ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 3 : Customer Centric

อย่างที่เกริ่นเอาไว้ในบทก่อนหน้า เจฟฟ์ นั้นถือเป็นโปรแกรมเมอร์ มือฉมังคนหนึ่งที่หาตัวจับยากเลยในวอลล์สตรีท เพราะฉะนั้นเรื่องทางด้านเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเขียนโปรแกรม หรือ การดูแลเรื่อง infrastructure ของ amazon นั้น เจฟฟ์สามารถจัดการมันได้อย่างดีเยี่ยม

เขาเลือกของที่มีคุณภาพสูง อย่าง เซฟเวอร์ของบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็ม หรือ ฐานข้อมูลของออราเคิล ซึ่ง สำหรับธุรกิจเริ่มต้นใหม่นั้นถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอตัว ซึ่งเจฟฟ์ มองว่ามันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหากต้องการให้ เว็บไซต์ amazon นั้น สามารถรันได้อย่างมืออาชีพ และไม่ต้องมานั่งเปลี่ยนให้ยุ่งยากหากบริษัทของเขาเติบโตขึ้นในภายหลัง ซึ่งเขามั่นใจว่า amazon จะต้องเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ได้อย่างแน่นอน

ใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อรองรับการทำงานที่่สามารถขยายสเกลได้
ใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อรองรับการทำงานที่่สามารถขยายสเกลได้

แม้ทีมงานของเขาอย่าง แคปแฟน และ เดวิส นั้นจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการทำเว๊บไซต์ โดยเฉพาะเว๊บไซต์ค้าปลีกอย่างร้านหนังสือ ออนไลน์ ทั้งสองต้องมาพัฒนาซอฟท์แวร์ส่วนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากเจฟฟ์นั้นต้องการให้บริษัทใช้รูปแบบใหม่ที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน หลาย ๆ เทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทีมงานของเขาต่างคิดค้นขึ้นมาเอง มีการนำ open source มาดันแปลงบ้าง แต่เพื่อให้เข้ากับความต้องการของเจฟฟ์ ที่อยากให้เว๊บไซต์ของเขาต่างจากที่มีอยู่ในตลาดในขณะนั้น

เมื่อบริษัทได้เริ่มเปิดกิจการอย่างจริงจังในปี 1995 นั้น ฐานข้อมูลก็เต็มไปด้วยหนังสือกว่า 1 ล้านเล่ม มีหนังสือที่เป็น Best Seller  กว่า 1,000 เล่ม เจฟฟ์ จึงได้กล้าประกาศว่า amazon เป็นร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แต่ความเป็นจริงนั้น ในคลังสินค้าของเขาไม่ได้มีหนังสือเป็นล้านเล่มอย่างที่เขาได้โพทนาวไว้ มันเป็นเพียงฐานข้อมูลในระบบดาต้าเบสเท่านั้น เจฟฟ์ นั้นตั้งใจว่าจะสั่งซื้อหนังสือจากสำนักพิมพ์หรือผู้จัดจำหน่ายหลังจากลูกค้าสั่งซื้อหนังสือจากเขาแล้วเท่านั้น

แต่เพราะฐานข้อมูลเหล่านี้ ที่จัดข้อมูลอย่างเป็นระบบแบบที่เจฟฟ์ ได้ดีไซน์ไว้ มันทำให้เป็นข้อได้เปรียบในการค้นหาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว และจัดการกับคำสั่งซื้อของลูกค้าได้รวดเร็วกว่าพนักงานในร้านหนังสือจริง ๆ 

ต้องบอกว่ามันเป็นโมเดลธุรกิจง่าย ๆ ที่มีต้นทุนต่ำอย่างยิ่งในการเริ่มต้นกิจการของเจฟฟ์ เพราะไม่ต้องสต็อคหนังสือเป็นจำนวนมาก แค่สร้างระบบติดตามขึ้นมา ซึ่งทำงานโดย ถ้า amazon มีหนังสือเล่มที่ลูกค้าสั่งอยู่ในคลัง หนังสือเล่มนั้นก็จะอยู่ในสถานะพร้อมส่งในหนึ่งวัน หากผู้จัดจำหน่ายมีหนังสืออยู่ในคลัง amazon ก็จะรับรองว่าจะจัดส่งให้ได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากต้องมีการสั่งจากสำนักพิมพ์ก็จะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ และมักจะประเมินเวลาจัดส่งเผื่อไว้ก่อน เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจเวลาที่ได้รับสินค้าเร็วกว่าที่คาดไว้

เจฟฟ์นั้น ทำการ stock หนังสือไว้ในคลังสินค้าให้น้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนในช่วงแรก
เจฟฟ์นั้น ทำการ stock หนังสือไว้ในคลังสินค้าให้น้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนในช่วงแรก

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าและการเรียกเก็บเงิน ซึ่งตอนนั้น internet เพิ่งเริ่มใช้มาไม่นาน ทุกอย่างบน internet ยังเป็นเรื่องใหม่ ไม้เว้นแม้แต่การชำระเงิน ตอนนั้นเจฟฟ์คิดคอนเซ็ปง่าย ๆ ให้ลูกค้าสั่งผ่าน email แล้วส่งรายละเอียดการชำระเงินหรือเลขบัตรเครดิตมาทาง email ดูจะปลอดภัยกว่า

แต่ตอนเปิดกิจการจริง ๆ internet นั้นเริ่มแพร่หลายมากจน email นั้นไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปแล้ว การสั่งซื้อส่วนใหญ่จะสั่งจากหน้าเว๊บไซต์โดยตรง การจ่ายเงินจะมีทั้งโทรศัพท์มาแจ้งเลขที่บัตรเครดิต , จ่ายด้วยเช็ค และที่น่าแปลกใจคือมีส่วนนึงที่ทำธุรกรรมผ่านทางเว๊บไซต์

ตอนนั้นเรื่องความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางเว๊บไซต์นั้นยังไม่มีมาตรฐานออกมาชัดเจนมากนัก ตอนนั้น https ก็ยังไม่เกิด เจฟฟ์จึงสร้างระบบที่เรียกว่า “CC Motel” โดยหมายเลขบัตรเครดิตจะถูกป้อนเข้าไปในระบบ แต่แฮกเกอร์จะไม่สามารถดึงข้อมูลออกไปได้ จะไม่มีการเชื่อมต่อ internet สำหรับเครื่องที่ต้องใช้ในการทำธุรกรรม หมายเลขบัตรเหล่านี้จะถูก save ลงในดิสก์ แล้วค่อยย้ายไปในคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการทำธุรกรรมแทน

amazon นั้นต้องกำจัดความกลัวของลูกค้าเกี่ยวกับการให้ขัอมูลบัตรเครดิต ลูกค้าเพียงแค่ระบุหมายเลขบัตรเครดิตแค่ 4 ตัวสุดท้ายก่อน จากนั้นค่อยโทรมาแจ้งเลขที่เหลือทั้งหมดทางโทรศัพท์เมื่อพร้อมที่จะจ่ายเงินเท่านั้น

ความปลอดภัยในการจ่ายเงินเป็นสิ่งที่ เจฟฟ์ และ amazon แคร์มาก ๆ
ความปลอดภัยในการจ่ายเงินเป็นสิ่งที่ เจฟฟ์ และ amazon แคร์มาก ๆ

ลูกค้าจะได้รับการยืนยันในทุกขั้นตอนว่าสามารถย้อนกลับไปแก้ไขทุกอย่างได้จนกว่าจะพร้อมส่งคำสั่งซื้อจริง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความตั้งใจของเจฟฟ์ในการสร้างเว๊บไซต์ที่ดีที่สุดขึ้นมา ซึ่งเจฟฟ์มองว่าการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากในโลกออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพราะเจฟฟ์ตระหนักว่ามันคือหัวใจสำคัญที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จได้

Featues เด็ดอีกอย่างของ amazon คือ การทำให้การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ และนักเขียนในฐานข้อมูลเป็นเรื่องง่ายที่สุด เดวิสและแคปแฟน ลงมือสร้างลิงก์ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดของผู้แต่งแต่ละคนเข้าด้วยกัน ลูกค้าจึงสามารถค้นหาหัวข้อ หรือ ชื่อหนังสือ รวมถึงนักเขียนที่สนใจ ซึ่งหากพวกเขาเจอหนังสือที่ชอบก็สามารถคลิกที่ชื่อนักเขียนเพื่อดูหนังสือทุกเล่มของนักเขียนคนนั้นได้ทันที

ซึ่งคงไม่กล่าวเกินเลยได้ว่า การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดของผู้แต่งแต่ละคนเข้าด้วยกันคือกุญแจสู่ความสำเร็จในยุคแรก ๆ ของ amazon เลยก็ว่าได้ มันเป็นเว็บไซต์ที่ลูกค้าสามารถท่องไปในโลกที่เต็มไปด้วยหนังสือได้ มันทำให้เป็นที่ถูกใจสำหรับพวกนักอ่านตัวยงได้อย่างมาก

เว๊บ amazon ช่วงแรกเน้นตัวอักษร เพราะตอนนั้น internet ยังสปีดต่ำมาก แต่เน้นเรื่องโครงสร้างข้อมูลที่เข้าใจนักอ่านตัวยง
เว๊บ amazon ช่วงแรกเน้นตัวอักษร เพราะตอนนั้น internet ยังสปีดต่ำมาก แต่เน้นเรื่องโครงสร้างข้อมูลที่เข้าใจนักอ่านตัวยง

ต้องบอกว่า amazon ในยุคแรก ๆ นั้นเป็นส่วนผสมของการลองผิดลองถูก เพราะตอนนั้น internet ยังใหม่มาก ๆ มันต้องใช้สัญชาตญาณในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ เจฟฟ์ และทีมงานยึดถือเป็นหลักในการสร้าง amazon ก็คือ การให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าอันดับแรก ไม่ใช่หากทางทำเงินจากลูกค้าให้มากที่สุด พวกเขาโฟกัสที่ลูกค้า สิ่งไหนที่ลูกค้า ชอบ หรือไม่ชอบ ซึ่งเป็นแนวทางหลักของ amazon ในยุคตั้งต้น และมันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจใหม่ที่เจฟฟ์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้มันกลายเป็นเว๊บไซต์ขายหนังสืออันดับหนึ่งของโลกให้ได้ 

จะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญอย่างแรกที่ เจฟฟ์ เบซอส นั้นยึดเป็นอย่างยิ่งคือความต้องการของลูกค้า เจฟฟ์ แคร์ความรู้สึกของลูกค้าเป็นอย่างมาก พยายามปรับปรุงทุกอย่างเพื่อให้ลูกค้ารักเว๊บไซต์ของเขา เขาแทบจะไม่ได้มองถึงการหาเงินด้วยซ้ำในช่วงแรกของการสร้าง amazon มันเป็นเรื่องของการเติมเต็มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเพียงเท่านั้น แล้วการเดินทางก้าวต่อไปของ amazon จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : The Innovator

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 2 : Online Book Store

ความท้าทายที่สำคัญที่สุดของ เจฟฟ์ คือ การหาคำตอบว่าจะขายสินค้าอะไรดี เขาจึงได้สร้างตารางขึ้นมาประเมินโอกาสทำกำไรของสินค้า กว่า 20 ชนิด ว่าสินค้าชนิดใดนั้นมีแนวโน้มที่ต่อการขายบน internet ได้รวดเร็วที่สุด

ซึ่งใน 20 ชนิด นั้นรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องแต่งกาย และดนตรี แต่ท้ายที่สุดหมวดสินค้าที่เตะตาเจฟฟ์ ที่คิดว่าน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดก็คือ หนังสือ เพราะมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์จริง ๆ หนังสือที่ขายในทุก ๆ ร้าน มันก็คือเล่มเดียวกัน ผู้ซื้อรู้ได้ทันทีว่าจะได้รับอะไร

ในเวลานั้นมีผู้จัดจำหน่ายหนังสือหลัก ๆ อยู่ 2 รายคือ อิงแกรมและเบเกอร์แอนด์เทย์เลอร์ การที่จะเริ่มต้นธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ใหม่นั้น ไม่จำเป็นต้องไปติดต่อกับสำนักพิมพ์เป็นร้อยเป็นพันแห่ง ทีละเจ้า และที่สำคัญที่สุด มันมีหนังสือรองรับให้ขายถึงกว่า 3 ล้านเล่มแล้วที่มีการตีพิมพ์ทั่วโลก และสิ่งที่ได้เปรียบกับเชนร้านหนังสือเก่าแก่อย่างบาร์นส์แอนด์โนเบิล คือ ความสามารถในการที่สำรองหัวปกหนังสือ ที่ หากเป็น online สามารถรวมคลังไว้ในที่ ๆ เดียวได้

สุดท้ายเจฟฟ์เลือกที่ธุรกิจหนังสือ
สุดท้ายเจฟฟ์เลือกที่ธุรกิจหนังสือ

ต้องบอกว่าตอนนั้นยังไม่มีใครคิดที่จะหาวิธีการจำหน่ายหนังสือผ่านเครือข่าย internet ออกมาเลยเสียทีเดียว งานนี้เจฟฟ์เองได้เห็นถึงโอกาสที่ใหญ่โต และ ยังไม่มีใครแตะต้องขุมทรัพย์มหาศาลนี้มาก่อนเลย เขาต้องเป็นคนหยิบมันและกอบโกยจากมันเป็นคนแรกให้ได้

มันถึงเวลาที่เขาต้องออกจาก ดี.อี.ชอว์ เสียที แต่มันไม่ใช่เรื่องที่เขาสามารถตัดสินใจได้คนเดียวอีกต่อไปแล้ว เพราะเขาเพิ่งแต่งงานได้ไม่นาน มีงานที่ดี และรายได้มั่นคงมาก ๆ เรียกว่าอยู่ในจุดที่เรียกว่า comfort zone ที่เพียบพร้อมไปด้วยทุกสิ่ง

แต่มันไม่มีโอกาสดีเท่านี้อีกแล้วในการเริ่มต้นทำตามความฝันในการเป็นผู้ประกอบการของเจฟฟ์ ในเมื่อเจฟฟ์ ได้เจอกับ internet ที่เติบโต 2,300% ต่อปี หากไม่รีบตัดสินใจก็คงจะไม่ได้แล้ว เขาจึงตัดสินใจยื่นใบลาออกในช่วงหน้าร้อนปี 1994 ทันที

ต่อไปก็เป็นการสร้างบริษัทขึ้นมา นั่นหมายถึง เขาต้องทำการหาคนมาช่วยงาน เขาคนเดียวคงทำทุกอย่างไม่ได้แน่ ๆ และนับว่าเป็นโชคดีอย่างมากที่เขามีประสบการณ์ในแวดวงธุรกิจทำให้เขาสามารถใช้เส้นสายดึงตัวคนเก่ง ๆ มาร่วมงานด้วย เจฟฟ์นั้นมีทุกสิ่งที่จำเป็นในการโน้มน้าวคนอื่นให้เข้ามาร่วมการผจญภัยครั้งใหม่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความมั่นใจในตัวเองแบบสุดขั้น ความกระตือรือร้น รวมถึงสิ่งสำคัญที่สุดคือมันสมองที่เรียกได้เป็นอัจฉริยะที่หาตัวจับยากในวงการขณะนั้น

แต่ตอนนั้น เจฟฟ์ ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะตั้งบริษัทที่ไหนดี ซึ่งในตอนนั้นผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยี ส่วนใหญ่ มุ่งหน้าไปยัง ซิลิกอน วัลเลย์ แต่ด้วยความคิดรอบคอบแบบเป็นกระบวนการของ เจฟฟ์ ทำให้เขาต้องมาวิเคราะห์เปรียบเทียบสถานที่ตั้งแต่ละแห่งอย่างละเอียดถี่ถ้วน

มีเกณฑ์ 3 ข้อที่ เจฟฟ์ ตั้งไว้คือ สถานที่นั้นต้องมีชุมชนของผู้ประกอบการรวมถึงเหล่าโปรแกรมเมอร์หัวกะทิอยู่ สองเขาอยากตั้งในรัฐที่มีประชากรค่อนข้างน้อย เพราะปัญหาเรื่องภาษีที่คนในเมืองนั้นเท่านั้นที่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มเมื่อซื้อสินค้าจากเขา และข้อสุดท้าย เขาอยาได้เมืองที่อยู่ใกล้โกดังหรือคลังสินค้า ของผู้จัดจำหน่ายหนังสือรายใหญ่ เพื่อให้ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วที่สุด และที่สำคัญเมืองนั้นจะต้อง เป็นเมืองใหญ่ที่มีสนามบิน และมีเที่ยวบินรายวันมากพอให้จัดส่งหนังสือถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วที่สุด

และสุดท้ายเมืองที่เข้าคุณสมบัติที่สุดคงจะเป็น เมือง ซีแอตเทิล ในรัฐวอชิงตัน มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของเจฟฟ์ มากที่สุด และที่สำคัญ ยังเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ใหญ่ที่่สุดของ อิงแกรม บุ๊ก ที่อยู่ไม่ไกลจากซีแอตเทิลมากนัก

เลือกเมืองซีแอตเทิลเป็นที่ตั้ง office แรกหลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
เลือกเมืองซีแอตเทิลเป็นที่ตั้ง office แรกหลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

อีกเรื่องหนึ่งที่เจฟฟ์ต้องตัดสินใจคือ ชื่อบริษัท โดยช่วงแรกเขาใช้ชื่อ คาดาบรา ในการจดทะเบียนบริษัทในเดือนกรกฎาคมปี 1994 ก่อนที่ 7 เดือนต่อมาจะเปลี่ยนเป็น Amazon เพราะชื่อนี้ขึ้นต้นด้วย A สามารถขึ้นชื่อลำดับแรก ๆ เมื่อเรียงตามตัวอักษร และมันเป็นชื่อแม่น้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของบริษัท

ตอนนี้ เจฟฟ์ พร้อมจะขับเคลื่อนบริษัทไปข้างหน้าแล้ว เขาเริ่มต้นบริษัทด้วยทุนของตัวเอง เนื่องจากรายได้ที่งดงามในการทำงานก่อนหน้านี้ ซึ่งมากพอที่จะพยุงบริษัทไปได้อีกหลายเดือนเลยทีเดียว ด้วยทุน 10,000 เหรียญ

แต่เงิน 10,000 เหรียญนั้นไม่สามารถช่วยให้บริษัทอยู่ได้นานนัก เขาจึงได้ระทุมจากครอบครัวเพิ่มเติม โดยพ่อเลี้ยงอย่างไมค์ เบซอส นั้นยินดีที่จะให้เงินลงทุนด้วยความเต็มใจ เพราะเขาเชื่อมั่นในตัวเจฟฟ์ มาก ๆ แม้ครอบครัวของเจฟฟ์นั้นแทบจะไม่เคยได้ยินคำว่า internet มาก่อนเลยด้วยซ้ำ

เมือ เจฟฟ์ มาถึง ซีแอตเทิล ก็เริ่มมองหานักพัฒนาซอฟท์แวร์เก่ง ๆ โดยไปหาที่ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของมหาลัยวอชิงตัน ซึ่งโด่งดังในด้านนี้เป็นพิเศษ

และคนที่ เจฟฟ์ได้พบก็คือ พอล บาร์ตัน-เดวิส อดีตนักชีววิทยาโมเลกุลจากลอนดอนที่ผันตัวมาเป็นวิศวกรซอฟท์แวร์ที่ ซีแอตเทิล ส่วนโปรแกรมเมอร์อีกคนคือ แคปแฟน ที่เจฟฟ์นั้นดึงมาผ่านทาง connection ของเขาที่บริษัทเก่า 

ทั้งคู่แทบจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการสร้างซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจค้าปลีกเลยด้วยซ้ำ แต่คนพวกนี้ระดับอัจฉริยะทั้งสิ้น เจฟฟ์ไม่ได้ต้องการคนที่ประสบการณ์มากที่สุด ด้วยความที่เขากำลังพยายามทำสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน และพวกคนอัจฉริยะเหล่านี้นั้น เจฟฟ์มองว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้

หลังจากได้ออฟฟิส เล็ก ๆ ไม่มีอะไรเลยนอกจากโต๊ะทำงานที่ดัดแปลงจากประตูไม้ และเราเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และเจฟฟ์ ก็ให้ภรรยาของเขาคือ แมคเคนซี มาช่วยเป็นพนักงานลำดับที่สาม มาช่วยเรื่องการรับโทรศัพท์ การจัดการคำสั่งซื้อ งานบัญชี จิปาถะต่าง ๆ ในบริษัท

ออฟฟิสเล็ก  ๆ  เพื่อเริ่มต้นธุรกิจของ เจฟฟ์ เบซอส
ออฟฟิสเล็ก ๆ เพื่อเริ่มต้นธุรกิจของ เจฟฟ์ เบซอส

หลังจากนั้นเจฟฟ์ ได้ตัดสินใจลงเรียนในหลักสูตรการเปิดร้านหนังสือเบื้องต้น และได้เริ่มทดลองสั่งหนังสือจากบริการออนไลน์อื่น ๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของร้านหนังสือออนไลน์เปิดใหม่อีกหลายแห่งด้วย ตัวอย่างเช่น clbooks.com 

หลังจากเรียนจบหลักสูตรการเปิดร้านหนังสือเบื้องต้น และได้ผ่านประสบการณ์ในการสั่งซื้อสินค้าสองสามชิ้นทาง internet มาเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้บริษัทของเจฟฟ์ ที่มี คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง มีวิศวกรสองคน มีภรรยา และมีโรงรถ เจฟฟ์ ก็พร้อมแล้วที่จะสร้างร้านหนังสือออนไลน์ขึ้นมาเสียที

ร้านหนังสือออนไลน์ ในฉบับเจฟฟ์ นั้นจะเป็นอย่างไร แล้วจะแตกต่างอย่างไรกับที่ตอนนั้นเริ่มมีหลาย ๆ บริษัทเริ่มทำร้านหนังสือออนไลน์ไปบ้างแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ เจฟฟ์ และ ธุรกิจร้านหนังสือออนไลน์แรกของเขา โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 3 : Customer Centric

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos

เจฟฟรีย์ เพรสตัน เบซอส (Jeff Bezos) หรือ เจฟฟ์ นั้น เกิดมาพร้อมความสามารถพิเศษในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ ในสมัยที่เรียนประถมนั้น มันดูเหมือนเขาเป็นคนดื้อรั้นในสายตาคุณครูประจำชั้นอยู่เสมอ แต่หารู้ไม่ว่าความดื้อรั้น นั้นเป็นส่วนสำคัญในสายเลือดของผู้ประกอบการที่อยู่ในตัวเขามาตั้งแต่เด็ก

เขาอยู่กับแม่และตาของเขาในเมืองเท็กซัส ส่วนพ่อที่แท้จริงนั้นแทบจะไม่มีใครรับรู้กันเท่าไหร่ ไม่เว้นแม้แต่ตัวเขาเองก็ตาม หลังจากหย่ากับพ่อที่แท้จริงของเจฟฟ์ แม่ของเขาได้พบรักคร้้งที่สองกับ ไมค์ เบซอส ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยมาจากประเทศคิวบา ไมค์นั้นมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า จนเรียนจบปริญญาและเข้าทำงานเป็นวิศวกรปิโตรเลียมที่เอ็กซอน บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกา

เจฟฟ์นั้นสนใจเทคโนโลยีมาตั้งแต่เล็ก และมักจะหมกมุ่นกับการซ่อมแซมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เรียกได้ว่าเขาสวมวิญญาณของนักประดิษฐ์มาตั้งแต่วัยเด็กเลยด้วยซ้ำ ในวัยเด็กเขาสามารถใช้เวลาหลายชั่วโมงขลุกอยู่ในโรงรถ เพื่อประกอบวิทยุ สร้างหุ่นยนต์ หรือสร้างอุปกรณ์ทดลองต่าง ๆ 

เขาเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ ทั้งนิยายเพ้อฝัน ไปจนถึงเรื่องราวของผู้ประกอบการระดับตำนานอย่าง โทมัส เอดิสัน หรือ วอลต์ ดิสนีย์

ด้วยความที่พ่อเลี้ยงของเขาเป็นวิศวกรที่ต้องย้ายถิ่นฐานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เขาได้ย้ายไปอยู่ในหลาย ๆ เมือง ตอนมัธยมนั้นเขาต้องย้ายไปอยู่ที่ฟลอริดา หลังจากจบมัธยมปลายเขาก็ก่อตั้งธุรกิจแรกของตัวเองขึ้นมาภายใต้ชื่อ สถาบันดรีม โดยเป็นค่ายวิชาการสำหรับนักเรียน โดยเก็บเงินค่าบริการคนละ 150 ดอลล่าร์ ถึงขึ้นที่ว่า ธุรกิจเขาเขานั้นได้ไปเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์เลยทีเดียว

หนุ่มน้อย เจฟฟ์ เบซอส ที่ฉายแววอัจฉริยะมาตั้งแต่เด็ก

สำหรับเส้นทางเริ่มต้นที่เข้ามาสู่วงการคอมพิวเตอร์นั้น น่าจะมาจากการได้มีโอกาสไปเรียนทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาลัยพรินซ์ตัน เจฟฟ์นั้นเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก เขาเป็นเด็กเรียนดีที่หมกมุ่นอยู่กับการเขียนโปรแกรม จนสามารถเรียนจบได้เกียรตินิยมที่มหาลัยพรินซ์ตันได้สำเร็จ 

เจฟฟ์นั้นคิดไว้เสมอว่าเขาจะต้องเป็นผู้ประกอบการในซักวันหนึ่ง  เขาคิดถึงขนาดว่าจะมาเป็นผู้ประกอบการทันทีหลังจากเรียนจบ แต่สุดท้ายเขาอยากได้ความรู้เรื่องการทำธุรกิจ และหาประสบการณ์การทำงานภายในบริษัทก่อนน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า

ด้วยความเก่งระดับอิจฉริยะ เขาได้รับการเสนองานจากบริษัทใหญ่ ๆ มากมาย แต่เขาเลือกไปอยู่กับบริษัทฟิเทล ในนิวยอร์ค ซึ่งเป็นบริษัทเปิดใหม่ โดยกำลังสร้างระบบที่เรียกว่าอีควิเน็ต เพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของเหล่าบริษัทค้าหลักทรัพย์ บริษัทจัดการลงทุน และธนาคารให้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถที่จะดำเนินการซื้อขายหุ้นได้อย่างสะดวก

ถ้าย้อนไปในสมัยนั้น แนวคิดนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ เจฟฟ์เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาโปรแกรมหลักของโปรเจ็คนี้ ลูกค้าหลาย ๆ รายไม่เชื่อว่าระบบดังกล่าวจะสามารถทำงานได้จริง อีควิเน็ตช่วยให้สามารถที่จะส่งข้อมลการซื้อขายนับหเจมื่นครั้งระหว่างคอมพิวเตอร์ของธนาคารหลายแห่งในเครือข่าย

ซึ่งภายในเวลาเพียงไม่ถึงปี เจฟฟ์ ก็ได้เลื่อนตำแหน่งจากผู้จัดการฝ่ายพัฒนา ไปเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท ด้วยวัยเพียงแค่ 23 ปีเท่านั้น แต่เขาต้องการความท้าทายในอาชีพการงานมากกว่านั้น และอยากได้มุมมองที่กว้างขึ้นรวมถึงสามารถที่จะเรียนรู้เคล็ดลับการเป็นผู้ประกอบการ

สามารถไต่เต้าตำแหน่งได้อย่างรวดเร็วในทุกงานที่ทำ
เจฟฟ์ นั้นมีความรู้ทั้งทางด้านเทคโนโลยี และ ทางด้านการเงิน ที่หาตัวจับยากคนหนึ่งในวงการขณะนั้น

เขาจึงตัดสินใจย้ายไปทำงานกับธนาคารแบงเกอร์ส์ทรัสต์ ทำให้เขาได้ความรู้ทั้งเรื่องเทคโนโลยีและเรื่องของการเงิน โดยสามารถเลื่อนขึ้นไปตำแหน่งรองประธานที่อายุน้อยที่สุดของแบงเกอร์ทรัสต์เมื่ออายุได้ 26 ปีเพียงเท่านั้น

จากนั้นเขาก็ได้มีโอกาสสำคัญที่ได้ไปทำงานกับ บริษัท ดี.อี.ชอว์ ที่สร้างระบบอัตโนมัติสำหรับซื้อขายหุ้นให้แวดวงการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่เจฟฟ์ ถนัดอย่างยิ่งอยู่แล้ว แต่ ดี.อี.ชอว์ นั้นต่างจากบริษัทก่อนหน้าที่เจฟฟ์เคยได้ร่วมงานมา เพราะ น้อยคนนักที่จะได้ผ่านการคัดเลือกเข้าไปทำงานกับ ดี.อี.ชอว์ นิตยสารชื่อดังอย่างฟอร์จูน ยกย่องให้ ดี.อี.ชอว์นั้นเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีมากที่สุดในวอลล์สตรีต

และเหมือนทุก ๆ ครั้งด้วยความอัจฉริยะของเจฟฟ์ เพียงไม่กี่ปีเขาก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานอาวุโส ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เจฟฟ์ นั้นไม่เหมือนกับผู้บริหารทั่ว ๆ ไป ความคิดของเขาค่อนข้างซับซ้อน และเป็นขั้นเป็นตอน คุณสมบัติที่พาให้เขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วคือความสามารถในการมองเห็นภาพรวมและรับมือกับปัญหายิบย่อยได้อย่างดีนั่นเอง

ด้วยความอัจฉริยะที่หาตัวจับยากทำให้ขึ้นตำแหน่งได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยความอัจฉริยะที่หาตัวจับยากทำให้ขึ้นตำแหน่งได้อย่างรวดเร็ว

และที่ ดี.อี.ชอว์ นี่เองที่ทำให้เจฟฟ์ นั้นได้พบเจอกับสิ่งที่เรียกว่า internet ซึ่งเป็นสิ่งที่ใหม่มากในขณะนั้น ซึ่งเป็นปี 1994 เจฟฟ์ นั้นถูกมอบหมายให้มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ จากเทคโนโลยี internet เจฟฟ์ เริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับ internet และรู้สึกประทับใจกับเจ้า internet ทันที ตอนนั้น อัตราการเติบโตของ internet สูงถึง 2,300% ต่อปีเลยทีเดียว 

ซึ่งทำให้ตอนนี้เจฟฟ์ เริ่มมองข้ามการทำงานให้กับ ดี.อี.ชอว์ การเติบโตของ internet ในระดับนี้นั้นเขามองว่ามันจะทำให้ใครหลาย ๆ คนหาเงินได้อย่างมหาศาล และตัวเขาก็อยากเป็นหนึ่งในนั้นด้วย

เขาอยากสร้างบริษัทที่ประสบความสำเร็จโดยใช้ทักษะทางธุรกิจและเทคโนโลยีของเขาเอง ซึ่งอาจจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ได้ ขอให้สามารถทำกำไรได้มากพอ เขาเล็งเห็นทันทีว่า internet จะกลายเป็นพื่นที่ขนาดมหึมา ที่มีคนเข้ามาใช้บริการ นั่นย่อมทำให้มีโอกาสในการขายสินค้าตามมา

ตอนนั้นเขาเริ่มฝันถึงการเป็นผู้ค้าปลีกทาง internet รายใหญ่ที่สุดของโลกแล้ว แต่เขาก็รู้ดีว่าควรเริ่มจากตลาดแบบเดียวก่อน ต้องเป็นสินเค้าที่ตลาดต้องการแล้วนำไปหลอมรวมกับความสามารถของ internet ในการกระจายไปยังผู้คนได้ทั่วอเมริกา หรือแม้กระทั่งทั่วโลกเลยด้วยซ้ำ แล้วสิ่ง ๆ นั้นมันคือ อะไร เจฟฟ์ จะเริ่มธุรกิจค้าปลีกครั้งแรกกับผลิตภัณฑ์อะไรดี ตอนนี้โอกาสมันเข้ามาถึงเจฟฟ์แล้วที่จะได้ทำตามความฝันในการเป็นผู้ประกอบการเสียที จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ เจฟฟ์ เบซอส โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Online Book Store

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Blog Series : Jeff Bezos and the rise of amazon.com

หลังจาก Blog Series ชุดที่แล้วว่าด้วยเรื่องของ แจ๊ค หม่า ราชัน อีคอมเมิร์ซแห่งแดนมังกรกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใน Series ชุดใหม่นี้ ผมขอนำเสนอเจ้าพ่อ อีคอมเมิร์ซ แห่งโลกตะวันตกอย่าง Jeff Bezos แห่ง amazon.com กันบ้างครับ

ทั้งสองต่างเป็นราชันผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอีคอมเมิร์ซ และมีบทบาทสำคัญต่อวงการการค้าโลก เรื่องของ Jeff Bezos นั้นก็น่าสนใจไม่แพ้เรื่องราวการต่อสู้ของแจ๊ค หม่า จากจุดเริ่มต้นจากร้านหนังสือออนไลน์ จนกลายเป็นร้านค้าที่มีสินค้าและบริการทุกอย่าง มียอดขายกว่าแสนล้านเหรียญ และมีลูกค้าอยู่ทั่วโลกได้อย่างไร

Blog Series ชุดนี้จะนำเสนอเรื่องราวทุกแง่มุมของ Amazon ทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวที่ Jeff Bezos ประสบพบเจอตอนสร้าง Amazon.com ให้กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

สำหรับข้อมูลที่จะใช้เขียนใน Blog Series ชุดนี้ จะมาจากหนังสือ สองเล่ม คือ One Click:Jeff Bezos and the rise of amazon.com จากผู้เขียน Best Seller อย่าง Richard L.Brandt และ หนังสือ the everything store (Jeff Bezos and The Age of Amazon) โดยผู้เขียนอย่าง Brad Stone ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มเป็นหนังสือ Best Seller ของ อเมริกาทั้งสิ้น

หนังสือ One Click : Jeff Bezos and the Rise of amazon.com
หนังสือ One Click : Jeff Bezos and the Rise of amazon.com
หนังสือ the everything store (Jeff Bezos and the age of amazon)
หนังสือ the everything store (Jeff Bezos and the age of amazon)

และเหมือนเคย สำหรับผู้ที่เคยอ่านหนังสือเหล่านี้มาแล้ว อาจจะผ่านเลยก็ได้นะครับ ผมจะนำเรื่องราวทั้งหมดมาเล่าใหม่ในสไตล์ของผมเอง เหมือนเดิม และเพิ่มเติมข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ทั้ง wikipedia รวมถึงข้อมูลจากออนไลน์ แหล่งต่าง ๆ ที่รับรองว่าท่านจะไม่เคยได้อ่านจากที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน โปรดอย่าพลาดติดตามนะคร้าบผม

–> อ่านตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ One Click:Jeff Bezos and the rise of amazon.com
เขียนโดย : Richard L.Brandt
แปลโดย : พรเลิศ อิฐฐ์,วิโรจน์ ภัทรทีปกร

หนังสือ The everything store (Jeff Bezos and The Age of Amazon)
เขียนโดย : Brad Stone

https://www.businessinsider.com/jeff-bezos-amazon-history-facts-2017-4

https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_Amazon

https://www.bbc.com/news/business-48884596

https://interestingengineering.com/a-very-brief-history-of-amazon-the-everything-store