หุ่นยนต์ HyQReal กับภารกิจลากเครื่องบินหนัก 3 ตัน

เพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์อย่างสุนัขนั้น อาจจะเก่งในการช่วยลากเลื่อนเพื่อช่วยขนส่งผู้คนผ่านหิมะในเมืองที่เหน็บหนาว แต่ตอนนี้หุ่นยนต์สุนัขที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นมาล่าสุดนั้นกำลังจะลากเครื่องบินทั้งลำได้แล้ว

ในช่วงก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ที่เราเห็นเจ้า Spot Mini ของ Boston Dynamics สุนัขหุ่นยนต์ที่สามารถลากรถบรรทุกทั้งคันได้ แต่ตอนนี้นักวิจัยที่ Istituto Italiano di Tecnologia (IIT) ได้ประกาศรุ่นใหม่ของหุ่นยนต์ไฮดรอลิคสี่เท้า HyQReal  และมันยังสามารถที่จะลากเครื่องบินที่มีความหนักถึง 3 ตัน

แม้ว่าความสูงเท่ากับ SpotMini แต่ HyQReal นั้นหนักกว่าถึง 3 เท่า ซึ่งเมื่อเทียบกับความสูง 84 ซม. และมีน้ำหนัก 30 กก. ของ Spot Mini  ในขณะที่ HyQReal สูง 90 ซม. และมีน้ำหนัก 130 กิโลกรัม 

นั่นเป็นเพราะเจ้าหุ่นยนต์สุนัขตัวอ้วนตัวนี้ กำลังถูกพัฒนาโดย IIT เพื่อช่วยในสถานการณ์ภัยพิบัติเช่นไฟไหม้ หรือ เหตุฉุกเฉินร้ายแรงอื่น ๆ ที่คนไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้

“ เราไม่ได้ตั้งเป้าหมายการเพื่อช่วยเหลือในทันทีทันใด” Claudio Semini หัวหน้าโครงการที่ห้องปฏิบัติการ Dynamic Legged Systems ของ IIT กล่าวในอีเมลถึง CNET “ แต่จะช่วยสนับสนุนหลังจากเกิดภัยพิบัติ ในพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเจ้า HyQReal จะคอยช่วยจัดการและเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดใหญ่ ที่คนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ หรืองานในการเปิดประตูเพื่อหาทางออกให้กับคนที่ติดอยู่ในภัยพิบัติ ฯลฯ ”

สบาย ๆ กับงานลากเครื่องบินขนาด 3 ตัน
สบาย ๆ กับงานลากเครื่องบินขนาด 3 ตัน

ในขณะที่การลากน้ำหนักอันมหาศาลของเครื่องบินสามตัน  นั้นถือเป็นเรื่องน่าเซอร์ไพรซ์อย่างมาก แต่ความสามารถของมันนั้นขึ้นอยู่กับความต้านทานของการหมุนล้อยางของเครื่องบินมากกว่าปัจจัยในเรื่องน้ำหนักโดยรวมของเครื่องบิน

ถึงกระนั้นก็เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสามารถของ HyQReal ในการทำงานหนักๆ และถ้าต่อไปในอนาคต เรามีสุนัขหุ่นยนต์ที่สามารถลากรถบรรทุกและสุนัขหุ่นยนต์ที่สามารถลากเครื่องบินได้แล้วนั้น บางทีมันอาจจะถึงเวลาที่เราควรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของหุ่นยนต์และ AI ให้มากขึ้นเสียที

References : 
https://futurism.com/watch-robot-dog-airplane

ลักเซมเบิร์ก ประเทศแรกที่ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะใช้ฟรี

ลักเซมเบิร์ก จะกลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ให้บริการขนส่งสาธารณะทุกอย่างฟรี ซาเวียร์ เบ็ทเทลนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ และพรรคร่วมรัฐบาลประกาศว่าพวกเขาตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยให้ประชาชนมาใช้บริการขนส่งสาธารณะที่รัฐบาลจะให้ใช้ฟรี ซึ่งการออกนโยบายใหม่นี้ทางรัฐบาลหวังว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรที่ติดขัดที่สุดในโลกประเทศหนึ่งได้

ลักเซมเบิร์ก มีผู้ใช้บริการกว่า 400,000 คนที่เดินทางมาทำงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ในปีนี้ลักเซมเบิร์กเริ่มให้บริการรถรับส่งฟรีแก่ทุกคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี รวมถึงนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสามารถนั่งรถรับส่งฟรีระหว่างโรงเรียนและที่บ้านได้ ปัจจุบันลักเซมเบิร์กมีจำนวนรถยนต์สูงสุดเมื่อเทียบกับอัตรส่วนประชากรในสหภาพยุโรป

ตามรายงานของเดอะการ์เดียน ในขณะนี้เหล่าผู้เดินทางต้องจ่ายเงิน 2 ยูโรสำหรับการเดินทาง ซึ่งครอบคลุมการเดินทางเกือบทั้งหมดในประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้ โดยทางรัฐบาลได้กล่าวว่ามีแผนที่จะปรับปรุงการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้สัญจรไปมา ซึ่งจะคำนวณตามระยะทางที่ใช้ในการเดินทาง โดยในปี 2020 ตั๋วทั้งหมดจะถูกยกเลิกเพื่อประหยัดในการเก็บค่าโดยสารและการตรวจสอบการซื้อตั๋วนั่นเอง

References : 
https://www.archdaily.com/908252/luxembourg-becomes-first-country-to-make-all-public-transit-free

Toyota เตรียมทดสอบรถไฟฟ้าพลังงานโซลาร์เซลล์

โตโยต้าจะเริ่มทำการทดสอบโซลาร์รูฟแบบใหม่สำหรับ Prius ที่กล่าวว่าสามารถเพิ่มระยะทางในการใช้งานได้กว่า 44.5 กม. ให้กับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด เซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตโดยชาร์ปนั้นมีความหนาเพียง 0.03 มม. แต่ให้กำลังไฟประมาณ 860 วัตต์และยังสามารถชาร์จไฟในขณะที่รถกำลังขับเคลื่อนได้อีกด้วย การทดสอบจะเริ่มต้นบนถนนสาธารณะในปลายเดือนนี้ แต่ยังไม่มีคำยืนยันว่า เมื่อไหร่จะถูกผลิตเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Toyota จัดทำแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับรถยนต์ของตนเอง ย้อนกลับไปในปี 2010 มีการทดลองนำเอาโซลาร์เซลล์มาใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่เสริมในรถยนต์ได้ (ซึ่งเสริมพลังให้กับระบบที่ไม่ใช่ระบบหลักของรถเช่น sat-nav และระบบควบคุมสภาพอากาศ) ซึ่งความแตกต่างกับตัวใหม่นี้ก็คือแผงแบบใหม่จะมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น ซึ่งสามารถผลิตพลังงานได้มากถึง 5 เท่าของรุ่นก่อนหน้านี้และสามารถเพิ่มระยะการขับขี่ได้มากกว่า 7 เท่า

ปัจจุบันโตโยต้าไม่ได้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่ขับเคลื่อนกับไฟฟ้าล้วน ๆ  ดังนั้นหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์เหล่านี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของ Toyota

ซึ่งจากที่ผ่านมาโตโยต้าได้แสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นไปที่เครื่องยนต์แบบไฮบริดมากกว่ารถยนต์ไฟฟ้าล้วน ๆ โดยกล่าวว่าหากใช้กำลังการผลิตแบตเตอรี่ในการผลิตแบบไฮบริดในปริมาณที่มากขึ้นก็จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่า

แผงโซลาร์เซลล์ บนรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของ Toyota
แผงโซลาร์เซลล์ บนรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของ Toyota

เมื่อเทียบกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าล้วน ๆ ในจำนวนเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนที่แล้ว บริษัท ได้ประกาศแผนการผลิตระบบขับเคลื่อนรถไฟฟ้าล้วน ๆ โดยความร่วมมือกับซูบารุซึ่งบ่งชี้ว่ารถยนต์โตโยต้าไฟฟ้าล้วน ๆ นั้นกำลังจะถูกสร้างในที่สุด เนื่องจาก Trend ของตลาดกำลังไปในทิศทางนี้นั่นเอง

เมื่อพิจารณาถึงกำลังไฟฟ้าที่ค่อนข้างน้อย รถยนต์จะได้รับจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของรถยนต์ ซึ่งเมื่อเทียบกับหลังคาของอาคารไม่ต้องพูดถึงความท้าทายในการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้เนื่องจากพื้นที่ ๆ จำกัดของหลังคารถยนต์นั่นเอง

แต่ก็ได้มีบางบริษัทที่ทดลองแบบเดียวกันนี้เช่นกัน ที่น่าสนใจที่สุดคือ Lightyear ที่จะเริ่มต้นวางแผนที่จะเริ่มส่งมอบ“ รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์” ให้กับลูกค้าในปี 2021 และฮุนไดยังประกาศแผนการที่จะเริ่มการติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์บนรถยนต์บางรุ่นเมื่อปีที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน

References : 
https://www.theverge.com/2019/7/5/20683111/toyota-prius-plug-in-hybrid-solar-roof-range-electricity-energy-environment