ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 15 : Idea Overload

จากการที่มัสก์นั้นประสบความสำเร็จครั้งแล้วครั้งเล่า เขาเป็นนักปฏิบัติชั้นเยี่ยม ไม่ใช่คุยแค่เรื่องที่เพ้อฝันจับต้องไม่ได้เท่านั้น เขาจะลงมือทำและแสดงให้เห็นว่าวิสัยทัศน์ของเขานั้นสามารถที่จะทำให้มันเป็นจริงได้ ทั้งที่หลาย ๆ คนอาจจะส่ายหน้าหนีเมื่อได้ยินไอเดียของเขาในครั้งแรกก็ตามที

ทั้ง Tesla และ SpaceX นั้น ถูกออกแบบขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ที่จุดประกายให้กลุ่มคนเปี่ยมพรสวรรค์จำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม และหันมาทำสิ่งที่สร้างแรงบรรดาลใจ 

ตัวอย่างโครงการด้านอวกาศของ SpaceX นั้น มันเป็นความคิดแบบย้อนเวลาสู่อนาคต แม้มัสก์จะรู้ว่า โครงการอวกาศนั้นล้มเลิกไปนานแล้วก็ตาม เหล่าผู้คนต่างละทิ้งความยิ่งใหญ่ในอดีตของโครงการด้านอวกาศของสหรัฐ ในช่วงทศวรรษ 1970 แต่มัสก์นั้นสามารถพา SpaceX พิสูจน์ว่า มีวิธีที่จะนำพาอนาคตเหล่านี้กลับมาได้ มันเป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ และมีคุณค่าอย่างมหาศาล

ในเดือนสิงหาคมปี 2013 มัสก์ได้เปิดเผยแนวคิดใหม่ของสิ่ง ๆ นึงที่ถูกเรียกว่า Hyperloop โดยมัสก์นั้น ได้คิดถึงการปฏิวัติวงการขนส่ง มันจะเป็นวิธีการขนส่งแบบใหม่ ที่มนุษยชาติไม่เคยพบเจอมาก่อน

แนวคิดปฏิวัติระบบขนส่งใหม่อีกครั้งของมัสก์ Hyperloop
แนวคิดปฏิวัติระบบขนส่งใหม่อีกครั้งของมัสก์ Hyperloop

ใช้ความคิดง่าย ๆ ที่เปี่ยมไปด้วย Impact ที่มหาศาล การสร้างท่ออากาศเหมือนที่ใช้ส่งจดหมายภายในสำนักงาน  แต่มันเป็นท่อส่งขนาดยักษ์ ไว้สำหรับขนส่งคน และสินค้า มัสก์ ตั้งเป้าหมายที่จะเชื่อมเมือง ลอสแอนเจลิส กับ ซานฟรานซิสโก ด้วย Hyperloop ด้วยการสร้างท่อยกระดับ

โดยจะขนส่งคนหรือสินค้า โดยใช้ห้องโดยสารที่ถูกเรียกว่า Pod  มัสก์ได้กำหนดองค์ประกอบแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน การให้ท่อทำงานภายใต้ความดันต่ำ และทำให้ตัว Pod นั้นลอยขึ้นอยู่บนชั้นอากาศ  โดยตัว Pod นั้นจะถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และตัวมอเตอร์ที่มีการติดตั้งตลอดทั้งท่อ

Pod หรือห้องโดยสารรูปแบบใหม่ภายใน Hyperloop
Pod หรือห้องโดยสารรูปแบบใหม่ภายใน Hyperloop

กลไกเหล่านี้จะทำให้ตัว Pod สามารถทำความเร็วได้ถึง 800 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยการเดินทางจากลอสแอนเจอลิส ไปยัง ซานฟรานซิสโก ใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 30 นาทีเพียงเท่านั้น และตัว Pod ก็ใช้แบตเตอรี่แบบเดียวกับที่ Tesla ใช้  ส่วนแหล่งพลังงานอื่น ๆ ก็ใช้สิ่งที่ มัสก์มีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วใน SolarCity การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะทำให้สามารถประหยัดค่าการขนส่งได้เป็นอย่างมาก ซึ่งประมาณการณ์ไว้ว่า ผู้โดยสารแต่ละคนจะจ่ายเพียง 20 เหรียญในการเดินทางด้วย Hyperloop จาก ลอสแอนเจลลิส ไปยังเมือง ซานฟรานซิสโก

โดยขนาดของ Pod นั้นมีสองขนาด โดยตัวขนาดเล็กนั้น จะบรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 28 คนต่อเที่ยว ส่วน Pod ขนาดใหญ่นั้น จะสามารถบรรจุผู้โดยสารมากกว่า รวมถึงสามารถที่จะบรรจุรถ ขนาดประมาณ Model X ของ Teslaได้ถึงสามคัน 

ซึ่งต้องบอกว่าแนวคิดในเรื่อง Hyperloop ของมัสก์ นั้นมีมานานแล้ว มันเกิดมาจากความเกลียดชังที่เขามีต่อระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทางรัฐนั้นได้วางแผนไว้ก่อนหน้าแล้วในรัฐแคลิฟอเนีย ซึ่ง การใช้รถไฟความเร็วสูงนั้นจะใช้เวลาราวๆ  สองชั่วโมงครึ่ง ในการเดินทางจาก ลอสแอนเจอลิส ไปยัง ซานฟรานซิสโก ซึ่ง ในทุกวันนี้การเดินทางโดยเครื่องบินนั้นใช้เวลาราวๆ  หนึ่งชั่วโมง ส่วนการขับรถนั้นใช้เวลาราว ๆ 5 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นได้ว่า การใช้ Hyperloop ที่ใช้การเดินทางแค่ 30 นาทีนั้น เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ทางเลือกใหม่ในการเดินทางข้ามเมืองระยะไกล
ทางเลือกใหม่ในการเดินทางข้ามเมืองระยะไกล

แต่การเสนอไอเดียดังกล่าวของมัสก์นั้น ดูเหมือนเขา แค่ต้องการให้เหล่านักการเมืองในสภาทบทวนเรื่องรถไฟความเร็วสูงใหม่เพียงเท่านั้น ซึ่งมัสก์ต้องการแสดงให้เห็นว่า แนวคิดใหม่ ๆ จะสามารถผลักดันรัฐให้เดินหน้าได้จริง ๆ ดีกว่ามายึดติดกับเทคโนโลยีแบบเก่าๆ  และเหตุผลหลักอีกอย่างก็คือ ตอนนั้นงานที่ SpaceX และ Tesla นั้นยุ่งเกินกว่าที่มัสก์จะทำอะไรอีกอย่างได้

แต่แล้ว มันก็มีบางอย่างที่ผลักดันมัสก์ ให้เข้ามาจริงจังกับ Hyperloop เมื่อเขาได้ปล่อยเรื่องเกี่ยวกับ Hyperloop ลงในนิตยสาร Bloomberg BusinessWeek ซึ่งหลังจากเรื่องดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ไปนั้น มันได้ถึงกับทำให้ server ของเว๊บล่มไปเลยทีเดียว

มีเหล่าผู้คนแห่กันเข้ามาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ Hyperloop เหล่าแฟนคลับของมัสก์ ที่มีอยู่ทั่วโลกต่างเริ่มสนใจแนวคิดเกี่ยวกับ Hyperloop และมัสก์ เองก็ไม่อยากให้เหล่าแฟน ๆ ของเขาผิดหวัง  เขาจึงได้บอกนักข่าวว่าจะพิจารณาสร้างต้นแบบของ Hyperloop เป็นอย่างน้อยเพื่อพิสูจน์แนวคิดว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้จริง ๆ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอย่างที่หลาย ๆ คนคิด

ผู้คนส่วนใหญ่ที่ได้อ่านเรื่องราวจาก นิตยสาร Bloomberg BusinessWeek ต่างเชื่อมั่นว่ามัสก์จะทำมันได้สำเร็จ มันเป็นความเชื่อมั่นแบบแปลกประหลาดของผู้คน และมันส่งผลถึงมัสก์ มันบีบให้เขาต้องสร้างต้นแบบขึ้นมาให้สำเร็จ นี่คงเป็นเหตุผลที่มัสก์กลายเป็นผู้ที่ใกล้เคียงที่สุด ที่คนทั้งโลกคิดว่าเขาเป็น โทนี่ สตาร์ก ตัวจริง

ซึ่งไม่นานหลังจากที่มัสก์ได้ปล่อยแผนการเรื่อง Hyperloop เซอร์วิน พิเชวาร์ นักลงทุน แลเพื่อนสนิทของมัสก์ นำรายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ติดตัวไปประชุมกับ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ที่ทำเนียบขาว

และมันทำให้โอบามา หลงรักแนวคิดดังกล่าว และให้ทีมงานศึกษาข้อมูลดังกล่าว และในที่สุดก็จัดได้ให้มีการคุยส่วนตัวระหว่าง อีลอน มัสก์ กับ โอบาบาใน เดือนเมษายนปี 2014 และ เซอร์วิน พิเชวาร์ และเพื่อน ๆ รวมถึงมัสก์เอง ก็ได้กันร่วมก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Hyperloop Technologies ขึ้นมาจริง ๆ โดยหวังที่จะสร้าง เส้นทางสายแรกระหว่าง เมืองลอสแอนเจลลิส กับ ลาสเวกัส

ถกไอเดียเรื่อง Hyperloop กับ Obama หวังจะสร้างต้นแบบระหว่าง ลอสแอนเจลลิสและ ลาสเวกัส
ถกไอเดียเรื่อง Hyperloop กับ Obama หวังจะสร้างต้นแบบระหว่าง ลอสแอนเจลลิสและ ลาสเวกัส

จะเห็นได้ว่า มัสก์ นั้นเป็นคนที่ความมุ่งมั่นที่แรงกล้าเป็นอย่างมาก ไอเดียหลาย ๆ อย่างของเขาในหัวนั้นเป็นสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้นแทบจะทั้งสิ้น แม้หลายคนจะทำงานกับเขาด้วยยากมาก หลายคนอาจจะมองว่าเขาเป็นคนเพ้อฝัน แต่มัสก์นั้นก็พยายามช่วยให้ทุกคนที่ร่วมงานกับเขานั้นเข้าใจว่าเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของเขาคืออะไร ซึ่งเขาขับเคลื่อนสิ่งนี้ด้วยเลือดเนื้อหยาดเหงื่อ และหยดน้ำตาของเขามานับแต่แรกเริ่ม เขาเป็นคนที่เสี่ยงมากกว่าใคร และสุดท้ายแล้วมัสก์ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับสิทธิ์เป็นคนที่ยืนอยู่เบื้องหน้าสำหรับทุกสิ่งที่เขาได้สร้างขึ้นมา สำหรับตอนนี้จะเป็นบทสุดท้ายของเรื่องราวของชายที่ถูกขนานนามว่าเป็น โทนี่ สตาร์ก ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้วนะครับ เรื่องราวในตอนสุดท้ายจะเป็นอย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามน้า

–> อ่านตอนที่ 16 : End of the Begining (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ