ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 4 : Crazy Jobs

ไม่มีใครสงสัยในเรื่องที่จ๊อบส์ เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และ มีวิสัยทัศน์ ซึ่ง จ๊อบส์นั้นได้แสดงคุณสมบัติเหล่านี้ให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่เขาคุม apple ในสมัยแรก แต่ปัญหาหลักของจ๊อบส์ น่าจะอยู่ที่การบริหารงานบริษัทมากกว่า การทะเลาะกับทีมงานไปทั่ว นิสัยเอาแต่ใจตัวเอง รวมถึง การดูถูก เหยีดหยาม แม้กระทั่งทีมงานตัวเอง หากทำอะไรไม่ดั่งใจของเขา นั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ ทำให้เขาถูกบีบออกจาก apple ในปี 1985

การกลับมาครั้งที่สองในรอบนี้ของจ๊อบส์นั้น เขาเติบโตขึ้นมาก ทั้งในเรื่องความคิด และ นิสัยส่วนตัว หลักการบริหารของ apple ในยุคใหม่ของเขามันเป็นคำสั้น ๆ แต่มี impact อย่างมหาศาลต่อ apple คือ คำว่า “โฟกัส”

ในการบริหาร apple รอบสองนี้ ยึกหลักใหญ่ที่สำคัญคือ
ในการบริหาร apple รอบสองนี้ ยึดหลักใหญ่ที่สำคัญคือ “โฟกัส”

เขาได้เริ่มตัดสายผลิตภัณฑ์ ที่ไม่จำเป็นทิ้ง ตัด function หรือ features ที่ไม่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการใหม่ของ apple ออกไป  ในเรื่องการผลิตนั้นเขาหันไปจ้างผู้ผลิตจากภายนอกให้ทำแทนทุกอย่าง ตั้งแต่แผงวงจร ไปจนถึง คอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์แล้ว 

เขาเพิ่มความเฮี้ยบ กับเหล่า ซัพพลายเออร์ทุกราย โดยให้มีวินัยอย่างเคร่งครัด ปรับการจัดการสินค้าคงคลังใหม่ทั้งหมด โดยเมื่อถึงต้นปี 1998 นั้น จ๊อบส์ นั้นสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังให้ลดลงเหลือเพียงครึ่งนึงจากเดิม ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนแฝง ที่สูญเงินเปล่าของ apple แทบจะทั้งสิ้น และเพียงไม่นานก็ส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัททันที โดยมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 500 ล้านเหรียญ จากการจัดการเรื่องดังกล่าวทั้งหมด

เรียกได้ว่าการกลับมารอบใหม่ของจ๊อบส์ นั้น เค้าเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง มีเพียงนิสัยเดิม ๆ บางอย่างที่ยังคงเหลืออยู่บ้าง แต่ อยู่ในหลักการหลักที่จ๊อบส์ยึดมั่นไว้เสมอในการบริหารงาน apple รอบนี้ คือ การ โฟกัส กับสิ่งที่ทำ

และด้วยการทำงานอย่างบ้าคลั่งของ จ๊อบส์ นั้นทำให้ผู้บริหารหลาย ๆ รายเริ่มจะทนความกดดันไว้ไม่ไหว หลังจากจ๊อบส์ บริหารงานได้ 3 เดือน ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ apple ก็ต้องขอลาออก และเป็นเวลาเกือบปีที่จ๊อบส์ นั้นต้องลงมาดูงานปฏิบัติการทั้งหมดด้วยตัวเอง เพราะผู้สมัครในตำแหน่งนี้ทุกคนที่เขาสัมภาษณ์ นั้น ยังไม่ถูกใจเขา เขาอยากได้คนที่สามารถสร้างระบบโรงงานซัพพลายเชนแบบทันท่วงที หรือ (just-in-time-JIT) อย่างที่ ไมเคิล เดลล์ เคยทำได้มาแล้ว

Tim Cook

และในที่สุดปี 1998 จ๊อบส์ ก็ได้เจอกับ ทิม คุก ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อและซัพพลายเชนของ Compaq Computers ซึ่งในขณะนั้น เป็นหนุ่มโสด วัย 37 ปี  คุก นั้นตกหลุมเสน่ห์ของจ๊อบทันทีเมื่อได้สัมภาษณ์งานกับจ๊อบ เขาใช้เวลาเพียง 5 นาที ในการตัดสินใจมาร่วมงานกับจ๊อบส์ ซึ่งการร่วมงานกับ apple นั้นเป็นโอกาสเดียวในชีวิตที่จะได้ทำงานกับ อัจฉริยะด้านความคิดสร้างสรรค์อย่าง จ๊อบส์

บทบาทหลักของ คุก ที่ apple คือการนำสิ่งที่จ๊อบส์คิด มาลงมือปฏิบัติ การที่เขาเป็นหนุ่มโสด ทำให้เขาสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เขาตื่นตีสี่ครึ่งในทุกวัน ออกกำลังกายเสร็จ เขาก็จะเข้ามาที่ office ของ apple ในเวลาหกโมงเศษ

การได้จิ๊กซอว์ ชิ้นสำคัญอย่าง คุก มานั้น ทำให้ apple สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมหาศาล คุกนั้นได้ลดจำนวนซัพพลายเออร์รายสำคัญของ apple จาก 100 รายให้เหลือเพียง 24 ราย เขาได้เกลี้ยกล่อมให้ซัพพลายเออร์หลายราย ย้ายโรงงานมาอยู่ใกล้ ๆ โรงงานของ apple

ทิม คุก คือ keyman คนสำคัญที่ จ๊อบส์ ไว้ใจมากที่สุด
ทิม คุก คือ keyman คนสำคัญที่ จ๊อบส์ ไว้ใจมากที่สุด

สิ่งที่จ๊อบส์ทำได้คือ เคยลดสินค้าคงคลังจากเดิมที่มีปริมาณเท่ากับ 2 เดือน ให้เหลือเพียงเดือนเดียวได้ในปี 1998 แต่ คุก นั้นสามารถทำให้ จ๊อบส์ เซอร์ไพรซ์อย่างมาก ด้วยการทำให้มันลดเหลือเพียงแค่ 2 วัน ซึ่งนับว่าน่าทึ่งมาก และเขายังสามารถที่จะลดระยะเวลาในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ของ apple แต่ละเครื่องลงจาก 4 เดือน เหลือเพียงแค่ 2 เดือน ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากจะช่วยประหยัดเงินแล้วนั้น ยังทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้ใช้ชิ้นส่วนล่าสุดที่มีอยู่ในท้องตลาดอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างตลาดคอมพิวเตอร์

และที่สำคัญนั้น ทิม คุก นั้นเป็นคนเดียวที่รู้ว่า จ๊อบส์ ต้องการอะไร มีวิสัยทัศน์ ในด้านการผลิตแบบเดียวกับจ๊อบส์ และสามารถคุยสื่อสารเรื่องยุทธศาสตร์ระดังสูงได้ ทำให้ คุก กลายมาเป็นคนที่ จ๊อบส์ ไว้ใจมากที่สุด

Presenter ระดับเซียน

หนึ่งใน skill ที่สำคัญที่สุดอย่างนึงของจ๊อบส์ คือ เขากลายเป็นพรีเซ็นเตอร์ระดับเซียน ซึ่งไม่มีผู้นำคนใด แม้กระทั้งบริษัทใหญ่ ๆ ในอเมริกา เองก็ตามที สามารททำได้อย่างที่เขาทำ

การนำเสนอของจ๊อบส์แต่ละครั้งนั้น มันเหมือนมีมนต์สะกด ให้กับผู้ฟัง คอยจดจ่อกับการบรรยาย สรรพคุณ หรือ ผลิตภัณฑ์ของ จ๊อบส์ และเขาเริ่มจะเก็บทุกอย่างไว้เป็นความลับไม่ให้แพร่งพรายออกไปถึงมือสื่อ ก่อน การพรีเซ็นต์ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ apple

skill ที่สำคัญคือ การ present บนเวทีของ จ๊อบส์
การนำเสนอของจ๊อบส์แต่ละครั้งนั้น มันเหมือนมีมนต์สะกดต่อผู้ฟังให้คล้อยตาม

ซึ่งงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่แต่ละครั้งนั้น จ๊อบ และทีมงานต้องเตรียมการอย่างละเอียด จ๊อบส์ นั้นจะเขียนคำบรรยายสไลด์และประเด็นที่จะพูดด้วยตัวเองทั้งหมด และซ้อมการพรีเซ็นต์อย่างหนัก ก่อนที่จะขึ้นเวทีจริง

และการสาธิตผลิตภัณฑ์แต่ละครั้ง นั้น จะใช้เพียงเวทีที่ปล่อยโล่ง มีของประกอบฉาก เพียงไม่กี่ชิ้นเพียงเท่านั้น ซึ่งมันเป็นการสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ apple เป็นอย่างดี เพราะมันเป็นความเรียบง่าย แต่ลึกลงไปนั้น มันคือความเหนือชั้นอย่างแท้จริง

การกลับมาในครั้งนี้ของจ๊อบส์ นั้น มันกำลังเปลี่ยน apple ไปอย่างสิ้นเชิง เขามาพร้อมกับไฟที่เต็มเปี่ยม ทั้งประสบการณ์จากความพลาดพลั้งที่ผ่านมา มันเป็นบทเรียนให้จ๊อบส์ จะไม่ทำพลาดอีกในคำรบที่สอง ครั้งนี้ จ๊อบ ได้รวบรวม ทีมงานที่มีคุณภาพในทุกด้าน

สุดยอดทีมงานคุณภาพของจ๊อบส์
สุดยอดทีมงานคุณภาพของจ๊อบส์

ทุกคนเป็นคนที่จ๊อบส์ คัดเลือกมากับมือ ที่พร้อมจะพา apple ทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่กลัวใครอีกต่อไปแล้ว จ๊อบส์ กำลังจะเปลี่ยนโลกอีกครั้ง และครั้งนี้ มันจะยิ่งใหญ่กว่าเดิมอย่างแน่นอน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปเด็ดขาด 

–> อ่านตอนที่ 5 : Digital Hub

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 3 : Ive Mac

ในวันที่จ๊อบส์ เรียกเหล่าผู้บริหารระดับสูงมาชุมนุมปลุกใจ หลังเข้ารับตำแหน่ง CEO รักษาการ ในเดือนกันยายน 1997 นั้น หนึ่งในผู้ฟังจำนวนนั้น เป็นชายหนุ่มชาวอังกฤษ วัย 30 ปี ผู้มีอารมณ์ ละเมียดละไม และมีควาทุ่มเทกับงานมาก ถึง มากที่สุด เค้าคือ โจนาธาน ไอฟฟ์ หรือ ที่ทุกคนรู้จักในนาม “จอนนี่”

ในช่วงก่อน จ๊อบ จะเข้ามาในรอบที่สองนั้น สถานการณ์ของบริษัท เรียกได้ว่า ย่ำแย่ ไอฟฟ์ ในขณะนั้น กำลังคิดจะลาออก เพราะเบื่อหน่ายกับบริษัท ที่มุ่งเน้นผลกำไรเพียงอย่างเดียว และไม่มีความสนใจในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์เลย

แต่เป็นคำพูดของ จ๊อบส์ ในวันที่ก้าวเข้ามากู้วิกฤติของ apple รอบที่สอง ที่ทำให้ ไอฟฟ์ เปลี่ยนใจที่จะอยู่ต่อ เพราะ จ๊อบส์ นั้นชัดเจนอยู่แล้วว่า เป้าหมายของ apple ไม่ใช่อยู่ที่เรื่องของการหาเงินเพียงอย่างเดียว แต่ คือ การสร้าง ผลิตภัณฑ์ชั้นเยี่ยม ซึ่งมันเป็นการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ จากการบริหารที่ผ่านมาของผู้บริหาร apple คนก่อน ๆ 

Jony Ive ในสมัยเริ่มงานกับ apple ใหม่ ๆ
Jony Ive ในสมัยเริ่มงานกับ apple ใหม่ ๆ

ชีวิตของ ไอฟฟ์ นั้น เข้ามาโคจร เข้าสู่วงการคอมพิวเตอร์ เนื่องมาจาก บริษัท แทงเจอรีน บริษัทเก่าของเขานั้น ได้ถูกว่าจ้างจากบริษัท apple ให้ทำการออกแบบ เครื่อง Powerbook โดยเขาได้แหกกฏพื้นฐานของการออกแบบหมดสิ้น เนื่องมาจากเขาคิดว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์กำลังประสบปัญหากับเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะส่วนใหญ่เป็นการสร้างโดยเหล่า วิศวกร ที่ไม่ได้คิดถึงเรื่องการดีไซน์เลยด้วยซ้ำ

ก่อนหน้าที่ ไอฟฟ์ จะเข้ามาปฏิวัตินั้น คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่ดูน่ากลัวสำหรับผู้ใช้งาน มีขนาดใหญ่เทอะทะ และไม่มีความ friendly กับผู้ใช้งานเลยด้วยซ้ำ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ดูไม่น่าใช้งาน และแทบจะดีไซน์ เหมือน ๆ กันหมดในทุก ๆ บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมา

หลังจากผลงานการออกแบบ Powerbook จึงทำให้ ไอฟฟ์ ถูกดึงตัวมาทำงานเต็มตัวที่ apple ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ ซึ่ง apple เดิมจะใช้บริษัทจากข้างนอกมาช่วยออกแบบให้ แต่หลังจากนี้ ไอฟฟ์ จะได้สร้างทีมของตัวเองขึ้นมา เพื่อปฏิวัติการออกแบบคอมพิวเตอร์เสียใหม่ทั้งหมด

และนั่นเป็นเหตุทำให้ทั้งคู่ได้เจอกันในที่สุด จ๊อบส์ นั้นตระหนักดีว่าเขาจำเป็นต้องมีคนอย่าง ไอฟฟ์ เพื่อปฏิรูป apple ขึ้นมาใหม่อีกครั้งและจึงเริ่มต้นกับโครงการ iMac รุ่นใหม่

ในงานด้านฮาร์ดแวร์นั้น ถูกรับผิดชอบโดย จอน รูบินสไตน์ ผู้ที่ จ๊อบส์ ได้ดึงตัวมาจาก NeXT บริษัทเก่าของเขา โดย iMac นั้นจะทำการดัดแปลงไมโครโพรเซสเซอร์ และอุปกรณ์ภายในของเครื่อง PowerMac G3 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ระดับสูงสำหรับผู้ใช้งานมืออาชีพของ apple เพื่อมาใช้เป็นไมโครโพรเซสเซอร์หลักสำหรับเครื่อง iMac ตัวใหม่นี้

สองทีมงานคุณภาพ ไอฟฟ์ และ รูบินสไตน์ ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญใน apple ยุคใหม่ของจ๊อบส์
สองทีมงานคุณภาพ ไอฟฟ์ และ รูบินสไตน์ ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญใน apple ยุคใหม่ของจ๊อบส์

ตัวฝาครอบพลาสติกของ iMac ที่ไอฟฟ์ ออกแบบมาเป็นสีฟ้าอมเขียว และมีความโปร่งแสง ซึ่งเป็นตัวเชื่อม ระหว่างการทำงานภายในเครื่องกับงานดีไซน์ภายนอก iMac มีความละเอียดในการดีไซน์ จนถึงระดับชิป จ๊อบส์นั้นยืนกรานเสมอว่าการติดตั้งชิปบนแผงวงจรต้องทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย แม้จะไม่มีใครเห็นมันก็ตาม

ตัวฝาครอบโปร่งแสงทำให้เห็นความใส่ใจที่ทีมงานมีต่อการสร้าง การประกอบ และการจัดวางชิ้นส่วนทุกชิ้นที่อยู่ภายใน ดีไซน์ ที่ดูขี้เล่นถ่ายทอดความเรียบง่าย แต่ขณะเดียวกันก็เผยให้เห็นความลึกล้ำที่มาพร้อมกับความเรียบง่ายอย่างแท้จริง 

iMac ผลงานการ Design ชิ้นโบว์แดงชิ้นแรก ของ ไอฟฟ์ ที่ได้ร่วมงานกับ จ๊อบส์
iMac ผลงานการ Design ชิ้นโบว์แดงชิ้นแรก ของ ไอฟฟ์ ที่ได้ร่วมงานกับ จ๊อบส์

และ iMac นี่เองกลายเป็นชัยชนะด้านการออกแบบยิ่งใหญ่ ครั้งแรกที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง จ๊อบส์ กับ ไอฟฟ์  ที่ออกสู่ตลาดในปี 1998 และใช้เพียงวันหยุดสุดสัปดาห์แรกเท่านั้น สามารถทำยอดจำหน่ายได้สูงเกิน 150,000 เครื่อง ด้วยโครงสร้างตัวเครื่องที่โค้งลงตัว ไม่เพียงแค่ iMac จะตีรูปแบบคอมพิวเตอร์แบบเดิมให้แตกกระเจิงเท่านั้น

มันยังได้สร้าง คาแร็กเตอร์ของตนเองขึ้นมา และเป็น คาแร็กเตอร์ที่คูลที่สุด เพราะ iMac ไม่ใช่เครื่องพีซี ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกผลิตโดย microsoft  คำว่า “Think Different” สำหรับ apple มันกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง

หลังจากวางจำหน่าย iMac ไปจนถึงสิ้นปี 1998 ยอดขายพุ่งขึ้นไปถึง 800,000 เครื่อง ทำสถิติคอมพิวเตอร์ที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของ apple หลังจากนั้นไม่นาน ไอฟฟ์ ก็ได้คิดสีใหม่สำหรับเครื่อง iMac อีก 4 สี ซึ่งแต่ละสีสดใสเตะตาไม่แพ้สีฟ้าบอนได ในรุ่นแรกที่วางจำหน่าย

ขายดีจนต้องออกสีใหม่เพิ่มมาเป็น 5 สีที่สดใส
ขายดีจนต้องออกสีใหม่เพิ่มมาเป็น 5 สีที่สดใส

แต่มันยังเหลือรายละเอียดอีกอย่างหนึ่งที่จ๊อบส์ อยากที่จะปรับปรุงตัว iMac มันคือ ถาดใส่แผ่นซีดี ที่เขาแสนเกลียดรูปร่างมันเป็นอย่างยิ่ง และอยากให้กำจัดทิ้งเสีย เขาอยากเปลี่ยนเป็นไปใช้ไดร์ฟสำหรับโหลดซีดีในชุดสเตอริโอรุ่นแพงของ sony ที่ดูดีกว่า

จ๊อบส์ รู้สึกขัดใจกับช่องใส่ CD ของ iMac
จ๊อบส์ รู้สึกขัดใจกับช่องใส่ CD ของ iMac

แต่ รูบินสไตน์ นั้นได้ทักท้วงไม่ให้เปลี่ยน เพราะในตอนนั้น กำลังจะมีไดร์ฟ แบบใหม่ออกมา ที่สามารถ burn เพลงลงซีดีได้ด้วย ไม่ใช่แค่เล่นเพลงเพียงอย่างเดียวอย่างที่มีในตลาดในขณะนั้น ซึ่งจะทำให้ iMac ตามหลังเทคโนโลยี หากใส่ไดร์ฟ รูปแบบเก่าลงไป

แต่ด้วยความดื้อด้านส่วนตัวของจ๊อบส์ เขาไม่แคร์ และไม่สนใจว่าเทคโนโลยีใหม่จะเป็นอย่างไร จน รูบินสไตน์ต้องยอม และสุดท้ายหลังจากนั้น เป็น รูบินสไตน์ที่คาดการณ์ได้ถูกต้อง เพราะ อีกไม่นาน Panasonic ได้ผลิตไดร์ฟ ตัวใหม่ออกมา ที่สามารถ อ่าน เขียน และบันทึกเพลงได้

ซึ่งจุดสำคัญนี้นี่เอง ไม่รู้ว่าเป็นเพราะพรหมลิขิต หรือ เหตุบังเอิญ หรือโชคชะตาลิขิตมาให้จ๊อบส์ต้องกระโจนเข้าสู่ตลาดเพลง เพราะจากเหตุการณ์นี้ ทำให้ Apple ก้าวช้ากว่าคู่แข่งในตลาดการผลิตคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการคัดลอก (rip) และบันทึก (burn) 
เพลงเอง ซึ่งกำลังเริ่มเป็นที่นิยมในขณะนั้น (iMac นั้นไม่สามารถ rip,burn เพลงได้ เพราะมีไดร์ฟรุ่นเก่า)  สถานการณ์ในตอนนั้น ทำให้ Apple ต้องกระโจนเข้าสู่ตลาดเพลงเพื่อหาทางกระโดดข้ามคู่แข่งให้ได้ โดยเร็วที่สุด

มาถึงตอนนี้ อยู่ดี ๆ apple ต้องตกกระไดพลอยโจร ที่สถานการณ์บังคับให้ apple ต้องเข้าสู่ตลาดเพลงแล้ว มันเพราะความดื้อด้านของจ๊อบส์ หรือ ฟ้าชะตาลิขิต ที่ทำให้ apple ได้ก้าวข้ามจากบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ ไปสู่ สินค้า consumer ที่มีขนาดตลาดใหญ่กว่าอย่างเครื่องเล่น mp3 จะเกิดอะไรขึ้น กับ apple ต่อจากนี้ ตลาดใหม่ที่มีขนาดใหญ่มหาศาลอย่างตลาดเพลงนั้น จะนำพา apple เริ่มพลิกฟื้นกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งได้อย่างไร  โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 4 : Crazy Jobs

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ