ประวัติ Google ตอนที่ 9 : Going Public

หลักชัยที่สำคัญของทุกธุรกิจ ในการก้าวเข้าสู่อีกระดับนั่นคือการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ กลายเป็นบริษัทมหาชน แต่บริน และ เพจ พยายามที่จะยื้อโครงการที่จะไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

เหตุผลสำคัญอย่างนึงที่คู่หูผู้ก่อตั้งไม่อยากที่จะนำ Google เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยเร็ววันนั้น ปัจจัยหนึ่งคือการที่จะทำให้ เหล่าคู่แข่งสำคัญที่กำลังมองตาเป็นมันอย่าง Microsoft และ Yahoo จะรู้ว่า Google สามารถทำกำไรมหาศาลได้อย่างไร

ซึ่งทันทีที่ข้อมูลต่าง ๆ ถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะตามกฏของตลาดหลักทรัพย์แล้วนั้น แน่นอนว่าการแข่งขันที่ Google ผูกขาดมาเป็นช่วงเวลาหนึ่งแล้วนั้นจะเจอการแข่งขันที่รุนแรงทันที

แม้มันจะส่งผลให้เหล่าพนักงานรุ่นก่อตั้งที่ได้รับหุ้นไป รวยกลายเป็นเศรษฐีทันที แต่ ผลเสียมันก็อาจจะก่อตัวขึ้น เนื่องจาก ทุกอย่างมันจะกลายเป็นเรื่องสาธารณะทันที แม้กระทั่งชีวิตของผู้ก่อตั้ง ก็ดูจะมีแววว่าจะวุ่นวายพอควร เมื่อทุกคนจะโฟกัสมาที่พวกเขา เมื่อรู้ว่าพวกเขาจกำลังจะกลายเป็นมหาเศรษฐี

และสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างคือ ทั้งคู่ไม่ได้ต้องการเงินหลายพันล้านที่จะเข้ากระเป๋ามาเมื่อบริษัทเข้าตลาดหุ้น เพราะทั้งสองนั้นชอบใช้ชีวิต ปลีกวิเวก แบบสมถะ เรียบง่าย ไม่ได้สนใจเรื่องการที่จะกลายเป็นมหาเศรษฐีเลยแต่อย่างใด พวกเขาแค่ต้องการเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นเพียงเท่านั้น และทำสำเร็จแล้วด้วย Google

สองผู้ก่อตั้งมีเป้าหมายต้องการเปลียนโลกให้ดีขึ้น
สองผู้ก่อตั้งมีเป้าหมายต้องการเปลียนโลกให้ดีขึ้น

และพวกเขาก็ยังต้องการเปลี่ยนแปลงในการเสนอขายต่อตลาดหุ้นด้วยการปฏิเสธธรรมเนียมแบบเดิม ๆ ของ วอลล์สตรีท ที่มักมีบริษัทลงทุนเป็นคนจัดการแล้วกระจายให้ผู้มีสิทธิพิเศษก่อน โดยจะกดราคาหุ้น IPO ให้ต่ำไว้ก่อน แล้วหันมาทำการกระจายหุ้นด้วยความเสมอภาค ผ่านคอมพิวเตอร์ Algorithm ที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง คล้าย ๆ กับการประมูลโฆษณาของ Google

และมันก้ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นในวงการตลาดหุ้น เมื่อผู้ใช้ Google นับล้าน ๆ คน รายเล็กรายน้อย ต่างมีโอกาสที่จะได้เข้าถึงหุ้น Google ในวัน IPO  มันเป็นวิธีการที่ บริน และเพจ ทำให้หุ้น Google เข้าถึงคนธรรมดาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

บริน และ เพจ ต้องการแหกธรรมเนียมวอลล์สตรีท เพื่อแจกจ่ายหุ้นให้คนทั่วไปมากที่สุด
บริน และ เพจ ต้องการแหกธรรมเนียมวอลล์สตรีท เพื่อแจกจ่ายหุ้นให้คนทั่วไปมากที่สุด

และที่สำคัญ ทั้งสองผู้ก่อตั้งยังต้อการแก้เผ็ดวอลล์สตรีทด้วยการ จ่ายค่าตอบแทบให้ต่ำกว่าครึ่ง ของอัตราที่จ่ายกันปรกติ และไม่สนใจ โบรกเกอร์ใดที่ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของการแจกจ่ายหุ้นที่สร้างข่าวอื้อฉาวมานานในวอลล์สตรีท

เนื่องจาก Google นั้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีล้วน ๆ ที่ต่างจากคู่แข่งอย่าง Yahoo ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมของบริษัทสื่อแบบเก่า ผู้บริหารได้แบ่งหุ้นออกเป็นสองประเภท ได้แก่ หุ้นประเภท ก. เป็นหุ้นที่ขายให้นักลงทุนทั่วไปและมีสิทธิ์หุ้นละหนึ่งเสียง และประเภท ข. หุ้นที่เป็นทุนของพวกเขาเอง มีสิทธิ์หุ้นละสิบเสียง และให้อำนาจในการควบคุมบริษัทโดยตรงแก่พวกเขา

ซึ่งการสร้างโครงสร้างสองระดับเช่นนี้ จะถูกคุกคามจากควบรวมกิจการได้ยาก หากไม่ได้รับการยินยอมโดยเหล่าผู้ก่อตั้ง เป็นการควบคุมอำนาจในบริษัทแบบเบ็ดเสร็จ จะไม่มีการแทรกแซงจากภายนอก ทั้งสองผู้ก่อตั้งยังคงควบคุม Google ได้แบบเบ็ดเสร็จ โดยที่สามารถทำเงินเป็นพันล้านเหรียญได้จากการเข้าตลาดหุ้น และ เป็นเป็นแบบอย่างให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ยุคหลัง ทำตามกันมา

ดังคำขวัญประจำใจของ Google ที่ทั้งสองผู้ก่อตั้งกำหนดไว้คือ “Don’t be Evil” ซึ่งมันเป้นคำประกาศที่เป็นการ ยิงตรงเข้าใส่คู่แข่งศัตรูในขณะนั้นอย่าง Microsoft และ Yahoo เป็นการกล่าวหา Yahoo คู่แข่งอันดับสองในตลาดเดียวกันว่า “ชั่วร้าย” ที่ยอมรับเงินจากเว๊บไซต์ต่าง ๆ เพื่อจะได้มีโอกาสมากขึ้นในการไปปรากฏบนหน้รายงานผลการค้นหา ทั้งบริน และ เพจ มองว่าผลการค้นหาของ Google นั้นเป็นผลการค้นหาที่เท่าเทียมและบริสุทธิใจ แต่ของ Yahoo เต็มไปด้วยมลทิน

Don't Be Evil คำขวัญประจำใจของ Google
Don’t Be Evil คำขวัญประจำใจของ Google

แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมองเหมือนกับสองเหล่าผู้ก่อตั้ง ผู้คนจำนวนมากก็ตั้งคำถามกับ Google เช่นเดียวกัน ความดีความชั่วที่ Google พูดถึงนั้นดูเหมือนจะเป็นการกล่าวยกยอตัวเองแทบจะทั้งสิ้น เพราะหาเงินจากโฆษณาเหมือนกัน

และเมื่อรายงานทางการเงินของ Google ได้ถูกเปิดเผยเมื่อเข้าสู่กระบวนการทำ IPO แล้วนั้น ทำให้เหล่าคู่แข่ง รวมถึงนักวิเคราะห์ต่างตกตะลึง กับกำไรที่เกิดขึ้น เพียงแค่ครึ่งปีแรกของปี 2004 บริษัทมีรายได้กว่า 1.4 พันล้านเหรียญ มีกำไรถึง 143 ล้านเหรียญ มันเป็นการเติบโตที่รวดเร็วมาก และไม่มีวี่แววว่าจะหยุดการเติบโตเลยด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ 

บรินและเพจ มีแนวคิดที่จะหนีออกจากเรื่องการเงินเดิม ๆ พวกเขาไม่ได้ต้องการเงินมากมาย ในคำบรรยายเกี่ยวกับเป้าหมายของ Google นั้น สองผู้ประกอบการกล่าวว่า

“ตนหวังว่าความมั่งคั่งและความเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมันจะสามารถถูกนำไปใช้แก้ปัญหาใหญ่ ๆ ของโลกได้ เรามุ่งมั่นปราถนาที่จะทำให้ Google กลายเป็นบริษัทที่สร้างโลกที่น่าอยู่มากขึ้น เราอยู่ในกระบวนการก่อตั้งมูลนิธิ Google และตั้งใจอุทิศทรัพยากรก้อนใหญ่ให้แก่มูลนิธิรวทั้งเวลาของพนักงานและหุ้นกับกำไร 1% เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สักวันหนึ่ง สถานบันแห่งนี้จะบดบัง Google เองในแง่ของการส่งผลกระทบต่อโลกโดยรวย”

ถือได้ว่าการเข้าสู่ตลาดหุ้นของ Google นั้น มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเรื่องเงิน แต่ในรายงานผลประกอบการนั้นก็สวนทางเพราะรายได้มีแต่เติบโตขึ้น และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว เหล่าคู่แข่ง อย่าง Microsoft และ Yahoo ต่างมองตาปริบ  ๆกับผลประกอบการของ Google แล้วเหล่าคู่แข่งจะจัดการอย่างไร จะแย่งส่วนแบ่งเค้กมโหฬารก้อนนี้มาได้หรือไม่ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 10 : Space Race 

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :When Larry Met Sergey *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ