ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 6 : Let’s Expand

ในปี 1998 เจฟฟ์ ได้จัดกลุ่มพนักงานอัจฉริยะที่เป็นบัณฑิตจากคณะธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สร้างหน่วยงานพิเศษขึ้นในบริษัทในชื่อ หน่วยสว็อต (SWAT Team) เพื่อทำการวิจัยประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนสินค้ามาก ๆ หรือมีจำนวน SKU สูง ๆ (SKU=จำนวนสินค้าที่เก็บคงคลังได้) รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ไม่ค่อยมีขายตามร้านค้าทั่วไป ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่ส่งทางไปรษณีย์ได้ง่าย

มันเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของเจฟฟ์ในการนำเสนอตัวเลือกของผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าบนระบบเว๊บไซต์ออนไลน์ เมื่อเทียบกับตัวเลือกที่มีในร้านค้าปลีกแบบทั่วไป ตอนนี้เจฟฟ์ นั้นตั้งเป้าที่จะเพิ่มหมวดหมู่สินค้าใหม่ ๆ อย่างเร่งด่วน แม้ตอนนี้ ชื่อ แบรนด์ของ amazon ในสายตาลูกค้าเป็นเพียงแค่หนังสือเพียงอย่างเดียว เขาต้องการเป็นมากกว่านั้น

เขาอยากให้ชื่อแบรนด์ amazon เป็นมากกว่าหนังสือ เปรียบเทียบกับตราเวอร์จินของริชาร์ด แบรนสัน ที่รวมทุกสิ่งตั้งแต่ดนตรี สายการบิน ไปจนถึงสุรา เจฟฟ์ต้องการให้ amazon ทำผลตอบแทนในระดับที่เขาสามารถนำไปลงทุนด้านเทคโนโลยี และก้าวหน้ากว่าคู่แข่งได้

amazon เริ่มขยายหมวดหมู่สินค้า ใน ปี 1999
amazon เริ่มขยายหมวดหมู่สินค้า ใน ปี 1999

ซึ่งกลุ่ม SWAT ที่เต็มไปด้วยอัจฉริยะเหล่านี้ ได้รวมทีมกันไปค้นคว้าเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่เรื่องดนตรี โฮมวีดีโอ ซอฟต์แวร์ และยังรวมถึงสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย และเริ่มทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นจากลูกค้า ทั้งทาง online และ offline 

ซึ่งจากการทำวิจัย และ นำผลสำรวจ มาวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้วนำ เจฟฟ์ และเหล่าผู้บริหารของ amazon ซึ่งเหล่าผู้บริหารตัดสินใจเลือก ดนตรี เป็นเป้าหมายแรกในการเพิ่มหมวดหมู่สินค้า และดีวีดีเป็นหมวดที่สองที่จะเพิ่มในเว็บไซต์ amazon.com

ซึ่งในการเพิ่มหมวดหมู่สินค้าใหม่ ๆ นั้น มันนำมาซึ่งรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นด้วย แต่มันไม่ได้เป็นปัญหาของเจฟฟ์ และ amazon เนื่องจากสามารถออกหุ้นกู้และระดมทุนผ่านตลาดหุ้นได้เพราะตอนนี้ amazon ได้เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ช่วงเวลาที่เฟื่องฟูของ amazon ตั้งแต่ปี 1998 – 2000 นั้น amazon สามารถระดมทุนได้สูงถึง 2.2 พันล้านเหรียญจากการเสนอขายหุ้นกู้ 3 รอบ ซึ่งนำเงินจำนวนมากมายมหาศาลไปซื้อกิจการอื่น ๆ ทั้ง เว๊บฐานข้อมูลภาพยนต์ IMDB.com ซื้อเว๊บร้านขายหนังสือของอังกฤษชื่อ BookPages ซื้อเว๊บร้านขายหนังสือของเยอรมันชื่อ TeleBuch ซื้อตลาดสินค้าออลไลน์ Exchange.com แม้กระทั่งเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง PlanetALL นั้น amazon ก็จัดการซื้อมาทั้งหมด รวมถึงนำเงินไปเปิดศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัยถึง 5 แห่งในสหรัฐอเมริกา

ซื้อเว๊บไซต์ฐานข้อมูลภาพยนต์ เพื่อปูทางสู่ธุรกิจ DVD ภาพยนต์
ซื้อเว๊บไซต์ฐานข้อมูลภาพยนต์ IMDB.com เพื่อปูทางสู่ธุรกิจ DVD ภาพยนต์

amazon ขยายหมวดหมู่สินค้ามาที่สินค้าทางด้านดนตรีซึ่งสินค้านั้นก็คือ CD เพลงนั่นเอง เจฟฟ์นัั้นเชื่อว่าเขาต้องทำสิ่งที่เคยทำกับตลาดหนังสือ คือ พุ่งเป้าไปที่ลูกค้าและให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ เขาสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทั้งหมดที่บริษัทพัฒนาขึ้นมาเพื่อขายหนังสือจนไม่มีใครตามเขาทัน และมันเห็นผลชัดเจนทันทีกับสินค้าหมวดที่สองที่เขาขยายไปอย่าง CD เพลง

ภายใน 4 เดือน amazon ขาย CD เพลงได้กว่า 14 ล้านเหรียญ แซงหน้าเจ้าตลาดหน้าเดิมอย่าง CDNow.com ที่เป็นผู้ในในตลาดขาย CD เพลงทาง internet ได้สำเร็จ ซึ่งผลจากการ IMDB.com นั้นก็ได้ปูทางไปสู่การขาย DVD ภาพยนต์เป็นลำดับถัดไป ตามแผนการที่เขาและทีมงาน SWAT ศึกษาค้นคว้ามาอย่างดี

ซึ่งการเข้าซื้อ IMDB ทำให้ใช้มันเป็นช่องทางในการโฆษณา amazon เริ่มกิจการขาย DVD ไปเพียง 45 วันก็ได้กลายเป็นผู้ค้าปลีกภาพยนต์รายใหญ่ที่สุดบน internet

เจฟฟ์ เริ่มขยายกิจการออกไปนอกสหรัฐอเมริกา โดยพุ่งเป้าไปที่อังกฤษและเยอรมนี เป็นอันดับแรก เพราะตอนนั้น inernet เริ่มได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว สำนักพิมพ์ใหญ่อย่างเบอร์เทลส์มานน์ เอจี ของเยอรมัน ก็คิดว่าตัวเองน่าจะจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ amazon

แต่เนื่องจากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ เบอร์เทลส์มานน์ จึงหันไปจับมือกับ barnesandnoble.com ที่เป็นคู่แข่งของ amazon.com แทน แต่ดูเหมือนมันเป็นการตัดสินใจผิดพลาด เพราะ หลังจากนั้นยอดขายของ barnesandnoble.com ต่ำกว่า amazon.com ถึง 3 เท่า การไล่กวน amazon นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก การเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรกรวมถึงการสร้างบริการที่ดีสุดให้กับลูกค้าของ amazon เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญที่เป็นการยากสำหรับคู่แข่งที่จะมาแข่งในตลาดออนไลน์ ซึ่งเป็นตลาดเดียวกับ amazon.com

barnesandnoble.com ไม่สามารถสู้กับ amazon.com ที่ออกตัวก่อนและครอบครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบเบ็ดเสร็จ
barnesandnoble.com ไม่สามารถสู้กับ amazon.com ที่ออกตัวก่อนและครอบครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบเบ็ดเสร็จ

หลังจากชัยชนะอันเด็ดขาด เจฟฟ์ เบซอส ก็ขยายกิจการอย่างบ้าคลั่ง เข้าซื้อและลงทุนในธุรกิจใหม่แทบจะทุกเดือน ซื้อเว๊บ Drugstore.com ร้านขายยาออนไลน์  เว๊บไซต์ค้าปลีกชื่อดังอย่าง Accept.com ซื้อบริษัท อเล็กซา อินเตอร์เน็ต ลงทุนกับ HomeGrocer.com จากนั้นก็เริ่มเบนเข็มทำธุรกิจขายตรงสินค้าอิเล็กทรอนิค ของเล่น และเกม ทั้งยังซื้อหุ้นเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ค้าปลีกอุปกรณ์กีฬาอย่าง Gear.com จากนั้นก็ลุยต่อกับสินค้าจำพวกอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน ซอฟต์แวร์ วีดีโอเกม เครื่องประดับ และเครื่องหนัง และได้ประกาศเปิดตัวเว๊บซีชอปส์ ซึ่งสุดท้ายได้แปลงร่างกลายมาเป็น amazon marketplace เพื่อให้บริษัทและบุคคลทั่วไปสามารถขายสินค้าผ่าน amazon ได้

สร้าง zshops ก่อนแปลงร่างเป็น amazon marketplace แหล่งสร้างรายได้อีกทาง
สร้าง zshops ก่อนแปลงร่างเป็น amazon marketplace แหล่งสร้างรายได้อีกทาง

จากนั้นราคาหุ้นของ amazon ก็ยังคงทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดปี 1999 แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเชื่อว่าแวดวง internet เป็นฟองสบู่ที่ต้องแตกเข้าสักวัน ขึ้นอยู่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น ซึ่งหากฟองสบู่แตกจริง ๆ  เหล่าผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ก็ฟันธงว่าสถานการณ์ของ amazon ต้องย่ำแย่อย่างแน่นอน

สถานการณ์ในตอนนั้น ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันก็คือ เจฟฟ์ เบซอส ได้พลิกโฉมธุรกิจค้าปลีกไปตลอดกาล ในปี 1999 เว๊บไซต์ amazon มีสินค้าให้เลือกซื้อกว่า 18 ล้านชิ้น ซึ่งมันไม่ใช่แค่เพียงหนังสืออีกต่อไปแล้ว สินค้าแทบจะทุก ๆ หมวดกำลังทยอยขึ้นออนไลน์ให้เหล่านักช็อปได้ซื้อกันในเว๊บไซต์ amazon 

และมันทำให้ เจฟฟ์ เบซอส ได้รับเลือกให้เป็นบุคคลแห่งปี ของนิตยสารไทม์ ในปี 1999 ตอนนี้เขาได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดของอุตสาหกรรมที่เขาเป็นคนสร้างขึ้นมา และดูเหมือนว่าตอนนี้จะไม่มีใครสามารถทาบรัศมีได้เลย แต่หารู้ไม่ว่าในเวลานั้นยอดเขาที่เจฟฟ์ เบซอส ยืนอยู่นั้น กำลังจะล้มพังครืนลงมาเต็มทีแล้ว มันมีสิ่งหนึ่งที่ยังเป็นภารกิจที่เขายังทำไม่เสร็จ นั่นคือพา amazon เข้าสู่การเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้จริง ๆ เสียที แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ amazon เจฟฟ์ จะสามารถพา amazon ทำกำไรได้จริง ๆ เหมือนธุรกิจอื่นได้เมื่อไหร่? โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 7 : Dotcom Bubble

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

 

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 5 : Growth Fund

ต้องบอกว่าการเติบโตของ amazon.com เป็นไปอย่างน่าสนใจมากกับเว๊บไซต์เกิดใหม่ ที่ขณะนั้นเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด พร้อมกับการเติบโตของผู้ใช้ internet  แต่ปัญหาที่สำคัญของ amazon คือ เงินทุน ที่ไม่เพียงพอรองรับการเติบโตแบบก้าวกระโดดดังกล่าวได้

แรกเริ่มเดิมทีนั้น เจฟฟ์ ใช้เงินทุนส่วนตัวรวมถึงเงินจากครอบครัว เพื่อใช้ในการบริหารธุรกิจ amazon ในช่วงแรก แต่มันก็หมดไปอย่างรวดเร็ว การเติบโตมาพร้อมกับ ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากทั้งทางด้านการ operation รวมถึงการจ้างพนักงานที่ต้องเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

และเจฟฟ์ ก็ต้องโทรไปหามหามิตรเก่าอย่าง นิก แฮนนาเออร์ ซึ่งเป็นหนึ่งที่ได้ชักชวนเจฟฟ์มาตั้งธุรกิจที่ซีแอตเทิล แฮนนาเออร์นั้นได้ทำการรวบรวมทุนจากเหล่าบรรดาเศรษฐีในเมืองซีแอตเทิลให้มาร่วมลงทุนใน amazon โดยระดมทุนได้ประมาณ 981,000 เหรียญ 

amazon เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องการทุนเพิ่ม เพราะรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นไม่ทัน
amazon เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องการทุนเพิ่ม เพราะรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นไม่ทัน

ตอนนี้ชื่อของ amazon เริ่มดังกระฉ่อนไปไกลถึงซิลิกอน วัลเลย์แล้ว และ นักลงทุนที่เก่งที่สุดใน ซิลิกอน วัลเลย์ ในขณะนั้นก็คือ จอห์น ดูเออร์ แห่ง KPCB ที่เริ่มหันเหความสนใจที่จะมาลงทุนใน amazon รวมถึง บริษัทด้านการลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง เจเนอรัล แอตแลนติก ก็สนใจใน amazon เช่นกัน

เริ่มมีการประเมินมูลค่าใน amazon จากบริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่เหล่านี้ KPCB นั้นประเมิน มูลค่า amazon ไว้ที่ 60 ล้านเหรียญ ส่วน เจเนอรัล แอตแลนติก ได้ประเมินไว้ประมาณ 50 ล้านเหรียญ แม้เจฟฟ์ จะพยายามต่อรองจนในที่สุด ได้มูลค่าสูงถึง 60-70 ล้านเหรียญ

มันเริ่มมีการแข่งขันกันอย่างบ้าคลั่งในการเข้าร่วมลงทุนใน amazon เจฟฟ์ถือได้ว่าเป็นต่อเล็กน้อย เมื่อ amazon กำลังเนื้อหอม รวมถึงการเจริญเติบโตของ amazon ก็สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

มันเป็นนิสัยสำคัญอย่างนึงในการประเมินเรื่องต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจสำหรับเจฟฟ์ ในทุก ๆ ครั้ง เขาได้วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนในการเลือกบริษัทที่จะมาลงทุนด้วย แม้เจเนอรัล แอตแลนติกจะให้เงินที่สูงกว่า แต่จากการวิเคราหะ์ผลดีผลเสียทุกอย่างแล้ว  เจฟฟ์ รู้สึกว่าชื่อเสียงของ จอห์น ดูเออร์ แห่ง KPCB นั้นดูจะคุ้มค่ากว่า โดย KPCB เสนอเงิน 8 ล้านเหรียญแลกกับหุ้นราว ๆ 13% ของ amazon จึงตัดสินใจร่วมทุนกับ KPCB ในที่สุด

ตัดสินใจร่วมกับ KPCB ของ จอห์น ดูเออร์ เพราะเชื่อมั่นใจศักยภาพ
ตัดสินใจร่วมกับ KPCB ของ จอห์น ดูเออร์ เพราะเชื่อมั่นใจศักยภาพ

แต่หลังจากได้เงินทุนนั้น เขาปรับกลยุทธ์ ของ amazon แทนที่จะเริ่มหากำไรจากบริษัท แต่เขาจะทำการทุ่มเงินในการเพิ่มกำลังคน เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึง ทางด้านการตลาดแทน เขามองว่าใครก็ตามที่สามารถยึดส่วนแบ่งการตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จเป็นรายแรกนั้น จะอยู่ในจุดที่ได้เปรียบที่สุด และยากที่จะโค่นลงได้ ถึงตอนนี้ภารกิจหลักของเจฟฟ์ คือ เติบโตให้เร็วที่สุดเพียงเท่านั้น

และการเติบโตอย่างรวดเร็วแบบฉุดไม่อยู่ของ amazon ทำให้ เพียงแค่ 1 ปีหลังจากนั้นในเดือน พฤษภาคมปี 1997 เขาก็ได้นำหุ้น amazon ออกขายสู่สาธารณะด้วยราคา 18 เหรียญต่อหุ้น ก่อนจะระดมทุนเพิ่มได้อีก 54 ล้านเหรียญ ทำให้มูลค่าของ amazon นั้นพุ่งขึ้นไปถึง 429 ล้านเหรียญ ภายในเวลาปีเดียวเพียงเท่านั้น 

ออก IPO ขายหุ้นให้กับสาธารณชนภายในปีเดียว
ออก IPO ขายหุ้นให้กับสาธารณชนภายในปีเดียว

และหนึ่งปีหลังจากการขายหุ้นต่อสาธารณชน หุ้นของ amazon ขึ้นไปแตะหลัก 105 เหรียญ ทำให้มูลค่าของ amazon ขึ้นไปสูงถึง 5,000 ล้านเหรียญ ซึ่งถึงตอนนี้กลายเป็นว่า มูลค่าของ amazon นั้นได้สูงกว่า มูลค่าจากการประเมินของ บาร์นส์แอนด์โนเบิลและบอร์เดอร์ เครือข่ายร้านหนังสือยักษ์ใหญ่ของอเมริกา รวมกันเสียอีก

แม้สถานะทางการเงิน amazon จะขาดทุนอยู่กว่า 30 ล้านเหรียญนับตั้งแต่วันที่เปิดขายหุ้น  แต่ตอนนี้ amazon ได้นำเงินจากการระดมทุน ไปพัฒนาเว๊บไซต์ รวมถึง จ้างนักบริหารมืออาชีพเข้ามาร่วม มันจึงทำให้ amazon กลายเป็นเว๊บไซต์เชิงพาณิชย์ระดับโลกไปแล้ว

แบรนด์ของ amazon นั้นแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากเปิดตัวมาก่อนใครเพื่อน ผู้คนต่างจดจำ แบรนด์ของ amazon ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะมีปริมาณหนังสือในคลังสินค้าน้อย แต่ สถิตินั้นบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการบริหารของเจฟฟ์ โดยสามารถทำยอดขายได้ถึง 300,000 เหรียญต่อพนักงาน amazon 1 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับร้านหนังสือแบบเก่า โดยสูงถึงกว่า 3 เท่า และมันยิ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดใจเหล่านักลงทุนเพิ่มมากขึ้น และคอยผลักดันให้ราคาหุ้นของ amazon ถีบตัวสูงขึ้นไปเรื่อย  ๆ

ประสิทธิภาพของพนักงาน amazon สามารถทำรายได้สูงกว่าพนักงานร้านหนังสือถึง 3 เท่า โดยเฉลี่ย
ประสิทธิภาพของพนักงาน amazon สามารถทำรายได้สูงกว่าพนักงานร้านหนังสือถึง 3 เท่า โดยเฉลี่ย

เรียกได้ว่า amazon เป็นเว๊บไซต์แรกที่ทำการปฏิวัติรูปแบบการค้าปลีก ผู้คนหลงรักเว๊บไซต์แห่งนี้ ความใส่ใจในรายละเอียดของเจฟฟ์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาขึ้นตลอดเวลาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า  มันทำให้เป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก เมื่อหนังสือทุกเรื่องอยู่ใกล้เพียงแค่ปลายนิ้ว แถมบทวิจารณ์ที่เขียนโดยผู้อ่านยังดึงลูกค้าเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับเว๊บไซต์ได้ดีอีกด้วย

และแนวทางสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยไม่มุ่งหวังกำไรมันกลายเป็นแนวทางที่บริษัท internet หรือ บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ แทบทุกแห่งตามไปใช้กันหมด มันเป็นหัวใจหลักของตลาดดอทคอมในยุคปลายปี 1990 เลยทีเดียว amazon จึงกลายเป็นบริษัท internet แห่งแรกที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมให้ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

–> อ่านตอนที่ 6 : Let’s Expand

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ