ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 4 : Bye Bye Hangzhou

ความผิดหวังจากปักกิ่งในการเดินทางครั้งแรก มันก็ไม่ได้ทำให้แจ๊ค ย่อท้อแต่อย่างใด เขาเดินทางกลับหังโจว  ไชน่าเพจเจส ที่หังโจว กำลังเติบโตไปได้ดีเลยทีเดียว ไชน่าเพจเพจสมันเป็นเว๊บไซต์ ทางธุรกิจแห่งแรกของประเทศจีน เป็นโมเดลใหม่ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน และผลงานของแจ๊คที่ปักกิ่ง ให้กับสื่อดัง ๆ หลายรายนั้นทำให้ตอนนี้ไชน่าเพจเจสดังเป็นพลุแตกแล้ว

แล้วเมื่อตลาดมันเกิด ก็ย่อมมีคู่แข่งตามมา คู่แข่งรายแรกน่าจะเป็น ไชน่าวินโดวส์ ของ Academy of science ของจีน แต่เนื่องจากมันเป็นองค์กรของรัฐ ทำให้ไม่มีแรงกดดันในเรื่องการหากำไร จึงจะมองเป็นคู่แข่งเลยก็ไม่เชิง แถมยังอยู่ในเมืองหลวงอย่างปักกิ่ง ซึ่งห่างไกลจากฐานที่มั่นของแจ๊คในหังโจวมาก

องค์กรรัฐเต็มตัวอย่าง academy of science ที่ทำไชน่าวินโดวส์นั้น แจ๊คไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง
องค์กรรัฐเต็มตัวอย่าง academy of science ที่ทำไชน่าวินโดวส์นั้น แจ๊คไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง

แต่คู่แข่งที่น่าจะสมน้ำสมเนื้อมากที่สุดน่าจะเป็น การสื่อสารหังโจว ซึ่งอยู่ในถิ่นเดียวกันและมีกำลังทรัพยากรทั้งคนและเงินทุนมหาศาล ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 300 ล้วนหยวน ส่วนไชน่าเพจเจสนั้นมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ หนึ่งแสนหยวนเพียงเท่านั้น

แต่แม้ในเชิงธุรกิจแล้วนั้น กิจการของไชน่าเพจเจสทำได้ดีกว่าสื่อสารหังโจว ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจบริการของแจ๊คมากกว่า ทำให้ไชน่าเพจเจสค่อย ๆ รุกคืบไปทีละก้าว ส่วนการสื่อสารหังโจวก็ถอยร่นไปเรื่อย ๆ 

แต่ปัญหาคือ เรื่องเงินทุนและทรัพยากร ไชน่าเพจเจสนั้นสู้ไม่ได้เลย ในปี 1996 ถึงกับต้องเผชิญกับภาวะไม่มีเงินจะจ่ายพนักงาน ยังดีที่แจ๊คนั้นสามารถจะแก้วิกฤตนี้ได้ทันก่อนที่ขวัญกำลังใจของพนักงานจะเสียไปมากกว่านี้

และเมื่อมันตกอยู่ในสภาพความเป็นจริงที่โหดร้ายเช่นนี้ แจ๊คผู้ไม่เคยยอมก้มหัวให้ใครจึงจำเป็นต้องยอมประนีประนอมอย่างจนปัญญา ในเดือนมีนาคม ปี 1996 ไชน่าเพจเพจสเข้าควบรวมกิจการกับการสื่อสารหังโจว โดย ไชน่าเพจเจสถือหุ้น 30% และ อีก 70% เป็นส่วนของการสื่อสารหังโจว

แจ๊คตัดสินใจครั้งสำคัญ เป็น พาร์ทเนอร์กับ การสื่อสารหังโจว
แจ๊คตัดสินใจครั้งสำคัญ เป็น พาร์ทเนอร์กับ การสื่อสารหังโจว

และมันทำให้กิจการไชน่าเพจเจสนั้น ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนถึงปลายปี 1996 ไม่ใช่แค่ไชน่าเพจเจสสามารถทำกำไรได้อย่างเดียว ยอดการขายก็พุ่งทะลุไปถึง 6 ล้านหยวนด้วย

แต่ด้วยวัฒนธรรมการทำงานของทั้งสองฝ่ายที่ต่างกัน ไม่นานนัก ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายก็เริ่มมีรอยร้าว เป้าหมายของแจ๊คนั้นคือสร้างไชน่าเพจเจสให้เป็น “YAHOO ของประเทศจีน” เขาเสนอให้ทำการบ่มเพาะตลาดก่อน หลังจากที่ตลาดเติบโต้ด้วดีแล้วค่อยทำการแสดงหากำไร แต่มันตรงข้ามกับแนวความคิดของการสื่อสารหังโจว ที่มีภารกิจเดียวคือ การแสดงหากำไรเท่านั้น

ซึ่งความเห็นต่างทางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ค่อย ๆ สะสมและลุกลามจนกลายเป็นความขุ่นเคืองทางอารมณ์ ทำให้ทีมงานของแจ๊คต่างขอลาออก และชนวนสุดท้าย สำหรับแจ๊ค มันคือ การที่พาร์ทเนอร์ธุรกิจอย่างการสื่อสารของหังโจว หันไป ตั้งบริษัทใหม่แล้วตั้งบริการแบบเดียวกับ ไชน่าเพจเจส แม้ ชื่อตัวเว๊บไซต์ ยังมีความคล้ายคลึงกัน

มันเป็นเจตนาที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า ฝั่งของการสื่อสารหังโจว ต้องการทำอะไร แจ๊ค กำลังถูกหลอก เนื่องมาจากตอนแรกการสื่อสารของหังโจวนั้น ทำแข่งกับแจ๊ค ไม่ไหว จึงต้องมาขอร่วมทุน และสุดท้ายเป้าหมายของพวกเขาก็คือ “ซื้อมา – เผาทิ้ง – ทำเอง” เมื่อได้ know-how จากแจ๊ค ไปมากเพียงพอแล้ว

หลังจากครุ่นคิดอย่างรอบคอบอยู่หลายเดือน ในที่สุด แจ๊ค ก็ต้องยอมพ่ายแพ้ ยอมลาออกจากกิจการร่วมครั้งนี้  แจ๊ค ตัดสินใจแล้วว่า จะไปที่ปักกิ่งอีกครั้ง แต่ไม่ได้เป็นการจากลาจากไชน่าเพจเจสแบบไปแล้วไปลับ แต่จะไปปักกิ่ง เพื่อทำภารกิจอะไรบางอย่างให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์  และเมื่อเขาทำภารกิจที่ปักกิ่งเสร็จสิ้น เขาสัญญากับพนักงานทุกคนของไชน่าเพจเจส ว่าเขาจะกลับมาแน่นอน และหวังให้ทุกคนในหังโจว ตั้งใจทำงาน เพื่อรอเขากลับมา

แจ๊คสัญญากับทีมงานไชน่าเพจเจสว่าจะกลับมา
แจ๊คสัญญากับทีมงานไชน่าเพจเจสว่าจะกลับมา

ถึงตอนนี้ มันเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของแจ๊ค ในการทำธุรกิจ การถูกหักหลังจากการสื่อสารหังโจวครั้งนี้ ทำให้แจ๊คโตขึ้น และ ไม่ใช่เป็นการยอมแพ้ แต่จะไปทำภารกิจที่เขายังทำไม่เสร็จสิ้นที่ปักกิ่ง จะเกิดอะไรขึ้นที่ปักกิ่ง กับการเดินทางครั้งที่สองของแจ๊ค และ จะเกิดอะไรขึ้นกับ ไชน่าเพจเจสต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Break the Wall

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 3 : The Wall of Capital

ในระบอบคอมมิวนิสต์ นั้น internet ก็ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ มันยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์จากส่วนกลางในเรื่องนโยบายกับ internet ซึ่งตรงข้ามกับแจ๊ค ที่มองว่า internet นั้นจะพลิกโฉมความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ รวมถึงประเทศจีนเองด้วย และจีนจะตกเทรนด์ดังกล่าวไม่ได้อย่างเด็ดขาด

ในปี 1995 เพื่อให้ความฝันที่จะเป็น YAHOO ของประเทศจีนเป็นจริง แจ๊ค จึงต้องเดินทางเข้าสู่เมืองหลวงอย่างปักกิ่ง

ถึงปักกิ่ง ผู้ที่แจ๊คอยากเจอมากที่สุด คือ “จอมยุทธ์หญิงแห่ง internet” จางซู่ชิน ซึ่งขณะนั้นกำลังโด่งดังสุด ๆ ในวงการ internet บริษัทอิ๋งไห่เวย ของ จางซู่ชิน นั้น มีป้ายโฆษณาขนาดยักษ์ ติดอยู่เต็มทั่วกลางเมืองหลวงอย่างปักกิ่ง และเธอกำลังวุ่นกับการสร้างเว๊บไซต์โปรเจคใหญ่ จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะมาคุยกับ แจ๊ค ทำให้แจ๊ครู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมาก

ตอนนั้นไชน่าเพจเจส มีชื่อเสียงอยู่เฉพาะแถบ ๆ มณฑลรอบ ๆ เมืองหังโจวเท่านั้น ปักกิ่งในขณะนั้นแทบจะไม่รู้เรื่องราวของ ไชน่าเพจเจส ทั้งรัฐบาล รวมถึงชาวบ้านในเมืองหลวงไม่มีใครรู้จักแจ๊ค หม่า

ในยุคปี 1995 นั้น รัฐบาลจีนยังไม่มีทีท่าชัดเจนว่าจะพัฒนา internet หรือไม่ ยังมีการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวางในระดับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ ว่าจีนพร้อมแล้วหรือยังที่จะเปิดเสรีทางด้านข้อมูลข่าวสารผ่าน internet มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและคัดค้าน ซึ่งทัศนะของสองฝ่ายนั้นก็ขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ 

ยังเป็นที่ถกเถียงเรื่อง internet ในรัฐบาลจีนในสมัยนั้น
ยังเป็นที่ถกเถียงเรื่อง internet ในรัฐบาลจีนในสมัยนั้น

สื่อมวลชนก็ยังไม่กล้าทำอะไรโดยพลการ ทำให้ทิศทางของบทวิจารณ์เรื่อง internet ในสื่อต่าง ๆ นั้นยงคงคลุมเคลือ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์รายใหญ่หรือรายเล็ก ไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ ถ้ายังไม่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ จึงไม่มีสื่อสำใดกล้าเสนอข่าวเรื่อง internet 

 และเพื่อให้เรื่องของ internet ไปถึงกลุ่มคนส่วนใหญ่ของปักกิ่งในสมัยนั้นได้ แจ๊ค จึงต้องหาทางลงบทความเกี่ยวกับ internet ในสื่อที่สามารถกระจายได้ในวงกว้าง เขาจึงได้ไปเจอกับ สื่อชื่อดังในปักกิ่งอย่าง จงกว๋อเม่าอี้เป้า ซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่ใจกล้า และไม่ค่อยจะกลัวรัฐบาลจีนในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แจ๊คต้องการเป็นอย่างมาก

บรรณาธิการของ จงกว๋อเม่าอี้เป้า นั้นต้อนรับแจ๊ค อย่างดี แจ๊คได้แสดงหน้าไชน่าเพจเจส ให้ ซุนเอี้ยนจวิน ซึ่งเป็นบรรณาธิการในขณะนั้นดู แต่แทนที่จะรอดาวน์โหลดแบบ 3 ชั่วโมงเหมือนที่เขาเคยแสดงในหังโจว เขาได้เตรียมพร้อมข้อมูลหน้าเพจไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้การสาธิต ตัวเว๊บไชน่าเพจเจส เป็นไปอย่าง smooth มาก ทำให้ซุนเอี้ยนจวิน รู้สึกประทับใจตัวไชน่าเพจเจสมาก แม้ตอนนั้นเขาจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ internet เลยก็ตาม

แจ๊ค แอบโหลดข้อมูลทั้งหมดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาเพื่อให้หน้าเว๊บดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว
แจ๊ค แอบโหลดข้อมูลทั้งหมดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาเพื่อให้หน้าเว๊บดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว

และในที่สุด บทความขนาด 5,000 ตัวอักษร ก็ปรากฏบนหน้าหนึ่งของ จงกว๋อเม่าอี้เป้า ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่สื่อของปักกิ่งรายงานเกี่ยวกับ แจ๊ค หม่า และ ไชน่าเพจเจส ซึ่งเป็นการตีพิมพ์บทความขนาดยาวขึ้นหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์เสียด้วย และทำให้หลังจากนั้นทำให้สื่อหลาย ๆ รายเริ่มสนใจและหันมารายงานเกี่ยวกับแจ๊ค และไชน่าเพจเจส

และมันเริ่มทำให้แจ๊คเริ่มเป็นที่สนใจในวงสังคมของปักกิ่ง เขาได้ไปรู้จักนักธุรกิจชื่อ ๆ ดังหลายคนในปักกิ่ง แต่การพบปะส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการจุดประการเรื่อง internet ในประเทศจีน แจ๊ค พยายามหาแนวร่วมให้มากที่สุด เพื่อโน้มน้าวรัฐบาลจีนให้ได้

แม้จะพยายามไปมากเท่าใด กับการพบปะผู้คนมากมาย รวมถึงสื่อหลาย ๆ รายในปักกิ่งนั้น แต่ท่าทีของรัฐบาลยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หลังจากรัฐบาลได้เริ่มรับรู้เรื่องราวของแจ๊คและไชน่าเพจเจสบ้างแล้ว  เหล่าสื่อมวลชนกลับได้รับแจ้งจากรัฐบาลว่า “ภายใต้สภาพที่รัฐบาลยังไม่มีหนังสือสนับสนุนอย่างเป็นทางการห้ามมิให้สื่อมวลชนใด ๆ เผยแพร่เกี่ยวกับเรื่อง internet”

สื่อต่าง ๆ ของปักกิ่งต่างถูก block ไม่ให้เผยแพร่เรื่อง internet
สื่อต่าง ๆ ของปักกิ่งต่างถูก block ไม่ให้เผยแพร่เรื่อง internet

หลังได้ทราบข่าวนี้ แจ๊ค ก็ยิ่งสลด ภายใต้ระบบที่เข้มงวดและข้อจำกัดของรัฐบาลคอมมิวนิสต์นั้น แม้เพื่อน ๆ ของแจ๊คจะช่วยสนับสนุน แต่ก็ยังทำอะไรไม่ได้มากนัก แต่ ยังมีอีกทางที่เหล่าสื่อมวลชนบอกแจ๊ค นั่นก็คือ ถ้าสามารถเกลี้ยกล่อม เหรินเหมินยึเป้า สื่ออันดับหนึ่งของประเทศจีนในขณะนั้น เผยแพร่ทาง internet ให้ได้ อาจจะมีทางเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนใจรัฐบาลจีน

 และเหมือนโชคชะตาจะเข้าข้างแจ๊คอีกครั้ง เขาได้เข้าไปยัง สื่ออันหนึ่งของจีน อย่าง เหรินเหมินยึเป้า ผ่าน connection ของเขาที่ได้เริ่มสร้างขึ้นในปักกิ่ง และได้มีโอกาสไปบรรยาย และสอนเรื่อง internet ให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเหรินเหมินยึเป้า และในที่สุดผู้บริหารระดับสูงก็เห็นชอบเรื่อง internet และอยากให้แจ๊คนำ เหรินเหมินยึเป้า ขึ้นสูระบบ internet

ในตอนนั้น แจ๊ค ไม่ได้พึ่งพา VBN ให้สร้างเว๊บเพจให้อีกแล้ว ตอนนี้เขามีเจ้าหน้าที่จากหังโจวมาช่วยสร้างเว๊บเพจให้กับสื่ออันดับหนึ่งอย่าง เหรินเหมินยึเป้า โดยใช้เวลากว่าครึ่งปีในการพัฒนาออกแบบเว๊บเพจออนไลน์แห่งนี้ และสามารถ online ได้ในวันที่ 1 มกราคม 1997 และทำให้ เหรินเหมินยึเป้า กลายเป็นเว๊บจีนเว๊บแรกที่เสนอข่าวสำคัญจากส่วนกลางของจีน

แจ๊ค นั้นมีทีมเทคนิคเองในจีนแล้ว ไม่ต้องพึ่งพา VBN อีกต่อไป
แจ๊ค นั้นมีทีมเทคนิคเองในจีนแล้ว ไม่ต้องพึ่งพา VBN อีกต่อไป

และหลังจากเหตุการณ์นี้ มันทำให้ แจ๊ค สามารถที่จะเชื่อมต่อความสัมพันธ์ไปยังรัฐบาลจีน เขาพยายามติดต่อไปยังหน่วยงานของรัฐบาลหลาย ๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงวัฒนธรรม และคณะกรรมการกีฬาแห่งชาติ

แจ๊ค นั้น ได้เสนอที่จะสร้างเว๊บไซต์ให้กระทรวงวัฒนธรรม รวมถึง คณะกรรมการกีฬาให้ฟรี ๆ โดยแค่ขอสนับสนุนด้านเนื้อหาก็เพียงพอ แต่ก็ถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดี หลังจากนั้น แจ๊ค ก็ได้เร่ขายโฆษณาไปตามท้องถนนของปักกิ่ง นำเสนอให้บรรดาประชาสัมพันธ์ระดับสูงของกระทรวงและสื่อมวลชนต่าง ๆ ทว่า ล้วนไร้ประโยชน์ แทบจะถูกปฏิเสธมาแทบจะทั้งสิ้น

เข้าหาผู้ใหญ่ในกระทรวง หรือ กรมต่าง ๆ ในรัฐบาล แต่ถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดี
เข้าหาผู้ใหญ่ในกระทรวง หรือ กรมต่าง ๆ ในรัฐบาล แต่ถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดี

มันเป็นความพยายามอย่างหนักของแจ๊ค ในการที่จะซื้อใจปักกิ่ง แม้จะพยายามมากเพียงใด แต่ดูเหมือนทีท่าจากรัฐบาลจีนนั้น ดูจะไม่แยแส เรื่องกระแสของ internet เลยด้วยซ้ำ มันเป็นความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ของแจ๊ค ในการมาปักกิ่งครั้งนี้ มันเหมือนกำแพงที่แข็งแกร่งที่ยากที่จะยอมรับกระแสที่กำลังบูมของ internet ที่กำลังกระจายไปทั่วโลก จีนจะพลาดตกขบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้จริง ๆ หรือ? แล้วแจ๊ค กับ ไชน่าเพจเจส จะทำอย่างไรต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : Bye Bye HangZhou

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ