรียนคนหนึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนหางโจว กล่าวว่า

“ ก่อนหน้านี้เมื่อฉันเรียนในสิ่งที่ฉันไม่ชอบมาก ฉันจะขี้เกียจและอาจงีบอยู่บนโต๊ะหรือแอบไปอ่านการ์ตูน แต่ตอนนี้ฉันไม่กล้าที่จะวอกแวกหลังจากติดตั้งกล้องในห้องเรียน มันเปรียบเหมือนดวงตาลึกลับกำลังเฝ้าดูฉันอยู่ตลอดเวลา”

แล้วคุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้านี้ คิดว่ามันมีประโยชน์สำหรับนักเรียนและครูหรือไม่ครับ?

References : 
https://www.techjuice.pk/this-school-scans-classrooms-every-30-seconds-through-facial-recognition-technology/