ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 10 : The Show Musk Go On

ความสำเร็จของ Henry Ford ในการสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ขึ้นมาใหม่นั้น ส่งผลกระทบชัดเจนต่อชาวอเมริกัน ด้วยภาพที่เขาเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่  และ Ford ยังต้องเร่งการผลิตให้ท้นต่อความต้องการของผู้บริโภค เขาได้สร้างสิ่งที่กำลังจะมาเป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจอเมริกา ซึ่งสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการผลิตรถยนต์ของ Ford นั่นก็คือ การผลิตรถในจำนวนมากได้สำเร็จ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมให้สามารถผลิตได้จำนวนมาก  ๆ  ผ่านวิธีการโดยใช้สายพานการผลิตของเขานั้น มันได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ๆ และมันช่วยเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวอเมริกันไป เพื่อนคนสนิทของเขาอย่าง William  Harley และ Arthur Davidson ได้นำเครื่องยนต์ไปติดกับจักรยาน และได้กลายเป็นรถมอเตอร์ไซต์ขายออกไปทั่วประเทศ 

Milton Hershey ได้นำเอาแนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างช็อคโกแลต ส่วนพ่อค้าชาว ชิคาโก William Wrigley ก็ใช้แนวคิดเดียวกันในการผลิตหมากฝรั่งออกขายไปได้ทั่วประเทศ 

แนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford เปลี่ยนอุตสาหกรรมของสหรัฐไปตลอดกาล
แนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford เปลี่ยนอุตสาหกรรมของสหรัฐไปตลอดกาล

มันทำให้เกิดนักธุรกิจใหม่ ๆ และสร้างสิ่งต่าง ๆ ด้วยแนวคิดใหม่ ที่มีต้นแบบมาจาก Henry Ford พวกเขาได้คิดค้นการผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้นมา และจ่ายค่าแรงที่เหมาะสมให้กับคนงาน ภายใต้สภาพการทำงานที่ปลอดภัย ขึ้นมาใหม่

และโจทย์นี้ มันก็เป็นโจทย์เดียวกับที่นักธุรกิจรุ่นใหม่แห่งยุคนี้อย่าง อีลอน มัสก์ ต้องเจอ แม้ Henry Ford นั้นได้สร้างรากฐานในเรื่องสายพานการผลิตไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จกันนับไม่ถ้วนแล้ว แต่มันก็ไม่ง่ายเสียทีเดียวสำหรับการจะมาสร้างรถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของ อีลอน มัสก์ เมื่อต้องการผลิตในปริมาณมาก ๆ 

และปัญหานี้ก็เกิดกับ ซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ ซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งในนั้นที่ Tesla ต้องส่งทีมวิศวกรหนุ่มแน่น ยอดอัจฉริยะ ทั้งหลายไปจัดการในการตั้งโรงงานแบตเตอรรี่ ซึ่งเป็นแผนแรกของ Tesla ที่ต้องการให้ไทยเป็นซัพพลายเออร์หลักแห่งหนึ่งสำหรับผลิตชิ้นส่วนป้อนให้รถยนต์ Tesla ซึ่งบริษัทที่มีความทะเยอทะยาน และ มีความมุ่งมั่นสูงสุด สำหรับงานนี้ก็คือ บริษัท ไทยซัมมิท ของ คุณ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นั่นเอง

ไทยซัมมิท ที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตให้กับ Tesla
ไทยซัมมิท ที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตให้กับ Tesla

แต่ถ้าย้อนกลับไปในช่วงนั้น งานด้านแบตเตอรี่ ถือว่าในไทยนั้นยังเป็นงานที่ใหม่มาก ๆ เพราะส่วนใหญ่แม้ไทยจะมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในเรื่องการป้อนอะไหล่ต่าง ๆ ให้กับรถยนต์ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น หรือ ยุโรป ก็ตาม แต่มันไม่ใช่เรื่องแบตเตอรี่ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มาก ๆ ของประเทศไทย

ทีมงานวิศวกรของ Tesla นั้นต้องมาจัดการเรื่องโรงงานที่จะใช้ รวมถึงการจัดการเรื่องความร้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึง Tesla นั้นมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งแบตเตอรี่ที่เป็นส่วนสำคัญ และไวต่อสิ่งเร้าเป็นอย่างมาก

มีการลงทุนติดผนังเบาให้กับโรงงานในไทย รวมถึงการเคลือบพื้น และสร้างห้องเก็บของพร้อมเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และเหล่าวิศวกรของ Tesla ก็ได้ทำการ Training ให้กับคนงานชาวไทยถึงวิธีที่จะจัดการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ มันทำให้การพัฒนานั้นล่าช้าลงไปอีก หลังจากเจอปัญหาต่างๆ  มากมายในประเทศไทย

และ Tesla ยังต้องเจออีกหลายปัญหาในการผลิตจำนวนมาก เนื่องจาก แผงตัวรถนั้นถูกผลิตที่ฝรั่งเศษ มอเตอร์มาจากไต้หวัน เซลล์แบตเตอรี่มาจากจีน ไปประกอบแบตเตอรี่ที่ไทย  ส่งไปให้โลตัสที่อังกฤษสร้างตัวถังรถ แล้วค่อยส่งมาที่ลอสแอนเจลิส

มันเป็นกระบวนการที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย และแผนต่าง ๆ มันก็ไม่ได้เป็นระบบระเบียบมากนักทำให้ทุกอย่างล่าช้ายิ่งไปอีก แถมต้นทุนยังสูงมาก เมื่อมัสก์รู้ ก็ได้ว่าจ้างนักวิเคราะห์มาช่วยดูเรื่องต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งพบว่า โรดส์เตอร์แต่ละคันจะใช้ต้นทุน มากกว่า 200,000 เหรียญ และ Tesla วางแผนที่จะขายมันเพียงแค่ 85,000 เหรียญเท่านั้น ซึ่งต่อให้เดินเครื่องผลิตได้ทีละมาก ๆ ก็สามารถลดได้เต็มที่เหลือแค่ 170,000 เท่านั้น มันเห็นความบรรลัยทางด้านการเงิน ในขณะที่รถยังไม่ได้เข้าสายการผลิตเลยด้วยซ้ำ

โรดส์เตอร์ รถรุ่นแรกของ Tesla ที่กำลังจะมีต้นทุนสูงถึง 200,000 เหรียญ
โรดส์เตอร์ รถรุ่นแรกของ Tesla ที่กำลังจะมีต้นทุนสูงถึง 200,000 เหรียญ

แม้ เอเบอร์ฮาร์ด กับ มัสก์ นั้นจะมีปัญหากระทบกระทั่งกันมาหลายปีในเรื่องการออกแบบบางอย่างของรถ แต่โดยส่วนใหญ่นั้นทั้งคู่เข้าขากันได้อย่างดี พวกเขามีวิสัยทัศน์เหมือนกันหลาย ๆ อย่างในเรื่องเทคโนโลยีแบตเตอรี่ และ ความสำคัญของพลังงานทดแทนที่จะมีต่อโลกเรา

แต่ การที่มัสก์ได้รับรู้ราคาต้นทุนที่แท้จริง มันทำให้มัสก์มอง เอเบอร์ฮาร์ดเปลี่ยนไปทันที มันคือการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพดี ๆ นี่เอง ที่ไม่ละเอียดพอในการดูแลเรื่องใหญ่อย่างต้นทุนของรถรุ่นแรกอย่างโรดส์เตอร์ให้มันเละเทะได้เพียงนี้ มันก็ถึงเวลาที่ เอเบอร์ฮาร์ด ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Tesla คนแรก ๆ ต้องเดินออกจากบริษัทที่เขาตั้งมากับมือไป

แม้มัสก์ จะเปลี่ยนตัว CEO ชั่วคราวไปหลายคน สถานการณ์มันก็ไม่ได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน ตอนนั้น มัสก์ ก็วุ่นอยู่กับ SpaceX อีกบริษัทหนึ่งของเขาอยู่ มัสก์พยายามให้สัญญาว่ารถจะสามารถออกวางจำหน่ายได้ในปี 2008 แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้มันยังไกลจากเป้าหมายที่เขาวางไว้เป็นอย่างมาก

ไม่นานนัก พนักงาน Tesla ก็ได้เห็นมัสก์คนเดียวกับที่ SpaceX เสียที เขาต้องลงมาจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง เมื่อเกิดปัญหาอย่างเช่นตัวถังรถที่ผิดพลาด มัสก์ก็จัดการกับมาตรง ๆ เขาบินไปอังกฤษด้วยตัวเองเพื่อรับเครื่องมือที่ใช้ผลิตแผ่นตัวถังรถชิ้นใหม่และส่งมันเข้าโรงงานในฝรั่งเศษด้วยตัวเอง

ส่วนเรื่องต้นทุนมัสก์จัดการขั้นเด็ดขาด ต้องทำต้นทุนให้ได้ทุกชิ้นส่วน ต้องมีการกำหนดและวิเคราะห์ต้นทุนทุกเดือน มัสก์ ไม่เคยพลาดในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ หัวเขาเหมือนมีเครื่องคิดเลขติดอยู่ในหัว แม้มัสก์ จะดูเหมือนแข็งกร้าว และอารมณ์ร้อน เกินไป แต่ทุกอย่างเขาทำก็เพื่อ Tesla เขาไม่ได้เป็นพวกโลกสวยอย่างที่คนอื่นเคยทำมา

มัสก์ต้องลงมาจัดการปัญหาของ Tesla ด้วยตัวเอง
มัสก์ต้องลงมาจัดการปัญหาของ Tesla ด้วยตัวเอง

ส่วนเรื่องการตลาดนั้น มัสก์จะค้นหาข่าวเกี่ยวกับ Tesla ใน Google แทบจะทุกวัน เมื่อใดที่เขาเจอเรื่องไม่ดีกับ Tesla เขาจะสั่งการให้แผนกประชาสัมพันธ์ไปแก้ไขโดยด่วน นี่มันเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ต้องไม่มีเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ ใด  ๆ กับ Tesla ของเขาอีกต่อไป

มัสก์ใส่ใจรายละเอียดทุกอย่าง พนักงานไม่ต้องกังวัลเรื่องวิธีการหรือว่ามันมีข้อบกพร่องหรือเปล่า แค่ตั้งใจทำงานให้เสร็จเท่านั้น มัสก์จะรับฟังปัญหา เขาต้องการคำถามที่เข้าท่าเท่านั้น และเดินหน้าอย่างรวดเร็ว แบบถึงลูกถึงคน ให้งานเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

มันทำให้พนักงานหลายคนทนไม่ไหวต้องลาออกไป แม้จะอัจฉริยะขนาดไหน ก็โดนมัสก์เล่นงานมาแทบจะทั้งสิ้น แต่หลายคนจากรุ่นบุกเบิก ก็รอดกันมาได้ การมีชื่อแบรนด์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงมีผู้นำอย่าง อีลอน มัสก์ ก็สามารถที่จะจ้างพนักงานแถวหน้าเข้ามาได้เรื่อย ๆ รวมถึงคนจากบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ ที่ต้องการที่จะมาสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ร่วมกับ อีลอน มัสก์ ก็ได้เข้ามาร่วมงานมากขึ้นเรื่อย ๆ 

เหมือนทุกอย่างจะดีขึ้น แต่ใครจะไปคาดคิดว่า อยู่ดี ๆ วิกฤตครั้งใหม่กำลังมาเยือน ขณะก้าวเข้าสู่ปี 2008 บริษัทกำลังจะหมดเงิน โรดส์เตอร์ ใช้เงินทุนในการพัฒนาไปกว่า 140 ล้านเหรียญ หากสถานการณ์ปรกติ มันไม่ยากเลยที่จะระดมทุนเพิ่มเติม แต่ทว่า ปี 2008 อย่างที่ทุกท่านทราบกัน มันคือวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนึงของอเมริกา

วิกฤติทางการเงินในปี 2008 ทำให้ Tesla ที่กำลังจะเปิดตัวได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ
วิกฤติทางการเงินในปี 2008 ทำให้ Tesla ที่กำลังจะเปิดตัวได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ

ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐฯกำลังถูกฟ้องล้มละลาย ท่ามกลางวิกฤติการเงินครั้งเลวร้ายที่สุดตั้งแต่ยุควิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งท่ามกลางเรื่องเลวร้ายทั้งหมดนี้ มัสก์ ต้องโน้มน้าวเหล่านักลงทุนของ Tesla ให้ยอมลงทุนเพิ่มมากกว่า 10 ล้านเหรียญ แต่ปัญหาคือ ตอนนั้นมีแต่ข่าวเสีย ๆ หาย  ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกา ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แทบจะไม่มีใครซื้อรถกันแล้ว มัสก์กำลังอยู่ในเส้นทางที่เสี่ยงที่สุดในชีวิตของเขา ทั้งหมดที่เขาทำมาจะล้มครืนลงไปหรือไม่? เขาจะพา Tesla ฝ่าวิกฤติที่รุนแรงที่สุดครั้งนี้ไปได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 11 : Tesla’s Macintosh

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ