ทำนายการขึ้นลงของหุ้นด้วยข้อมูลจาก Twitter

ต้องบอกว่าเหล่า influence หลาย ๆ คนใน twitter นั้นมี impact อย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ค่าเงิน หรือ ราคาทองคำ การ tweet แต่ละครั้งนั้น ก็จะ effect ต่อตลาดซึ่งมากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับ tweet นั้น ๆ ตัวอย่างเช่นการ tweet ของ Donald Trump นั้นมีผลต่อการเคลื่อนที่ของราคาหุ้นไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอน

จนมีผู้ที่สร้าง mobile apps ขึ้นมาจริง ๆ คือ LikeFilo ซึ่งจะใช้ข้อมูลจาก twitter และ mobile notification  ที่จะทำให้เหล่า influence ขึ้นไปยัง top ของตารางหาก tweet ใด ๆ นั้นมี impact ต่อการเคลื่อนที่ของราคาหุ้นในตลาด ตัวอย่างเช่น user สามารถที่จะเลือกเหล่า influence ในส่วนของ section ที่เรียกว่า “Sharks” ซึ่งจะประกอบไปด้วยเหล่านักลงทุนที่เป็น big name ที่จะ impact กับตลาด ซึ่งทาง LikeFilo นั้นได้ทำการเลือกสรรไว้ให้แล้ว โดย user จะได้รับ notification หากเหล่านักลงทุนเหล่านี้มีการ tweet ที่เกี่ยวข้องกับ public company ซึ่งจะมีผลต่อตลาดหุ้น

Kevin O'Leary ได้ tweet เกี่ยวข้องกับบริษัท SNAPCHAT

Kevin O’Leary ได้ tweet เกี่ยวข้องกับบริษัท SNAPCHAT

ตัวอย่างจากรูปคือ Kevin O’Leary ได้ tweet เกี่ยวข้องกับบริษัท SNAP ซึ่งก็คือ social network น้องใหม่ชื่อดังอย่าง Snapchat ซึ่งใช้ชื่ออยู่ SNAP ใน New York Stock Exchange ซึ่งการ tweet ของเหล่าผู้มีอิทธิพลเหล่านี้นั้นอาจจะไม่ได้ทำให้ทำให้ราคาหุ้นเปลี่ยนไปทางใดทางหนึ่งแบบ 100% แต่ก็สามารถทำให้เกิด effect ต่อราคาหุ้นนั้น ๆ ได้

ซึ่ง Twitter เองนั้น ก็ทำการ track ข้อมูลเหล่านี้ไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งพวกเขาก็เชื่อว่าการ tweet ของเหล่า influences เหล่านี้นั้นมี impact ต่อตลาดอย่างแน่นอน โดยถึงกับเขียนเป็น blog series ที่ใช้ชื่อว่า “Finance Tweets of the Month”  ผ่าน official web ของ twitter เลยทีเดียว โดยจะมีการเขียนถึงในทุก ๆ เดือน

ซึ่ง blog แรกของพวกเขานั้นได้เขียนโดย Mark Dimont ซึ่งเป็น product manager ของ Bloomberg Terminal news applications โดยเริ่ม focus ไปที่ Tweet ของ Elon Musk’s ว่า “Stormy weather in Shortville” ในเดือนเมษายนของปี 2017

คนดังอย่าง Elon musk tweet อะไรไปมีผลต่อราคาหุ้นอย่างแน่นอน ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง

คนดังอย่าง Elon musk tweet อะไรไปมีผลต่อราคาหุ้นอย่างแน่นอน ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง

ซึ่งทาง Andy Swan ซึ่งเป็น fouder ของ LikeFolio นั้นได้ให้ความเห็นไว้ว่า การ tweet ของ Donald Trump หรือ Elon Musk นั้น มีผลกระทบกับตลาดหุ้นอย่างแน่นอน ซึ่งหนึ่งในจุดประสงค์หลักที่เค้าได้ทำ app LikeFolio ขึ้นมานั้น เพื่อดึงเอาผู้คนที่สนใจในหุ้นแต่ยังไม่ได้เริ่มเข้าสู่ตลาดนั้น เข้ามาสู่ตลาดให้มากขึ้นผ่านข้อมูลง่าย ๆ อย่างข้อมูล tweet ซึ่งเป็นข้อมูล simple ที่มีการเชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้มากกว่าที่หลาย ๆ คนเคยคิด

ซึ่ง Swan นั้นได้ปล่อย app LikeFolio ออกมามากกว่า 4 ปีแล้ว ซึ่งเหตุที่เขาได้เข้ามาทำ LikeFolio นั้นเพราะเค้าเป็นคนที่มีความสามารถในด้านการนำข้อมูลจาก social data และข้อมูลจาก consumer behavior มาเชื่อมโยงกับข้อมูลของราคาหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเค้าได้สร้าง API ไว้ให้เหล่าบริษัท hedge funds หรือสถานบันการเงินต่าง ๆ ไว้เชื่อมต่อเพื่อดึงข้อมูลไปทำการวิจัยต่อได้

ซึ่งทาง LikeFolio app นั้นได้รับ sponsors จาก broker ในตลาดอย่าง TDAmeritrade ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถที่จะเข้าถึง premium channel เช่น account ที่เป็น official account ของเหล่า influences อย่าง oprah winfrey ได้

ยิ่งระดับ Trump ที่เป็นประธานาธิบดี ของอเมริกา ยิ่ง effect รุนแรงต่อตลาดหุ้นมาก

ยิ่งระดับ Trump ที่เป็นประธานาธิบดี ของอเมริกา ยิ่ง effect รุนแรงต่อตลาดหุ้นมาก

 

ซึ่งนี่นับเป็นการสร้าง partnership รายแรกของ TD Ameritrade กับ LikeFolio ที่ให้บริการข้อมูลทางด้าน social alerts ซึ่งความร่วมมือของทั้งสองนั้นยังครอบคลุมถึงข้อมูลใน social data อื่น ๆ อีกด้วยไม่ใช่เพียงเฉพาะส่วนของ twitter เท่านั้น โดย TD Ameritrade จะเป็นส่วนสนับสนุนในส่วนขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้น และในส่วนของ LikeFolio นั้นจะไม่ให้คำแนะนำทางการเงินใด ๆ แก่ user ใน app โดยจะเป็นแค่ข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจให้กับนักลงทุนเท่านั้น ซึ่ง tools อย่าง LikeFolio นั้นเป็น tools ง่าย ๆ ที่เหมาะสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ และเป็นวิธีที่น่าสนใจที่จะดึงนักลงทุนหน้าใหม่เข้าสู่ตลาดนั่นเอง

อย่างไรก็ดีนั้นเพิ่งจะเป็น phase แรกของ LikeFolio เท่านั้นทาง Swan ก็ได้วางแผนที่จะพัฒนาเพิ่มเติมความสามารถของ app ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาจจะเป็นการเพิ่ม channel ใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยอาจจะเฉพาะเจาะจงไปยังกลุ่มที่ย่อยลงไปที่เป็น specific topics มากขึ้น

References : mashable.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol

ศึกชิงตัวบุคคลากรด้าน AI ของยักษ์ใหญ่แห่ง Silicon Valley

ต้องบอกว่ากระแสของ AI นั้นมาแรงจริง ๆ ในช่วงนี้ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นบุคลลากรด้าน AI ทั้งนักวิจัย รวมถึงวิศวกรต่าง ๆ ที่มีความสามารถทางด้าน AI เป็นที่ต้องการจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของ silicon valley ไม่ว่าจะเป็น google , microsoft , apple หรือ facebook ซึ่งล้วนแล้วต่างมี project ที่เกี่ยวข้องกับ AI กันแทบทั้งสิ้น

แต่ไม่ใช่เฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น เหล่า startup เล็ก ๆ ก็ให้ข้อเสนอที่เย้ายวนใจสำหรับบุคคลากรด้านนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของหุ้น ซึ่งอาจจะทำให้เป็นเศรษฐีได้หากบริษัท startup เล็ก ๆ เหล่านั้นประสบความสำเร็จแบบบริษัทรุ่นพี่ขึ้นมาจริง ๆ เหมือนที่ google , facebook เคยทำได้ในอดีต

ต้องบอกว่าการแข่งขันทางด้านการแย่งตัวบุคคลากรนั้น ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากมีพนักงานที่มีคุณสมบัติด้าน AI ที่เป็นไปตามความต้องการของบริษัทเหล่านี้อยู่ไม่มาก จึงต้องมีการแย่งชิงตัวกัน โดยมีข้อเสนอเงินรายได้จำนวนมหาศาลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจในการแย่งชิงตัวบุคลากรเหล่านี้

ซึ่งต้องบอกว่าเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ใน silicon valley เดิมพันค่อนข้างสูงกับเทคโนโลยี AI ไล่มาตั้งแต่ ระบบการสแกนหน้าผ่าน smartphone เทคโนโลยีทางด้าน healthcare รวมไปถึง ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่กำลังมุ่งสู่ยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งกำลังเดิมพันด้วยจำนวนเงินที่น่าตกใจ ทำให้รายได้ของพนักงานเหล่านี้สูงขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ซึ่งรวมถึง ดอกเตอร์ที่เพิ่งจบปริญญาเอกมาใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งพนักงานที่มีประสบการณ์ไม่มากนัก แต่มีความรู้ด้าน AI ตามความต้องการของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ก็สามารถเสนอค่าตอบแทนได้สูงถึง 300,000 – 500,000 เหรียญสหรัฐต่อปี รวมถึงให้ข้อเสนอทางด้านหุ้น เพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้กับบุคคลากรเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่กับบริษัทตัวเองให้ได้

สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานใน field AI มาบ้างแล้วนั้นก็ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นไปอีกในหลักล้านเหรียญสหรัฐต่อปี รวมถึงจำนวนหุ้นที่เป็นข้อเสนอก็จะมีจำนวนมากตามประสบการณ์ของพนักงานคนนั้น ๆ และรูปแบบการต่อสัญญานั้นบางครั้งก็คล้าย ๆ กับนักกีฬาอาชีพเลยก็ว่าได้ ซึ่งสามารถเรียกค่าตอบแทนเพิ่มมากขึ้นในการต่อสัญญาใหม่ โดยสัญญาอาจจะเป็นระยะสั้น เพื่อให้สามารถต่อรองเรื่องสัญญาใหม่ได้เร็วขึ้นนั่นเองเพราะมีหลายบริษัทที่คอยจะฉกตัวกันไปอยู่แล้ว เพราะความต้องการใน domain ดังกล่าวนั้นมีล้นมาก แต่บุคคลากรยังไม่พอต่อความต้องการ

ยิ่งไม่ต้องพูดถึงในระดับผู้บริหารที่มีประสบการณ์กับโครงการ AI นั้น บางรายอาจจะมีปัญหาถึงกับต้องเข้าสู่กระบวนการศาลกันเลยทีเดียวเช่น ในกรณีของ Anthony Levandowski ซึ่งเป็นลูกจ้างเก่าของ google ที่ได้เริ่มงานกับ google มาตั้งแต่ปี 2007 ได้รับค่าแรงจูงใจหรือ incentive ในการไปเซ็นสัญญาเข้าร่วมงานกับบริษัท Uber กว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งต้องทำให้ทั้ง google และ Uber ต้องมีปัญหาขึ้นโรงขึ้นศาลกันเนื่องมาจากปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจจะถูกละเมิดได้

Anthony Levandowski

มีปัจจัยเร่งไม่กี่อย่างที่ทำให้อัตราการจ่ายค่าจ้างของบุคคลากรด้าน AI นั้นถีบสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคือ การแย่งตัวจาก อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่กำลังพัฒนาในส่วนรถไร้คนขับ ซึ่งต้องการบุคคลากรแนวเดียวกันกับที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน internet ใน silicon valley ต้องการ ซึ่งส่วนของบริษัททางด้าน internet อย่าง facebook หรือ google นั้นต้องการแก้ปัญหาหลายอย่างที่ต้องใช้ AI ในการแก้เช่น การสร้างผู้ช่วย digital สำหรับ smart phone หรือ IoT device ที่อยู่ภายในบ้าน หรือการคัดกรองเนื้อหา content ที่ไม่เหมาะสมในระบบก็ต้องอาศัย AI ในการช่วยคัดกรอง ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้นั้นไม่เหมือนกับการสร้าง application mobile ธรรมดา ๆ ที่สามารถหาบุคคลากรได้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในด้าน AI เพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ง่ายขึ้น

ต้องอาศัยเงินไม่ใช่น้อยหากจะสร้าง Lab ทางด้าน AI ตัวอย่างของ  Deepmind ที่เป็น Lab ที่วิจัยทางด้าน Deep Learning ที่ถูก google aqquired ไปเมื่อปี 2014 มูลค่ากว่า 650 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น มีรายจ่ายในการจ้างพนักงาน และเหล่านักวิจัยกว่า 400 คน สูงถึง 138 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งโดยเฉลี่ย ต่อคนสูงถึง 345,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งเป็นการยากที่บริษัทเล็ก ๆ จะสามารถแข่งขันเรื่องค่าจ้างกับบริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวได้

สำหรับความสำเร็จของงานวิจัยด้าน AI นั้นขึ้นอยู่กับ เทคนิคที่เรียกว่า Deep Neural networks ซึ่ง เป็น อัลกอรึธึมทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถเรียนรู้ผ่านข้อมูลได้ด้วยตัวเอง เช่น การมองหารูปแบบของสุนัขนับล้านตัว ซึ่งทำให้ Neural Network สามารถเรียนรู้ที่จะจดจำรูปแบบของสุนัขได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนั้นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ยุค 1950 แต่มันยังคงอยู่ในรูปแบบของการศึกษาเท่านั้นจนกระทั่ง 5 ปีที่ผ่านมา ถึงได้เริ่มมีการนำมาประยุกต์ใช้ในงานจริง

googleplex

ในปี 2013 นั้น google , facebook รวมถึงบริษัทอื่น ๆ จำนวนหนึ่งนั้นได้ทำการเริ่มรับสมัครนักวิจัยเพียงไม่กี่คนที่เข้าใจถึง เทคนิคดังกล่าว ซึ่ง Neural Network ในตอนนี้สามารถที่จะช่วยจดจำใบหน้าในภาพถ่ายที่ post ไปยัง facebook หรือ สามารถระบุคำสั่งได้ใน Amazon Echo รวมถึงสามารถที่จะช่วยแปลภาษาต่างประเทศได้ผ่านบริการ skype ของ Microsoft ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากการพัฒนาทางด้าน Neural Network และมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจจริงแทบทั้งสิ้น

ซึ่งการใช้ อัลกอริธึมทางคณิตศาสตร์ในลักษณะเดียวกันนั้น นักวิจัยกำลังทำการพัฒนารถยนต์แบบไร้คนขับ รวมถึงพัฒนาบริการของโรงพยาบาลในการวิเคราะห์โรค ผ่าน ภาพทางการแพทย์เช่น ภาพ X-Ray รวมถึงในวงการตลาดเงินหรือตลาดทุนนั้น ก็มีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่คอยช่วยซื้อขายหุ้นแบบอัตโนมัติ ซึ่งนักวิจัยเหล่านี้ล้วนเป็นพวกมันสมองที่จบจากมหาวิทยาลัยดัง ๆ ของสหรัฐทั้งนั้น

Uber นั้นได้ทำการว่าจ้างนักจัยกว่า 40 คนจาก Carnegie Mellon เพื่อมาช่วยพัฒนายานยนต์ไร้คนขับของ Uber  และ 1 ใน 4 ของนักวิจัยด้าน AI ชื่อดังได้ลาออกจากงานจากตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาลัยสแตนฟอร์ด ส่วนในมหาวิทยาลัยวอชิงตันนั้น 6 ใน 20 ของนักวิจัยที่อยู่ในมหาลัย รวมถึงคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญกำลังลาออก และ ไปทำงานให้กับภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ของอเมริกา

แต่ก็มีบางรายที่ออกไปอยู่กับองค์กรที่ไม่แสดงหาผลกำไร ตัวอย่าง Oren Etzioni ผู้ซึ่งลาออกจากตำแหน่งศาสตาจารย์จาก University of Washington เพื่อไปดูแล Allen Institute for Artifical Intelligence ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

ส่วนบางรายก็ใช้รูปแบบการประนีประนอม Luke Zettlemoyer จาก University of Washington ได้มารับตำแหน่งที่ห้องทดลองทางด้าน AI ของ google ในเมือง ซีแอตเติล ซึ่งสามารถจ่ายเงินให้มากกว่าสามเท่าของรายได้เดิมของ Luke โดย google อนุญาติให้เขาสามารถสอนหนังสือต่อได้ที่ Allen Institute

ซึ่ง Zettlemoyes นั้นได้กล่าวไว้ว่า มีสถาบันการศึกษามากมายที่รองรับการทำงานทั้งสองรูปแบบ ที่สามารถแบ่งเวลาให้กับทั้งภาคเอกชน รวมถึง สามารถแบ่งเวลาส่วนนึงให้กับภาคการศึกษาได้ ปัจจัยหลักนั้นเกิดจากความแตกต่างอย่างสุดขั้วของรายได้ระหว่างการทำงานในภาคเอกชนกับภาคการศึกษา ซึ่งคนที่สามารถทำงานทั้งสองอย่างได้นั้น ก็เนื่องมาจากเขาสนใจในงานด้านวิชาการจริง ๆ

เพื่อเป็นการสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ทางด้าน AI ให้เพิ่มมากขึ้น บริษัทอย่าง google หรือ facebook นั้น ได้สร้าง class ที่สอนเนื้อหาเกี่ยวกับ “deep learning” รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับพนักงานที่มีอยู่ เพื่อเป็นการสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ภายในบริษัทเอง รวมถึงการเปิด online course ให้กับพนักงานผู้ที่สนใจด้าน AI ได้เข้ามาเรียนรู้

ซึ่งแนวคิดพื้นฐานของ Deep Learning นั้นก็ไม่ได้ยากเกินไปที่จะเรียนรู้ ซึ่งอาศัยความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานหลักของเหล่าวิศวกรในบริษัทเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ การที่จะสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จริง ๆ นั้นต้องอาศัย ความรู้ทางด้านคณิศาสตร์ชั้นสูง รวมถึงความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสาขาต่าง ๆ เช่น รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ

แต่สำหรับบริษัทเล็ก ๆ นั้นการที่จะแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่นั้นก็มีทางเลือกไม่มากนัก ก็ต้องมองหาทางเลือกอื่นที่ใช้งบประมาณไม่สูงเท่า เช่น บางบริษัทได้ว่าจ้าง นักฟิสิกส์ หรือ นักดาราศาสตร์ ที่มีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ AI ได้ หรือ มองหาพนักงานจากเอเชีย ยุโรปตะวันออก หรือ ที่อื่น ๆ ที่มีค่าแรงต่ำกว่าแทน

แต่เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง google , facebook หรือ Microsoft ก็ได้ทำการเปิดห้องทดลองด้าน AI ในต่างประเทศ เช่น Microsoft นั้นได้เปิดขึ้นที่ แคนาดา ส่วน google นั้นก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในประเทศจีนเหมือนกัน

ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ไม่แปลกใจว่าการขาดแคลนบุคคลากรด้าน AI นั้นคงจะไม่บรรเทาลงไปในเร็ว ๆ วันนี้อย่างแน่นอน เพราะการสร้างบุคคลากรด้านนี้ขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใด มหาลัยที่เชี่ยวชาญที่สามารถสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพออกได้ก็มีไม่มาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากสาเหตุที่ demand และ supply ของบุคคลากรด้าน AI ยังไม่สมดุลในขณะนี้ ก็มีแนวโน้มที่รายได้ของบุคคลากรในด้านนี้ก็จะยังคงสูงขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน

 

References : www.nytimes.com , www.paysa.com , qz.com